น้อยโหน่ง
น้อยโหน่ง เป็นพรรณไม้พุ่มนอกจากเนื้อสีขาว ซึ่งผลไม้ไทยชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสารอาหารอีกมากมายทั้งสรรพคุณทั้นในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจและระบบประสาท ป้องกันมะเร็งบางชนิด ป้องกันโรคโลหิตจาง พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ เป็นต้น ชื่อสามัญ Custard apple หรือ Bull’s heart, Bullock’s heart, Ox-heart, Wild-Sweetsop ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Annona reticulata L. อยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะโหน่ง มะเนียงแฮ้ง (ภาคเหนือ), น้อยหนัง (ภาคใต้), มะดาก (แพร่ เพชรบุรี), เร็งนา (กาญจนบุรี), หนอนลาว (อุบลราชธานี), หมากอ้อ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ลักษณะของน้อยโหน่ง
- ต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง และเชื่อว่ามีการนำเข้ามาในไทยเมื่อในสมัยอยุธยา โดยได้จัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-8 เมตร เปลือกต้นแก่มีสีเทา
- ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน โคนใบนั้นแหลม ใบเป็นสีเขียวสด
- ดอก คล้ายกับดอกน้อยหน่า จะออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อกระจุกประมาณ 2-3 ดอก กลีบดอกจะค่อนข้างหนา มีกลีบดอกทั้งสิ้น 3 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว และดอกมีกลิ่นหอมแบบเอียนๆ (บางคนก็ชอบ แต่บางคนก็ไม่ชอบ)
- ผล จะมีขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลเป็นรูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบและเหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนอย่างน้อยหน่า ผลตอนดิบเปลือกจะเป็นสีเขียวจาง ๆ ปนแดงเรื่อ ๆ แต่เมื่อผลสุกแล้วจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนามีสีขาว ผลมีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสชาติที่หวานแต่ไม่เท่ากับน้อยหน่า จึงได้รับความนิยมในการรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่า เนื่องจากผลมีกลิ่นที่ฉุนนั่นเอง
สรรพคุณของน้อยโหน่ง
1. ผลดิบนำมารับประทานแก้ท้องร่วง แก้อาการบิดได้ (ผลดิบ)
2. ช่วยขับพยาธิในร่างกาย (ผลดิบ)
3. มีฤทธิ์ช่วยฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง กลาก เกลื้อน เรื้อน หิด และคุดทะราด (เมล็ด)
4. ใบนำมาตำแล้วเอาไปพอกแก้อาการฟกบวม (ใบ)
5. เปลือกสามารถใช้เป็นยาห้ามเลือดและช่วยสมานแผลได้ (เปลือก)
6. เมล็ดนำไปใช้เป็นยาสมานแผลได้ (เมล็ด)
7. ใบนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาฆ่าเหาได้ (ใบ)
ประโยชน์ของน้อยโหน่ง
1. ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้สด (ผลสุก)
2. เมล็ดนำไปทำเป็นยาฆ่าแมลงหรือยาพิษอย่างแรงได้ (เมล็ด)
3. ใบสดนำมาต้มเอาแต่น้ำมาทำเป็นสีย้อมได้ โดยจะให้สียอมสีดำและสีน้ำเงินสวยงาม แถมยังติดทนนานอีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 25.2 กรัม |
เส้นใย | 2.4 กรัม |
ไขมัน | 0.6 กรัม |
โปรตีน | 1.7 กรัม |
วิตามินบี 1 | 0.08 มิลลิกรัม 7% |
วิตามินบี 2 | 0.1 มิลลิกรัม 8% |
วิตามินบี 3 | 0.5 มิลลิกรัม 3% |
วิตามินบี 5 | 0.135 มิลลิกรัม 3% |
วิตามินบี 6 | 0.221 มิลลิกรัม 17% |
วิตามินซี | 19.2 มิลลิกรัม 23% |
ธาตุแคลเซียม | 30 มิลลิกรัม 3% |
ธาตุเหล็ก | 0.71 มิลลิกรัม 5% |
ธาตุแมกนีเซียม | 18 มิลลิกรัม 5% |
ธาตุฟอสฟอรัส | 21 มิลลิกรัม 3% |
ธาตุโพแทสเซียม | 382 มิลลิกรัม 8% |
ธาตุโซเดียม | 4 มิลลิกรัม 0% |
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร, เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร, www.thaigoodview.com
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/phuongphoto/33311481092
2.https://vajiramias.com/current-affairs/bullocks-heart-tree/63a042d70dfcf8093e6ed06b/