Home ผักและผลไม้ ฝอยทอง เมล็ดคือยาชั้นยอด ดีต่ออวัยวะเพศชาย บำรุงร่างกาย

ฝอยทอง เมล็ดคือยาชั้นยอด ดีต่ออวัยวะเพศชาย บำรุงร่างกาย

0
ฝอยทอง เมล็ดคือยาชั้นยอด ดีต่ออวัยวะเพศชาย บำรุงร่างกาย
ฝอยทอง เมล็ดคือยาชั้นยอด ดีต่ออวัยวะเพศชาย บำรุงส่วนสำคัญในร่างกาย ลำต้นเป็นเส้นกลมสีเหลืองทองเหมือนกับขนมไทยโบราณ จัดอยู่จำพวกกาฝาก

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง เป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ผักบุ้ง ไม่ใช่ขนมไทยที่เรารู้จักกัน ทว่าส่วนของลำต้นเป็นเส้นกลมสีเหลืองทอง จึงคาดว่าเป็นที่มาของชื่อ “ฝอยทอง” เพราะมีลักษณะเป็นเส้นเหมือนกับขนมไทยโบราณ เป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากที่มักจะพบตามสวน ริมถนน หรือพื้นที่รกร้าง ทว่าส่วนต่าง ๆ ของต้น โดยเฉพาะเมล็ดนั้นเป็นยาสมุนไพรชั้นยอด สามารถนำลำต้นมาปรุงสุกแล้วทานในรูปแบบของผักสดได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของฝอยไหม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cuscuta chinensis Lam.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Dodder”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ฝอยไหม” จังหวัดอุดรธานีเรียกว่า “ผักไหม” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ซิกคิบ่อ ทูโพเคาะกี่” ชาวไทใหญ่และขมุเรียกว่า “เครือคำ” ชาวลัวะเรียกว่า “บ่ะเครือคำ” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “กิมซีเช่า โท้วซี” จีนกลางเรียกว่า “ทู่ซือ ทู่ซือจื่อ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

ลักษณะของฝอยทอง

ฝอยทอง เป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะอายุประมาณ 1 ปี ที่ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น ต้องการความชื้นมาก มักจะพบตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้าง
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาวสีเหลืองทอง
ใบ : ใบเป็นเกล็ดขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยม มีจำนวนไม่มาก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก รูปกลมวงรี ดอกมีขนาดเล็กสีขาว กลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบมน แยกออกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 2 อัน
ผล : ผลเป็นรูปกลมแบนสีเทา
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2 – 4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมวงรี เมล็ดเป็นสีเหลืองอมเทา ผิวเมล็ดหยาบ

สรรพคุณของฝอยทอง

  • สรรพคุณจากฝอยทอง เป็นส่วนผสมในตำรับยารักษาโรคเอดส์ ยับยั้งการก่อเกิดมะเร็งผิวหนัง ลดการอักเสบ
  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยทำให้ตาสว่าง แก้ตามัว แก้อาการเวียนศีรษะ ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ เป็นยาขับลม ขับเหงื่อ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้น้ำกามเคลื่อน บำรุงน้ำอสุจิในเพศชาย แก้สมรรถภาพทางเพศชายเสื่อม
    – เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงไต ด้วยการนำเมล็ดแห้ง 10 – 15 กรัม มาต้มกับน้ำกิน หรือนำเมล็ดมาบดละเอียดทำเป็นยาเม็ดหรือยาผง
    – รักษากลากบริเวณคิ้ว ด้วยนำเมล็ดมาคั่วให้เกรียม แล้วบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาทา
    – แก้อาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ ปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดตามขาและน่อง แก้รู้สึกชาไม่มีกำลัง ด้วยการนำเมล็ดแห้งประมาณ 30 กรัม หรือ 1 ชาม มาแช่ในเหล้านาน 3 – 5 วัน เอาเมล็ดมาตากแห้ง แล้วบดให้ละเอียด ใช้กินครั้งละ 6 กรัม วันละ 3 ครั้ง
  • สรรพคุณจากลำต้น แก้โรคดีซ่าน แก้พิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำ รักษาผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือเป็นด่างขาว
    – แก้อาการร่างกายอ่อนเพลีย ด้วยการนำลำต้นแห้ง 10 – 12 กรัม มาต้มกับน้ำผสมกับเหล้า หรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา
    – รักษาอาการตัวเหลืองจากโรคดีซ่าน โดยคนเมืองนำลำต้นมาต้มกับน้ำอาบ
    – แก้โรคตาแดงหรือเจ็บตา ด้วยการนำลำต้นสดมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำใช้ทารอบขอบตา
    – แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาไหล แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้ตกเลือด ด้วยการนำลำต้นแห้ง 10 – 15 กรัม มาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – แก้บิด ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
    – รักษาลำไส้อักเสบ แก้บิดแบคทีเรีย ด้วยการนำลำต้นสดประมาณ 30 กรัม หรือ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำผสมกับขิงสด 7 แว่น แล้วเอาน้ำมากินเป็นยา
    – ช่วยแก้ปัสสาวะขัด ด้วยการนำลำต้นสด 1 กำมือ มาต้มกับเหง้ากูไฉ่สดประมาณ 60 กรัม แล้วใช้ล้างหน้าท้องน้อย
    – แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ช่วยรักษาระดูขาวตกมากผิดปกติ แก้น้ำกามเคลื่อน ด้วยการลำต้นแห้ง 10 – 12 กรัม มาต้มกับน้ำผสมเหล้าหรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา
    – แก้ฝ้า แก้ผดผื่นคัน แก้ผดผื่นคันจากอากาศร้อน แก้แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด ด้วยการนำลำต้นมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาหรือพอกบริเวณที่มีอาการ
    สรรพคุณจากทั้งต้น
    – เป็นยาถ่ายพยาธิ ด้วยการนำทั้งต้นมามัดเป็นก้อนแล้วต้มดื่มน้ำ ทาน 1 – 2 ครั้ง
    – แก้อาการตัวบวม ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกินและอาบ
  • สรรพคุณจากเมล็ดสุก บำรุงไต ช่วยควบคุมการหลั่งของน้ำอสุจิ รักษากลุ่มอาการของระบบไตพร่อง บำรุงตับ รักษากลุ่มอาการของระบบตับและไตอ่อนแอ ทำให้ตาสว่าง ช่วยหยุดถ่าย บำรุงมดลูก ป้องกันการแท้งลูก
    – ช่วยเพิ่มฤทธิ์บำรุงไต บำรุงครรภ์ เหมาะสำหรับผู้ที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว แก้ฝันเปียก แก้ตกขาว แก้ปัสสาวะบ่อย ด้วยการนำเมล็ดสุกมาผัดน้ำเกลือ
    – เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยเอวและเข่า แก้กระหายน้ำ แก้หูอื้อตามัว ด้วยการนำเมล็ดสุกผสมเหล้าอัดเป็นแผ่น
    – เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเอวเนื่องจากไตพร่อง แก้อาการหลังปัสสาวะแล้วยังมีปัสสาวะเหลืออยู่ ด้วยการนำเมล็ดสุกมาผัด

ประโยชน์ของฝอยทอง

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ลำต้นนำมาต้มหรือลวกทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ใช้ยำใส่มะเขือ นำมาชุบแป้งทอดทานร่วมกับน้ำพริกกะปิ

ฝอยทอง เป็นไม้กาฝากที่ขึ้นทั่วไป ดูเหมือนเป็นพืชที่ไม่ได้พิเศษนัก แต่ส่วนของเมล็ดจากต้นคือยาสรรพคุณชั้นดีที่ห้ามมองข้าม โดยเฉพาะคุณผู้ชายทั้งหลาย เพราะเมล็ดฝอยทองจะช่วยเพิ่มกำลัง และบำรุงน้ำอสุจิในเพศชายได้ สามารถนำลำต้นมาปรุงสุกใช้ทานเป็นผักได้ด้วย ฝอยทองมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเมล็ด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงน้ำอสุจิในเพศชาย แก้สมรรถภาพทางเพศชายเสื่อม บำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงมดลูก ดีต่อระบบขับถ่ายอีกด้วย เป็นพืชที่มีสรรพคุณต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้อย่างน่าทึ่ง

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ฝอยทอง”. หน้า 513-515.
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ฝอยทอง” หน้า 127-128.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ฝอยทองเมล็ด”. หน้า 360.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ฝอยทอง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [14 พ.ย. 2014].
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ต้นฝอยทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [14 พ.ย. 2014].
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านกระดูกพรุนจากเมล็ดของพืชฝอยทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [14 พ.ย. 2014].
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. “โท่วซีจี้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : tcm.dtam.moph.go.th. [14 พ.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
รูปอ้างอิง
1.https://indiabiodiversity.org
2.https://commons.wikimedia.org