ทุเรียน
ราชาแห่งผลไม้ไทย ผลมีขนาดใหญ่เปลือกสีเขียวอมสีน้ำตาล มีหนามแข็งปกคลุม เนื้อสีเหลืองเนียนเหมือนคัสตาร์ด รสหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะตัว

ทุเรียน

ทุเรียน เป็นราชาผลไม้ไทย เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ผลขนาดใหญ่ ผลมีลักษณะรีถึงกลม มีเปลือกสีเขียวถึงสีน้ำตาล ปกคลุมด้วยหนามแข็ง อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. น้ำหนักทั่วไปประมาณ 1-3 กิโลกรัม มีเนื้อที่ทานมีสีเหลืองซีดถึงสีแดงจะแตกต่างกันตามสายพันธุ์
ชื่อสามัญ Durian ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus L. ชื่อวงศ์ตระกลู : Bombacaceae มีมากกว่า 30 ชนิด มี 9 ชนิดที่สามารถทานได้ คือ Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus, Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha, Durio oxleyanus, Durio testudinarum มีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และชนิดนี้สามารถแบ่งแยกย่อยอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่นิยมและปลูก คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง พันธุ์ก้านยาว มีกลิ่นเฉพาะตัว เนื้อจะเหมือนคัสตาร์ด จะมีรสคล้ายกับอัลมอนด์ บางคนบอกว่ามีกลิ่นหอม แต่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงถึงขั้นสะอิดสะเอียน (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ห้ามนำเข้าโรงแรมและการขนส่งสาธารณะ) สามารถทานได้ทั้งสุกและห่าม และใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เมล็ดก็ทานได้แต่จะต้องทำให้สุกก่อนทาน ซึ่งการปลูกที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าผู้ที่อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้ วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้เยอะ เนื่องจากมีเสียงพ้องเกี่ยวกับการเรียน

สรรพคุณของทุเรียน

  • สามารถใช้สมานแผลได้ (เปลือก)
  • สามารถแก้ฝีได้ (เปลือก)
  • สามารถช่วยรักษาโรคคางทูมได้ (เปลือก)
  • สามารถทำให้หนองแห้งได้ (ใบ)
  • สามารถช่วยขับพยาธิได้ (ใบ, เนื้อ)
  • สารสกัดที่ได้จากใบกับรากใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ โดยใช้น้ำจากใบวางบนศีรษะจะช่วยลดไข้ได้ (ราก, ใบ)
  • สามารถช่วยทำให้ฝีแห้งได้ (เนื้อ)
  • เปลือกสามารถใช้ไล่ยุงกับแมลงได้ (เปลือก)
  • สามารถช่วยรักษาแผลพุพองได้ (เปลือก)
  • สามารถแก้น้ำเหลืองเสียได้ (เปลือก)
  • เปลือกสามารถแก้ตานซางได้
  • ใบช่วยแก้ดีซ่านได้
  • รากช่วยแก้อาการท้องร่วงได้
  • เนื้อสามารถช่วยแก้โรคผิวหนังได้

ประโยชน์ของทุเรียน

  • สามารถนำเปลือกมาผลิตเป็นกระดาษได้ จะมีเส้นใยที่เหนียวนุ่ม เหนียวกว่าเนื้อของกระดาษสา
  • สามารถใช้ใบอ่อนหรือหน่อมาทำอาหารบางอย่างที่คล้ายผักใบเขียวได้
  • สามารถนำผลมาแปรรูปหรือใช้ทำขนมหวานได้ เช่น ลูกกวาดโบราณ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมปังสอดไส้ ไอศกรีม มิลก์เชก เค้ก คาปูชิโน ข้าวเหนียว เต็มโพยะก์ ดอง แช่อิ่ม กวน ทอดกรอบ แยม
  • มีไขมันมาก แต่เป็นไขมันชนิดดีไม่เป็นโทษกับร่างกาย
  • พันธุ์หมอนทองสามารถลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากพันธุ์หมอนทองมีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่สามารถช่วยลดไขมันได้ แต่ต้องทานเพียง 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
  • ประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกมาทาน
  • สามารถใช้เปลือกเป็นเชื้อเพลิงในการรมควันปลาได้
  • เมล็ดสามารถทานได้ โดยทำให้สุกด้วยการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือนึ่ง เนื้อในมีลักษณะคล้ายเผือกหรือมันเทศแต่จะเหนียวกว่า
  • เส้นใยสามารถช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกมากขึ้น
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง ถ้าบริโภคปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดของโรคในมนุษย์ได้ อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 174 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินเอ 44 หน่วยสากล
วิตามินบี 1  0.374 มิลลิกรัม 33%
วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม 17%
วิตามินบี 3 1.74 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี 5  0.23 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6 0.316 มิลลิกรัม 24%
วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม 9%
วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%
คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม
ไขมัน 5.33 กรัม
เส้นใย 3.8 กรัม
โปรตีน 1.47 กรัม
ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15%
ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9%
ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8%
ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%

ข้อมูลจาก USDA Nutrient database

โทษของทุเรียน

มีน้ำตาลสูงและมีไขมัน กำมะถัน ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะถ้าทานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จะทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และทำให้เกิดร้อนใน สำหรับบุคคลทั่วไปควรบริโภคแต่น้อย และมีความเชื่อโบราณว่าห้ามให้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทาน และไม่ควรทานกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับกาแฟ เนื่องจากเป็นของร้อนทั้งคู่ เดี๋ยวจะทำหลับไม่ตื่น

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.npr.org/sections/thesalt