สับปะรด ผลไม้มหัศจรรย์ช่วยป้องกันโรคไต สร้างภูมิคุ้มกัน
สับปะรด ( Pineapple) เป็น พืชล้มลุก มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ และ มีเอนไซม์ที่ช่วยจัดการกับโปรตีน

สับปะรด คือ

สับปะรด ( Pineapple) เป็น พืชล้มลุกมีลำต้นเดี่ยวกลม ๆ อยู่ใต้ดิน ทรงพุ่มใหญ่ เปลือกแข็งและเหนียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus ( L ) Merr. มีชื่อสามัญว่า Pineapple อยู่ในวงศ์ Bromeliaceae มีถิ่นกำเนิดมาจากแถวทวีปอเมริกาใต้ ชื่อเรียกตามภูมิภาคของไทย ได้แก่ ภาคกลาง เรียกว่าสับปะรด ภาคอีสาน เรียกว่าบักนัด ภาคเหนือ เรียกว่ามะนัด มะขะนัด บ่อนัด ภาคใต้ เรียกว่าย่านัด ย่านนัด ขนุนทอง

สายพันธุ์ของสับปะรด

สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและนิยมนำมาปลูกสายพันธุ์พันธุ์ภูแล สายพันธุ์อินทรชิต หรืออินทรชิตแดง พันธุ์ขาว พันธุ์สวี และพันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดเป็นพืชชอบแสงแดดจัดขึ้นได้ในดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินปนลูกรัง ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท ปลูกง่ายโตเร็วใช้น้ำน้อยทนต่อสภาพอากาศร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ประมาณ 24 – 30 องศาเซลเซียส

สารอาหารและแร่ธาตุในสับปะรด

สับปะรด มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสีเป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรด

ลำต้น ลักษณะลำต้นเป็นข้อป้องอยู่ใต้ดินความยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ส่วนลําต้นที่อยู่เหนือดินจะตั้งตรง
ใบ เป็นพืชใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาวซ้อนสลับกันเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนปลายใบโค้งแหลม มีหนามแหลมอยู่บริเวณขอบใบทั้ง 2 ข้าง ไม่มีก้านใบ
ดอก จะออกดอกตรงแกนกลางของช่อดอก มีดอกย่อยประมาณ 100 – 200 ดอก ดอกย่อยแต่ละดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศเกสรตัวเมียมีความยาวมากกว่าเกสรตัวผู้เล็กน้อยและมีขนาดสั้นกว่ากลีบดอกเล็กน้อย กลีบดอกมีสีขาวที่โคนและมีสีม่วงอมฟ้าที่ส่วนปลาย
ผล มีลักษณะทรงกระบอก มีเปลือกแข็ง มีตารอบผล มีสีเขียวปนสีเหลือง หรือสีเหลือง มีเนื้อข้างในสีเหลือง มีรสชาติหวาน กลิ่นหอม
เมล็ด จะมีหลายเมล็ดในผล เมล็ดมีลักษณะยาวรี เล็กๆ มีสีดำ
ราก ระบบรากของสับปะรดเป็นแบบระบบรากฝอยจำนวนมาก ซึ่งจะกระจายอยู่ใต้ผิวดินตื้นๆ รากสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้มากกว่า 75 เซนติเมตรขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่ใช้ในการปลูก

ประโยชน์ และสรรพคุณของสับปะรด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ใบ ผลดิบ หนาม และราก
ใบ : ยาถ่าย หนาม ใช้แก้ฝีต่างๆ ฆ่าพยาธิ
ผลดิบ : ใช้ห้ามเลือด ใช้ขับประจำเดือน
หนาม : ใช้แก้ฝีต่างๆ 
ราก : บำรุงไต ไตอักเสบ แก้กระษัย

  • ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆในระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดคอแห้ง แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยควบคุมความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดเนื้อเยื่อแผลอักเสบ
  • ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ
  • ช่วยระบบขับปัสสาวะ
  • ช่วยป้องกันโรคเหงือก
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยรักษาแผลหนอง
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยชะลอความแก่ชรา
  • ช่วยรักษาส้นเท้าแตก
  • ช่วยป้องกันเบาหวาน
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยลดอาการเจ็บคอ
  • ใช้รักษาแผลอักเสบ
  • ช่วยลดความอ้วนได้
  • ช่วยลดอาการปวด     
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ช่วยป้องกันหวัด
  • ช่วยแก้ร้อนใน
  • ช่วยแก้โรคนิ่ว
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยระบายท้อง
  • ช่วยแก้ท้องผูก
  • ช่วยล้างสารพิษ
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยแก้บวมน้ำ
  • ช่วยแก้นิ้วล็อค
  • ช่วยแก้โรคบิด

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรดต่อ 100 กรัม

พลังงาน 50 กิโลแคลอรี
เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม
ไขมัน 0.12 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม
น้ำตาล 9.85 กรัม
โปรตีน 0.54 กรัม
วิตามินบี 1 0.079 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.032 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.5 มิลลิกรัม
วิตามินบี 5 0.213 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.112 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 18 ไมโครกรัม
วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม
โคลีน 5.5 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สับปะรด มีเอนไซม์ที่ช่วยจัดการกับโปรตีนที่เรียกว่า บรอมีเลน ( bromelain ) ซึ่งพบได้ในแกนและเหง้าของสับปะรดนั่นเอง คุณสมบัติพิเศษของสารชนิดนี้ก็คือ ช่วยสลายลิ่มเลือดและสมานแผล ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และที่สำคัญที่สุดช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย เหมาะสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ลักษณะทางพฤกษศาสตรของสับปะรด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.phetchaburi.doae.go.th [ 31 กรกฎาคม 2552 ].
สับปะรด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.thai-thaifood.com/th [ 31 กรกฎาคม 2552 ].
สับปะรด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://pirun.ku.ac.th [ 31 กรกฎาคม 2552 ].