กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชในวงศ์ชบาที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นต้นที่นำมาใช้ทำน้ำกระเจี๊ยบกัน เชื่อว่าเป็นเมนูเครื่องดื่มชื่นชอบของใครหลายคน เพราะมีรสเปรี้ยวหวานอร่อย กินแล้วสดชื่นจริง ๆ ทว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพืชนี้ก็มีสรรพคุณมากกว่าการคลายร้อน นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่มีดอกสีสันสวยงามอีกด้วย ดังนั้นใครที่เจอเมนูน้ำกระเจี๊ยบแล้วละก็ ลองทานก็เป็นการดีเพื่อสุขภาพ เพราะอย่างน้อยก็มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งได้
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Rosella” “Jamaican sorel” “Roselle” “Rozelle” “Sorrel” “Red sorrel” “Kharkade” “Karkade” “Vinuela” “Cabitutu”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว” ภาคเหนือเรียกว่า “กระเจี๊ยบ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ” ภาคอีสานเรียกว่า “ส้มพอดี” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “แกงแคง” จังหวัดตากเรียกว่า “ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง” จังหวัดระนองเรียกว่า “ใบส้มม่า” จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ส้มปู” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “แบลมีฉี่” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “แต่เพะฉ่าเหมาะ” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ปร่างจำบู้” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ส้มพอ ส้มพอเหมาะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชบา (MALVACEAE)
ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง เป็นไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย มีอยู่หลายสายพันธุ์
ลำต้น : ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปฝ่ามือ 3 – 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบเป็นรูปวงรีแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง กลางดอกมีสีเข้มเป็นสีม่วงแดง มีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงแผ่ขยายติดกันหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย
ผล : ผลเป็นรูปวงรีปลายแหลม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่แห้งแตกเป็น 5 แฉก กลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ จะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก
เมล็ด : เมล็ดสีน้ำตาล คล้ายรูปไตจำนวนมาก มีประมาณ 30 – 35 เมล็ดต่อผล
สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง
- สรรพคุณ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
- สรรพคุณจากผล เมล็ด เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก
- สรรพคุณจากดอก ช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยรักษาไตพิการ
- สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย ช่วยแก้ดีพิการ
- สรรพคุณจากน้ำ ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ ช่วยแก้อาการคอแห้ง แก้กระหายน้ำ แก้อาการร้อนใน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการขัดเบา ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย ช่วยรักษาไตพิการ ต้านการเกิดพิษต่อตับ ช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดอาการปวดแสบ ด้วยการนำกระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผง 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
- สรรพคุณจากทั้งต้น
– รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท เป็นยาลดน้ำหนัก ช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ โดยชาวอียิปต์นำทั้งต้นมาต้มกินเป็นยา
สรรพคุณจากใบ เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก ช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ช่วยบำรุงสายตา
– ล้างแผล ด้วยการนำใบใช้ตำพอกฝีหรือใช้ต้มน้ำ - สรรพคุณจากผล ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
– ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการนำผลแห้งมาบดเป็นผง ใช้ทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3 – 4 ครั้ง - สรรพคุณจากกลีบดอก ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ยับยั้งไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คลายกล้ามเนื้อเรียบ ลดความเจ็บปวด มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้ทานเป็นผัก ใช้ทำแกงส้มซึ่งให้รสเปรี้ยวกำลังดี
2. พืชทางเศรษฐกิจ เป็นพืชส่งออกโดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำหรับ Herbal tea
3. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ชาชง อบแห้ง แคปซูล เครื่องดื่มต่าง ๆ ทำแยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส
4. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ทำโลชัน ครีม เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว
5. ใช้ในการรักษา ในแอฟริกาใต้ใช้น้ำมันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ
6. เป็นอุปกรณ์ ลำต้นทำเป็นเชือกปอได้
คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง
คุณค่าทางโภชนาการ (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 49 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหาร |
คาร์โบไฮเดรต | 11.31 กรัม |
ไขมัน | 0.64 กรัม |
โปรตีน | 0.96 กรัม |
วิตามินเอ | 14 ไมโครกรัม (2%) |
วิตามินบี1 | 0.011 มิลลิกรัม (1%) |
วิตามินบี2 | 0.028 มิลลิกรัม (2%) |
วิตามินบี3 | 0.31 มิลลิกรัม (2%) |
วิตามินซี | 12 มิลลิกรัม (14%) |
ธาตุแคลเซียม | 215 มิลลิกรัม (22%) |
ธาตุเหล็ก | 1.48 มิลลิกรัม (11%) |
ธาตุแมกนีเซียม | 51 มิลลิกรัม (14%) |
ธาตุฟอสฟอรัส | 37 มิลลิกรัม (5%) |
ธาตุโพแทสเซียม | 208 มิลลิกรัม (4%) |
ธาตุโซเดียม | 6 มิลลิกรัม (0%) |
กระเจี๊ยบแดง ถือเป็นต้นที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน แต่ไม่ค่อยรู้ถึงสรรพคุณอันยอดเยี่ยมมากนัก รู้กันเพียงว่าช่วยแก้กระหายเท่านั้น กลับกันน้ำจะมีรสชาติเปรี้ยวหวาน แถมยังกินง่าย ช่วยดับกระหายยังสามารถป้องกันโรคอันตรายได้หลากหลายแบบที่ไม่อยากเชื่อกันเลยทีเดียว มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของดอก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท เป็นยาลดน้ำหนัก ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ รักษาไตพิการและต้านการเกิดพิษต่อตับ เรียกได้ว่าช่วยรักษาอวัยวะสำคัญของร่างกายได้เกือบหมด
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันการแพทย์แผนไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO), มูลนิธิหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฐานข้อมูลสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com