ถั่วแขก ( String bean ) คือ
ถั่วแขก ( String bean ) คือ ถั่วที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เป็นอาหารที่หลายคนชื่นชอบ ถั่วสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลาย ถั่วมีอยู่หลายชนิดที่นิยมรับประทานกัน เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง และถั่วแขก เป็นต้น ถั่วแขก เป็นที่มีรสชาติหวานกรอบ ฝักมีลักษณะกลมหรือกลมแบนคล้ายกับถั่วฝักถั่วเขียวแต่ว่ามีขนาดยาวกว่า มีสีเขียวหรือสีเหลืองเขียว นิยมนำมารับประทานแบบสดจิ้มน้ำพริก นำมาประกอบอาหารทั้งผัดกับผักหรือผัดกับเนื้อสัตว์ และยังมีการไปแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปทั้งที่คงรูปแบบเดิมและแปรรูปเป็นผงอีกด้วย เช่น ถั่วอบแห้ง ถั่วกระป๋อง ผงถั่วเหลือง เป็นต้น หรือนำไปสกัดสารนำไปผลิตอาหารเสริมชนิดบรรจุเม็ดพร้อมรับประทาน
ถั่วแขก เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลถั่ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus Valgaris L. มีชื่อทางสามัญว่า ( Snap Bean, Fresh Bean, French Bean, String Bean, Garden Bean ) ส่วนคนไทยจะรู้จักถั่วแขกในชื่อ ถั่วแขกพุ่ม ถั่วฝรั่ง ถั่วฝรั่งเศส ถั่วบุ้ง ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ซึ่งชื่อเรียกถั่วแขกนั้นมาจากลักษณะของฝักถั่วที่มีลักษณะคล้ายหนอนบุ้ง การที่นิยมบริโภคถั่วแขกก็เพราะว่าในถั่วนี้มีสารอาหารอยู่มาก สารอาหารที่มีอยู่คือ โปรตีน วิตามินซี แคลเซียมและธาตุเหล็ก วิตามินซีในถั่วแขกมีสรรพคุณที่เข้าไปช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน
ถั่วแขก มีต้นกำเนิดมาจากทางตอนใต้ของประเทศแม็กซิโก และได้มีการนำมาปลูกในประเทศอเมริกากลาง อังกฤษและส่งต่อมายังประเทศแทบยุโรปเรื่อยมา และเมื่อทางยุโรปได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศเขตร้อนชี้นและประเทศในเขตอบอุ่นก็ได้นำเมส็ดพันธุ์ของถั่วแขกเข้ามาด้วย ทำให้ถั่วแขกเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา การที่ถั่วแขกเป็นที่รู้จักกันดีก็เพราะว่าเป็นถั่วที่มีประโยชน์ รสชาติอร่อยและเมื่อนำมาปลูกในพี้นที่เขตร้อนชื้นแล้วให้ผลผลิตดี เนื่องจากการปลูกถั่วแขกนั้นปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ชอบขึ้นในดินร่วนซุ่ยหรือดินปนทรายที่ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีแสงแดดส่องตลอดทั้งวันไม่ชอบที่น้ำขังดินชื้นแฉะหรือมีฝนตกชุก เพราะจะทำให้ลำต้นเน่า ดอกไม่ติดผล
สายพันธุ์ของถั่วแขก
ถั่วแขก จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุตั้งแต่ 2 -3 ปี มีอยุ่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์
1.ถั่วแขกพันธุ์พุ่ม ถั่วแขกพันธุ์นี้ลำต้นจะมีลักษณะเป็นพุ่มสูงจากพื้นดินประมาณ 25-30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้นๆต่อกันตั้งแต่ 4-8 ข้อต่อหนึ่งต้น
2.ถั่วแขกพันธุ์เลื้อย สายพันธุ์นี้จะมีลักษณะลำต้นคล้ายถั่วฝักยาว คือ เมื่อปลูกต้องทำราวหรือค้างเป็นหลักเพื่อให้ต้นถั่วเลื้อยเกาะ ลำต้นของสายพันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 1.8 – 3 เมตร
3.ถั่วแขกพันธุ์กึ่งเลื้อย ลำต้นของสายพันธุ์นี้จะมีความสูงมากกว่าสายพันธุ์พุ่ม มีความสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร แต่ไม่ยาวเหมือนสายพันธุ์เลื้อย ิ
ใบของถั่วแขก จะยื่นออกมาจากข้อต่อของลำต้น โดยส่วนปลายก้านจะมีใบย่อยแยกออกเป็น 3 ใบ ลักษณะของใบบริเวณโคนใบมีขนาดกว้างและลดขนาดใบลงเรื่อยจนถึงปลายใบแหลม เนื้อใบและขอบใบเรียบไม่มีรอยยัก บนใบมีขนขนาดเล็กอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่าง ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีเขียวอ่อน
ดอกของถั่วแขก จะมีการออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกจะยื่นออกมาจากซอกใบที่บริเวณปลายยอดของใบ ในหนึ่งช่อจะออกดอกตั้งแต่โคนช่อจนถึงปลายช่อ ดอกของถั่วจำนวน 5 กลีบต่อหนึ่งดอก สีของดอกมีหลายสีเหลือง สีชมพู และสีขาวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของถั่ว โคนหรือฐานดอกมีกลีบเลี้ยงีเขียวอยู่โดยรอบฐาน การบานของดอกจะเริ่มบานจากดอกด้านล่างที่ใกล้โคนช่อมากที่สุดเรื่อยมาจนมาถึงดอกที่อยู่ด้านบนสุดของช่อดอก ดอกจะมีอายุอยู่ปราะมาณ 2-3 วันดอกถั่วแขกเป็นดอกประเภทสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรตัวผูและเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันด้วยเหตุนี้ทำให้อัตราการติดฝักของดอกสูงหรือมีการติดฝักทุกดอกที่ออกมาก็ว่าได้
ผลของถั่วแขก เราเรียกว่าฝัก ฝักถัวแขกมีลักษณะคล้ายฝักของถั่วเขียวแต่ว่ามีขนาดที่ใหญ่กว่าและยาวกว่า นั่นคือมีฝักมีความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ฝักมีความยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดภายในฝักจะเรียงเมล็ดตามแนวยาวของฝัก ซี่งหนึ่งฝักจะมีเมล็ดภายในประมาณ 5-8 เมล็ดของถั่วแขก ขนาดของเมล็ดจะมีขนาดไล่เลี่ยกันโดยมีน้ำหนักประมาณ 0.2-0.6 กรัมต่อเมล็ด เมล็ดจะมีรูปร่างคล้ายไตมีสีดำ สีขาว สีเหลืองครีม สีชมพู สีเขียว สีแดงม่วงและสีน้ำตาลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของถั่วแขกที่ทำการปลูก
ประโยชน์และการนำไปใช้ของถั่วแขก
ถั่วแขก นำมาประกอบอาหารได้ทั้งอาหารคาว เช่น ผัดถั่วน้ำมันหอย ซุปถั่ว ผัดกับหมู เป็นต้น และอาหารหวานหรือนำไปผสมในขนมหวาน หรือนำมาแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องสำเร็จรูปพร้อมรับประทานทั้งแบบที่เป็นเม็ดและแบบที่เป็นผง เช่น ซุปถั่วในกระป๋อง ถั่วแขกผสมคอลลาเจน ผงถั่วแขกพร้อมชง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตวุ้นเส้นอีกด้วย ถั่วแขกนี้เป็นอาหารที่คนรับประทานได้สัตว์รับประทานดี เพราะว่าถั่วมีทั้งโปรตีนและไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงได้มีการนำถั่วแขกไปเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย ส่วนลำต้นที่เหลือจากการเก็บผลผลิตแล้วเราก็ไถ่กลบเพื่อให้ต้นถั่วกลายเป็นปุ๋ยในดิน ต้นถั่วนี้อุดมไปด้วยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เป็นธาตุอาหารจำเป็นสำหรับพืช
ถั่วเป็นอาหารที่อุดมได้ด้วยโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในประเทศไทยมีการปลูกถั่วหลายชนิด จึงทำให้คนไทยรู้จักนำถั่วมาดัดแปรงปรุงเป็นอาหารทั้งอาหารคาวและอาหารหวานเป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่ได้ลิ้มชิมรสกัน เช่น ถั่วแดงต้มน้ำตาล ข้าวเหนียวถั่วดำ ถั่วเขียวกวน เป็นต้น ถั่วมีทั้งที่เป็นถั่วราคาถูกหาซื้อได้ง่ายและถั่วราคาแพงที่มีจำหน่ายในบางพื้นที่เท่านั้น ถั่วแขก ก็เป็นหนึ่งในถั่วที่มีสารอาหารเป็นจำนวนมากไม่แพ้ถั่วชนิดอื่นๆ และเป็นถั่วที่นำมาปรุงอาหารรับปะทานได้อย่างอร่อยด้วย วันนี้คุณกินถั่วแขกแล้วหรือยัง?
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
“Green Beans”. The World’s Healthiest Foods. Retrieved March 2, 2017.
“Beans – Vegetable Directory – Watch Your Garden Grow – University of Illinois Extension”.
“Growing beans in Minnesota home gardens”. University of Minnesota Agricultural Extension. Retrieved 20 September 2016.