หน้าที่และประโยชน์ของไอโอดิน (Iodine)
ไอโอดีน คือ แร่ธาตุที่ร่างกายของเราไม่ต้องการมากนัก พบในสัตว์ทะเล เช่นหอย ปลาหมึก และเกลือสมุทร

เกลือไอโอดีน

ไอโอดีน ( Iodine ) คือ แร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งช่วยควบคุมระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย แต่ร่างกายของเราไม่ได้มีความต้องการมากนัก และเมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนก็จะเปลี่ยนให้เป็นไอโอไดด์  โดยร่างกายของเราจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 25 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 0.0004 ของน้ำหนักตัว ซึ่งครึ่งหนึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ต่อมธัยรอยด์ อีกส่วนหนึ่งจะอยู่ตามกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ขุมขน ต่อม น้ำลาย ระบบทางเดินอาหาร และกระดูก ส่วนในกระแสเลือดจะมีไอโอดีอยู่ค่อนข้างที่จะน้อยมาก

หน้าที่ของไอโอดีนคืออะไร?

1. ช่วยในการทำงานและการเจริญเติบโตของต่อมธัยรอยด์ และเป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนไทรอกชิน ( Thyroxine ) ซึ่งต่อม ธัยรอยด์ผลิตขึ้น โดยมีหน้าที่ก็คือควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมภายในร่างกาย ต่อมธัยรอยด์เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญต่อสภาพจิตใจ ผม ผิวหนัง เล็บ และฟัน การเปลี่ยนแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์โปรตีน โดยไรโบโซมรวมทั้งการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็ก ซึ่งหากฮอร์โมนไทรอกชินถูกผลิตออกมาตามปกติ การทำงานของสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ช่วยให้สมองเกิดความตื่นตัวและมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลังตื่นนอน

3. ช่วยให้การผลิตพลังงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ จึงทำให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเพียงพอ

4. ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคอ้วนหรือไขมันอุดตัน

5. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ช่วยให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสเคลื่อนย้ายจากกระดูกให้มากขึ้น

7. ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ

8. ช่วยกระตุ้นในการหลั่งน้ำนมทำให้มีน้ำนมหลั่งออกมามากขึ้น

การดูดซึมและการเก็บไอโอดีนของร่างกาย

เกลือไอโอดีน ระบบทางเดินอาหารของร่างกายจะสามารถดูดซึมไอโอดีนที่มีอยู่ในอาหารหรือน้ำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนให้เป็นเกลืออนินทรีย์ของไอโอดีน (Iodine) หรือ ไอโอไดด์ และไอไอไดด์ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ต่อมธัยรอยด์ผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งหากมีมากเกินไปก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 1 – 2 วัน หลังจากเข้าสู่ต่อมธัยรอยด์ ไอไอไดด์ก็จะเปลี่ยนไปเป็นไอโอดีนแล้วไปร่วมมือกับไทโรซีน สร้างเป็นไดไอโอโดไทโรซีน ( Diiodotyrosine ) และไตรไอโอโดไทโรนีน ( Triiodothyronine ) และไทรอกซิน ( Thyroxine ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีไอโอดีนอยู่ จากนั้นไทรอกซินจะร่วมกับโกลบูลินกลายเป็นไทโรโกลบูลิน ( Thyroglobulin ) ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในต่อมธัยรอยด์ ต่อมพิทูอิทารีเป็นอีกต่อมหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ต่อม ธัยรอยด์สร้างไทรอกซินเพิ่มขึ้นได้ โดยอาศัยฮอร์โมนที่ชื่อไทโรโทรฟิน ( Thyrotrophin ) ซึ่งหากร่างกายได้รับไทรอกซินเพียงพอแล้ว ไทรอกซินก็จะไปทำให้ต่อมพิทูอิทารีหยุดสร้างไทโรโทรฟินลง ทั้งฮอร์โมนไทรอกซินและฮอร์โมนไทโรโทรฟิน จึงมีผลในการเพิ่มหรือลดซึ่งกันและกันนั่นเอง

แหล่งอาหารที่พบไอโอดีน

สำหรับแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน เกลือไอโอดีน ก็คือสาหร่ายทะเลที่เรียกกันว่า เคลพ์ ( Kelp ) ส่วนสัตว์ทะเลจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 200 – 1,000 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ไอโอดีนในเนื้อสัตว์จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกันกับไอโอดีนในพืชซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นๆ ว่าเป็นดินชนิดไหน ในเกลือสมุทรจะมีไอโอดีนมากกว่าเกลือสินเธาว์ และแหล่งอาหารอีกแหล่งหนึ่งที่ให้ไอโอดีนก็คือเกลือที่เติมไอโอดีน ( Iodized Salt ) โดยใช้สารโซเดียมไอโอไดด์ หรือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ ในความเข้มข้นร้อยละ 0.005 – 0.01

ปริมาณไอโอดีนอ้างอิงที่ควรได้ต่อวันสำหรับคนไทยในแต่ละวัย
เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย
เด็ก 1-5 ปี 90 ไมโครกรัม/วัน
เด็ก 6-8 ปี 120 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-12 ปี 120 ไมโครกรัม/วัน
13-18 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19-≥ 71 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 50 ไมโครกรัม/วัน
ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 50 ไมโครกรัม/วัน

ผลของการขาดไอโอดีนในเด็ก

เด็กที่ขาดเกลือไอโอดีนจะส่งผลให้เด็กมีอาการครีตินนิซึม ( Cretinism ) คือเด็กที่เกิดมาจะมีร่างกายเตี้ยแคระและสมองไม่มีการพัฒนา

หากในระยะตั้งครรภ์แม่บริโภคไอโอดีนน้อย หรือไม่พอเพียงแก่ความต้องการ โดนจะมีอาการปรากฏให้เห็นในหลาย ๆ แบบไม่ว่าจะเป็น หูหนวก เป็นใบ้ ตาเหล่ มีกล้ามเนื้อหย่อนยานและอ่อนแอ ผิวหนังแห้ง รูปร่างสั้นเตี้ย ซึ่งก็เป็นเพราะกระดูกไม่ได้เจริญตามปกติ ซ้ำยังมีผลให้จิตใจขาดการพัฒนา โดยจะมีอาการเดินกระตุก หรือเกร็ง ระบบสืบพันธ์ผิดปกติ ซึ่งหากทารกได้รับการแก้ไขในระยะแรก ก็จะช่วยให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตดีขึ้น รวมทั้งจิตใจก็อาจพัฒนาขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่อาจะทำให้ประสาทสมองส่วนกลางที่ถูกทำลายไปกลับมาดีอย่างเดิมได้อีก

ผลของการขาดเกลือไอโอดีนผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ที่ขาดไอโอดีนจะทำให้เกิดโรคคอพอก ( Simple Goiter ) เนื่องจากต่อมธัยรอยด์จะโตขึ้นจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่ช่วงคอ นั่นก็เป็นเพราะถูกได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนไทโรโทรพิน ( Thyrotrophin หรือ  Stimulating Hormone, TSH ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองให้ทำงานมากขึ้น เพื่อที่จะดูดไอโอดีนที่อยู่ในเลือดให้ได้เยอะที่สุด เพื่อนำไปสร้างฮอร์โมนไทรอกซินแต่เนื่องจากไอโอดินไม่พอจึงไม่สามารถที่จะสร้างได้ จึงมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ที่บริเวณใต้คอโตขึ้น หรือมีอาการคอพอกนั่นเอง คนที่ต่อมธัยรอยด์มีขนาดใหญ่มาก จะทำให้ไปกดหลอดลม ส่งผลให้ไอ สำลัก หายใจลำบาก และถ้าไปกดหลอดอาหารก็จะกลืนอาหารลำบากด้วยเช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคคอพอก

การขาดเกลือไอโอดีน ซึ่งมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1. บริโภคอาหารที่มีเกลือไอโอดีนน้อยมากไม่พอเพียงแก่ความต้องการ เช่น ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ไม่สามารถหาอาหารทะเลบริโภคได้

2. ร่างกายต้องการเกลือไอโอดีนเพิ่มสูงขึ้น เช่น คนวัยหนุ่มสาว ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ต้องให้นมแก่ทารก หรือมีอาการอักเสบภายในร่างกายเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ต่อมธัยรอยด์ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงต้องการไอโอดีนมากขึ้นด้วย

3. เกลือไอโอดีนหย่อนสมรรถภาพลง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุบางอย่าง เช่น การบริโภคอาหารแคลเซียมสูงแต่มีไอโอดินต่ำ ร่างกายขาดวิตามินเอและได้รับไอโอดีนน้อย หรือมีสารบางอย่างในอาหารออกฤทธิ์กดต่อมธัยรอยด์ทำให้ต้องการไอโอดีนเพิ่มขึ้นมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดโรคคอพอก

4. การได้รับสารที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมธัยรอยด์ เช่น ยาพวกไทโอชัยยาไนด์ ( Thiocyanide ) อะมิโนไธอะโซล ( Aminothiasole ) ซึ่งมีผลให้ต่อมธัยรอยด์ไม่สามารถใช้ไอโอดีนได้ตามปกติ จึงทำให้ต่อมมีขนาดใหญ่ขึ้น

5. ในพืชที่เรารับประทานจะมีสารบางอย่างที่ทำให้เกิดคอพอก ( Goitrogenic Compounds ) ซึ่งโดยปกติแล้วสารที่อยู่ในพืชนี้จะไม่เป็นพิษแต่อย่างใด แต่ในพืชจะมีน้ำย่อยชนิดหนึ่ง คือ ( Thioglycosides ) ซึ่งจะไปมีผลต่อสารนี้ให้เปลี่ยนเป็นสารที่มีฤทธิ์ขัดขวางการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน จึงทำให้เซลล์ที่ต่อมธัยรอยด์เกิดการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันการออกฤทธิ์ของสารนี้ได้ก็คือการนำพืชที่จะบริโภคไปต้มเสียก่อนนั่นเอง โดยพืชที่มีสารที่ทำให้เกิดคอพอกก็จะมี หัวผักกาด พีช แพร์ สตรอว์เบอร์รี่ แครอท และพืชที่อาจจะมีสารนี้อยู่ได้แก่ องุ่น คื่นฉ่าย พริกสด ส้มเขียวหวาน ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว แตงไทย กะหล่ำปลี ผักกาดหอม หอยนางรม นมสด ตับ ส่วนอาหารทีไม่พบสารเหล่านี้เลยได้แก่ เนื้อโค เนยแข็ง ไอศกรีม กุ้ง เห็ด สัปปะรด ดอกกะหล่ำ แตงกวา ข้าว ข้าวโพด ถั่วดำ ถั่วแดง หอม ลูกมะกอก อัลมอนด์ แอปเปิ้ล กล้วย มันฝรั่ง มะเขือเทศ     

ในประเทศไทยพื้นที่ที่พบว่ามีผู้ที่เป็นคอพอกมากที่สุดก็คือทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง อุบลราชธานี อุดรธานี โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้ภูเขา ที่ราบสูง ซึ่งมีความไม่สะดวกในการเดินทาง การขนส่ง และมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน จึงส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหารจำพวกโปรตีน และไอโอดีน

โรคคอพอกรักษาได้อย่างไร

1. รักษาโดยการใช้เกลือไอโอดีน โดยหยดไอโอดีนเข้มข้นละลายลงไปในน้ำดื่มในอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 1 หยดต่อน้ำ 5 ลิตร จะได้ปริมาณที่เพียงพอที่ร่างกายร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ซึ่งก็คือ 150 ไมโครกรัม ซึ่งทางกรมอนามัยก็ได้นำสารไอโอดีนเข้มข้นไปแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาล สถานีอนามัยและโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อผสมลงในน้ำดื่มให้แก่นักเรียนและในครัวเรือนของประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการใช้วิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลาเสริมไอโอดีนและยาเม็ดเสริมไอโดดีน

2. รักษาโดยวิธีการผ่าตัดในรายที่คอพอกมีขนาดโตมาก เกิดความยากลำบากในการออกเสียงหรือหรือการกลืนอาหาร จำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต่อมบางส่วนออก โดยที่ภายหลังการผ่าตัดจะให้บริโภคเกลือไอโอดีนในหลายรูปแบบ เช่น ในรูปโปตัสเซียมไอโอไดด์ หรือในรูปของเกลือไอโอดีนที่ผสมลงในอาหารที่รับประทาน

ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ( Hypothyroidism )

เป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีธัยรอยด์ฮอร์โมนอย่างพอเพียงกับความต้องการ ส่งผลให้มีเมแทบอลิซึมช้าผิดปกติ ซึ่งหากเกิดในผู้ใหญ่จะเรียกว่า มิกเซดีม่า ( Myxedema ) โดยมีอาการที่มักแสดงให้เห็น ก็คือ มีความคิดค่อนข้างที่จะเฉื่อยชา มีอาการง่วงเหงาหาวนอน มีภาวะ Chronic Fatigue Syndrome, CFS คือ อ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึงจะกินน้อย มีแห้งผิวหยาบ ผมร่วง ขี้หนาว อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและจะมีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาที่ค่อนข้างเชื่องช้าทางอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นหากปล่อยไว้ไม่รักษาจะเป็นสาเหตุของภาวะแอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูง ส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นหัวใจตามมา จะมีปัญหาต่อพัฒนาการทางสมองและร่างกายในทารกแรกเกิด

การเป็นพิษจากไอโอดีน

ไม่เคยมีการพบว่าการบริโภคไอโอดีนที่มากับน้ำและอาหารทำให้เกิดการเป็นพิษได้ แต่สำหรับไอโอดีนในรูปของยาอาจต้อง พึงระวังในเรื่องของปริมาณที่ได้รับ เพราะหากได้รับมาก ๆ ในเวลาเดียวกันอาจเป็นอันตรายได้ 

ภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

ภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้ต่อมธัยรอยด์มีการสังเคราะห์และหลั่งธัยรอยด์ฮอร์โมนออกมามากจนเกินไป จนทำให้มีอาการ ( Hyperthyroidism ) คือจะมีอาการนอนหลับยาก ขาดสมาธิ มือสั่นใจสั่น อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก น้ำหนักลดโดยอย่างปราศจากสาเหตุ อาจมีตาโปน ซึ่งมักพบในผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่รีบทำการรักษา อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุน มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงจนผิดปกติ โดยถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Gay-Lussac, J. (1813). “Sur la combination de l’iode avec d’oxigène”. Annales de chimie. 88: 319.

Davy, Humphry (1 January 1814). “Some Experiments and Observations on a New Substance Which Becomes a Violet Coloured Gas by Heat”. Phil. Trans. R. Soc. Lond. 104: 74.