มะขาม
มะขาม ( Tamarind ) คือ ไม้พันธุ์ยืนต้นที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีใบเขียวทั้งปี ปลูกง่าย ทนทานต่อลมพายุไม่หักโค่นง่าย ผลเป็นฝักยาวโค้งงอคอดเป็นข้อ เปลือกฝักแข็ง และเปราะ เนื้อในฝักมีรสเปรี้ยว แต่ผลสุก บางพันธุ์มีรสหวาน นิยมใช้ในการปรุงอาหาร โดยฝักอ่อนจะมีสีเขียวอมเทา ส่วนฝักที่แก่แล้วจะมีสีน้ำตาลเข้ม กรอบหักง่าย
มะขาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tamarindus Indica คือ ไม้พันธุ์ยืนต้นที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีใบเขียวทั้งปี ปลูกง่าย ทนทานต่อลมพายุไม่หักโค่นง่าย ประโยชน์ของมะขามจากผล ผลเป็นฝักรูปร่างยาวและโค้ง นิยมใช้ในการปรุงอาหาร โดยฝักอ่อนจะมีสีเขียวอมเทา ส่วนฝักที่แก่แล้วจะกรอบหักง่ายและมีสีน้ำตาลเข้ม ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มะขามนิยมปลูกไว้ในบริเวณรอบๆบ้านเพื่อให้ร่มเงาและนำผลที่ออกมาไปใช้ในการปรุงอาหารได้นั้นเองโดยเฉพาะบริเวณริมถนนราชดำเนินนอก ที่สามารถพบเห็นต้นมะขามปลูกไว้อย่างมากมายในศตวรรษที่ 17 จักรวรรดินิยมสเปนได้นำต้นมะขามเข้าไปปลูกเผลแพร่ในแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตก และยังนำเข้าไปยังดินแดนลาตินอเมริกาอย่าง ทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ด้วย มะขามจึงปลูกแพร่หลายในดินแดน แถบนี้ โดยเฉพาะในประเทศเม็กซิโก และประเทศกัวเตมาลาทำให้เกิดเมนูอาหารยอดนิยมที่ปรุงด้วยมะขามและเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย เช่น น้ำมะขาม เครื่องดื่มรสมะขาม ไอศกรีมมะขาม แยมมะขาม และกระทั่งไวน์มะขามส่วนในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเภทของมะขาม
มะขามหวาน ( Sweet Tamarind ) หารับประทานได้ทั่วไป นิยมรับประทานเนื้อมะขาม พบมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์มะขามหวานมีหลายสายพันธุ์เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์สีชมภู พันธุ์อินทผาลัม พันธุ์ขันตี พันธุ์สีทอง ( นายหยัด ) พันธุ์หมื่นจง พันธุ์เพชรเกษตร เป็นต้น แต่พันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือสายพันธุ์ประกายทอง หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่าพันธุ์ตาแป๊ะ ซึ่งเป็นมะขามหวานที่มีขนาดฝักตรงและใหญ่กว่าฝักมะขามปกติให้เนื้อนุ่มหนาชุ่มฉ่ำและรสชาติหวานมาก และ
มะขามเปรี้ยว ( Sour Tamarind ) มะขามเปรี้ยว เป็นมะขามที่ให้เนื้อรสเปรี้ยว ฝักใหญ่กว่ามะขามหวาน นิยมนำมาประกอบอาหารและแปรรูป เช่น ใช้ทำน้ำมะขามใส่อาหารจำพวกต้มยำเพื่อให้รสชาติเปรี้ยวเป็นธรรมชาติ บางเมนูใช้แทนมะนาว เนื้อมะขามเปรี้ยวยังนำมาแปรรูปเป็นมะขามดอง มะขามกวนได้อีกด้วย
ประโยชน์ของมะขาม มีอะไรบ้าง
ต้นมะขามนั้น สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ มาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ใบมะขาม ดอกมะขาม ฝักมะขาม เป็นต้น
ประโยชน์ของมะขามที่จะนำมาปรุงอาหารนั้น ต้องเป็นมะขามพันธุ์ที่มีรสออกเปรี้ยวเท่านั้น ส่วนพันธุ์ที่มีรสหวานนั้นไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร นิยมรับประทานจากมะขามฝักสดสุก มะขามเปรี้ยวที่ปลูกกันมากที่สุดในประเทศไทยคือ มะขามพันธุ์กระดาน การเพาะมะขามเปรี้ยวส่วนมากเป็นจะสวนขนาดเล็ก ฝักมะขามเปรี้ยวจะมีขนาดที่ใหญ่และแบนกว่าฝักมะขามหวาน โดยช่วงทีมะขามจะออกดอกออกผลจะอยู่ในช่วงระหว่าง เดือนเมษายน จนไปถึงเดือนตุลาคม
ประโยชน์ของต้นมะขาม
- ดอกมะขามสด จะมีสีเหลืองอมส้มโดยส่วนมากจะนิยมนำดอกมะขามสดไปปรุงเป็นอาหารอย่างเช่น ต้มโคล้งกุ้งสดกับดอกมะขาม ต้มโคล้งปลาช่อนแห้งดอกมะขามหรือ แกงจืดดอกมะขาม ต้มโคล้งปลาช่อนแห้งดอกมะขาม เป็นต้น
- ใบมะขามทั้งใบมะขามหวานและใบมะขามเปรี้ยว มีสรรพคุณทางยา เราใช้ใบมะขามอ่อนยอดใบมะขามที่ยังอ่อนอยู่ จะมีสีเขียวอ่อน จะมีรสชาติออกเปรี้ยวนิดๆ ส่วนใบยอดมะขามที่เป็นสีแดงจะให้รสชาติที่ฝาด ใบมะขามมีประโยชน์คือ อุดมไปด้วยแคลเซียมที่สูง เมนูที่นิยมนำไปประกอบเป็นอาหาร เช่น ต้มกะทิปลาสลิดใบมะขามอ่อน แกงยอดมะขามหมูย่าง ต้มโคล้งปลาแห้ง แกงใบมะขามหอยเสียบ แกงจืดยอดมะขามเป็นต้น นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ใบมะขามใบอ่อนหรือยอดอ่อนยังใช้สำหรับขัดถูเครื่องเรือนโลหะจะช่วยในการขจัดคราบให้โลหะสะอาดและใสขึ้น โดยเฉพาะโลหะทองเหลืองและทองแดง ใบมะขามแก่นำมาขยำใช้น้ำล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ครัว ลดคราบมันของจานชามได้เป็นอย่างดี
- ใบมะขามแก่ สามารถนำมาต้มย้อมผ้าสีธรรมชาติ ให้สีเขียวขี้ม้า
- ใบมะขามแห้ง ล้างใบผึ่งลมให้แห้ง บดละเอียดทำเป็นชาชงใบมะขามได้ ใบมะขามแห้งมีสรรพคุณชะลอวัยชรา ลดการเกิดอนุมูลอิสระ เป็นยาอายุวัฒนะ
- ฝักมะขามอ่อน ฝักมะขามอ่อนมีรูปฟักที่เป็นสีเขียว มีรสเปรี้ยวอ่อนๆ และจะฝาดนิดๆ มีประโยชน์คือ มากไปด้วยวิตามินซี ( Vitamin C ) และวิตามินเอ ( Vitamin A ) ช่วยให้ชุ่มคอ ฝักมะขามอ่อนใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ใช้ทั้งเปลือกทำน้ำพริกมะขาม ส้มตำมะขามอ่อน ข้าวคลุกน้ำพริกมะขาม ยำปูเค็มมะขามอ่อน และพริกเกลือมะขามสด เป็นต้น
- ฝักมะขามแก่ มีสีออกน้ำตาลเข้ม มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย ใช้ประกอบอาหารได้ เช่น ใช้ทั้งฝักไม่แกะเปลือกต้มจนเละในแกงส้มผักบุ้งพริกสด หลนพริกขี้หนู ต้มยำบางชนิด เป็นต้น
- มะขามเปียก เป็นส่วนผสมที่ถูกนำมาใช้ประกอบอาหาร และเครื่องดื่มมากที่สุด โดยการทำมะขามเปียกนั้น ต้องนำมะขามแก่ที่แกะเปลือกและเมล็ดออกแล้วตากแดดให้แห้งและทำเป็นก้อนเป็นมัดมีขายเพียง 3 แบบคือ มะขามก้าน เนื้อมะขามไร้เมล็ดแต่มีซังติดอยู่ มะขามหัวโล้นหรือมะขามเม็ด เนื้อมะขามที่มีเมล็ดข้างใน ไม่มีซัง เนื้อมะขามล้วน มีแต่เนื้อมะขามล้วนๆในการนำมะขามเปียกไปปรุงอาหารจะนิยมใช้ แบบมะขามก้านและมะขามเนื้อล้วนเนื่องจากมะขามก้านนั้นสามารถคั้นน้ำได้ง่ายกว่ามะขามชนิดอื่นๆ เพราะมีซังช่วยให้เนื้อมะขามไม่เล็ดออกมาส่วนมะขามเนื้อล้วนจะเหมาะสำหรับการปรุงอาหารที่ต้องการเนื้อมะขามเป็นส่วนผสมและมะขามหัวโล้น จะนิยมใช้แปรรูปเป็นมะขามหยี มะขามคลุก และมะขามกวนเป็นต้นมะขามเปียกที่ใช้ในการปรุงอาหาร
- น้ํามะขามเปียกมีสรรพคุณเป็นยาลดความอ้วนตามธรรมชาติ ชงน้ำมะขามเปียกแช่เย็นดื่มได้สบายท้องโดยไม่ต้องหายาลดความอ้วนรับประทาน
- เนื้อมะขามเปียกสับละเอียด ทำน้ำพริกมะขามเปียก น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกนรก ปลาร้าสับเป็นต้น- นำมะขามเปียกมาผสมกับน้ำอุ่น จากนั้นค่อยๆคั้นน้ำมะขามเปียกออกมาจนได้ที่ อาจจะใช้เป็นแบบเข้มข้น หรือจะใช้วิธีการกรองเอาแต่น้ำก็ได้การปรุงอาหารส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้
- เนื้อมะขามหวานประโยชน์มากมาย ไม่ได้มีเพียงแค่อร่อย เนื้อมะขาวหวานสามารถรับประทานได้เลย ให้รสชาติหวานตามธรรมชาติ เนื้อมะขามหวานมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ท้องเสียได้
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีมะขามเปียกสำเร็จรูปออกมาจำหน่าย เช่น รูปแบบชนิดผง ซึ่งเมื่อต้องการใช้ก็นำผงนี้ไปผสมน้ำให้ละลายก่อนใช้ แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดเวลาในการปรุงอาหารสรรพคุณ มะขามเป็นพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณที่ดีมากมาย เช่น ช่วยในการขับถ่ายแก้อาการท้องผูก ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะหรือมีเสลดติดคอ ช่วยบำรุงผิวให้สดใส จากวิตามินซีในมะขาม ช่วยถ่านพยาธิตัวกลมในลำไส้ เป็นต้น
นอกจากสรรพคุณของต้นมะขามตามที่กล่าวมาแล้ว เนื้อไม้ของต้นมะขามที่มีเนื้อหนาแน่นและละเอียด ยังนิยมนำมาทำอุปกรณ์ใช้ในครัวเรือน เช่น เขียง กระบวยตักน้ำ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ต้นมะขาม และผลผลิตจากส่วนประกอบของต้นมะขามนั้นเราสามารถใช้งานได้ทั้งหมด หากปลูกไว้ตามบ้านเรือนก็ให้ร่มเงา และในปัจจุบันยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะขามที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมความงามและเครื่องประดับอีกด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม
มะขาม มีรสเปรี้ยว มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็เกิดโทษได้ สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีดังนี้
- มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
- มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
สำหรับการขัดผิว หรือพอกหน้าด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นด้วยครีมบำรุงผิว และครีมกันแดด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), เว็บไซต์สรรพคุณสมุนไพร (www.rspg.or.th), USDA Nutrient database
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.