ตาล
ตาล เป็นต้นที่ใคร ๆ ก็ต้องรู้จักเพราะว่าพบเจอได้บ่อย เป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เป็นต้นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด และยังนิยมนำมาใช้ทำขนมหวานได้หลายเมนู ทั้งนี้บางคนอาจจะไม่รู้ว่าเจ้าต้นนี้ก็สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นอกจากนี้ยังนำมาใช้ทำประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม ด้านจักสาน ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง สามารถปลูกไว้กลางแจ้ง และยังนำมาใช้เป็นยาแคปซูลได้ และยังมีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายอีกด้วย
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borassus flabellifer L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Asian palmyra palm” “Palmyra palm” “Brab palm” “Doub palm” “Fan palm” “Lontar palm” “Toddy palm” “Tala palm” “Wine palm”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ตาล ตาลใหญ่ ตาลโตนด” ภาคใต้เรียกว่า “โหนด ลูกโนด” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ตาลนา ปลีตาล” ชาวเงี้ยวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ถาล” ชาวชานแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ถาน” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ทอถู” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ท้าง” เขมรเรียกว่า “ตะนอด” เขมรพระตะบองเรียกว่า “ทะเนาด์”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ปาล์ม (ARECACEAE)
ลักษณะของต้นตาล
ลำต้น : ลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก ปาล์มแยกเพศกันอยู่คนละต้น ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้นจะอ่อน
ราก : มีรากเป็นกลุ่มใหญ่บริเวณโคนต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายพัด แผ่นใบหนาสีเขียว ปลายใบเป็นจักลึก ก้านใบหนามีสีเหลือง มีหนามแข็งคล้ายฟันเลื่อยแข็งสีดำและคมมากอยู่ตามขอบก้านใบ โคนก้านจะแยกออกจากกันคล้ายกับคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นเอาไว้
ดอก : ดอกมีสีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกมีดอกละ 8 – 16 ดอก ช่อดอกเพศผู้ใหญ่รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า “นิ้วตาล” โคนกลุ่มช่อมีก้านช่อรวมและมีกาบแข็งอยู่หลายกาบ ช่อดอกเพศเมียคล้ายกับเพศผู้ ลักษณะของนิ้วจะเป็นปุ่มปม
ผล : ผลสดเป็นลูกแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ผลติดกันเป็นกลุ่มแน่น เป็นทรงกลมหรือทรงกระบอกสั้น เป็นเส้นใยแข็งมันสีน้ำตาลถึงสีม่วงเข้ม ปลายผลมีสีเหลืองหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผิวผลเป็นมัน เมื่อผลสุกแล้วจะมีสีดำ เมล็ด : ในผลหนึ่งมีเมล็ดใหญ่และแข็ง 1 – 3 เมล็ด จะถูกหุ้มด้วยใยและเนื้อผลสีเหลืองสด (จาว)
สรรพคุณของตาล
- สรรพคุณจากรากต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับเลือด
- สรรพคุณจากราก ช่วยแก้ตานขโมยในเด็ก
– ช่วยทำให้สดชื่น จิตใจแจ่มใสเบิกบาน ช่วยแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับพยาธิ แก้พิษตานซาง ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม - สรรพคุณจากจาว ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- สรรพคุณจากส่วนรากที่งอกอยู่เหนือดิน (ตาลแขวน) เป็นยาแก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้พิษซางตาน
- สรรพคุณจากกาบหรือก้านใบสด
– รักษาอาการปากเปื่อย ด้วยการนำกาบใบหรือก้านใบสดมาอังไฟบีบเอาแต่น้ำใช้อม
– แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องร่วง ด้วยการนำกาบหรือก้านใบสดมาอังไฟแล้วบีบเอาน้ำมากิน - สรรพคุณจากใบ ช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายของสตรีหลังคลอดบุตร
– ช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการนำใบมาคั่วให้เหลืองแล้วนำมาบดจนเป็นผง ใช้สูบหรือเป่า - สรรพคุณจากเปลือกหรือส่วนที่เป็นกะลา แก้อาการท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
- สรรพคุณจากช่อดอกตัวผู้ เป็นยาบำรุงกำลัง
ประโยชน์ของตาล
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลสามารถนำมารับประทานหรือใช้ทำเป็นขนม เช่น เมนูลูกตาลลอยแก้ว ขนมตาล ลูกตาลเชื่อม ลอนตาลลอยแก้ว หัวลูกตาลอ่อนนำมาต้มให้สุกใช้รับประทานกับน้ำพริก หรือทำเมนูต้มปลาร้าหัวตาล ผลอ่อน หน่ออ่อนสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ เปลือกหุ้มผลอ่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร ส่วนของช่อดอกใช้น้ำหวานทำเป็นเครื่องดื่มและน้ำตาล ต้นตาลทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ยังไม่แก่เต็มที่จะให้น้ำตาลจึงนำมาทำเป็นน้ำตาลก้อนหรือน้ำตาลปี๊บ
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นตาลมีทรงพุ่มที่สวยงาม นิยมใช้ปลูกไว้กลางแจ้ง ตามชายทะเลหรือริมถนนหนทาง
3. ใช้ในด้านอุตสาหกรรม ลำต้นใช้ทำไม้กระดาน ใช้ทำเสา สร้างบ้าน ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์สำหรับเครื่องตกแต่งบ้าน ใช้ในงานฝีมือที่มีราคาสูง ทำเป็นท่อระบายน้ำสำหรับพื้นที่ทางการเกษตร ใช้เป็นกล่องหรือตลับสำหรับเก็บสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำจักสานงานฝีมือ ทำเป็นเชือกสำหรับผูกหรือล่ามวัว ทำเป็นคอกสัตว์ รั้วบ้าน
4. ทำเชื้อเพลิง นิยมนำไปใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง เพราะจะได้ถ่านสีดำที่มีคาร์บอนสูงเป็นพิเศษ
5. เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำแคปซูลเป็นยาขับพยาธิ แก้พิษตานซาง ทำให้จิตใจชื่นบาน
คุณค่าทางโภชนาการของลูกตาลอ่อน ต่อ 100 กรัม
คุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 9.0 กรัม |
โปรตีน | 0.5 กรัม |
เส้นใย | 0.5 กรัม |
ไขมัน | 1.0 กรัม |
น้ำ | 88.5 กรัม |
วิตามินบี1 | 0.03 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.01 มิลลิกรัม |
วิตามินบี3 | 0.5 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 2 มิลลิกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 6 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 1.7 มิลลิกรัม |
ธาตุฟอสฟอรัส | 20 มิลลิกรัม |
คุณค่าทางโภชนาการของหน่อตาลอ่อน
คุณค่าทางโภชนาการของหน่ออ่อน ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 103 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 26.6 กรัม |
โปรตีน | 2.7 กรัม |
เส้นใย | 2.2 กรัม |
ไขมัน | 0.2 กรัม |
น้ำ | 69.5 กรัม |
วิตามินบี1 | 0.05 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.18 มิลลิกรัม |
วิตามินบี3 | 0.9 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 8 มิลลิกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 18 มิลลิกรัม |
ธาตุฟอสฟอรัส | 140 มิลลิกรัม |
ตาล เป็นไม้ต้นสูงชะลูดที่พบได้มากในประเทศไทยเรา แถมยังเป็นต้นที่นิยมปลูกตามสวนต่างจังหวัด เพื่อนำส่วนของลูกมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้นยอดนิยมที่นำมาใช้ทำขนมหวานได้หลากหลายเมนู มีรสหวานเย็นน่าทาน สรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ชูกำลัง ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับเลือด ช่วยแก้ไข้และช่วยลดความดันโลหิตได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [31 ต.ค. 2013].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [31 ต.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ต้นตาล“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [31 ต.ค. 2013].
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: science.skru.ac.th. [31 ต.ค. 2013].
bioGANG. “ตาลโตนด“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.biogang.net. [31 ต.ค. 2013].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [31 ต.ค. 2013].
“ตาลโตนด (Palmyra Palm)“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webserv.kmitl.ac.th/notyBurin/arjarnsodpdf/P_central/PDF_01central/018.pdf. [31 ต.ค. 2013]
“ผักพื้นบ้าน ตาล“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25. [31 ต.ค. 2013].
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. “ตาล / Asian palmyra palm”. (ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.foodnetworksolution.com. [31 ต.ค. 2013].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 159 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ตาลโตนด : ตัวแทนความหวานและความสูง”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [31 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com
รูปอ้างอิง
1.https://tamilcrew.com/agricultural-products/asian-palmyra-palm-seeds/
2.https://www.telegraphindia.com/west-bengal/palm-leaves-for-fan-sap-for-drinks/cid/1472528