ผักบุ้ง ผักยอดฮิตคนไทย บำรุงสายตา รักษาตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแห้ง

0
1804
ผักบุ้ง ผักยอดฮิตของคนไทย ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแห้ง
ผักบุ้ง ผักยอดฮิตชนิดหนึ่งสำหรับคนไทย มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือที่ลุ่มที่มีความชื้น มีทั้งผักบุ้งแก้ว ผักบุ้งจีน ผักบุ้งนา
ผักบุ้ง ผักยอดฮิตของคนไทย ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแห้ง
ผักยอดฮิตชนิดหนึ่งสำหรับคนไทย มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือที่ลุ่มที่มีความชื้น มีทั้งผักบุ้งแก้ว ผักบุ้งจีน ผักบุ้งนา

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง (Water Morning Glory) เป็น ผักยอดฮิตชนิดหนึ่งสำหรับคนไทย โดยเฉพาะเมนู “ผัดผักบุ้งไฟแดง” ซึ่งเป็นเมนูพื้นฐานของร้านอาหารทั่วไป เป็นผักที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการบำรุงสายตาเพราะมีวิตามินเอสูง สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายและมีรสชาติอร่อย ทานง่าย จะนำมาต้มแบบร้าน MK หรือจะนำมาผัดไฟแดงก็อร่อยได้เช่นกัน แต่ผักบุ้งนั้นมีประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าการบำรุงสายตาแบบที่คนทั่วไปรู้กัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักบุ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forssk.
ชื่อสามัญ : ผักบุ้งมีชื่อสามัญ 6 ชื่อ คือ “Swamp morning glory” “Thai water convolvulus” “Morning glory” “Water spinach” “Water morning glory” และ “Swamp cabbage”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักบุ้งนา” “ผักทอดยอด” มลายูเรียกว่า “โหนเดาะ กากง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)
ชื่อพ้อง : Ipomoea reptans Poir.

ลักษณะของผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือที่ลุ่มที่มีความชื้น ในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ
ผักบุ้งไทย : เป็นผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลอง นิยมใช้ทำแกงส้ม แกงเทโพ ผัดกะปิ เป็นต้น
ผักบุ้งจีน : เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศแต่สามารถเพาะปลูกในไทยได้ เป็นผักที่นิยมใช้ในเมนูสำคัญอย่างผัดผักบุ้งไฟแดง ใส่ในแจ่วฮ้อน สุกี้หรือกินกับหมูกระทะ
ผักบุ้งนา : ลำต้นมีสีแดง ยอดเรียวเล็ก รสฝาด กินกับลาบ น้ำตกและอาหารอีสานอื่น ๆ

สรรพคุณของผักบุ้ง

  • สรรพคุณด้านความงาม ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล ชะลอวัย
  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงธาตุ ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ป้องกันโรคมะเร็ง ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท ป้องกันโรคเบาหวาน รากแก้โรคหืด บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ที่ได้รับสารพิษอย่างเกษตรกร
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 บำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง และสายตาสั้น รักษาอาการคันตาบ่อย ๆ ต้นสดของผักบุ้งไทยช่วยบำรุงฟัน แก้อาการเหงือกบวม
    – รักษาแผลร้อนในข้างในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ แล้วอมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
    – รักษาฟันเป็นรูปวด ด้วยการใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ ต้นสดแก้อาการร้อนใน รากแก้อาการเหงื่อออกมากและแก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการปวดศีรษะและอ่อนเพลีย ยอดมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ ผักบุ้งรสเย็นช่วยถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนช่วยถอนพิษสำแดง ผักบุ้งไทยต้นขาวแก้อาการฟกช้ำและถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวเป็นยาแก้กลากเกลื้อน ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกและช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวมต่าง ๆ
    – แก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นมาคั้น นำน้ำที่คั้นมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วดื่ม
    – แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
    – แก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ต้นสดช่วยบำรุงโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
    – แก้เลือดกำเดาไหลมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทราย นำมาชงร้อนแล้วดื่ม
  • สรรพคุณช่วยเสริมสร้างสมอง เสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  • สรรพคุณด้านกระดูก ต้นสดของผักบุ้งไทยช่วยบำรุงกระดูก
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร ป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน ป้องกันโรคท้องผูก ทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้ ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะและแก้ปัสสาวะเหลือง รากแก้อาการตกขาวมากของสตรี
    – แก้อาการปัสสาวะเป็นเลือดและถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นมาคั้น นำน้ำที่คั้นมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วดื่ม
    – แก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม จากนั้นเคี่ยวจนข้นหนืด นำมารับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ประโยชน์ของผักบุ้ง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ประกอบอาหารอย่างพวกผัดผัก แกงต่าง ๆ ของดอง และนำมาต้มพร้อมรับประทาน
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ของหมู เป็ด ไก่ และปลา
3. ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม
เส้นใย 2.1 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
โปรตีน 2.6 กรัม
วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม (39%)
วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม (6%)
วิตามินบี5 0.141 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี6 0.096 มิลลิกรัม (7%)
วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม (14%)
วิตามินซี 55 มิลลิกรัม (66%)
แคลเซียม 77 มิลลิกรัม (8%) 
เหล็ก 1.67 มิลลิกรัม (13%)
แมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม (20%)
แมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม (8%)
ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม (6%) 
โพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม (7%)
โซเดียม 113 มิลลิกรัม (8%) 
สังกะสี 0.18 มิลลิกรัม (2%)

*** สารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายจะให้ประสิทธิภาพ 100% หากรับประทานสดมากกว่านำมาปรุงร้อน

ข้อควรระวัง

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักบุ้ง เพราะผักบุ้งมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต จะทำให้ความดันยิ่งต่ำ อาจจะก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริวได้ง่ายและบ่อยขึ้น อีกทั้งยังทำให้ร่างกายอ่อนแอด้วย

ผักบุ้ง ในประเทศไทยนิยมรับประทานผักบุ้งจีนมากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นผัดผักบุ้งหรือผักสดตามร้านอาหารชาบูและหมูกระทะ ล้วนเป็นผักบุ้งจีนทั้งนั้นเพราะมียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย จึงได้รับความนิยมในการรับประทานมากกว่า สรรพคุณที่โดดเด่นของผักบุ้งคือ บำรุงสายตา บำรุงฟัน ต้านมะเร็ง ป้องกันเบาหวานและป้องกันโรคกระเพาะอาหาร เป็นผักที่มีประโยชน์มากมาย เหมาะแก่การรับประทานเป็นประจำ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม