ต้นหมาก
เป็นไม้จำพวกปาล์ม ดอกเป็นช่อใหญ่สีขาวแกมสีเหลือง ผลเป็นทะลายสีเขียว ผลแก่สีเหลืองส้ม เนื้อสีเหลืองถึงเหลืองเข้มอมแดง

หมาก

หมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน เติบโตได้ดีที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงกว่า 700 เมตร ชื่อสามัญ คือ Areca nut, Areca nut palm, Areca palm, Betel nut palm, Betel Nuts[1],[5]
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Areca catechu L. จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า PALMAE หรือ PALMACEAE[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ หมากเมีย (ทั่วไป), หมากสง (ภาคใต้), แซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สีซะ (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ), มะ (ชอง-ตราด), เซียด (ชาวบน-นครราชสีมา), ปีแน (มลายู-ภาคใต้), ปิงน๊อ (จีนแต้จิ๋ว), ปิงหลาง (จีนกลาง)[1],[3]

ลักษณะของต้นหมาก

  • ต้น[1],[3],[5]
    – เป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 10-15 เมตร
    – ลำต้นตั้งตรง
    – เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน
    – ลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร
    – ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง
    – มีตายอดตรงส่วนปลายสุดของลำต้น
    – หากยอดตายต้นก็จะตาย
    – ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้
    – มีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ
    – มีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันตรงเปลือกนอก
    – ในส่วนกลางของลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่น
    – มีเนื้อไม้อ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ
    – ต้นเหนียวและสามารถโยกเอนได้
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ[1],[3]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนก
    – ออกเรียงเวียนกันที่ปลายยอด
    – ก้านใบมีความยาวได้ถึง 130-200 เซนติเมตร
    – ใบย่อยเป็นรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบเรียวแคบ
    – ใบอ่อนมีรอยแยก
    – ใบมีความกว้าง 2.5-6 เซนติเมตร และยาว 50-70 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบหนา
    – กาบใบหุ้มลำต้น
  • ดอก[1],[3],[5]
    – ออกตามซอกโคนก้านใบหรือกาบนอก
    – ดอกออกรวมกันเป็นช่อขนาดใหญ่
    – จะประกอบไปด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น
    – ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง
    – มีกลีบหุ้มช่อขนาดใหญ่ มีความยาว 40 เซนติเมตร เป็นมันเงา
    – มีใบประดับหุ้มอยู่
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน
    – กลีบดอกเป็นสีขาวแกมสีเหลือง
    – กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็นชั้น 2 ชั้น มีความยาว 5-6 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน
    – มีเกสรเพศเมียเป็นเส้น 3 เส้นบาง ๆ แผ่ออก
    – ดอกเพศผู้จะมีขนาดเล็กและอยู่ตรงส่วนปลายของก้านช่อดอก
    – ดอกเพศเมียจะค่อนข้างใหญ่และอยู่ที่โคนก้านช่อดอก
    – ดอกเพศผู้จะใช้เวลาบาน 21 วัน หลังจากนั้น 5 วัน ดอกเพศเมียจะเริ่มบาน
  • ผล[1],[3],[4],[5]
    – ผลออกเป็นทะลาย
    – ผลเป็นรูปทรงกลม รูปกลมรี รูปไข่ หรือเป็นรูปกระสวยขนาดเล็ก
    – ในหนึ่งทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10-150 ผล
    – ผิวผลเรียบ
    – มีกลีบเลี้ยงติดเป็นขั้วผล
    – ผลมีความกว้าง 5 เซนติเมตร และยาว 7 เซนติเมตร
    – ผลดิบหรือผลสดเป็นสีเขียวเข้ม เรียกว่า “หมากดิบ”
    – ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มทั้งผลหรือสีแดงแกมส้ม เรียกว่า “หมากสุก”
    – ผลประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ เปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นกลาง เปลือกชั้นใน และส่วนของเมล็ดหรือเนื้อ
    – เนื้อผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล
    – ส่วนเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง
    – ผลมีเมล็ดอยู่เมล็ดเดียว
    – จะออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคม

หมากกับมะเร็งปาก

1. ในอดีต เป็นสัญลักษณ์ของความนับถือและมิตรภาพ
2. ในสมัยก่อนถือเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก
3. ในภายหลัง ได้ถูกห้ามในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
– เพื่อให้คนไทยก้าวสู่ความเป็นอารยชน
– การปลูกยังเป็นการปลูกเพื่อเป็นพืชส่งออก
4. ในปัจจุบันแพทย์ได้พบหลักฐานว่า
– กินเป็นประจำจะทำให้คนกินเป็นโรคมะเร็งปาก
– เพิ่มโอกาสการเป็นโรคหัวใจ โรคหืด และโรคเบาหวาน
5. รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศมีการรณรงค์ให้คนลดการกินหมาก
– ทำให้สถิติการเป็นโรคมะเร็งปากในบางประเทศลดลง
– ในบางประเทศมีการออกกฎหมายห้ามผลิตสินค้าที่มีหมากเจือปน
– ในบางประเทศมีการออกกฎหมายเพื่อจำกัดการผลิต

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. สารสำคัญที่พบ คือ[2],[3[
    – Arecoline
    – Arecaidine
    – Arecolidine
    – Guvacoline
    – Guvacine
    – Isoguvacine
    – Leucocyanidin
    – Alkaloid 0.3-0.7%
    – Tanin 15%
    – น้ำมันระเหย 18%
  2. เมล็ดมีสาร Procyanidins[2]
    – ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ
    – เมล็ดมีสาร Arecatannin B1[2]
    – ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มีความจำเป็นต่อเชื้อโรคเอดส์
  3. สารสกัดด้วยเอทานอลจากเนื้อของผลหมากสง[6]
    – มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของคะน้าได้
  4. มีสารอัลคาลอยด์[14]
    – มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราและฆ่าเชื้อไวรัส
  5. จากการนำเนื้อผลมาต้มกับน้ำแล้วป้อนให้หนูทดลองกิน[3]
    – พบว่าภายใน 20 นาที สามารถฆ่าพยาธิในหนูทดลองได้
  6. มีสาร Arecoline[3]
    – มีฤทธิ์ทำให้พยาธิมึนชาได้
    – นำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในหมูได้ดีมาก
  7. สารที่สกัดได้จากเนื้อผลของผล เมื่อนำไปให้สัตว์ทดลองกิน[3]
    – มีผลกระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้ที่หดเกร็งเคลื่อนไหวได้
    – ช่วยทำให้น้ำย่อยของกระเพาะและลำไส้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
  8. สาร Arecoline[7]
    – ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แรงดันโลหิต
    – ช่วยกระตุ้นปริมาณของน้ำตาลกลูโคสในสมอง

สรรพคุณของหมาก

  • ช่วยแก้โรคกษัย[1]
  • ช่วยแก้พิษผิดสำแดงไข้[2]
  • ช่วยรักษาโรคในปาก[8],[11]
  • ช่วยแก้ปากเปื่อย[8],[11]
  • ช่วยถอนพิษถูกสารปรอทตามฟันได้[8],[13]
  • ช่วยสมานลำไส้[1],[2],[13]
  • ช่วยแก้อาการท้องเดิน[1]
  • ช่วยแก้โรคบิด[11]
  • ช่วยขับปัสสาวะ[11]
  • ช่วยถอนพิษบาดแผล[1]
  • ช่วยแก้เกลื้อน[1]
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็นได้[2],[13]
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร[1]
  • ช่วยแก้โรคเบาหวาน[13]
  • ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย[14]
  • ช่วยแก้อาการไอ[1]
  • ช่วยขับเสมหะ[1],[3]
  • ช่วยแก้เมา แก้อาเจียน[1]
  • ช่วยป้องกันอาการของโรคต้อหินหรือความดันภายในลูกตา[14]
  • ช่วยแก้กระเพาะอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยแก้บิดทวารหนัก[3]
  • ช่วยถ่ายพยาธิ ยาขับพยาธิได้หลายชนิด[3],[4],[14]
  • ช่วยขับพยาธิในถุงน้ำดี[3]
  • ช่วยลดอาการขาบวมน้ำ[3]
  • ช่วยสมานแผล[1]
  • ช่วยรักษาหูด[14]
  • ช่วยแก้ไข้ แก้หวัด[2]
  • ช่วยป้องกันสารพิษทำลายตับ[2],[13]
  • ช่วยล้อมตับดับพิษ[9],[11]
  • ช่วยขับพิษภายในและภายนอก[9],[11]
  • ช่วยแก้ผดผื่นคันตามตัวได้[9],[11],[13]
  • ช่วยขับเหงื่อ[4]
  • ช่วยรักษาโรคในปาก[4]
  • ช่วยแก้ปากเปื่อย[4]
  • ช่วยทำให้เหงือกและฟันแข็งแรง[4]
  • ช่วยรักษาท้องเดิน ท้องเสีย[4]
  • ช่วยแก้บิดปวดเบ่ง ปวดแน่นท้อง[4]
  • ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ[2],[4]
  • ช่วยสมานแผลทำให้เลือดหยุดไหล และทำให้แผลหายเร็ว[4],[11]
  • ช่วยยับยั้งการไหลของหนองเวลาเป็นแผล[4]
  • ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย แผลเป็น[4],]12]
  • ช่วยฆ่าพยาธิบาดแผล ขจัดรอยแผลเป็น[4],[12]
  • ช่วยแก้คัน[4]

ประโยชน์ของหมาก

1. เนื้อในเมล็ด สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าได้[7]
2. เปลือกผล สามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้[7]
3. เมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ได้[2],[4],[11]
4. สามารถนำมาใช้กำจัดหนอน ในเวลาที่โค กระบือเป็นแผลมีหนอน จะทำให้หนอนตายได้[11]
5. ช่อดอก จะนำมาใช้ในงานแต่งงานและงานศพ[7]
6. สามารถปลูกไม้ประดับทั่วไปได้ เพื่อลำต้นและทรงพุ่มมีความสวยงาม[7]
7. กาบ สามารถนำมาใช้ทำพัดได้[10]
8. กาบใบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำภาชนะ เครื่องจักสาน หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของได้
9. ในสมัยก่อน จะนำกาบใบมาทำเป็นรถลาก (เด็กเล่น) [7],[10],[11]
10. กาบใบ สามารถนำมาดัดหรือเจียนทำเป็นเนียนสำหรับขูดน้ำพริกที่สากและครก[7],[10],[11]
11. กาบใบ สามารถนำมาทำเป็นที่จับกระทะเคี่ยวตาลได้[7],[10],[11]
12. ลำต้นสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ เช่น ใช้ทำสะพาน เฟอร์นิเจอร์ ทำเสาตอม่อ ทำไม้คานแบกของ ทำคร่าวสำหรับยึดฝาฟากสับ [7],[10],[11]
13. โคนแก่ สามารถนำมาใช้ทำชั้นพะองเพื่อทอดทำสะพานข้ามกระโดง ท้องร่อง[7],[10],[11]
14. ลำต้น เมื่อมาทะลวงไส้ออก จะสามารถใช้เป็นท่อระบายน้ำได้[7],[10],[11]
15. ต้น สามารถนำมากั้นคันดินและทำเป็นตอม่อได้ เพื่อป้องกันคันดินที่กั้นน้ำเข้าสวนพังได้อีกด้วย[7],[10],[11]
16. ชาวสวนใช้ทางแห้งนำมาทำเป็นเสวียนขนาดใหญ่ ใช้สำหรับรองรับกระทะใบบัวขนาดใหญ่ ในขณะที่กวนน้ำตาลองุ่นให้เป็นน้ำตาลปี๊บ[10]
17. ยอดอ่อนของลำต้น สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักได้[7],[11]
18. จั่นหรือดอกอ่อน สามารถใช้รับประทานเป็นอาหารได้[7],[11]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หมาก (Mak)”. หน้า 328.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หมาก Areca Plam, Betelnut Palm”. หน้า 41.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หมาก”. หน้า 612.
4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [19 ก.ค. 2014].
5. สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. “หมาก (Betel Nuts)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chachoengsao.doae.go.th. [19 ก.ค. 2014].
6. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 ก.พ. 2553. (ศานิต สวัสดิกาญจน์, สุวิทย์ เฑียรทอง, เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์, สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์, วริสรา ปลื้มฤดี). “ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า”. หน้า 412-421.
7. บ้านจอมยุทธ์. “หมาก ( areca palm ) Areca catechu L.”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.baanjomyut.com. [19 ก.ค. 2014].
8. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “หมาก แก้น้ำกัดมือเท้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [19 ก.ค. 2014].
9. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “หมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [19 ก.ค. 2014].
10. จุฬาวิทยานุกรม. “ต้นหมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chulapedia.chula.ac.th. [19 ก.ค. 2014].
11. ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช กรมวิชาการเกษตร. “หมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.apoc12.com. [19 ก.ค. 2014].
12. โครงการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนทั่วไป, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “หมาก”. อ้างอิงใน: หนังสือพฤกษาพัน (เอื้อมพรวีสมหมาย และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.natres.psu.ac.th. [19 ก.ค. 2014].
13. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “หมาก แก้เบาหวานแผลหายเร็ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [19 ก.ค. 2014].
14. รักบ้านเกิด. “การใช้หมากรักษาหูด”. อ้างอิงใน: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakbankerd.com. [19 ก.ค. 2014].
15. ผู้จัดการออนไลน์. (นายเกษตร). “หมากกับมะเร็งปาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [19 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com/
2. https://hzgoodar.live/
3. https://medthai.com/