ต้นเทียนขาว ช่วยบำรุงธาตุ และรักษาอาการตกขาวของสตรี

0
1365
เทียนขาว
ต้นเทียนขาว ช่วยบำรุงธาตุ และรักษาอาการตกขาวของสตรี เป็นพืชสมุนไพรล้มลุก ดอกช่อคล้ายดอกผักชีล้อม สีขาวอมชมพู เมล็ดคล้ายข้าวเปลือกแต่เล็กและยาวเรียว รสเผ็ดร้อนขมหอม
เทียนขาว
เป็นพืชสมุนไพรล้มลุก ดอกช่อคล้ายดอกผักชีล้อม สีขาวอมชมพู เมล็ดคล้ายข้าวเปลือกแต่เล็กและยาวเรียว รสเผ็ดร้อนขมหอม

เทียนขาว

ต้นเทียนขาว เป็นพืชสมุนไพรล้มลุกอายุสั้นที่มีขนาดเล็กสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) เมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายยี่หร่า นิยมนำเมล็ดแห้งใช้สำหรับเป็นเครื่องเทศดับกลิ่นคาว แต่งกลิ่นในอาหารรวมถึงยังใช้ในยาแผนโบราณ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cuminum cyminum L.

ลักษณะของต้นเทียนขาว

  • ต้น
    – ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร
    – เป็นสมุนไพรที่นำเข้าจากต่างประเทศ
    – เป็นผลแห้ง
    – นิยมนำไปใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
    – มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “ยี่หร่า” หรือ “เมล็ดยี่หร่า”
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกใบออกสลับกัน
    – ใบที่โคนต้นเป็นรูปไข่เมื่อดูแนวรูปใบ
    – มีความยาว 5-10 เซนติเมตร
    – ขอบใบหยักลึกจนถึงเส้นกลาง เป็นแฉก 2-3 แฉก
    – ในแต่ละแฉกจะคล้ายเส้นด้าย มีความยาว 1-2 เซนติเมตร
    – ก้านใบจะแผ่เป็นกาบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มหลายชั้น
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
    – มีกลีบเลี้ยงที่ค่อนข้างเล็ก
    – มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือสีชมพู
    – มีเกสรตัวผู้ 5 อันติดอยู่กับฐานดอก ออกเรียงสลับกับกลีบดอก
    – เกสรตัวเมียจะสั้น
    – รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีอยู่ 2 ห้อง
    – ในแต่ละห้องจะมี 1 เมล็ด
  • ผล
    – เป็นผลแห้ง
    – รูปร่างยาวรี มีสีน้ำตาล
    – มีความกว้างประมาณ 1.3-2 มิลลิเมตร และยาว 4.5-6.7 มิลลิเมตร
    – เปลือกมีขนสั้นแข็งปกคลุม
    – ผลแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
    – ในแต่ละซีกจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – ซีกผลด้านนอกจะมีความนูน
    – ซีกผลด้านในที่ประกบกันหรือด้านแนวเชื่อมจะมีความเว้า
    – ด้านที่นูนจะมีสันตามแนวของผล จะคล้ายกับเส้นด้าย 3 เส้น
    – ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันนูน มีขนแข็งสั้น ๆ หักง่ายปกคลุมอยู่ที่สัน
    – ระหว่างสันจะมีเนินเล็ก ๆ มีขนแข็ง
    – เมล็ดมีกลิ่นหอม
    – น้ำมันจากเมล็ดจะมีรสชาติเผ็ดร้อนและขม

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัมให้ พลังงาน 375 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 44.24 กรัม
น้ำตาล 2.25 กรัม
เส้นใย 10.5 กรัม
ไขมัน 22.27 กรัม
กรดไขมันอิ่มตัว 1.535 กรัม
โปรตีน 17.81 กรัม
น้ำ 8.06 กรัม
วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม 8%
วิตามินบี 2 0.327 มิลลิกรัม 27%
วิตามินบี 3 4.579 มิลลิกรัม 31%
วิตามินบี 6 0.435 มิลลิกรัม 33%
วิตามินบี 9 10 ไมโครกรัม 3%
วิตามินบี 12 0 ไมโครกรัม 0%
วิตามินซี 7.7 มิลลิกรัม 9%
วิตามินอี 3.33 มิลลิกรัม 22%
วิตามินเค 5.4 ไมโครกรัม 5%
ธาตุแคลเซียม 931 มิลลิกรัม 93%
ธาตุเหล็ก 66.36 มิลลิกรัม 510%
ธาตุแมกนีเซียม 366 มิลลิกรัม 103%
ธาตุฟอสฟอรัส 499 มิลลิกรัม 71%
ธาตุโพแทสเซียม 1,788 มิลลิกรัม 38%
ธาตุโซเดียม 168 มิลลิกรัม 11%
ธาตุสังกะสี 4.8 มิลลิกรัม 51%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สรรพคุณของเทียนขาว

  • ช่วยแก้นิ่ว
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้น้ำดีพิการ
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยแก้อาเจียน
  • ขับลมในลำไส้
  • ช่วยต้านอาการชักได้
  • ช่วยแก้อาการท้องเสีย
  • ช่วยขับระดูขาวของสตรี
  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
  • ช่วยแก้ลมวิงเวียน
  • ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาลาย อาการใจสั่น
  • ช่วยแก้คลื่นเหียนอาเจียน
  • แก้ลมจุกแน่นในท้อง
  • ช่วยต่อต้านมะเร็งในหนูทดลอง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ช่วยแก้อาการปวดมวน ไซ้ท้องได้
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับลมในลำไส้หรือใช้ขับผายลมในเด็ก
  • ช่วยต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยแก้อาหารไม่ย่อย
  • ช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลายของแอลกอฮอล์และน้ำมันที่ถูกความร้อนสูง

ประโยชน์ของเทียนขาว

  • ช่วยเสริมสร้างความจำ
  • ชาวโรมันโบราณนั้นจะใช้แทนพริกไทย
  • สามารถนำผลมาบดเพื่อนำมาใช้ทำเป็นครีมข้นไว้สำหรับทาขนมปัง
  • ผงยี่หร่าจะช่วยเพิ่ม Hemoglobin ในเลือด ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีความอดทนในการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น
  • ผงยี่หร่า จะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายสามารถรับสารอาหารได้ง่ายขึ้น
  • เมล็ดยี่หร่า สามารถนำไปแปรรูปทำให้แห้ง เพื่อใช้ทำเป็นเครื่องเทศได้
  • สามารถนำไปใช้ใส่แกงพะโล้ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ แกงป่า มัสมั่นได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์บ้านข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.diys.com/cumin-plant/
2.https://lifeforceseeds.com.au/products/cumin