ว่านชักมดลูก
เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีหลากหลายสายพันธุ์ บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก ตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก พบได้มากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma comosa Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) ชื่อท้องถิ่น อื่น ๆ ว่านหมาวัด(อุบลราชธานี), ว่านทรหด, ว่านหำหด, ว่านพญาหัวศึก, ว่านการบูรเลือด ในประเทศไทยตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์
สายพันธุ์ว่านทรหด
1. ว่านตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.)
– มีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง
– มีแขนงสั้น
2. ว่านตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe)
– มีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่
– หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า
– แขนงจะยาวมากกว่า
สมุนไพรว่านชักมดลูก
- จะใช้ว่านตัวเมียเป็นหลัก
- เนื่องจากมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี
- นักวิจัยก็ได้ตีความว่า มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน
- มีงานวิจัยพบว่าว่านตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์
- แม้จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ตาม
- เรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน
- มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
- วงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้
ผลข้างเคียงของว่านชักมดลูก
1. สำหรับสตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
– หลังจากรับประทานอาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้นได้
– สามารถรับประทานต่อไปได้ ประจำเดือนก็จะค่อย ๆ หมดไปเอง
2. มีอาการปวดหน้าอก ตึงหน้าอก หรือปวดมดลูก ช่องคลอด
– หากมีอาการดังกล่าวให้ลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง
– หลังจากอาการดีขึ้นค่อยรับประทานในปริมาณที่กำหนด
– มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและตามลำตัว เป็นอาการที่พบได้น้อย
– แนะนำว่าถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากจนเกินให้รับประทานต่อได้
– แต่ถ้ามีผื่นมากก็ให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง
3. มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน
– มีอาการไอเหมือนจะเป็นไข้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้สตรีที่ร่างไม่แข็งแรง
– แนะนำว่าให้หยุดรับประทานสักพักจนกว่าอาการไข้จะหายไป
– ให้รับประทานต่อในปริมาณที่ลดลงครึ่งหนึ่ง
– สำหรับผู้ไม่ได้มีอาการไข้ให้เริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ
– แล้วค่อยเพิ่มปริมาณในการรับประทานตามฉลากสมุนไพร
4. มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ
– เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุด
– แนะนำว่าสามารถรับประทานต่อไปได้เลย
สรรพคุณ และประโยชน์ของยาว่านชักมดลูก
- ต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท
- ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์
- ช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษ
- ช่วยลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย
- ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี
- ช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น
- ช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
- ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับ
- ช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอล
- ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น
- ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น
- ช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
- ช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม
- ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
- ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ
- ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ
- ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว
- ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง
- ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย
- ช่วยขับน้ำคาวปลา
- ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์
- ช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี
- ช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน
- ช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
- ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี
- ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูก
- ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด หรือในมดลูก
- ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
- ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร
- ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
- ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆ ของสตรี
- ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ
- ช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก
- ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด
- ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่
- ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
- สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักในการผลิตยาสมุนไพรยี่ห้อต่าง ๆ เช่น ชนิดแคปซูล ชนิดผง
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี en.wikipedia.org/wiki/Curcuma_comosa, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล