คําฝอย
เป็นไม้ล้มลุกใบเดี่ยว ปลายใบเป็นหนามแหลม ดอกสีเหลืองแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม คล้ายดาวเรือง ผลรูปไข่สีขาวงาช้างปลายตัด

ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย จัดเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องที่ช่วยลดความอ้วน ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเลือด ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร คือ ดอก, เกสร, กลีบดอกที่เหลือจากผล, เมล็ด, และน้ำมันจากเมล็ด ถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ในประเทศไทยจะพบทางภาคเหนือ จะพบได้มากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ชื่อสามัญ คือ Safflower (แซฟฟลาวเวอร์), False saffron, Saffron thistle ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Carthamus tinctorius L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง

ลักษณะของคำฝอย

  • ต้น
    – เป็นไม้ล้มลุก มีความสูง 40-130 เซนติเมตร
    – มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก
    – เป็นพืชที่มีอายุสั้น
    – มีความทนแล้ง
    – เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร
    – ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
    – อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเติบโตจะอยู่ที่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส
    – อุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส
    – ใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ใบออกเรียงสลับกัน รูปวงรี
    – ใบมีความคล้ายกับรูปหอกหรือรูปขอบขนาน
    – ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ปลายใบเป็นหนามแหลม
    – ใบมีความกว้าง 1-5 เซนติเมตร และยาว 3-12 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด
    – มีดอกย่อยขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
    – ดอกมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง
    – ดอกเมื่อบานใหม่ ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
    – ดอกเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
    – มีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นไข่หัวกลับ
    – ผลมีความเบี้ยว เป็นสีขาวงาช้างปลายตัด
    – มีสัน 4 สัน
    – ผลมีความยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร
    – เป็นผลแห้งไม่แตก
    – ผลเมื่อแก่จะแห้ง
    – ผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็ง มีสีขาว
    – เมล็ดจะไม่แตกกระจาย

งานวิจัยดอกคำฝอย

  1. มีรายงานจากน้ำมันจากเมล็ด(ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
    – ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
    – แต่จะไปสะสมระดับคอเลสเตอรอลในตับ
    – อาจจะทำให้เกิดอาการตับแข็งได้
  2. ประเทศอังกฤษ ในปีค.ศ. 1989
    – ได้ทำการทดลองน้ำมันจากดอกกับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิด Mild hypertension
    – โดยให้รับประทานน้ำมันจากดอกฝอยทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ วันละ 5.9 กรัม
    – จากผลการทดลองพบว่า ค่าความดัน Systolic ลดลงมา 6.5 mm.Hg และค่าความดัน Diastolic ลดลงมา 4.4 mm.
    – มีการสรุปว่าน้ำมันจากดอกมีผลในการช่วยลดความดันโลหิตได้จริง
  3. ประเทศอเมริกา ในปีค.ศ. 1976
    – ได้ทำการทดลองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นชาย 122 คนและหญิง 19 คน
    – โดยการให้รับประทานน้ำมันดอกจากดอกทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ วันละ 57 กรัม
    – จากผลการทดลองพบว่า น้ำมันจากดอก ช่วยลดระดับความดันโลหิตและระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
    – มีผลการสร้าง Prostaglandin ที่เป็นผลให้ High Density Lipoprotein เพิ่มขึ้น
  4. มีการทดลองให้อาหารปกติผสมน้ำมันจากดอกกับหนูทดลองที่มีคอเลสเตอรอลสูง
    – โดยให้ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงถึง 36%
    – หากให้อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงผสมกับน้ำมันดอกคำฝอย 4% พบว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น
  5. มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากดอกย่อยด้วยเอทานอล 50%
    – โดยให้หนูทดลองกินในปริมาณ 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
    – ให้โดยการฉีดเข้าในผิวหนังของหนูในขนาดเท่ากัน
    – พบว่าตรวจไม่พบอาการเป็นพิษแต่อย่างใด
  6. การวิเคราะห์ทางคลินิก(ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
    – พบว่าสารสกัดจากดอก มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง
    – มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกและฮอร์โมนเพศหญิง
    – ช่วยทำให้มดลูกและกล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้
    – หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้มดลูกเป็นตะคริวได้

คำแนะนำในการใช้

  1. ควรระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (Anticoagulant)
  2. สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภค
    – เพราะมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน
    – หากรับประทานอาจจะทำให้แท้งบุตรได้
  3. การรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป
    – อาจจะทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
    – อาจทำให้มีอาการมึนงง หรือมีผดผื่นคันขึ้นตามตัวได้
  4. วิธีใช้
    – ควรใช้ดอกร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอยู่เสมอ
    – ไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว
    – ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
    – ไม่ควรใช้ในระยะยาว
  5. โทษ
    – การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไป
    – จะส่งผลทำให้โลหิตจางได้
    – มีผลทำให้มีเลือดน้อยลง
    – มีอาการอ่อนเพลีย
    – เหนื่อยง่าย
    – มีอาการวิงเวียนศีรษะ

สรรพคุณของคําฝอย

  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยขยายหลอดเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ แก้แพ้
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งฟันผุ
  • ดอกช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
  • ดอกช่วยบำรุงคนเป็นอัมพาต
  • ดอกช่วยป้องกันและรักษาแผลกดทับ
  • ดอกช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว
  • ดอกช่วยแก้อาการแสบร้อนตามผิวหนัง
  • ดอกช่วยแก้ดีซ่าน
  • ดอกช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
  • ดอกช่วยบำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติ
  • ดอกช่วยแก้อาการตกเลือด
  • ดอกช่วยแก้อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด
  • ดอกช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ดอกช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • ดอกช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • ดอกช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ
  • ดอกช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน
  • ดอกช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล
  • ดอกช่วยแก้ไข้ในเด็ก
  • ดอกช่วยรักษาอาการไข้หลังคลอดของสตรี
  • ดอกช่วยขับเหงื่อ
  • ดอกช่วยสลายลิ่มเลือด
  • ดอกช่วยบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ
  • ดอกช่วยฟอกโลหิต
  • ดอกช่วยขยายหลอดเลือด
  • ดอกช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  • ดอกช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น
  • ดอกช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย (Hysteria) หรือโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง
  • ดอกช่วยบำรุงประสาทและระงับประสาท
  • ดอกช่วยลดความอ้วน
  • ดอกช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ดอกช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • เมล็ดช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
  • เมล็ดช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
  • เมล็ดช่วยแก้อาการปวดมดลูกหลังการคลอดบุตรได้
  • เมล็ดช่วยแก้อัมพาต และอาการขัดตามข้อต่าง ๆ ได้
  • เมล็ดช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว
  • เมล็ดช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบได้
  • เมล็ดช่วยแก้ฝี
  • เมล็ดช่วยแก้อาการปวดมดลูก
  • เมล็ดช่วยลดอาการอักเสบของมดลูกในสตรี
  • เมล็ดช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • เมล็ดช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • เมล็ดช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ
  • เมล็ดช่วยขับเสมหะ

ประโยชน์ของคำฝอย

  • สามารถนำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น ยาแคปซูล ชา
  • น้ำมันจากดอกที่สกัดโดยไม่ผ่านความร้อน สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้
  • น้ำมันจากเมล็ดที่สกัดโดยผ่านความร้อน สามารถนำมาใช้ผสมสีทาบ้าน ทำสบู่ น้ำยาเคลือบผิว
  • น้ำมันจากดอก ทนความร้อนได้สูง สามารถนำมาใช้ในการทอดและใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้
  • กากเมล็ด สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์และทำเป็นปุ๋ยได้
  • ดอกแก่ เมื่อนำมาชงกับน้ำร้อน สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีอาหาร ทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เนยเทียม หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้
  • สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าไหมและฝ้ายได้
  • ดอก สามารถนำมาใช้แต่งสีข้าวได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่), สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, เว็บไซต์โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เว็บไซต์คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, หนังสือร่วมอนุรักษ์มรดกไทย สารานุกรมสมุนไพรไทย รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), หนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง และหนังสือลดไขมันในเลือด (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://jardinage.lemonde.fr/