ส้มเช้า มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตอนเช้า เป็นยาระบาย รักษาฝีและฟอกเลือด

0
1554
ส้มเช้า มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตอนเช้า เป็นยาระบาย รักษาฝีและฟอกเลือด
ส้มเช้า เป็นต้นที่มียางเป็นสรรพคุณทางยาสมุนไพร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมออกจากตุ่ม
ส้มเช้า มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตอนเช้า เป็นยาระบาย รักษาฝีและฟอกเลือด
ส้มเช้า เป็นต้นที่มียางเป็นสรรพคุณทางยาสมุนไพร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมออกจากตุ่ม

ส้มเช้า

ส้มเช้า (Holy Milk Hedge) เป็นต้นที่มียางเป็นสรรพคุณทางยาสมุนไพร ส้มเช้ามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือชนิดที่มีขนาดของต้นเตี้ยและเป็นไม้พุ่ม ในที่นี้จะพูดถึงชนิดที่เป็นไม้พุ่ม มักจะพบตามป่าทั่วไปและพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นต้นที่คนส่วนมากไม่ค่อยรู้จักสักเท่าไหร่ ส่วนต่าง ๆ ของต้นมีรสเปรี้ยวเมาแต่ส่วนของรากและใบนั้นมีพิษ ส้มเช้ามีคุณสมบัติที่โดดเด่นเลยก็คือ ใบของส้มเช้าจะมีรสเปรี้ยวจัดในตอนเช้าและมีกลิ่นหอม พอช่วงสายความเปรี้ยวจะอ่อนลงและหมดในช่วงก่อนเที่ยงจึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ส้มเช้า”

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของส้มเช้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia neriifolia L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Holy Milk Hedge” “Yelekalli Marathi”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “กะเร กาลัม เพราะเพระ โพะเพะ ไห่หวัง ฮ้อบแฮ้บ ฮวยออง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Elaeophorbia neriifolia (L.) A.Chev., Euphorbia edulis Lour., Euphorbia ligularia Roxb. ex Buch. – Ham., Euphorbia pentagona Blanco, Euphorbia pentagona Noronha, Tithymalus edulis (Lour.) H.Karst.

ลักษณะของส้มเช้า

ส้มเช้า เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มักจะพบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าราบและป่าเบญจพรรณ
ลำต้น : ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมออกจากตุ่ม 1 – 2 อัน ตามข้อต่อเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยมและมียางสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าตื้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบหนาอวบน้ำ หูใบเป็นหนาม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง เป็นดอกแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ดอกมีใบประดับที่ดูคล้ายกลีบดอกสีเหลือง 5 อัน
ผล : ผลเป็นผลสดประกอบไปด้วยผลขนาดเล็ก 3 ผลรวมกัน ไม่มีเนื้อผลหรือเป็นผลแห้งแตกได้เป็น 3 พู

สรรพคุณของส้มเช้า

  • สรรพคุณจากใบ ฟอกโลหิต ช่วยถ่ายคูถเสมหะหรือของเหลวที่อยู่ในช่องท้องส่วนล่างอย่างระบบขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือนของสตรี เป็นยาถอนพิษ
    – รักษาฝี ปิดฝี ทำให้ฝียุบและหายปวด ช่วยถอนพิษหนองที่เกิดจากฝีได้อย่างชะงัด แก้ปวด ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากยาง แก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง ทำให้อาเจียน แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องมาน แก้พุงโร แก้ม้ามย้อย ช่วยขับน้ำย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้บวม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – เป็นยาระบาย ด้วยการนำเปลือกมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของส้มเช้า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนใช้รับประทานสดเป็นผักร่วมกับน้ำพริกหรือนำมาใช้แทนใบเมี่ยงได้
2. ใช้ในการเกษตร รากและใบมีพิษจึงใช้เป็นยาเบื่อปลา
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ

ส้มเช้า เป็นต้นที่มีรสเปรี้ยวเมาซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ทั้งนี้เราจะพูดถึงชนิดที่เป็นไม้พุ่มซึ่งนิยมปลูกไว้เพื่อเก็บใบอ่อนกินเป็นอาหารและเป็นไม้ประดับ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย ส้มเช้าเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของยางและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาระบาย รักษาฝี ช่วยถ่ายคูถเสมหะ ช่วยขับประจำเดือนและฟอกเลือด ถือเป็นต้นที่น่าสนใจในการนำมาปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ส้มเช้า (Som Chao)”. หน้า 281.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ส้มเช้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [05 มิ.ย. 2014].
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ส้มเช้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [05 มิ.ย. 2014].
สมุนไพรไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ส้มเช้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/49320567/. [05 มิ.ย. 2014].
ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ส้มเช้ามีสองชนิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www. thairath.co.th. [05 มิ.ย. 2014].