พญาไร้ใบ
ชื่อสามัญ Moon creeper, Moon plant [2]ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sarcostemma acidum (Roxb.) Voigt อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เถาวัลย์ยอดด้วน (ราชบุรี), เถาหูด้วน (สุพรรณบุรี), เถาวัลย์ด้วน (ภาคกลาง), เถาติดต่อ (นครราชสีมา), เอื้องเถา (กาญจนบุรี)[1]
หมายเหตุ : พืชวงศ์เดียวกันยังมีพืชอีกชนิดก็คือ เถาวัลย์ด้วน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarcostemma viminale subsp. brunonianum (Wight & Arn.) P.I. Forst. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Sarcostemma brunonianum Wight & Arn. มีชื่อท้องถิ่นเหมือนกัน ลักษณะต้นคล้ายกัน แต่ชนิดนี้มีสรรพคุณที่เป็นยาดับพิษไข้ร้อน ขับน้ำเหลืองเสีย ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เถา) อีกข้อมูลระบุไว้ว่าใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงปอด บำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงหัวใจ[4] (ไม่มั่นใจว่าน้ำยางมีพิษเหมือน ชนิด Euphorbia tirucalli L. หรือไม่ใช่)
ลักษณะพญาไร้ใบ
- ต้นเป็นพรรณไม้เถาไม่มีใบ มีกิ่งก้านเป็นข้อ ๆ ข้อต้นมีลักษณะเป็นสีเขียว ข้อแต่ละข้อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ทั้งลำต้นจะมีน้ำยางสีขาวอยู่ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มักพบขึ้นที่ตามขึ้นตามหินปูน ป่าราบทั่วไป[1]
- ดอก ออกเป็นกระจุก ดอกมีลักษณะเป็นสีขาวอมสีเขียว ออกดอกที่ข้อกับปลายกิ่ง มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ติดอยู่บริเวณโคนกลีบ กลีบดอกจะเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนาน ที่ปลายกลีบจะมน เวลาดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบรองดอกมีขนาดที่เล็ก เกสร Corona ติดกับเกสรเพศผู้ ที่เชื่อมติดกันอยู่ ปลายอับเรณูจะงอเข้าหากัน[1]
- ผล จะออกผลเป็นฝัก ฝักยาวประมาณ 10-12.5 เซนติเมตร มีปลายฝักจะเรียวแหลมและตรง มีเมล็ดอยู่ในฝัก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่แบน ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร[1]
สรรพคุณพญาไร้ใบ
1. สามารถใช้รากทานเป็นยาบำรุงตับได้ (ราก)[1]
2. สามารถใช้ลำต้นแห้งมาทำเป็นยาทำให้อาเจียนได้ (ลำต้นแห้ง)[1]
3. รากจะมีรสชาติหวานมันนิดหน่อย สามารถทานเป็นยาบำรุงกำลังได้ (ราก)[1]
4. ทั้งต้นสามารถใช้เป็นยาเย็น ยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาขมได้(ทั้งต้น)[1]
5. สามารถช่วยบำรุงปอดได้ (ราก)[1]
6. สามารถทานเป็นยาบำรุงหัวใจได้ (ราก)[1]
7. ต้น เป็นพิษใช้เบื่อปลา กัดหูด
8. ยาง ใช้กัดหูต แก้ปวดข้อ หากเข้าตาจะตาบอดได้
9. ใบและราก แก้ริดสีตวงทวาร ยาระบายอ่อนๆ
ประโยชน์พญาไร้ใบ
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “เถาวัลย์ด้วน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [30 เม.ย. 2014].
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “พญา ไร้ ใบ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 527-528.
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “เถาวัลย์ด้วน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [30 เม.ย. 2014].
4. Digital Flora Karnataka. “Sarcostemma acidum (Roxb.) Voigt”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: florakarnataka.ces.iisc.ernet.in/hjcb2/. [30 เม.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/