ต้นกระต่ายจันทร์ สรรพคุณบำรุงสายตา

0
1315
ต้นกระต่ายจันทร์ สรรพคุณบำรุงสายตา เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ผลสี่เหลี่ยมรูปรี เปลือกด้านนอกจะมีขนสีขาว
ต้นกระต่ายจันทร์
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ผลสี่เหลี่ยมรูปรี เปลือกด้านนอกจะมีขนสีขาว

กระต่ายจันทร์

ชื่อสามัญ Spreading-sneezeweed ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Centipeda minima (L.) A.Braun & Asch. อยู่วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[4] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น โฮ่วเกี๋ยอึ้มเจี๋ยะเช้า (จีน), หญ้าผมยุ่ง (ภาคกลาง), หญ้าต่ายจาม (ภาคกลาง), กระต่ายจันทร์ (ภาคกลาง), กระต่าย (ภาคกลาง), หญ้าขี้ตู้ด (น่าน), เอ๋อปุ๊สือเฉ่า (จีนกลาง), สาบแร้ง (ภาคกลาง), หญ้าต่ายจันทร์ (ภาคกลาง), หญ้ากระต่ายจาม (ภาคกลาง), กระต่ายจาม (ภาคกลาง), หญ้ากระจาม (สุราษฎร์ธานี), หญ้าจาม (ชุมพร), หญ้าจาม (เชียงใหม่), กระต่ายจันทร์ (กรุงเทพฯ), เหมือนโลด (นครราชสีมา) [1],[2],[3]

ลักษณะของต้นกระต่ายจันทร์

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นจะแผ่ที่ตามพื้นดินที่ชื้นเย็น ลำต้นเล็ก จะแตกกิ่งก้านเยอะ ที่ปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้นนิดหน่อย หรืออาจชูสูงถึงประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นอ่อนจะมีขนยุ่งขึ้นคลุมคล้ายกับใยแมงมุม บางต้นจะค่อนข้างเรียบ ลำต้นมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน มีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ที่ในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย เอเชีย แอฟริกา สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาค มักจะพบขึ้นที่ตามบริเวณที่โล่ง ที่ริมแหล่งน้ำ ริมชายฝั่งแม่น้ำ ตามนาข้าว ตามที่ชื้นแฉะ บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงประมาณ 1,800 เมตร[1],[2],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ใบจะออกเรียงสลับ ใบเกิดจากต้นโดยตรงโดยไม่มีก้าน ใบเป็นรูปช้อนแกมรูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะแหลมหรือมน ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่าง หรือจะหยักเว้าเป็นง่ามข้างละ 2-3 หยัก ใบกว้างประมาณ 2-7 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 4-20 มิลลิเมตร ใบอ่อนที่ใต้ท้องใบจะมีขน ใบแก่ขนจะหลุดจนเกลี้ยง มีเส้นใบที่เห็นไม่ชัด[1],[2],[3],[4]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกที่ตามซอกใบ ดอกย่อยจะเรียงอัดแน่นเป็นรูปทรงเกือบกลม หรือกลมแบน ที่ปลายจะกลมจักเป็นซี่ ๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร มีก้านช่อดอกที่สั้นมากหรือจะไม่มีก้านดอก ที่โคนช่อจะมีใบประดับรองรับมีลักษณะเป็นรูปช้อนมีขนาดเล็กเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันประมาณ 2 ชั้น อยู่รอบฐานรองดอกเป็นแผ่นกลมมีขนาดเล็ก นูนนิดหน่อย ดอกเพศเมียมีขนาดเล็กมากและมีเป็นจำนวนมาก จะเรียงกันเป็นวงบนฐานดอกล้อมดอกสมบูรณ์เพศจะมีขนาดเล็กและมีน้อยกว่า ดอกเพศเมียมีกลีบดอกเป็นสีขาว ที่โคนจะเชื่อมติดเป็นหลอดเรียว มีขนาดที่สั้นมาก ที่ปลายจะแยกเป็น 2-3 แฉก รังไข่มีขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียจะมีขนาดสั้น ยอดเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 2 แฉก ดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง สีเหลืองอมสีเขียวมีแถบเป็นสีม่วงแต้มอยู่ จะอยู่วงใน ที่โคนกลีบจะติดเป็นหลอดสั้น ส่วนที่ปลายจะแยกเป็น 4 แฉก มีรังไข่ขนาดเล็ก มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน[1],[2],[3],[4]
  • ผล เป็นผลแห้งไม่แตก มักจะเป็นสี่เหลี่ยมรูปรี หรือจะเป็นรูปเกือบขอบขนาน จะเล็กมาก ๆ มีความยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนที่ปลายหนา เปลือกด้านนอกจะมีขนสีขาวขึ้นคลุมนิดหน่อย[1],[2],[4]

สรรพคุณกระต่ายจันทร์

1. ในตำรับยาที่สามารถช่วยแก้ช้ำใน ฟกช้ำปวดบวมได้ สามารถนำต้น 20 กรัม มาตำให้ละเอียด นำไปตุ๋นกับทาน นำกากไปใช้พอกตรงบริเวณที่เจ็บ (ต้น)[3]
2. สามารถใช้เป็นยาใส่แผลได้ (ต้น)[2]
3. สามารถช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ (ต้น)[2]
4. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาขับพยาธิได้ (เมล็ด)[2]
5. ในตำรับยาแก้ไอกรน ไอหอบชนิดเย็นได้ โดยนำ20 กรัม มาต้มทานใส่น้ำตาลกรวด ถ้าใช้น้ำตาลทราย จะต้องนับอายุ 3 ปี / 7.5 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ต้น)[3]
6. นำใบกับเมล็ดมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยาทำให้จามได้ (ใบ, เมล็ด)[2]
7. สามารถช่วยรักษาโรคมาลาเรียได้ (ลำต้น)[2]
8. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาแก้โรคเยื่อบุตาอักเสบ ตาเป็นฝ้า และสามารถใช้เป็นยาบำรุงสายตา (ต้น)[2],[3],[5]
9. สามารถใช้เป็นยาแก้เด็กเป็นตานขโมยได้ โดยนำกระต่ายจันทร์ 3 เฉียน มายัดใส่ไข่ ต้มทาน (ต้น)[5]
10. ทั้งต้นมีรสเผ็ด จะเป็นยาอุ่น จะออกฤทธิ์กับตับ ไต สามารถช่วยทำให้โลหิตคั่งค้างตกทวารหนักได้ (ต้น)[3]
11. สามารถใช้เป็นยาขับลมชื้น ช่วยแก้ไขข้ออักเสบเพราะลมชื้นกระทบได้ (ต้น)[3]
12. ประเทศจีนใช้เป็นยาลดอาการบวม (ต้น)[4]
13. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาช่วยดับพิษสุรา แก้ระงับพิษ แก้งูพิษกัดได้ (ต้น)[2],[3]
14. สามารถช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร และสามารถช่วยแก้เชื้อบิดอะมีบาได้ (ต้น)[2],[3]
15. สามารถใช้เป็นยาแก้คอตีบอักเสบได้ (ต้น)[3]
16. ในตำรับยาแก้ไซนัส ริดสีดวงจมูก แก้จมูกอักเสบ นำต้นสดมาตำให้แหลก ใส่รูจมูก ถ้าเป็นต้นแห้งให้บดเป็นผงใช้ทำเป็นยานัตถุ์ สามารถช่วยให้จาม แก้หวัดได้ (ต้น)[1],[3]
17. ในตำรับยาแก้หวัดคัดจมูก นำต้น 20 กรัม มาต้มกับหัวหอม 5 หัว นำมาทานเป็นยา (ต้น)[3] ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ดอกมาสูดดมแก้หวัด (ดอก)[1]
18. สามารถใช้เป็นยาแก้โรคฟันผุได้ หรือนำลำต้นสด มาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกที่แก้มสามารถช่วยแก้โรคปวดฟันได้ (ลำต้น)[2]
19. นำต้นมาผสมใบข่อย ใบเทียนดำ ตำสุมหัวสามารถใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะได้ (ทั้งต้น)[1]
20. ในตำรายาไทยนำต้นสดกับใบสดมาตำผสมเหล้า แล้วคั้นเอาน้ำมาใช้ดื่มเป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้อาเจียน ช่วยทำให้เลือดกระจายได้ (ต้น, ใบ)[1]

วิธีใช้

วิธีใช้ตาม [2],[3] ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 6-20 กรัม มาต้มกับน้ำทาน ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ 5-10 กรัม ถ้าใช้ภายนอกให้ใช้ต้นสดตามความเหมาะสม โดยใช้ทำเป็นยาพอก[2],[3]

ข้อควรระวัง

ห้ามให้สตรีที่มีครรภ์ทานสมุนไพรชนิด[3] ในรัฐควีนส์แลนด์ ในประเทศออสเตรเลีย มีผู้ที่กล่าวว่ามีพิษ[4] บางข้อมูลระบุเอาไว้ว่า เป็นพิษกับปศุสัตว์

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ถ้านำน้ำต้มกระต่ายจันทร์ 25-50% มาผสมมันสำปะหลัง ไข่ไก่ แล้วเอาเชื้อวัณโรคไปเพาะในน้ำยานั้น ปรากฏว่าเชื้อวัณโรคไม่เจริญเติบโต ทำให้เห็นว่า สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อวัณโรคได้[3]
  • พบสาร Arinidiol, Taraxerol, น้ำมันระเหย, Taraxasterol และ acid บางชนิด อย่างเช่น myriogyne acid[3] พบสารเคมีพวก sesquiterpene 2 ชนิด กับ flavonoid 3 ชนิด จะมีผลช่วยยับยั้งและช่วยต้านภูมิแพ้[4]
  • สกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือต้มกับน้ำ มีประสิทธิภาพช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการหืดหอบได้ดี[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระต่ายจันทร์”. หน้า 66.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระ ต่าย จันทร์”. หน้า 22-23.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กระต่ายจาม”. หน้า 30.
4. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระ ต่าย จันทร์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [06 ก.ค. 2015].
5. ไทยเกษตรศาสตร์. “ข้อควรรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกระต่ายจันทร์”. อ้างอิงใน : บุญชัย ฉัตตะวานิช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [06 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://alchetron.com/Centipeda