โรคแพ้เหงื่อตัวเอง
โรคแพ้เหงื่อตัวเอง ( Allergic dermatitis ) คือ โรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งเกิดจากการสัมผัสสารบางชนิด หรือสารก่อภูมิแพ้ที่ส่งผลต่อผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคืองได้ มักเกิดในช่วงฤดูร้อนสภาพอากาศร้อนอบอ้าว อากาศชื้นแฉะ หรือหลังการออกกำลังกายทำให้ร่างกายมีเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก เช่น ทำให้ผิวแห้ง มีอาการคัน แสบ พุพอง ผิวแตก แพ้เหงื่อตัวเองสิวขึ้น และมีผื่นขึ้นตามเนื้อตัวอย่างมากมาย สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็น โรคแพ้เหงื่อตัวเอง ส่งผลให้การใช้ชีวิตผิดปกติและอาจจะไม่สามารถออกกำลังกายเนื่องจากต้องสัมผัสกับเหงื่อตัวเองโดยตรง
แพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร
แพ้เหงื่อตัวเองเกิดจากการที่ต่อมเหงื่ออุดตันไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ทำให้ผื่นที่เกิดจากความร้อนใต้ผิวหนัง มักปรากฏตามรอยข้อพับ บริเวณผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้า เช่น บริเวณคอ ไหล่ หน้าอก รักแร้ ข้อศอก และขาหนีบ
1. แพ้เหงื่อตัวเองการเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติของร่างกาย
โรคแพ้เหงื่อตัวเองถือเป็นปฏิกิริยาที่ผิดปกติ ผิวหนังมีความไวต่อเหงื่อภายในร่างกายเป็นพิเศษโดยอาจเกิดจากการทำงานของเซลล์ภูมิแพ้ที่ผิดปกติภายในร่างกาย หรือแม้กระทั่งจากระบบภูมิคุ้มกันที่มีการทำงานมากเกินไป
2. เป็นโรคผิวหนังอยู่แล้ว
โรคผิวหนังบางชนิด อาจเป็นปัญหาสำคัญที่พร้อมจะส่งผลทำให้ร่างกายของคุณผิดปกติโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้คุณมีอาการคันตามร่างกาย หรือไม่ก็ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น ๆ มีอาการแดงขึ้นมาทันที แพ้เหงื่อตัวเองมีผลกระทบจาก ปฏิกิริยาที่ไวต่อเหงื่อจึงอาจมีสาเหตุจากโรคผิวหนังที่เป็นอยู่แล้ว
3. อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
หากผู้ที่มีอาการแพ้เหงื่อตัวเองไปอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองมาก พื้นที่นั้นมีเชื้อโรคและแบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งมีค่าฝุ่น pm 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายมีเหงื่อออก หรือหากร่างกายสัมผัสโดนฝุ่นละออง ก็ย่อมทำให้เกิดอาการแพ้ฝุ่นร่วมด้วยได้
4. เกิดกับคนที่มีผิวพรรณที่บอบบางและแพ้ง่าย
การมีผิวพรรณที่บอบบางเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้อย่างง่ายๆ ยิ่งหากมีเหงื่อไคลออกมาเป็นจำนวนมาก เมื่อไปสัมผัสกับเชื้อโรคและแบคทีเรียร่วมด้วยเข้าอีก ก็นับว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำให้เกิดอาการแพ้เหงื่อตามมา
โรคแพ้เหงื่อตัวเอง ( Allergic dermatitis ) คือ เมื่อร่างกายมีเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก จะมีอาการคัน แสบ และมีผื่นคันขึ้นตามตัว
อาการของแพ้เหงื่อตัวเอง
- ผู้ที่แพ้เหงื่อตัวเอง มักจะมีอาการคันในช่วงเวลาที่มีเหงื่อออก โดยเฉพาะตามจุดที่มีเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า ลำคอ ขาหนีบ หรือข้อพับต่างๆ
- ช่วงเวลาที่เหงื่อออก มักมีผดผื่น หรือตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นตามร่างกายเป็นประจำ
- ผดผื่นที่ขึ้นตามร่างกายเนื่องจากมีอาการแพ้เหงื่อจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจะค่อยๆ ยุบและจางหายไปเอง แต่ถ้าหากมีเหงื่อออกอีกครั้ง อาการแพ้เหล่านี้ก็อาจจะกลับมาได้อีก
- แพ้เหงื่อตัวเองจากอาหารบางชนิด เช่น ถั่ว นม น้ำส้มสายชู แอลกอฮอล์ อาหารรสเค็ม ปลาและหอย อาหารที่มีสารกันบูด
แพ้เหงื่อวิธีรักษา
- แพ้เหงื่อตัวเองยาทา เพื่อบรรเทาอาการผื่นคันที่ผิวหนังจากการอักเสบ ทายาวันละสองครั้งต่อวันเป็นเวลาสองสัปดาห์อาการคันจะค่อยๆดีขึ้นเอง
- รับประทานยาแก้แพ้เมื่อมีอาการแพ้ ยาจำพวกสารต้านฮิสตามีนทั้งหลายสามารถช่วยรักษาอาการแพ้ต่างๆ หรือหากใครเกิดอาการแพ้มากๆ แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ฉีดสารฮีสตามีนเพื่อลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้นให้ลดลงหมั่นอาบน้ำ
- ทำความสะอาดเพื่อล้างคราบเหงื่อ เป็นวิธีการรักษาอาการแพ้เหงื่อในเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายๆ เพื่อไม่ให้เหงื่อแห้งติดอยู่บนผิวหนังนานจนเกินไป เพียงเท่านี้อาการคันที่เกิดขึ้นก็จะทุเลาลงได้ทันที
- พยายามฝึกฝนและปรับร่างกายให้ชินต่ออาการแพ้ การพยายามปรับและฝึกฝนตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับอาการแพ้เหงื่ออาจช่วยให้คุณคุ้นชินกับอาการที่เกิดขึ้น
หากแพ้เหงื่อตัวเองยาทาแล้วยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสารฮีสตามีน เพื่อลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้นให้ลดลงหมั่นอาบน้ำ ทำความสะอาดเพื่อล้างคราบเหงื่อ เป็นวิธีการรักษาอาการแพ้เหงื่อในเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายๆ เพื่อไม่ให้เหงื่อแห้งติดอยู่บนผิวหนังนานจนเกินไป เพียงเท่านี้อาการคันที่เกิดขึ้นก็จะทุเลาลงได้ทันที
ป้องกันอาการแพ้เหงื่อได้อย่างไรบ้าง
- หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้
- ทาครีมหรือโลชั่นที่ผิวหนัง เพื่อป้องกันอาการคันบริเวณที่เกิดผื่นคัน
- ใช้ยาแก้คันทาบริเวณแพ้เหงื่อตัวเอง
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบทุก 15 นาที
- อาบน้ำให้สะอาดด้วยสบู่อ่อนๆ เพื่อลดอาการคัน
แพ้เหงื่อตัวเองสิวขึ้น จริงไหม? แม้ว่าอาการแพ้เหงื่อจะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่อย่างใด แต่หากคุณตรวจพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติเกิดผื่นคันลักษณะคล้ายสิวแต่ไม่ใช่สิว โดยเฉพาะอาการทางผิวหนังบริเวณต้นคอ หน้าอก หัวไหล่ หรือหากอาการแพ้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ควรรีบปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจรักษาโรคอย่างละเอียด
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง