ดาวเรือง
ดาวเรือง เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก เมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น เป็นดอกไม้ที่คนไทยแทบจะทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา หรือ เป็นไม้ปลูกประดับยอดนิยม ทว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากเม็กซิโก ซึ่งในประเทศไทยมีด้วยกันหลายสายพันธุ์ ส่วนของดอกจะมีสีเหลืองสดทำให้ดูสวยงามมาก แต่ว่านอกจากจะให้ความงามแล้วนั้น มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้หลากหลาย แบบที่ใครหลาย ๆ คนต้องทึ่งกันเลยทีเดียว
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “African marigold” “American marigold” “Aztec marigold” “Big marigold”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “คำปู้จู้หลวง” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “พอทู” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “บ่วงซิ่วเก็ก” จีนกลางเรียกว่า “ว่านโซ่วจวี๋” คนจีนเรียกว่า “บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก” คนทั่วไปเรียกว่า “ดาวเรืองใหญ่” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ดาวเรืองอเมริกัน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ลักษณะของดาวเรือง
ลำต้น : ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงตรงข้ามกัน ปลายใบคี่ มีใบย่อยประมาณ 11 – 17 ใบ เป็นรูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน มีเนื้อใบนิ่ม
ดอก : ออกดอกเดี่ยวตามปลายยอด มีสีเหลืองสดหรือสีเหลืองปนส้ม กลีบดอกใหญ่เรียงซ้อนกันหลายชั้นเป็นวงกลม ตรงปลายกลีบเป็นฟันเลื่อย มีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ตัวดอกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
ดอกวงนอก คล้ายลิ้นหรือเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น บานแผ่ออกปลายม้วนลงจำนวนมาก เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ โคนกลีบเป็นหลอดเล็ก
ดอกวงใน เป็นหลอดเล็กอยู่ตรงกลางช่อดอกจำนวนมาก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวเชื่อมติดกันหุ้มโคนช่อดอก
ผล : เป็นผลแห้งสีดำ ไม่แตก ดอกจะแห้งติดกับผล มีตรงโคนกว้างเรียวสอบไปยังปลาย ตรงปลายจะมน
สรรพคุณของดาวเรือง
- สรรพคุณ ช่วยรักษาปากเปื่อย ช่วยแก้คอและปากอักเสบ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในตับและปอด
- สรรพคุณจากดอกและราก ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ
- สรรพคุณจากดอก เป็นยาฟอกเลือด ช่วยบำรุงสายและถนอมสายตา แก้ไข้สูงในเด็กที่มีอาการชัก ช่วยแก้อาการร้อนใน เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร
– ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะ รักษาคางทูม ช่วยขับและละลายเสมหะ เป็นยากล่อมตับ ดับพิษร้อนในตับ ด้วยการนำดอก 3 – 10 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม
– ช่วยแก้ตาเจ็บ แก้ตาบวม แก้ตาแดง แก้ปวดตา ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการนำดอกแห้ง 10 – 15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน
– ช่วยแก้อาการไอหวัด แก้ไอกรน แก้ไอเรื้อรัง แก้หลอดลมอักเสบหรือระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ด้วยการนำดอกสด 10 – 15 ดอก มาต้มกับน้ำผสมกับน้ำตาลทาน
– ช่วยรักษาเต้านมอักเสบ รักษาเต้านมเป็นฝี ด้วยการนำดอกแห้ง ดอกสายน้ำผึ้ง เต่งเล้า อย่างละเท่ากันมาบดรวมกันเป็นผงผสมกับน้ำส้มสายชู คนให้เข้ากัน แล้วนำมาใช้พอก
– ทำให้แผลหายเร็ว ด้วยการนำดอกมาต้มน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นแผล
– แก้อาการปวดตามข้อ โดยประเทศบราซิลนำช่อดอกมาชงกับน้ำดื่มเป็นยา - สรรพคุณจากใบ แก้อาการหูเจ็บ แก้ปวดหู เป็นยาทารักษาแผลเน่าเปื่อย ช่วยรักษาแผลฝี รักษาตุ่มมีหนอง แก้อาการบวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
– แก้เด็กเป็นตานขโมย ด้วยการนำใบแห้ง 5 – 10 กรัม มาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา - สรรพคุณจากดอกและทั้งต้น เป็นยาขับลม ทำให้น้ำดีในลำไส้ทำงานได้ดี
สรรพคุณจากดอกและใบ เป็นยาขับพยาธิ
– ช่วยขับลม เป็นยาขับปัสสาวะ โดยตำรับยาเภสัชของเม็กซิโกนำช่อดอกและใบมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา - สรรพคุณจากต้น ช่วยแก้อาการจุกเสียด รักษาโรคไส้ตันอักเสบหรือมีอาการปวดท้องขนาดหนักคล้ายกับไส้ติ่ง เป็นยารักษาแก้ฝีลม
- สรรพคุณจากราก เป็นยาระบาย เป็นยาแก้พิษ แก้อาการบวมอักเสบ
- สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยแก้อาการปวดท้อง
ประโยชน์ของดาวเรือง
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ใช้แกล้มกับลาบ หรือนำไปปรุงแบบยำใส่เนื้อ ทำน้ำยำแบบรสหวาน ทางภาคใต้นิยมนำมาใช้เป็นผักผสมในข้าวยำ
2. ใช้ในการเกษตร ป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน มีประโยชน์ในด้านการนำมาฟื้นฟูดินที่มีการปนเปื้อนสารหนู ป้องกันแมลงศัตรูพืช
3. ใช้ในงานพิธี
4. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า ดอกใช้สกัดทำเป็นสีย้อมผ้า โดยจะให้สีเหลืองทอง
5. ปลูกเป็นไม้ประดับ
ดาวเรือง ดอกไม้ยอดนิยมที่คนไทยคุ้นเคย และมักจะพบเจอได้บ่อย ทั้งในงานพิธีมงคลต่าง ๆ และตามบ้านเรือน สวนไม้ที่นิยมปลูก เพราะดอกมีสีเหลืองสดทำให้ดูสวยงามมาก ทว่าส่วนของดอกยังเป็นยาชั้นยอดที่มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของดอก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาขับลม รักษาแผลภายนอก เป็นยาฟอกเลือด ช่วยบำรุงสาย และแก้อักเสบได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ดาวเรืองใหญ่ (Dao Rueang Yai)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 113.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ดาวเรือง African marigold”. หน้า 197.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ดาวเรืองใหญ่”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 288-289.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ดาวเรือง”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 222.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ดาวเรือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [10 มี.ค. 2014].
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ดาวเรือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [10 มี.ค. 2014].
พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ, กรมหม่อนไหม. “ดาวเรือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th/webtreecolor/. [10 มี.ค. 2014].
เอกสารเผยแพร่ของ ศ.สมเพียร เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โดยศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. เรื่อง “ดาวเรือง”.
Chintakovid, W., Visoottiviseth, P., Khokiattiwong, S., and Lauengsuchenkul, S. (2008). Potential of the hybrid marigolds for arsenic phytoremediation and income generation of remediators in Ron Phibon district, Thailand. Chemosphere, 70, 1522 – 1537.
ห้องสมุดความรู้การเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “”ดาวเรือง“”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doae.go.th/library/. [10 มี.ค. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 13 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “ดาวเรืองและเทียน”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [10 มี.ค. 2014].
สมุนไพร, สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. “ดาวเรือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/. [10 มี.ค. 2014].
เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. “ดาวเรือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com. [10 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Tagetes erecta L.”. อ้างอิงใน: หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 สวนสิรีรุกขชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [10 มี.ค. 2014].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). “สรรพคุณสมุนไพร (ไทย) สีสันบอกได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thaihealth.or.th. [10 มี.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/