ติ้วขาว
ติ้วขาว ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคใต้ตอนเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะพบขึ้นเองตามธรรมชาติตามบริเวณแถบป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง และป่าตามเชิงเขา[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer (Cratoxylum formosum subsp. formosum) จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ติ้ว (HYPERICACEAE) ต้นติ้วขาว ติ้วเหลือง (ในภาคกลาง), ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด ติ้วเหลือง (ในภาคเหนือ), แต้ว (ในภาคใต้), ผักติ้ว (ชื่อทั่วไป), แต้วหิน (จังหวัดลำปาง), กวยโชง (จังหวัดกาญจนบุรี), ติ้วส้ม (จังหวัดนครราชสีมา), ตาว (จังหวัดสตูล), ผักเตา เตา (จังหวัดเลย) เป็นต้น[1]
หมายเหตุ
ต้นติ้วขาวชนิดนี้เป็นพืชคนละชนิดกับ ต้นติ้วหนาม หรือต้นติ้วขน
- ต้น
– จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลาง ทนต่อสภาพแล้งได้ดี
– เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลแดง มีลวดลายแตกเป็นสะเก็ด ส่วนภายในเปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง
– ลำต้นมีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม ลำต้นจะแผ่ขยายกิ่งก้านออกมา กิ่งก้านเรียว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ และที่โคนต้นจะมีหนามขึ้นอยู่ทั่ว
– ต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดง
– ความสูงของต้น ประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร
– ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด - ใบ
– เนื้อใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน รูปร่างของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ ตรงปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบโค้งและเรียบ ที่โคนใบสอบและเรียบ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
– ใบมีเส้นข้างใบประมาณ 7-10 คู่ ใต้ท้องใบมีต่อมขึ้นอยู่ประปราย ใบอ่อนมีสีชมพูอ่อน ผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนใบแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง
– ช่วงฤดูหนาวจะเห็นใบทั้งหมดเป็นสีชมพูอ่อน
– ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 2.5-4.5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3-13 เซนติเมตร ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 0.6-1.6 เซนติเมตร[1] - ดอก
– ดอกจะออกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม[2]
– ดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวอมสีชมพูอ่อนหรือสีแดง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีสีเขียวอ่อนปนสีแดง ก้านดอกมีรูปร่างเรียวเล็กและมีกาบเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ฐานกลีบด้านใน และดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ส่วนเกสรตัวเมียมี 3 อัน ก้านมีสีเขียวอ่อน และมีรังไข่อยู่ด้านบนกลีบ
– ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกที่บริเวณกิ่ง - ผล
– รูปร่างของผลเป็นแบบแคปซูล ปลายผลแหลม ผิวผลแข็งและเรียบ ผลมีขนาดความกว้างประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 1.3-1.8 เซนติเมตร
– ผลอ่อนจะมีสีขาว แต่เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลดำ และจะแตกออกเป็นแฉก 3 แฉก[2] - เมล็ด
– เมล็ดมีสีน้ำตาล
สรรพคุณของต้นติ้วขาว
1. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)[1]
2. แก่นและลำต้น นำมาแช่กับน้ำใช้ดื่ม มีสรรพคุณแก้อาการเลือดไหลไม่หยุด หรืออาการปะดงเลือด (แก่นและลำต้น)[1]
3. มีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคตาบอดตอนกลางคืน และรักษาโรคตาไก่[7]
4. ผลจากการทดลอง รับประทานผักติ้วเป็นประจำจะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับได้ (ใบ)[6]
5. รากผสมกับหัวแห้วหมูและรากปลาไหล นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา วันละ 3 ครั้ง โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปัสสาวะขัด และช่วยขับปัสสาวะ (ราก)[1],[7]
6. เปลือกและใบของต้น นำมาตำให้แหลกแล้วนำไปผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาภายนอก มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ (เปลือกและใบ)[1]
7. รากและใบของต้น นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและใบ)[1]
8. ส่วนของ ยอด, ใบอ่อน, ดอก และเถา มีสรรพคุณเป็นยาช่วยแก้ประดง ช่วยขับลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ ช่วยฟอกโลหิต และแก้โรคไขข้อพิการ (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)[1]
9. น้ำยางจากต้น นำมาทาใช้เป็นยาภายนอกสำหรับรักษารอยแตกของส้นเท้าได้ (ยาง)[1]
10. น้ำยางนำมาใช้ทาบริเวณที่คัน จะช่วยแก้อาการคันได้ (ยาง)[1]
ประโยชน์ของต้นติ้วขาว
1. เนื้อไม้ นำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำเป็นเครื่องตกแต่งภายในเรือน ทำกระดานพื้น ทำโครงสร้างบ้าน ทำด้ามเครื่องมือ ฯลฯ[7]
2. ใช้รับประทานเป็นผักสดทานคู่กับอาหารอื่น ๆ หรือจะนำไปปรุงรสในแกงให้เกิดรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาวก็ได้เช่นกัน [1],[2],[6],[7]
3. สารสกัดที่มีชื่อว่า “คลอโรจินิกแอซิด” สามารถนำไปใช้ยับยั้งกลิ่นเหม็นหืนของอาหารได้ (แหล่งที่มา: งานวิจัยของนิสิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)[6]
4. ดอกอ่อนนำมาใช้ทำยำหรือซุปได้[2]
คุณค่าทางโภชนาการ
ดอก, ใบอ่อน และยอดอ่อน ในปริมาณ 100 กรัม มีพลังงานอยู่ 58 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
มีโปรตีน | 2.4 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 8.2 กรัม |
ไขมัน | 1.7 กรัม |
เถ้า | 0.6 กรัม |
น้ำ | 85.7 กรัม |
เส้นใยอาหาร | 1.4 กรัม |
วิตามินบี1 | 0.04 มิลลิกรัม |
วิตามินเอ | 7,500 มิลลิกรัม |
วิตามินบี3 | 3.1 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.67 มิลลิกรัม |
แคลเซียม | 67 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 56 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 19 มิลลิกรัม |
เหล็ก | 2.5 มิลลิกรัม |
แหล่งที่มา : ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม (กองโภชนาการ กรมอนามัย)[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ติ้วขาว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [15 ม.ค. 2014].
2. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร “ติ้วขน“. อ้างอิงใน : หนังสือไม้อเนกประสงค์กินได้ (คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์), หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข), หนังสือผักพื้นบ้านภาคเหนือ (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable. [16 ม.ค. 2014].
3. เครือข่ายกาญจนาภิเษก. “ผักติ้ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : kanchanapisek.or.th. [15 ม.ค. 2014].
4. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ผักแต้ว“. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [15 ม.ค. 2014].
5. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2553. “การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา“. (พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ, ปาริชาติ พุ่มขจร).
6. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. คอลัมน์ : เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ. “ผักติ้ว ต้านมะเร็งตับ“. (นายเกษตร).
7. ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ผักติ้ว“. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : student.nu.ac.th. [15 ม.ค. 2014].
8. https://medthai.com
อ้างอิงรูปจาก
1. https://tracuuduoclieu.vn/
2. https://www.botanyvn.com/