หญ้าพันงูแดง ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี

0
1378
หญ้าพันงูแดง
หญ้าพันงูแดง ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี เป็นวัชพืชมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ดอกเป็นช่อตั้ง ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อนเกสรเป็นเส้นสีชมพู
หญ้าพันงูแดง
เป็นวัชพืชมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ดอกเป็นช่อตั้ง ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อนเกสรเป็นเส้นสีชมพู

หญ้าพันงูแดง

หญ้าพันงูแดง เป็นวัชพืชมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyathula prostrata (L.) Blume จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)[1],[2] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หญ้าพันงูเล็ก (นครราชสีมา), ควยงูน้อย หญ้าควยงู งูน้อย (ภาคเหนือ), พันงูแดง หญ้าพันธุ์งูแดง (ภาคกลาง), อั้งเกย ซั้งพี พีไห่ (จีนแต้จิ๋ว), เปยเซี่ยน (จีนกลาง)[1],[2],[3]

ลักษณะต้นหญ้าพันงูแดง

  • ต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – มีอายุปลายปี
    – มีลำต้นสูง 1-2.5 ฟุต
    – ลำต้นเป็นข้อ มีสีแดง
    – ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีแดง
    – ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยตามลำต้นหรือกิ่งก้าน
    – มักขึ้นตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในที่ร่มทั่วไป และตามชายป่า
  • ใบ[1],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่
    – ใบเป็นรูปไข่กลับ
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1-2 เซนติเมตร และยาว 3-6 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีสีเขียวอมแดง
    – เส้นใบเป็นสีแดงเมื่อแก่
  • ดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อตั้ง
    – ออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ
    – ช่อดอกยาว 7.5-18 นิ้ว
    – ปลายช่อมีดอกออกเป็นกระจุกรวมกัน
    – โคนช่อจะมีดอกห่างกัน
    – รอบก้านช่อดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ
    – ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อน
    – ดอกมีเกสรเป็นเส้นสีชมพู 9 เส้น
  • ผล[1]
    – ผลเป็นแห้ง
    – ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมผิวเรียบ
    – มีเมล็ด สีน้ำตาลเป็นมัน
    – ผลเป็นผลแห้งและแตกได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวดของสารสกัดเมทานอล โดยการป้อนสารสกัดในขนาด 50, 100, และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรท พบว่าสามารถช่วยลดอาการบวมอักเสบบริเวณอุ้งเท้าที่เกิดจากการทำให้ปวดด้วยคาร์ราจีแนน (carageenan) ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ผลดีใกล้เคียงกับการป้อนยาอินโดเมตทาซิน (Indomethacin) หรือยาแก้ปวดอักเสบในขนาด 10 มก./กก.น้ำหนักตัว และสารสกัดจากสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถยับยั้งการบวมของใบหูที่เกิดจากการฉีด arachidonic acid และ xylene ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่จะไม่มีผลยับยั้งการสร้าง nitric oxide และการแสดงออกของ cyclooxygenase-2 ของเซลล์ macrophage เมื่อทดสอบในหลอดทดลอง[5]
  • สารสกัด ขนาด 200 มิลลิกรัม ยังแสดงฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ใกล้เคียงกับการฉีดมอร์ฟีนในขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว (ทดสอบด้วยวิธี hot plate test) และยังช่วยระงับอาการปวดจากการฉีด acetic acid ได้อย่างมีนัยสำคัญ[5]
  • ไม่พบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) และการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation[5]

สรรพคุณของทั้งต้นหญ้าพันงูแดง

  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการฟกช้ำ[3]
  • ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาขับเสมหะ[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้พิษฝี ใช้รักษาฝีหนองภายนอก[1],[3]
  • ทั้งต้น สามารถใช้ตำพอกแก้พิษตะขาบ แมงป่อง พิษงู[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการบวมอันเนื่องมาจากตับและม้ามโต[3]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการปวดบวม บรรเทาอาการปวดและอักเสบ[3],[5]
  • ทั้งต้น ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำกิน[1],[2],[4]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้บิด แก้บิดติดเชื้อ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำกิน[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ไข้ตรีโทษ[1]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้ทั้งลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำกิน[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น มีรสจืด นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เบื่อเมา[1],[2],[4]
  • ทั้งต้น เป็นยาเย็นเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้[3]

สรรพคุณของใบหญ้าพันงูแดง

  • ใบ สามารถใช้แก้เม็ดในคอ[4]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้คออักเสบ[1]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้คออักเสบได้[1]
  • ใบ มีรสจืด สรรพคุณเป็นยาแก้โรคซาง[1]
  • ใบ สามารถใช้แก้โรคเป็นเม็ดตุ่มในช่องปากของเด็ก[1]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาตำพอกแก้โรคเริม งูสวัด ขยุ้มตีนหมา[1]

สรรพคุณของหญ้าพันงูแดง

  • ดอก สามารถใช้เป็นยาแก้นิ่ว ละลายก้อนนิ่ว[1],[4]
  • ราก สามารถใช้ปรุงเป็นยาต้มแก้บิด[4]
  • ราก มีรสจืด ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะหยดย้อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หญ้า พัน งู แดง (Ya Phan Ngu Daeng)”. หน้า 319.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้า พัน งู แดง”. หน้า 807-808.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า พัน งู แดง”. หน้า 596.
4. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “หญ้า พัน งู แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [10 ก.ค. 2014].
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของหญ้าพันงูแดง”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [10 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://medicinallive.com/
2.https://nisargorganicfarm.com/