โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

0
2452
โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส Delta Plus กลายพันธุ์จากสายพันเดลตาซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส
โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส
โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส Delta Plus กลายพันธุ์จากสายพันเดลตาซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส

โควิดเดลตาพลัส

โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส Delta Plus (B.1.617.21.1 หรือ AY.4.2) คือ โควิดกลายพันธุ์จากสายพันเดลตา (B.1.617.2) เกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส พบครั้งแรกในแถบยุโรปช่วงเดือนมีนาคม และพบในประเทศอินเดีย ช่วงเดือนเมษายน ในปัจจุบันพบว่าสายพันธุ์เดลตาพลัส มีการระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ เนปาล รัสเซีย จีน ตุรกี เดนมาร์ค อินเดีย รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญประเทศอังกฤษระบุว่า Covid สายพันธุ์ ‘เดลต้าพลัส’ แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดลต้า โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) พบครั้งแรกในอินเดีย มีความสามารถในการจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดง่ายขึ้น แพร่กระเชื้อได้ง่ายและรวดเร็ว และยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตา พลัส (Delta Plus) ที่มีคุณสมบัติหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ติดต่อเชื้อได้ง่ายแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีการระบาดมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก

อาการของสายพันธุ์เดลต้า

  • ปวดศีรษะ
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • มีไข้
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายไข้หวัด

วิธีป้องกันตนเอง

  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน
  • หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือสบู่บ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เสี่ยง แออัด ไม่ปลอดโปร่ง
  • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล Social Distancing
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19
  • หากมีความผิดปกติ หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ ควรรีบมาพบแพทย์

สายพันธุ์ Covid-19 ที่ต้องระวัง

1 มิ.ย. 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเปลี่ยนการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยมีชื่อเรียกและความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ดังต่อไปนี้

สายพันธุ์แกมม่า P.1 (สายพันธุ์บราซิล) รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เลี่ยงภูมิคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพวัคซีน

สายพันธุ์อัลฟ่า B.1.1.7 (สายพันธุ์อังกฤษ) เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70%

สายพันธุ์เดลต้า B.1.617 (สายพันธุ์อินเดีย) ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้

สายพันธุ์เบต้า B.1.351 (สายพันธุ์แอฟริการใต้) ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้

7 วัคซีนป้องกันการติดเชื่อที่รุนแรงที่องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้

1. mRNA-1273 หรือ โมเดิร์นนา อนุมัติใน 76 ประเทศ
2. BNT162b2 หรือ ไฟเซอร์/BioNTech ได้รับการอนุมัติใน 103 ประเทศ
3. Ad26.COV2.S หรือ Janssen (Johnson & Johnson) อนุมัติใน 75 ประเทศ
4. AZD1222 หรือ อ็อกซ์ฟอร์ด/แอสตร้าเซเนก้า ได้รับการอนุมัติใน 124 ประเทศ
5. Serum Institute of India Covishield (สูตรออกซ์ฟอร์ด/แอสตร้าเซเนก้า) อนุมัติใน 46 ประเทศ
6. BBIBP-CorV (Vero Cells) หรือ Sinopharm (ปักกิ่ง) ได้รับการอนุมัติใน 68 ประเทศ
7. Sinovac หรือ CoronaVac ได้รับการอนุมัติใน 42 ประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม