ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever )

0
3537
ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever )
ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) โดยมียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้
ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever )
ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) มียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ โดยดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) สามารถติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย ( Aedes aegypt ) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงหลังจากนั้นยุงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุของมัน ( ประมาณ 1-2 เดือน ) และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน มักจะกัดเวลากลางวัน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น โดยทั่วไปโรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เนื่องจากเด็กมักอยู่ในบ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ และยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน แต่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ อาจพบโรคนี้ได้ตลอดปี 

อาการของโรคไข้เลือดออก

ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นฉับพลันและไข้จะสูงลอยตลอดเวลาอยู่ประมาณ 2-7 วัน กินยาลดไข้ ไข้มักจะไม่ลด หน้าแดง ตาแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม บางรายอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวาหรือปวดท้องทั่วไป และอาจมีท้องผูกหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย ส่วนมากมักไม่มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลหรือไอมากแต่บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ คอแดงและไอเล็กน้อยประมาณวันที่ 3 อาจมีผื่นแดง ไม่คันขึ้นตามแขนขาและลำตัวอยู่ประมาณ 2-3 วัน บางรายอาจมีจ้ำเขียวหรือจุดเลือดออกเกิดขึ้นซึ่งมีลักษณะเป็นจุดสีแดงเล็กๆ ขึ้นตามหน้า แขนขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก และอาจคลำพบตับโตกดเจ็บเกิดขึ้นได้ ในระยะนี้ถ้ามีอาการรุนแรงจะปรากฏอาการ

ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก อาการมักจะเกิดช่วงวันที่ 3 – 7 ของโรคซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤต โดยอาการไข้จะลดลงอย่างรวดเร็วแต่ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดหนักและมีภาวะช็อกเกิดขึ้น คือ กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น มือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันเลือดต่ำ ซึม นอกจากนี้อาจมีเลือดออกตามผิวหนังหรือมีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น เลือดกำเดาไหล อาเจียน และถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นสีกาแฟ ระยะนี้กินเวลาประมาณ 24 – 48 ชม. ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ถ้าผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3

ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) มียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ โดยดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว ในรายที่ได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที ภาวะช็อกไม่รุนแรงอาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น และอาการที่แสดงว่าผู้ป่วยดีขึ้น คือ เริ่มรับประทานอาหารได้ ลุกนั่งได้ และร่างกายจะค่อยๆฟื้นตัวสู่สภาพปกติ ระยะนี้อาจกินเวลาประมาณ 2-3 วัน รวมระยะเวลาของโรคไข้เลือดออกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนประมาณ 7-10 วัน

การรักษาโรคไข้เลือดออก

การรักษา โรคไข้เลือดออก นั้นยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะตัวสำหรับกำจัดเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำมากที่สุด ในขั้นแรกเมื่อมีไข้สูงจะให้ยาพาราเซตามอล ห้ามให้ใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ใช้ยาแก้คลื่นไส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย รวมถึงสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อคได้ ซึ่งภาวะช็อคส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ผู้ปกครองควรทราบอาการ ได้แก่ อาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย หรือเซื่องซีม มือเท้าเย็นพร้อมๆ กับไข้ลด หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงลายกัด

1. นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด
2. จุดยากันยุงหรือใช้ยาทาหรือยาฉีดกันยุง และควรใช้อย่างระมัดระวัง
3. ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่อับลมหรือเป็นมุมมืด มีแสงสว่างน้อย
4. หมั่นอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเพราะเหงื่อจะดึงดูดให้ยุงกัดมากขึ้น

ไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงต่างกัน บางคนมีโอกาสเกิดภาวะช็อกเมื่อไข้เริ่มลด พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาทควรสังเกตอาการเหล่านี้ คือ ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่อาการเลวลง เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา ปวดท้องมาก มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรต้องไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

อ้างอิง www.thaihealth.or.th ( สสส. )