ฟันผุ
ฟันผุ ( Dental Caries ) เป็น ปัญหาในช่องปากที่พบบ่อยที่สุดในประชากรโลกตั้งแต่เด็กฟันผุอายุระหว่าง 6 ถึง 11 ปี วัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 19 ปี และยังส่งผลต่อผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ขึ้นไป ฟันผุเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงแบคทีเรียในช่องปากผลิตกรดบางชนิด โดยมีการทำลายแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อผิวเคลือบฟัน จนทำให้เกิดฟันเป็นรูเล็กๆ รากฟันผุเป็นรู ฟันเป็นโพรง มีอาการเหงื่อกบวม เหงือกอักเสบ เหงือกร่นร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาจากทันตแพทย์จะลุกลามขยายใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยๆ เกิดการเจ็บปวดทุกข์ทรมาน และสุดท้ายอาจต้องสูญเสียฟันโดยต้องถอนออกไป
สาเหตุฟันผุเกิดจากอะไร
ฟันผุเกิดมาจากการแปรงฟันได้ไม่สะอาดเพียงพอค่ะ คือแปรงไม่ทั่วถึงทุกซอกทุกมุม เวลาที่เราแปรงฟันไม่สะอาด มันก็จะเหลือคราบอาหาร และคราบจุลินทรีย์ทิ้งไว้ (เชื้อโรคนั่นเอง) ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบตามมาได้
1. คราบน้ำตาล มาจากอาหารที่เราทานอยู่ทุกมื้อทุกวันนี่แหละค่ะ จำได้ไหมคะ ตอนเด็กๆที่เราเคยเรียนกันมาว่าอาหารจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต พอย่อยโดยเอ็นไซม์จากน้ำลายในช่องปากแล้ว ก็จะกลายเป็นน้ำตาล เพราะฉะนั้น เรากินข้าว กินขนม กินน้ำอัดลม น้ำผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขนมหวาน สุดท้ายแล้วพอโดนย่อย ก็จะกลายเป็นน้ำตาลทั้งนั้น
2. เชื้อโรคในช่องปาก ในร่างกายของคนเรามีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ อยู่แล้วค่ะ มีทั้งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่พวกให้โทษก็มีเยอะค่ะ ถ้าเราทำความสะอาดเก่งๆ แปรงฟันสะอาด แบคทีเรียพวกนี้มันก็จะอยู่กับเราอย่างสันติค่ะ คือถูกเรากำจัดออกไป(ก็โดยการแปรงฟันนี่แหละ)อยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถเพิ่มปริมาณได้มากจนทำร้ายเราได้ แต่ถ้าเราทำความสะอาดไม่ทั่วถึง แบคทีเรียพวกนี้มันก็จะเริงร่า พากันสร้างบ้านอย่างสุขสบายในปากเรา ยิ่งได้อาหาร(น้ำตาลนั่นเอง) ก็ยิ่งตัวอ้วน ออกลูกออกหลานกันใหญ่ ประกอบกับองค์ประกอบที่ 3 ก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ค่ะ
3. มีเชื้อโรค และมีอาหารให้เชื้อโรคเจริญเติบโต (น้ำตาล) และปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็จะทำให้ฟันผุได้ค่ะ เริ่มต้นจากเชื้อโรค หรือแบคทีเรียจะมาย่อยสลายอาหารประเภทน้ำตาล ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในช่องปาก ส่งผลให้ฟันเราถูกดึงแร่ธาตุออกไป (ถูกดึงแคลเซียม และฟอสฟอรัส) ถ้าเกิดสภาพความเป็นกรดบ่อยๆ ฟันถูกดึงแร่ธาตุออกไปบ่อยๆ ในที่สุดก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล สีดำ และเป็นรูฟันผุได้
ประเภทของฟันผุ ( Types of cavities )
1. ฟันผุเหนือรากฟัน (Root cavity )
เกิดขึ้นบนผิวเหนือรากฟันพบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของเหงือกรวมทั้งเหงือกบวม
เหงือกอักเสบ เหงือกร่นลงเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันจะร่นต่ำลงมาทำให้พื้นผิวของรากจะถูกเปิดออก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อ
การกัดกร่อนจากแบคทีเรียที่ผลิตกรดบางชนิดออกมาทำให้เกิดฟันผุเหนือรากฟันได้
2. ฟันผุตามหลุมรองฟัน ( Pit and fissure cavity )
มักพบร่องแยกหรือโพรงด้านในฟันกรามที่ใช้เคี้ยวอาหาร เนื่องจากเศษอาหารจะติดอยู่ในร่องฟันส่วนบน
มีการสะสมของคราบแบคทีเรียเป็นจำนวนมากติดอยู่ในร่องบริเวณรอยแยกที่ด้านบนของฟัน พบมากในผู้ที่แปรงฟันไม่สะอาด
3. ฟันผุผิวเรียบ ( Smooth surface cavity )
เกิดขึ้นที่ผิวด้านนอกของฟันและพบมากที่สุดบนฟันด้านข้าง มักเกิดกับคนที่แปรงฟันไม่ถูกวิธีและไม่ค่อยแปรงฟัน ฟันผุประเภทนี้จะค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย
การแปรงฟันที่ถูกวิธี
- แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันที่ยับยั้งและป้องกันแบคทีเรีย
- วางแปรงสีฟันของคุณในมุม 45 องศากับเหงือก
- ค่อย ๆ เลื่อนแปรงไปมาในจังหวะสั้น ๆ (กว้างฟัน)
- แปรงพื้นผิวด้านนอกพื้นผิวด้านในและพื้นผิวเคี้ยวของฟัน
- การทำความสะอาดฟันหน้าด้านใน ให้เอียงแปรงในแนวตั้งและหมุนขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง
- ทำความสะอาดฟันทุกวันด้วยไหมขัดฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน
- ทำความสะอาดฟันด้วยน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
ผู้ที่เสี่ยงต่อฟันผุ
โรคฟันผุมักจะพบได้บ่อยในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน โดยมีปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ
- การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล)
- การดื่มน้ำที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ
- อาการปากแห้ง
- การใช้ยาบางชนิด
- การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ
การรักษาฟันผุ
ฟันผุมีการรักษาได้ต่างๆ กันไป ตามระยะการเกิดโรคก็คือ การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ หรือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จะช่วยรักษา ฟันที่เกือบจะผุ ให้กลับสู่ปกติได้ โดยแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นประจำ และทิ้งยาสีฟัน นั้นให้คงอยู่ในช่องปากนานขึ้นไม่น้อยกว่า 2 นาที แล้วค่อยบ้วนทิ้ง ก็จะช่วยให้ฟันไม่ผุต่อไปได้ (แต่ สำหรับเด็กเล็กๆ ต้องระวังไม่ให้กลืนยาสีฟัน เพราะอาจเกิดผลเสียได้) คนที่มีการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือติดแน่น หรือผู้ที่ใส่ เครื่องมือเพื่อการจัดฟัน หากไม่ได้ดูแลทำความสะอาดฟันอย่างดี จะทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย เกิดความเสี่ยงต่อ การเป็นโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบได้เช่นเดียวกัน
1. อุดฟัน
เมื่อฟันผุเห็นเป็นรูชัดเจน อยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน การอุดฟัน มีวัสดุ 2 แบบ
1.1. การอุดฟันด้วยวัสดุอุดที่เป็นโลหะ (อมัลกัม)
1.2. การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
2. รักษารากฟัน
เป็นการรักษาโรคฟันผุ ที่มีการผุลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันแล้ว
3. ถอนฟัน
เมื่อการอักเสบลุกลามไปมาก ไม่เหลือเนื้อฟันที่จะสามารถรักษาฟันซี่นั้น ไว้ได้ต่อไป
การป้องกันฟันผุ
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือมีคุณสมบัติช่วยลดการก่อตัวของคราบแบคทีเรียได้
- การใช้ไหมขัดฟัน หรือ แปรงทำความสะอาดฟอกฟันเป็นประจำ เพื่อทำความสะอาดบริเวณซอกฟันหรือบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
- การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ออกฤทธิ์ในต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
- บริโภคอาหารให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต
- เข้าพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เป็นประจำ
- การเคลือบหลุมร่องฟัน ก็เป็นอีกวิธีที่ ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ
ในช่องปากของเรามีแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการกินอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล แบคที่เรียจะผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อผิวฟันจะค่อย ๆ กัดเซาะไปที่ผิวฟันชั้นนอกเมื่อเวลาผ่านไปผิวเคลือบฟันจะกร่อนลงและเริ่มเห็นร่องฟันชัดขึ้น จึงทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าอยู่ภายในเนื้อฟันได้ เมื่อเข้าไปข้างในแล้วแบคทีเรียสามารถพัฒนานำไปสู่ฟันผุและโรคเหงือกได้ ดังนั้น แคลเซียมสามารถช่วยบำรุงรักษาสุขภาพช่องปากของคุณด้วยการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก แคลเซียมทำหน้าที่เคลือบฟันช่วยให้ฟันของคุณแข็งแรงยิ่งขึ้น คำแนะนำควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลและตรวจสุขภาพช่องปาก เช่น ถอนฟันรักษารากฟัน ใส่รากฟันเทียม เคลือบฟลูออไรด์ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด ขอคำแนะนำที่กูกต้องเพื่อสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีของคุณ
ขอบคุณบทความ
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม