โรคงูสวัด ใครบ้างที่อาจเป็นกลุ่มเสี่ยง

0
3932
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster )
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster, Shingles ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสาริเซลลา ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดมอากาศจาการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใส
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster )
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster, Shingles ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสาริเซลลา

โรคงูสวัด คือ

โรคงูสวัด ( Herpes Zoster ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสาริเซลลา ( varicella virus ) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดมอากาศจาการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง เชื้อไวรัสสาริเซลลาสามารถแฝงตัวอยู่ได้เป็นเวลานานรอจนกว่าผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง หรือผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอเป็นเวลานานๆ โรคนี้ก็จะแสดงอาการออกมาหลังจากมีไข้ 2-3 วัน 

อาการของโรคงูสวัด

    • มีไข้ต่ำๆ
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
    • มีอาการปวดแสบรอนบริเวณผิวหนังประมาณ 2-3 วัน
    • มีผื่นแดงขึ้นและกลายเป็นตุ่มนูนใส ( ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาท )

อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด

    • การติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ตาอักเสบ
    • แผลที่กระจกตา
    • ภาวะแทรกซ้อนทางหู
    • ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคงูสวัด อาจเป็นรุนแรงและแพร่กระจายได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ

กลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด

    • พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
    • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    • ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันอยู่ 

การรักษาโรคงูสวัด

    • รักษาตามอาการ เชน รับประทานยาแกปวด เนื่องจากสามารถหายไดเอง
    • ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรงของโรค
    • ประคบแผลด้วยน้ำเกลือจะช่วยทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น
    • บางคนที่ติดเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อที่บริเวณผิวหนัง

การป้องกันโรคงูสวัด

    • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
    • แยกข้าวของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่นอน
    • ควรแยกผู้ป่วยไม่ให้ใกล้ชิดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรค เช่น เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้โดยการหายใจรดกัน
    • หากมีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
    • ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา
    • อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
    • ไม่พ่นยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านลงไปที่แผล เพราะอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคงูสวัด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.si.mahidol.ac.th [16 พฤษภาคม 2562].