หนาดดอย
หนาดดอย มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ บ้านเราพบมากที่ภาคเหนือ ชื่อสามัญ Winged Spermatowit[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Laggera pterodonta (DC.) Sch.Bip. ex Oliv. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Blumea pterodonta DC., Conyza ctenoptera Kunth, Laggera pterodonta (DC.) Benth. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่ออื่น ๆ หนาดดอย (จังหวัดเชียงใหม่), หนาดเหลี่ยม (จังหวัดน่าน) [1]
ลักษณะต้นหนาดดอย
- ต้น
– เป็นไม้ประเภทล้มลุก มีอายุเพียงหนึ่งฤดูกาล
– ต้นมีความสูงประมาณ 2 เมตร
– ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านเป็นสันรูปทรงสี่เหลี่ยมแผ่ออกเป็นปีกบาง ๆ กิ่งก้านจะมีสีเขียว และมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่[1] - ใบ
– ใบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
– ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ
– แผ่นใบมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน หลังใบมีสีเป็นสีเขียวหม่นถึงสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
สัดส่วนขนาดของใบ: ใบที่บริเวณโคนต้นจะมีขนาดความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 14-26 เซนติเมตร
– ใบที่บริเวณปลายกิ่งจะมีขนาดความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร - ดอก
– ดอก เป็นช่อกระจุกแน่นแยกแขนงหรือเชิงหลั่น โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
– กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงเข้ม โดยจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว และดอกมีชั้นใบประดับ [1] - ผล
– ผลมีลักษณะที่เป็นผลแห้ง ไม่แตก ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงเส้นยาว ตรงขอบผลเป็นสัน และผิวผลจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วผล[1]
สรรพคุณต้นหนาดดอย
- ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้นมาผสมกับต้นเหง้าไพล ต้นตำหมกไฟ ต้นเหง้าขมิ้น ใช้ทำเป็นยาสำหรับพอกรักษาอาการฝีหนอง และอาการปวดบวม (ทั้งต้น) [1]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
สารสกัดที่ได้จากทั้งต้นมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้ และอีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อไวรัสได้อีกด้วย (ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป) [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนาดดอย”. หน้า 138.