ต้นหนามแน่ขาว
ต้นหนามแน่ขาว สามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างโปร่ง โดยสามารถพบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700-1,500 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2] เมื่อกล่าวถึงพืชสมุนไพรแล้วนั้น พืชสมุนไพรก็ต่างมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอข้อมูลของหนามแน่ขาว พืชสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลของมันกันครับ ชื่อสามัญ Sweet clock vine[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia fragrans Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Meyenia longiflora Benth., Roxburghia rostrata Russell ex Nees, Thunbergia volubilis Pers. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ หนามแน่ขาว (ภาคเหนือ), ทองหูปากกา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), จิงจ้อ จิงจ้อเขาตาแป้น (จังหวัดสระบุรี), ช่องหูปากกา หูปากกา (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), รางจืดดอกขาว เป็นต้น[1],[2],[3]
ลักษณะต้นหนามแน่ขาว
- ต้น
– เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุกเลื้อยพันที่มีขนาดเล็ก
– ต้นมีความยาว: ประมาณ 1-3 เมตร
– ลำต้นมักจะทอดเลื้อยหรือเลื้อยพันไปกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ลำต้นมีลักษณะรูปร่างเป็นเหลี่ยม และทุกส่วนของลำต้นจะมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น - ใบ
– ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
– ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปใบหอกแคบหรือรูปรี
– แผ่นใบมีผิวใบลักษณะคล้ายกระดาษ และผิวใบทั้งสองด้านจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม
– ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร
– ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.8 เซนติเมตร[1],[2] - ดอก
– ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะออกกันเป็นกระจุก 2-3 ดอก โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
– ดอกมีสีเป็นสีขาว และดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
– ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร
– กลีบดอกมีผิวบาง โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ตรงปลายแยกออกเป็นกลีบอยู่ 5 กลีบ
– ตรงบริเวณโคนดอกจะมีกลีบเลี้ยงแผ่เป็นประกับมีสีเป็นสีเขียวอ่อน
– ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน โดยจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ และดอกมีรังไข่อยู่บริเวณเหนือวงกลีบ[1]
– ออกดอกในช่วงเดือนกันยายนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2] - ผล
– ผลมีลักษณะเป็นผลแห้งและแตกได้
– ผลเป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม ปลายผลจะมีเป็นจะงอยแข็ง 1 คู่ ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ
– ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด
– ติดผลในช่วงเดือนกันยายนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2]
สรรพคุณต้นหนามแน่ขาว
- ทั้งต้นนำมาผสมกับต้นจันตาปะขาว นำเอามาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ (ทั้งต้น)[3],[4]
- ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำรากมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น อย่างเช่น รากของต้นพญาดง (Persicaria chinensis) จากนั้นก็นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษาอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรค (ราก)[1]
ประโยชน์ของต้นหนามแน่ขาว
- ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับตกแต่งบ้านทั่วไปได้ เนื่องจากดอกที่มีขาวสวยงาม มองแล้วเพลินตา และดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย[2]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
สารสกัดจากบริเวณส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยแอลกอฮอล์ พบผลลัพธ์ว่าไม่มีฤทธิ์ในการแก้ปวด แต่มีฤทธิ์ในการลดอาการชัก หรือลดอาการบีบตัวของลำไส้ได้[4]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนามแน่ขาว”. หน้า 211.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หูปากกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [29 ก.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “หูปากกา”. หน้า 193.
4. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หูปากกา”. หน้า 210.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.flickr.com/