เถาสะอึก ใบรูปหัวใจและดอกสีเหลืองน่าชม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดหัวได้

0
1791
สะอึก
วัชพืชไม้ล้มลุกเถาเลื้อยขนาดเล็ก ตระกูลผักบุ้ง มีใบสีเขียวสดเป็นรูปหัวใจและมีดอกสีดอกสีเหลืองกลางดอกสีขาว
เถาสะอึก
วัชพืชไม้ล้มลุกเถาเลื้อยขนาดเล็ก ตระกูลผักบุ้ง มีใบสีเขียวสดเป็นรูปหัวใจและมีดอกสีดอกสีเหลืองกลางดอกสีขาว

เถาสะอึก

สะอึก (Merremia hederacea) เป็นวัชพืชไม้ล้มลุกเถาเลื้อยพันขนาดเล็กอยู่ในตระกูลเดียวกับผักบุ้งที่มีชื่อแปลกแต่มีดอกและใบสวยงามมาก มีใบสีเขียวสดเป็นรูปหัวใจและมีดอกสีดอกสีเหลืองกลางดอกสีขาวชวนให้น่าชม เป็นต้นที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักกันมากนักและเป็นต้นที่ค่อนข้างมีชื่อที่ใช้ในพืชอื่น ๆ ด้วย อาจทำให้จำสลับกันได้ ต้นสะอึกเป็นไม้กลางแจ้งที่มักจะพบตามริมชายหาด หนองน้ำ นิยมนำยอดอ่อนมาทานได้และยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเถาสะอึก

ชื่อสามัญ : จิงจ้อเหลี่ยม, จิงจ้อแดง, จิงจ้อขาว, จิงจ้อหลวง, ฉะอึก , มะอึก (นครราชสีมา) จิงจ้อ (สุรินทร์) เถาสะอึก (ภาคกลาง) สะอึกดะลึง (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merremia hederacea (Burm.f.) Hallier f.
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

ลักษณะของต้นเถาสะอึก

สะอึก เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักจะพบแถวชายทะเลหรือชายหาด
ลำต้น : เถากลมเลื้อยพันกับต้นไม้อื่นๆ ลำต้นเหนียว เลื้อยทอดยาวตามพืชชนิดอื่นหรือพื้นดิน ขนเล็กแข็งปักไม่เจ็บ ผิวเกลี้ยง เปลือกสีเขียวอมม่วง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ ก้านใบแดง และมักจะมีสีม่วงหรือจุดเป็นสีม่วง แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบยาว 2-4 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร
ดอก : สีเหลืองและสีขาว โคนดอกทรงกระบอกยาว ดอกบาน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน สีขาวนวลยาวชี้ออกจากตรงกลางดอก
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปวงกลมแบน ผิวผลเกลี้ยง แบ่งออกเป็น 2 ช่อง
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด มีขนสั้นสีเทาหรือสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น
ราก : มีลักษณะแข็ง
การขยายพันธุ์ของเถาสะอึก : การเพาะเมล็ด

สรรพคุณของสะอึก

  • สรรพคุณจากใบ
    – ใบ บดผสมขมิ้นและข้าว แก้ทอนซิลอักเสบ
    – ใบ ทํายาพอก แก้มือและเท้าแตก ตํากับขมิ้นเป็นยาพอกลดการอักเสบแผล และบ่มฝี
    – แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำใบมาตำผสมกับเมล็ดของต้นเทียนแดง (Nigella sativa Linn.) แล้วใช้เป็นยาพอก
    – ใบ ใช้ใบสดโขลกทำเป็นยาพอก สำหรับแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
    – ใบใช้รักษากระดูกหัก
    – ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มหรือแช่น้ำทา แก้งูสวัด
    – เถาสดรสร้อน สรรพคุณแก้ลมพรรดึก ช่วยกระตุ้นลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะ

ประโยชน์ของสะอึก

  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมารับประทานได้

สะอึก เป็นพืชไม้กลางแจ้งที่มักจะพบตามริมชายทะเลทำให้ไม่ได้พบเห็นบ่อยนักสำหรับคนเมืองหรือคนทั่วไป ทั้งนี้สะอึกนั้นอาจจะมีสรรพคุณและประโยชน์ไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าพบเห็นก็สามารถชมความงามของดอกและใบหรือจะนำยอดอ่อนของต้นมาทานได้ สะอึกเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาจากส่วนของใบซึ่งมีสรรพคุณในการแก้อาการปวดหัวได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะอึก”. หน้า 767-768.
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “สะอึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [12 ต.ค. 2014].