ปลาดิบ
ปลาดิบ (Raw fish) คือ เนื้อปลาทะเลสดแล่เป็นชิ้นบาง ๆ นิยมกินกับวาซาบิ ซีอิ๊วญี่ปุ่น และหัวไช้เท้าฝอย เช่น ปลาแซลมอล ปลาทูน่า หรือปลาอื่น ๆ ปลาดิบสามารถนำมาประกอบอาหารหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละประเทศ เช่น ซาชิมิของประเทศญี่ปุ่นที่จะหั่นปลาดิบเป็นชิ้นพอดีคำรับประทานคู่กับวาซาบิและซอสถั่วเหลือง ประเทศอิตาลีที่นำปลาดิบมาแล่บาง ๆ รับประทานคู่กับสลัด และคนไทยในแถบอีสานจะเป็นก้อยปลาโดยใช้เนื้อปลาดิบมาผสมกับน้ำปลา น้ำมะนาว กระเทียม พริก และผักชนิดต่าง ๆ ให้รสชาติคล้ายลาบและส้มตำ
ประโยชน์ของปลาดิบ
- เพิ่มสารอาหาร การรับประทานปลาดิบบางชนิดอาจได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากเนื้อปลาได้มากกว่า เช่น วิตามินดีธรรมชาติที่มักไม่ค่อยพบในอาหารชนิดอื่น และโอเมก้า 3
- เสริมความแข็งแรงให้อสุจิ มีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ชายจำนวน 188 คนรับประทานปลาสดร่วมกับผัก ผลไม้ และธัญพืช พบว่าอสุจิของผู้ทดลองนั้นมีรูปลักษณ์ที่แข็งแรงและมีความคล่องตัวมากกว่าอสุจิของผู้ที่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
- ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง การประทานปลาดิบแทนปลาปรุงสุกอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เพราะการทอดปลาหรือย่างปลาด้วยความร้อนสูงจะทำให้เกิดสารอันตรายอย่างเฮเทอโรไซคลิก เอมีน (Heterocyclic Amine) อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ปลาดิบ เช่น ปลาแซลมอนอุดมไปด้วย โอเมก้า 3 ช่วยต้านโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
ข้อควรระวังในการบริโภคปลาดิบ
อันตรายจากปลาดิบหรือเนื้อปลาที่ปรุงไม่สุก บางคนชอบเนื้อปลาสดสัมผัสถึงรสชาติหวานของปลาดิบเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นรวมถึงคนไทยบางกลุ่ม เช่น ซาซิมิ ซูชิ โดยเฉพาะปลาดิบที่มาจากทะเลสดๆ เช่น แซลมอน ปลามากุโระ ปลาบุริ ปลาซาบะ ปลาคัตสึโอะ ปลาโอ หลายคนเกิดความกังวนเมื่อกินเนื้อปลาดิบที่ไม่มีวิธีจัดการอย่างถูกวิธีในการเตรียมวัตถุดิบก่อนนำมาทำอาหาร
การจัดเก็บวัตถุดิบในเมนูปลาดิบให้ปลอดภัยจากพยาธิ
ก่อนนำปลาดิบมารับประทานควรนำไปแช่แข็งและจัดเก็บที่อุณหภูมิติดลบ 20 องศา (-20°C) หรือต่ำกว่าเป็นเวลา 7 วัน หรือแช่แข็งที่อุณหภูมิติดลบ 35 องศา (- 35°C) เป็นเวลา 15 ชั่วโมงก็สามารถฆ่าตัวอ่อนพยาธิหรือไข่พยาธิในเนื้อปลาดิบก่อนนำไปรับประทานได้
การติดเชื้อพยาธิจากปลาดิบ
การติดเชื้อพยาธิใบไม้จะเกิดขึ้นหากกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนด้วยไข่พยาธิหรือตัวออ่นจะเริ่มฝังตัวอยู่ตามผนังลำไส้ เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในของร่างกาย พยาธิสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมถึงปลาสามารถมีพยาธิได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า ปรสิต สามารถแพร่เชื้อสู่คนผ่านทางอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนตัวพยาธิหรือไข่พยาธิ ได้แก่ พยาธิใบไม้ (trematodes) พยาธิตัวตืด (cestodes) และพยาธิไส้เดือน (Ascariasis) ซึ่งพยาธิมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีอยู่ประมาณ 50,000 สายพันธุ์ พยาธิสามารถแพร่กระจายได้ง่ายทำให้เกิดการติดเชื้อภายในระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรงอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุของการเกิดโรคพยาธิ
โรคพยาธิ เกิดจากการรับพยาธิหรือไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย โดยมีช่องทางการเข้าสู่ร่างกาย ดังนี้
1. เข้าทางปาก จากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนไข่พยาธิ หรือ ตัวพยาธิ
2. เข้าทางผิวหนัง เกิดจาการเข้าทางแผล หรือ สัตว์เป็นพาหะ
อาการเบื้องต้นของโรคพยาธิที่พบบ่อย
- ปวดศรีษะ
- ตาพร่ามัว
- ตัวเหลือง
- ท้องบวม
- หิวบ่อย
- น้ำหนักลด
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ท้องเสียบ่อย
- มีอาการบวมแดง
- ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว
ใครบ้างที่เสี่ยงการติดเชื้อพยาธิ
- ผู้ที่กินเนื้อปลาดิบเป็นประจำ
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นอาศัย หรือชุมชนที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
- ผู้ที่กินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนพยาธิ
- ผู้ที่ใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติที่ไม่ผ่านการกรองหรือบำบัด
วิธีป้องกันการติดเชื้อพยาธิเบื้องต้น
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ก่อน – หลังหยิบจับอาหารเข้าปาก
- ดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มสุกหรือผ่านการกรองแล้ว
- ไม่กลืนน้ำเวลาเล่นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ
- ควรปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้งถ้าเป็นไปได้
- ล้างเนื้อสัตว์ เนื้อปลาดิบ ก่อนรับประทานหรือปรุงอาหาร
อย่างไรก็ตาม การกินปลาดิบเป็นประจำจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิได้ แต่พยาธิบางชนิดก็สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ คุณสามารถลดความเสี่ยงจากพยาธิ โดยการเลือกทานและเลือกซื้อปลาดิบจากร้านที่ได้คุณภาพมีความน่าเชื่อถือในความสะอาด และมีวิธีการจัดเตรียมอาหารเมนูปลาดิบได้อย่างเหมาะสมถูกวิธีนั้นเอง
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม