อ้อย

อ้อย

อ้อย เป็นต้นที่คนทั่วไปรู้จักกันอย่างกว้างขวาง เป็นไม้ล้มลุกที่มักขึ้นเป็นกอ นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มสำหรับแก้กระหาย มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่ดีต่อร่างกายได้หลากหลายมาก สามารถนำมาทำเป็นน้ำตาลได้ด้วย เป็นพืชที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการเกษตรในประเทศไทยเป็นอย่างมาก และยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย ซึ่งถือเป็นพืชยอดนิยมในไทย คนส่วนมากรู้กันดีว่าทุกส่วนของต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ทางเราจะมาบอกรายละเอียดที่ลึกลงไปมากกว่าที่เคยรู้กัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของอ้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sugar cane” “Sugarcane” “Black sugar cane”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “กะที เก่อที” ชาวเมขรเรียกว่า “อำโป” ชาวม้งเรียกว่า “โก้นจั่ว” ชาวลัวะเรียกว่า “มี” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “กำเซี่ย” คนจีนเรียกว่า “กำเจี่ย ชุ่งเจี่ย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)

ลักษณะของอ้อยหรืออ้อยดำ

ลำต้น : ลำต้นกลมยาวแข็งแรงและเป็นมัน มีสีม่วงแดงถึงสีดำ มีไขสีขาวเคลือบลำต้นอยู่ เห็นข้อปล้องชัดเจน มีตาออกตามข้อ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกที่ข้อแบบเรียงสลับกัน หลุดร่วงง่าย พบได้เฉพาะที่ปลายยอด มีกาบใบโอบหุ้มตามข้ออยู่ ใบเป็นรูปขอบขนาน แคบยาวเรียว มีขนสากคายทั้งสองด้านของแผ่นใบ แผ่นใบเป็นสีม่วงเข้ม มีไขสีขาวปกคลุมอยู่ ปลายใบแหลม โคนใบหุ้มลำต้น กลางใบเป็นร่อง ขอบใบเป็นจักแบบละเอียดคม เส้นกลางใบใหญ่เป็นสีขาวและมีขน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายยอด ลำต้นจะออกดอกเมื่อแก่เต็มที่ ในช่อหนึ่งมีดอกย่อยสีขาวครีมเป็นจำนวนมากและมีขนยาว เมื่อแก่จะมีพู่ปลาย
ผล : เป็นผลแห้งขนาดเล็ก จะออกผลเมื่อต้นแก่จัด เมล็ดจะปลิวตามลมได้ง่าย

สรรพคุณของอ้อยดำ

  • สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุทั้งสี่ บำรุงอาโปธาตุ ช่วยดับพิษโลหิตแดงอักเสบ
  • สรรพคุณจากทั้งต้น รักษาโรคได้สารพัด ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้ง แก้หิวและหอบ แก้ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดกำลัง ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้หืดไอ เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ ช่วยขับนิ่ว รักษาโรคนิ่ว แก้โรคช้ำรั่ว แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะขัด ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรีให้งาม ช่วยให้มีบุตร
  • สรรพคุณจากแก่น
    – เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการนำแก่นอ้อยผสมกับแก่นปีบและหัวยาข้าวเย็น มาต้มดื่ม
  • สรรพคุณจากราก ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้ง แก้หิวและหอบ แก้ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดกำลัง ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย ช่วยแก้ไข้สัมประชวร ช่วยแก้หืดไอ ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะในคอ รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ ช่วยขับนิ่ว รักษาโรคนิ่ว แก้โรคช้ำรั่ว แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะขัด ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรีให้งาม ช่วยให้มีบุตร
    – ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง แก้หอบ แก้เสมหะในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ ด้วยการนำราก 10 กรัม มาต้มกับเหล้า กินครั้งเดียวหมดวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น
  • สรรพคุณจากต้น เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ เจริญธาตุ ผายธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงธาตุน้ำ ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยรักษาอาการคลั่งเพ้อ ช่วยแก้ไข้สัมประชวร ช่วยรักษาไข้จับใน ช่วยรักษาไข้ผ่าระดูและไข้ตัวร้อน ช่วยแก้หืดไอ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะในคอ ช่วยแก้เสมหะเหนียว ช่วยทำให้ชุ่มชื่นในลำคอและในอก ช่วยแก้อาการคอแห้งและอาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยแก้กำเดาและลม ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยรักษาอาการตามืดฟาง ช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้มึนงง แก้อ่อนเพลีย แก้อาการวิงเวียนศีรษะเพราะนอนน้อย แก้อยากจะอาเจียน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยรักษาอาการท้องเดิน ถ่ายท้อง แก้ท้องขึ้น ช่วยรักษาอุจจาระเป็นเสมหะโลหิต ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ ช่วยรักษาปัสสาวะวิปลาสเป็นสีเหลืองและสีแดง ช่วยขับนิ่ว รักษาโรคนิ่ว แก้โรคช้ำรั่ว แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะขัด ช่วยแก้หนองใน ช่วยรักษาระดูแห้งของสตรี ช่วยขับน้ำเหลือง ช่วยรักษาโรคงูสวัด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยแก้อาการช้ำใน
    – ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ด้วยการนำต้นที่ยังไม่ปอกเปลือก 3 ข้อ มาเผาไฟจนร้อนเกิดฟองปุดออกทางปลายทั้งสองข้าง แล้วปอกเปลือกออก เคี้ยวกินในขณะร้อน หรือจิ้มกับเกลือกิน
    – แก้อาการร้อนในและปากเปื่อย ด้วยการตัดอ้อยดำจำนวน 3 ท่อน นำแต่ละท่อนมาผ่า 4 ส่วน เอา 3 ส่วน ไปแช่น้ำ 3 แก้ว เติมข้าวสารเจ้าลงไปหยิบมือหนึ่ง แช่ทิ้งไว้ 30 นาที แล้วดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 4 วัน
    – ช่วยแก้ไตพิการ ด้วยการนำต้นสดวันละ 1 กำมือ มาสับเป็นชิ้นเล็ก แล้วต้มกับน้ำแบ่งดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2 ครั้ง
  • สรรพคุณจากน้ำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ เจริญธาตุ ผายธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงธาตุน้ำ ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้ไข้สัมประชวร ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะในคอ ช่วยทำให้ชุ่มชื่นในลำคอและในอก ช่วยแก้อาการคอแห้งและอาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยแก้กำเดาและลม ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยรักษาอาการตามืดฟาง ช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้มึนงง แก้อ่อนเพลีย แก้อาการวิงเวียนศีรษะเพราะนอนน้อย แก้อยากจะอาเจียน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ ช่วยล้างทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว รักษาโรคนิ่ว แก้โรคช้ำรั่ว แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะขัด ช่วยแก้หนองใน ช่วยขับน้ำเหลือง ช่วยแก้พิษยางน่อง ช่วยรักษาฝีดูดหนอง ช่วยแก้อาการช้ำใน
    – แก้อาเจียนจากมีโรคอยู่ในกระเพาะ ด้วยการนำน้ำอ้อยสดครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำคั้นจากขิงสด 1 ช้อนชา คนแล้วตั้งบนไฟพออุ่น ดื่มครั้งเดียวหมดวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น
    – ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน ด้วยการนำน้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะมาผสมกับเหล้าขาว 1 – 3 ช้อนแกงแล้วใช้ดื่ม
  • สรรพคุณจากตา เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ เจริญธาตุ ผายธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงธาตุน้ำ ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้ตัวร้อน
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น ช่วยแก้ตานขโมย ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้ตัวร้อน
    – รักษาโรคปากเป็นแผลอันเนื่องมาจากขาดธาตุอาหาร ด้วยการนำเปลือกมาเผาเป็นเถ้า บดให้ละเอียดใช้โรยทา
    – ช่วยแก้แผลเน่าเปื่อย แก้แผลบวมเป็นตุ่ม แก้แผลกดทับ ด้วยการนำเปลือกต้นมาเผาเป็นเถ้าบดให้เป็นผง ใช้โรยหรือทาที่แผล
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ด้วยการนำปล้องลำต้นมาผ่าแล้วเอาเกลือทา นำไปเผาไฟแล้วเคี้ยวกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากชาน
    – ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง แก้แผลใต้ผิวหนังเรื้อรัง ช่วยแก้ฝีอักเสบบวม ด้วยการนำชานมาเผาเป็นเถ้าหรือบดเป็นผง ใช้โรยหรือผสมทาแผลแล้วเอาครีมทาปิด

ประโยชน์ของอ้อย

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ลำต้นใช้กินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอ้อยควั่น บีบเอาน้ำอ้อยใช้ดื่มโดยตรง ทำเป็นไอศกรีม ช่อดอกอ่อนที่ยังไม่บานนำมาใช้ทานดิบ นึ่งหรือย่างเป็นผักจิ้มได้ ลำต้นนำมาเคี่ยวทำเป็นน้ำตาลอ้อยได้น้ำอ้อยเคี่ยวจนตกผลึกได้น้ำตาลทราย กากน้ำตาลที่แยกออกจากน้ำตาลนำไปหมักทำเป็นเหล้ารัม ส่วนของใบ ยอด ลำต้นที่ยังอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ ผลิตทำเป็นน้ำตาล
2. ใช้ในการเกษตร ใบแห้งนำมาใช้เป็นวัตถุสำหรับคลุมดินหรือบำรุงดิน ช่วยรักษาความชื้น ป้องกันวัชพืช ทำให้ไนโตรเจนในดินเพิ่มมากขึ้น รากและเหง้าเมื่อเน่าเปื่อยผุพังจะกลายเป็นปุ๋ย ใบแห้งนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจะให้พลังงานค่อนข้างสูงมาก ชานใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้า กากตะกอนหรือขี้ตะกอนใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้ กากน้ำตาลนำมาใช้ทำปุ๋ยหรือเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์
3. ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตไข สามารถใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารขัดเงา การผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน การผลิตลิปสติก ใช้ในอุตสาหกรรมยีสต์ ผิวของต้นมี Wax ซึ่งสามารถเอามาใช้ทำยาและทำเครื่องสำอางได้ ใช้สกัดทำเป็นสีย้อมโดยจะให้สีน้ำตาล
4. ใช้ในงานมงคล งานหมั้นหรืองานแต่งงาน โกนจุก ขึ้นบ้านใหม่ การเทศน์มหาชาติ

อ้อย เป็นต้นที่มีหลายสายพันธุ์ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมและการเกษตร ถือเป็นพืชยอดนิยมที่นำมาใช้กัน ทั้งการใช้ทดแทนพลังงาน ผลิตน้ำตาล ใช้ทำเครื่องดื่มทาน และการนำมาทำเป็นยาสมุนไพร มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของต้นและน้ำ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยแก้ไข้ บำรุงกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ ช่วยบำรุงหัวใจและอื่น ๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วน

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “อ้อยดำ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [2 ม.ค. 2014].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “อ้อยแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [2 ม.ค. 2014].
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. “อ้อย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [2 ม.ค. 2014].
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “อ้อยดำ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.wattano.ac.th. [2 ม.ค. 2014].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. “สมุนไพรพื้นบ้านอ้อย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [2 ม.ค. 2014].
สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย เทศบาลเมืองทุ่งสง. “อ้อยแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com. [2 ม.ค. 2014].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. พืชให้สี. “อ้อยแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/use/color2.htm. [2 ม.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Sugar cane“. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส (สมพร ภูติยานันต์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [2 ม.ค. 2014].
สมุนไพรในร้านยาโบราณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “อ้อย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [2 ม.ค. 2014].
Thai Herb Club. “อ้อย“. อ้างอิงใน: หนังสือพจนานุกรม สมุนไพรไทย (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaiherbclub.com. [2 ม.ค. 2014].
สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม. “อ้อยในฐานะเป็นสมุนไพร“. (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรอันดับที่ 01 (ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ และคณะ), หนังสือสมุนไพรและยาที่ควรรู้ (รศ.พร้อมจิต ศรลัมภ์ และคณะ), หนังสือก้าวไปกับสมุนไพร (ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล), หนังสือยาสมุนไพร (สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.e-busitrade.com. [2 ม.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. “อ้อย“. (ศิริพร บุญรักษา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [2 ม.ค. 2014].
มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 26, ฉบับที่ 1350 (ก.ค.2549) หน้า 92. สมุนไพรเพื่อสุขภาพ โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทย. “ดื่มน้ำอ้อยแทนน้ำเมา เพิ่มพลังเชียร์บอลโลก“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: info.matichon.co.th. [2 ม.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com

รูปอ้างอิง
https://www.ragus.co.uk/growing-and-harvesting-sugarcane/