โรคบาดทะยัก
บาดทะยัก ( Tetanus ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงอันตรายถึงชีวิต หากกระจายจากแผลไปยังปลายประสาททำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้ ระยะหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง คอแข็ง หลังแข็ง ต่อไปจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วตัว ทำให้มีอาการชักได้ ระยะฟักตัวของโรคบาดทะยักประมาณ 3 – 28 วัน โดยเฉลี่ย 8 วัน
สาเหตุการเกิดบาดทะยัก
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) เชื้อชนิดนี้
สามารถสร้างสปอร์ที่มีความทนทานต่อความร้อนแห้งแล้ง พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีในแผลลึก อากาศเข้าไม่ได้ดี เช่น บาดแผลตะปูตำ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวหนังถลอกบริเวณกว้าง บาดแผลในปาก ฟันผุ หรือเข้าทางหูที่อักเสบ โดยการใช้เศษไม้ หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อโรคนี้ติดอยู่แคะฟันหรือแยงหู บางครั้งอาจเข้าทางลำไส้ได้
อาการโรคบาดทะยัก
-
- ขากรรไกรแข็งอ้าปากไม่ได้
- มือ แขน และขาเกร็ง หลังแข็งและแอ่น
- กล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง สามารถลุกลามไปถึงลำคอทำให้กลืนลำบาก
- อาการกระตุกบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง
- กรณีที่รุนแรงกระดูกสันหลังจะโค้งไปข้างหลัง
- อาการท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- มีไข้
- อุจจาระเป็นเลือด
- เจ็บคอ
- เหงื่อออกมาผิดปกติ
- หายใจลำบาก
- หัวใจเต้นเร็ว
การรักษาโรคบาดทะยัก
-
- ทำความสะอาดแผลให้สะอาด
- ฉีดวัคซีนกันบาดทะยัก
- ให้ยาคลายกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
- ให้ยากล่อมประสาท เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งลด
- รักษาอาการเกร็งและกระตุก
การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
วัคซีนป้องกันบาดทะยักให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรคคอตีบและโรคบาดทะยักควรฉีดให้ครบ 5 ครั้งเมื่อมีอายุดังต่อไปนี้
เข็มที่ 1 ( อายุ 2 เดือน )
เข็มที่ 2 ( อายุ 4 เดือน )
เข็มที่ 3 ( อายุ 6 เดือน )
เข็มที่ 4 ( อายุ 15 ถึง 18 เดือน )
เข็มที่ 5 ( อายุ 4 ถึง 6 ปี )
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
บาดทะยัก (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.boe.moph.go.th [13 พฤษภาคม 2562].
Tetanus (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.medicalnewstoday.com [13 พฤษภาคม 2562].