โรคแพนิค อันตรายหรือไม่
ตื่นตระหนก รู้สึกวิตกกังวล ไม่สบายใจ เสียขวัญ หดหู่ เบื่อหน่าย หวาดกลัวอย่างกะทันหันเป็นประจำทุกวัน

โรคแพนิค

โรคแพนิค ( Panic Disorder ) คือ โรคตื่นตระหนกทำให้รู้สึกวิตกกังวล ไม่สบายใจ เสียขวัญ หวาดกลัวอย่างกะทันหันเป็นประจำทุกวัน ซึ่งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียด หรือเป็นอันตราย อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงมากไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

อาการของโรคตื่นตระหนก

  • ปากแห้ง
  • หัวใจเต้นแรง หรือใจสั่น
  • หายใจถี่
  • ตัวสั่น
  • เหงื่อออก หรือหนาวสั่น
  • รู้สึกหน้ามืด
  • คลื่นไส้
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • รู้สึกเสียวซ่าน หรือมือเท้าชา
  • เจ็บหน้าอก
  • ร้อนวูบวาบ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • รู้สึกเหมือนกำลังสำลัก

สาเหตุของโรคแพนิคที่เกิดขึ้นได้บ่อย

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคตื่นตระหนกจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด
แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหลายคนเชื่อว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
ชีวภาพ และจิตวิทยาร่วมกันมีบทบาทดังนี้

  • อายุ : โรคแพนิคอาการตื่นตระหนกมักเกิดขึ้นระหว่างอายุ 18 ถึง 35 ปี
  • เพศ : ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติพบว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแพนิคมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า
  • พันธุศาสตร์ : หากมีคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดทางสายเลือดที่เป็นโรคแพนิค คุณก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคแพนิคได้เช่นกัน
  • ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต : มีโอกาสเกิดอาการแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป
  • การใช้สารเสพติด : ผู้เสพเป็นเวลานานๆ ส่งผลกระทบต่อสมอง หวาดกลัว ก้าวร้าว นอนไม่หลับ
  • การได้รับอุบัติเหตุ : การบาดเจ็บรุนแรงหรือเจอเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง
  • การเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่กะทันหัน เช่น การสูญเสียคนที่เป็นที่รักไป การหย่าร้าง มีลูก ตกงานเป็นต้น

การรักษาโรคแพนิค

โดยทั่วไปการรักษาอาการตื่นตระหนกมักได้รับการรักษาทางจิตเวช โดยจิตแพทย์ นักจิตบำบัด โยคะบำบัด และการใช้ยา

  • จิตบำบัด เป็นการพูดคุยถือเป็นการรักษาทางเลือกแรกที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเสียขวัญ ตื่นตระหนก และเรียนรู้วิธีการรับมือที่จะเกิดขึ้นอีก
  • การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) เป็นยาปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลย์
  • การใช้ยาระงับอาการวิตกกังวล (Anti-anxiety drugs) เป็นยานอนหลับกดการทำงานของสมองช่วยคลายเครียดกังวลใจ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตื่นตระหนก

นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคแพนิคยังเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องที่พบบ่อย ได้แก่

  • โรคซึมเศร้า หรือ Depression
  • โรควิตกกังวลทั่วไป หรือ Generalized Anxiety Disorder (GAD)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)
  • โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง หรือ Post-traumatic stress disorder (PTSD)
  • โรคกลัวการเข้าสังคม หรือ Social anxiety disorder (SAD)

อย่างไรก็ตามผู้ที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคแพนิค ต้องฝึกการตั้งสติ ลดความเครียด โดยการทำกิจกรรมที่คุณรู้สึกทำแล้วสบายใจ สงบ หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงที่อาจทำให้โรคแพนิคกำเริบขึ้นได้นั้นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม