วัณโรค ( Tuberculosis ) เกิดได้อย่างไรกัน

0
4598
วัณโรค ( Tuberculosis หรือ TB ) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium เกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80
วัณโรค ( Tuberculosis )
วัณโรค ( Tuberculosis หรือ TB ) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium เกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80

วัณโรค ( Tuberculosis ) คือ ?

วัณโรค ( Tuberculosis หรือ TB ) เป็น โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium จัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium tuberculosis complex ชื่อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80 ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย วัณโรคนอกปอดอาจพบได้ในอวัยวะอื่นๆได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

การแบ่งกลุ่มเชื้อมัยโคแบคทีเรียม

เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ( Mycobacterium ) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1) Mycobacterium tuberculosis complex ( MTBC ) เป็นสาเหตุของวัณโรคในคนและสัตว์มีจำนวน 8 สายพันธุ์ ที่พบบ่อยที่สุด คือ Mycobacterium tuberculosis มักก่อให้เกิดโรคในสัตว์ ซึ่งอาจติดต่อมาถึงคนได้โดยการบริโภคนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และเป็นสายพันธุ์ที่นำมาผลิตเป็นวัคซีนบีซีจี
2) Nontuberculous mycobacteria ( NTM ) มีจำนวนมากกว่า 140 สายพันธุ์ พบในสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำหรือพบในสัตว์ เช่น นกส่วนใหญ่ไม่ก่อโรคในคน ยกเว้นในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
3) Mycobacterium leprae เป็นสาเหตุของโรคเรื้อน เชื้อวัณโรคมีลักษณะเป็นรูปแท่ง หนาประมาณ 0.3 ไมโครเมตรยาวประมาณ 2 – 5 ไมโครเมตร เมื่อย้อมด้วยวิธี Ziehl Neelsen จะติดสีแดง เชื้อวัณโรคไม่มีแคปซูล ไม่สร้างสปอร์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อาศัยออกซิเจนในการเจริญเติบโต เชื้อวัณโรคที่อยู่ในละอองฝอยเมื่อผู้ป่วยไอ หรือจามออกมาสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 30 นาที

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium เกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค

  • ปัจจัยด้านผู้ป่วยวัณโรค เช่น การป่วยเป็นวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ในระยะที่มีเชื้อ
    ในเสมหะ ผู้ป่วยที่มีแผลโพรงในปอดจะมีเชื้อจำนวนมาก เมื่อมีอาการไอ จาม หรืออาการอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการหายใจแรงๆ
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่อับทึบและคับแคบ แสงแดดส่องไม่ถึง การถ่ายเทอากาศไม่ดี
  • ปัจจัยด้านระบบบริการ เช่น การวินิจฉัยและรักษาล่าช้า การให้ยารักษาไม่ถูกต้อง การรักษาไม่ครบ การทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอย เช่น การกระตุ้นให้เกิดการไอ เป็นต้น 

ลักษณะอาการผู้ป่วยวัณโรค

  • ผู้ที่น่าจะเป็นวัณโรค ( presumptive TB ) หมายถึง ผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดงเข้าได้กับวัณโรค
    เช่น ไอทุกวันเกิน 2สัปดาห์ ไอเป็นเลือด น้ำหนักลดผิดปกติ มีไข้ เหงื่อออกมากผิดปกติตอนกลางคืน เป็นต้น
  • ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ( latent TB infection ) หมายถึงผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่
    ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับเชื้อ สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรควัณโรคได้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
  • ผู้ป่วยวัณโรค ( TB disease ) หมายถึงผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกายแต่ภูมิคุ้มกัน
    ไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้เกิดพยาธิสภาพที่ทำให้ป่วยเป็นโรควัณโรค อาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้

วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติ

1) การตรวจหาเชื้อ acid-fast bacilli ( AFB ) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( microscopic examination )
2) การเพาะเลี้ยงเชื้อและพิสูจน์ยืนยันชนิด ( mycobacterial culture and identification )
3) การทดสอบความไวต่อยา ( drug susceptibility testing )
4) การตรวจทางอณูชีววิทยา ( molecular biology )
5) การตรวจหาการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อวัณโรค ( immune reactivity testing )

การป้องกันโรควัณโรค

  • ดูแลสุขภาพออกกำลังกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ตรวจการทำงานของปอด
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรค โดยเฉพาะผู้สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด บุคลากรทางการแพทย์
  • เลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค
  • หากมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 – National Tuberculosis control
Programme Guidelines, Thailand 2018 .กรุงเทพฯ : สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค, 2561. 120 หน้า.
1. วัณโรค-การป้องกันและควบคุม