ข้าวขาว น้ำตาลต่ำ ข้าวกข 43 ( RD43 )
ข้าวกข 43 ( RD43 ) พันธุ์ข้าวเพื่อสุขภาพที่ดีของเมืองไทยที่ผสมระหว่าง พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี ( พันธุ์แม่ ) กับ พันธุ์สุพรรณบุรี 1 ( พันธุ์พ่อ )

ข้าวขาว น้ำตาลต่ำ ข้าวกข 43 ( RD43 )

หนึ่งในบรรดาพันธุ์ข้าวเพื่อสุขภาพที่ดีของเมืองไทย
ข้าวขาว นุ่ม น้ำตาลน้อย อร่อยได้สุขภาพ
ข้าวขาวนํ้าตาลต่ำ หอม นุ่ม น่ารับประทาน
คนเป็นเบาหวานกินได้ คนลดน้ำหนักกินดี

ข้าวกข 43 คืออะไร ?

ข้าวกข 43 เป็นพันธุ์ข้าวที่ผสมระหว่าง พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี ( พันธุ์แม่ ) กับ พันธุ์สุพรรณบุรี 1 ( พันธุ์พ่อ ) ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542

ปลูกทดสอบผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าวและในนาเกษตรกรตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2551 กรมการข้าวพิจารณารับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ใช้ชื่อว่า ข้าวเจ้า กข 43 รูปร่างเมล็ดยาวเรียว คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้ม รับประทานดี ข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ( ใกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105 ) ข้าวกข43 ให้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าข้าวชนิดอื่นๆ

ลักษณะเด่นของข้าวกข 43

มีค่าการแตกตัวเป็นน้ำตาลน้อยทำให้ร่างการสามารถดูดซึมน้ำตาลจากข้าวได้น้อยลง มีค่าดัชนีน้ำตาลระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ หมายถึง ค่าการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับน้อย มีอมิโลสต่ำ ข้าวจะนุ่มและเหนียว ( อะมิโลสในข้าว – Amylose คือ คุณภาพข้าวทางเคมีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกแล้วจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อมิโลสยิ่งสูง ข้าวยิ่งแข็งร่วน อมิโลสต่ำ ข้าวจะนุ่มและเหนียว ) ที่จริงแล้ว จุดเด่นของข้าวพันธุ์กข 43 คือเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงต้านทานโรคไหม้คุณภาพการสีดีสามารถนำมาทำเป็นข้าวขาว 100%

ข้าว กข 43 เหมาะกับใคร ?   

เหมาะกับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้ที่รักสุขภาพเพราะถือได้ว่าเป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์สูง

เป็นข้าวของผู้ใส่ใจสุขภาพ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไต รวมถึงผู้ที่กำลังลดน้ำหนักที่ต้องการจะลดปริมาณน้ำตาลจากข้าวและอาหารที่กินในแต่ละวันเพราะเมื่อรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำ ( Low Glycemic Index ) อย่างข้าว กข  43 ร่างกายก็จะเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลได้ช้าลงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและ ช่วยให้เราไม่หิวง่าย

ข้าวกข 43 หุงอย่างไรให้อร่อย ?

ถ้าเป็นชนิดข้าวขัดขาวไม่ใช่ข้าวกล้องก็หุงโดยใช้น้ำปกติประมาณ 1 ข้อนิ้ว หรือ ข้าว 1 ส่วน : น้ำ 1 ส่วน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

กรมการข้าว; http://www.กข43.com