มะรุมสกัดเย็น ( Cold pressed Moringa )
มันมะรุมสกัดเย็น อุดมด้วยวิตามิน มอยเจอร์ไรเซอร์ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนนุ่ม ชุ่มชื่น น้ำมันซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ง่ายมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของสิว

น้ำมันมะรุมสกัดเย็น

น้ำมันมะรุมสกัดเย็น เริ่มมีบทบาทสำคัญกับการแพทย์ทางเลือก เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ อนึ่ง มะรุม เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่มีสรรพคุณทางยาอยู่แล้ว การทำน้ำมันมะรุมสกัดเย็นจากมะรุม จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นนั่นเอง

มะรุม คืออะไร

มะรุม ( Moringa ) คือ พืชผักพื้นบ้านของไทยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและแร่ธาตุ ส่วนใหญ่จะพบมากในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา โดยมักจะโตในพื้นที่เขตร้อนมะรุมถูกนำไปใช้เป็นยาพื้นบ้านใช้ ยังเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ สามารถประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ใบ ดอก ผล เมล็ด ราก ลำต้น และเปลือก มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม โปแตสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก

วิธีทำน้ำมันมะรุมสกัดเย็น

1.นำเมล็ดแห้งมะรุมใส่ลงในเครื่องบีบเย็นที่อุณหภูมิห้อง จะได้น้ำมันที่มีสีขุ่นเข้มเพราะมีกากปะปนออกมาด้วย
2.นำน้ำมันมะรุมที่ได้ใส่ภาชนะทรงสูงตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน แล้วนำมากรองด้วยกระดาษกรองที่มีความระเอียดสูงน้ำมันจะค่อยๆซึมผ่านกระดาษกรองหยดลงมาทีละหยด จนได้น้ำมันมะรุมที่บริสุทธิ์มีสีเหลืองใสอุดมด้วยวิตามิน มอยเจอร์ไรเซอร์ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนนุ่ม ชุ่มชื่น น้ำมันซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ง่ายมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของสิว
3.เก็บน้ำมันมะรุมที่ผ่านการสกัดแล้วในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด

ประโยชน์ที่สำคัญของน้ำมันมะรุมสกัดเย็น

1. น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
2. ช่วยในการสร้างคอลลาเจน
3. ช่วยในการลดเลือดริ้วรอย
4. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการผื่นคัน
5. น้ำมันมะรุมช่วยจัดการสิวหัวดำ และสิวหัวหนอง
6. ช่วยลบเลือนจุดด่างดำที่เกิดจากสิว
7. ช่วยเร่งการเติบโตของเซลล์ผิวใหม่ และชะลอความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อผิวหนัง
8. ช่วยลดการอักเสบของผิว
9. ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวกาย
10. ช่วยบำรุงปลายผมและเล็บให้ดูสุขภาพดี

ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยมะรุม เนื่องจากมีสรรพคุณมากมายทั้งทางด้านโภชนาการ สารอาหาร การรักษาบรรเทาอาการอาการของโรคต่างๆ รวมถึงนำมาใช้บำรุงผิวพรรณอย่างที่ทุกคนทราบ จึงนิยมนำเมล็ดมะรุมมาทำเป็นน้ำมันมะรุมสกัดเย็นนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

C. Gopalan; B. V. Rama Sastri; S. C. Balasubramanian (1971). Nutritive Value of Indian Foods. Hyderabad: National Institute of Nutrition, Indian Council of Medical Research. pp. 66, 78. OCLC 2387900.

“Horseradish-tree, leafy tips, cooked, boiled, drained, without salt”. Nutritiondata.com. Condé Nast. 2012. Retrieved 6 May 2013.