หน้าที่และประโยชน์ของกรดบิวทิริก
กรดบิวทิริก คือ กรดอินทรีย์ที่พบได้ในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช นมและไขมันเนย เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว

ประโยชน์ของกรดบิวทิริก

กรดบิวทิริก ( Butyric Acid ) คือ กรดไขมันชนิดอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid ) ที่พบได้ในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช น้ำนม และไขมันเนย ซึ่งเป็นกรดไขมันสายสั้น ๆ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ระเหยได้ง่าย โดยมีสูตรทางเคมี คือ CH3CH2CH2COOH เมื่อดูจากโครงสร้างจะพบว่าบิวทิริกเป็นกรดอินทรีย์ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด คือ มีจำนวนคาร์บอนเพียงแค่ 4 เท่านั้น

จึงนับเป็นกรดไขมันชนิดที่มีสายสั้น ( Short Chain Fatty Acid ) มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ จุดหลอมเหลวต่ำ ( Melting Point ) อยู่ที่ ประมาณ -7.9 องศาเซลเซียส เป็นกรดอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย ( Volatile Fatty Acid ) ละลายในน้ำได้ดี แหล่งที่พบกรดบิวทิริกนอกจากในน้ำนมและไขมันเนยแล้ว กรดบิวทิริกยังพบได้จากการหมักของเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ซึ่งกรดบิวทิริกที่เกิดขึ้นจากการหมักนี้เป็นสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร ลักษณะอาหารที่เน่าเสียจากกรดบิวทิริกจะมีกลิ่นเหม็น รสเปรี้ยวคล้ายกับนมที่บูดแล้ว
ถึงแม้ว่ากรดบิวทิริกจะทำให้อาหารเน่าเสีย แต่กรดบิวทิริกกลับมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ประโยชน์ของกรดบิวทิริกต่อร่างกาย

1.แหล่งพลังงาน กรดบิวทิริก เป็นแหล่งพลังงานให้กับเยื่อเมือกหรือเนื้อเยื่อเมือก ( Mucosa or Mucous Membrane ) โดยเฉพาะที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โดยกรดบิวทิริกจะเข้าไปช่วยให้วิลลัส ( Villus ) หรือเยื่อบุผนังลำไส้ภายในลำไส้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากนั้นมีขนาดความยาวมากขึ้น สุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนอยู่ได้นานกว่าเดิมอีกด้วย จึงทำให้วิลลัสสามารถดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นนั่นเอง

2.ดูดซึมสารอาหาร กรดบิวทิริกช่วยในการดูดซึมสารอาหารได้เพิ่มมากขึ้น เพราะผนังลำไส้มีความแข็งแรงและมีพื้นที่มากขึ้น รวมถึงวิตามินที่ไม่ละลายน้ำ ลดการขาดวิตามินเอ วิตามินเค วิตามินอี วิตามินดี เพราะเข้าไปเพิ่มพื้นที่ของเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้สามารถดูดซึมอาหารได้มากขึ้น ร่างกายจึงดูดซึมวิตามินที่ไม่ละลายน้ำเพิ่มมากขึ้น

3.รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ลำไส้ของเราจะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ปะปนอยู่ด้วยกัน ถ้าจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินความจำเป็นจะทำให้เราเกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด ในทางกลับกันถ้าจุลินทรีย์ชนิดดีมากเกินไปก็จะทำให้การขับถ่ายไม่ดี ดังนั้นเราต้องรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดให้อยู่ในสภาวะที่สมดุลเพื่อที่ระบบการย่อยและขับถ่ายจะทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งกรดบิวทิริกจะช่วยสร้างสมดุลของจุลินทีย์ในร่างกาย โดยเมื่อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Lactobacilli เป็นต้น มีปริมาณลดลงก็จะเข้าไปช่วยให้มีการสร้างเพิ่มขึ้นให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และลดหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์ เช่น S.Entertidis, E.Coli เป็นต้น เมื่อจุลินทรีย์ไม่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นเกินสมดุล โดยการควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างให้อยู่ในค่าที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตได้

กรดบิวทิริก ( Butyric Acid ) คือ กรดอินทรีย์ที่พบได้ในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช นมและไขมันเนย เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid )

4. ป้องกันมะเร็งลำไส้ กรดบิวทิริกจะช่วยป้องกันและรักษาแผลที่เกิดจากการทำลายของเชื้อโรคที่เข้ามาในลำไส้ให้ดีขึ้นหรือหายได้ เพราะถ้าลำไส้มีการอักเสบ การระคายเคืองเป็นแผลบ่อยๆ จนกลายเป็นแผลที่มีการอักเสบชนิดเรื้อรังแล้ว เซลล์บริเวณที่เกิดการอักเสบนี้จะมีโอกาสที่จะกลายพันธุ์และเจริญเติบโตเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นเมื่อกรดบิวทิริกสามารถรักษาแผลที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้แล้ว โอกาสที่เซลล์จะกลายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งย่อมลดลงตามไปด้วย

กรดบิวทิริกเป็นกรดอินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี ลดภาวะขาดวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค

และช่วยรักษาสมดุลภายในลำไส้ทำให้ร่างกายแข็ง แรง กรดบิวทิริกนั้นเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ลำไส้ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่และยังไม่แข็งแรงมากเพราะเมื่อเด็กได้รับกรดบิวทิริกเข้าไปจะช่วยทำให้ลำไส้ของเด็กแข็งแรง ลดความเสี่ยงของโรคท้องเสียหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเด็กควรดื่มนมหรือกินอาหารที่เสริมกรดบิวทิริกจะดีการเจริญเติบโตของร่างกาย ส่วนในผู้ใหญ่ก็สามารถกินอาหารที่เสริมบิวทิริกเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของลำไส้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ในระยะยาวได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.

http://www.medscape.com/viewarticle/584984.

Hartley, L.; Clar, C.; Ghannam, O.; Flowers, N.; Stranges, S.; Rees, K. (Sep 2015). “Vitamin K for the primary prevention of cardiovascular disease”. The Cochrane Database of Systematic Reviews (Systematic review). 9 (9): CD011148.