โคบอลท์
โคบอลท์ ( Cobalt ) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เกลือของโคบอลต์มีความจำเป็นต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้ไอโซโทปของโคบอลต์-60 ใช้สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินบีสิบสอง ( Vitamin B12 ) ซึ่งก็มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในร่าง กาย ให้มีการผลิตน้ำย่อยออกมาตามปกติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยบำรุงรักษาเม็ดเลือดแดงให้เป็นไปตามปกติอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะไม่สามารถสังเคราะห์แร่ธาตุชนิดนี้ขึ้นมาเองได้ จึงต้องเสริมโคบอลท์ ให้กับร่างกายด้วยการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เท่านั้น และด้วยเหตุนี้คนที่กินมังสวิรัติหรือกินเจอย่างเคร่งครัด จึงมักจะมีปัญหาการขาดโคบอลท์ได้มากกว่าคนทั่วไปนั่นเอง
การดูดซึมและการขับโคบอลท์
ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมโคบอลท์ได้ดีที่ลำไส้เล็ก โดยจะถูกดูดซึมที่ประมาณร้อยละ 70-80 ของโคบอลท์ที่ได้รับเข้าไป และจะถูกขับออกทางปัสสาวะมากถึงร้อยละ 65 ที่เหลือก็จะถูกขับออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก ส่วนแหล่งที่ใช้ในการเก็บโคบอลท์ ก็คือ เม็ดเลือด ตับ ไต ม้ามและตับอ่อน
แหล่งอาหารที่พบโคบอลท์
โคบอลท์ สามารถพบได้ดีในแหล่งอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ โดยอาหารที่พบโคบอลท์ได้มากที่สุด คือ เนื้อ ไต ตับ นมหอยกาบ และหอยนางรม
ปริมาณที่แนะนำในการบริโภคโคบอลท์
เนื่องจากโคบอลท์มักจะพบในปริมาณที่น้อยมาก จึงไม่มีปริมาณที่แนะนำ ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะได้รับจากอาหารประเภทโปรตีนเฉลี่ยประมาณวันละ 5-8 ไมโครกรัม
ผลจากการขาดโคบอลท์
เมื่อร่างกายขาดโคบอลท์จะทำให้มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะในวัยเด็ก และอาจป่วยด้วยโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนและถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางประสาทอย่างถาวรได้เหมือนกัน ซึ่งหากได้รับโคบอลท์มากเกินไปอาจส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ใหญ่ผิดปกติได้
การเป็นพิษของโคบอลท์
ถึงแม้ว่าโคบอลท์จะมีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในคนที่มีปัญหาต่อมธัยรอยด์โต การลดปริมาณโคบอลท์ให้น้อยลงจะทำให้ต่อมไทรอยด์กลับมามีขนาดปกติได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีปัญหาการได้รับโคบอลท์เกินมากนัก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
Enghag, Per (2004). “Cobalt”. Encyclopedia of the elements: technical data, history, processing, applications. p. 667. ISBN 978-3-527-30666-4.
Murthy, V. S. R (2003). “Magnetic Properties of Materials”. Structure And Properties Of Engineering Materials. p. 381. ISBN 978-0-07-048287-6.
Greenwood, Norman N.; Earnshaw, Alan (1997). Chemistry of the Elements (2nd ed.). Butterworth-Heinemann. pp. 1117–1119. ISBN 0-08-037941-9.