ฟลูออรีน คืออะไร ?
ฟลูออรีน ( Fluorine ) คือ ส่วนหนึ่งของสารสังเคราะห์โซเดียมฟลูออไรด์และแคลเซียมฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย และมีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเคลือบฟัน และสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกโครงร่างและฟันได้ดีอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วในร่างกายของคนเราก็สามารถพบฟลูออรีนได้ในเนื้อเยื่อโดยทั่วไปและฟัน และเนื่องจากที่ฟันของ คนเรานั้นจะมีเคลือบฟันที่เรียกว่า ไฮดรอกซีอะปาไทด์ ( Hydroxyl Apatite ) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับฟลูออไรด์ จนเกิดเป็น ฟลูออโรอะปาไทด์ ( Fluoroapatite ) ที่มีคุณสมบัติละลายในกรดได้ยาก จึงไม่ทำให้ฟันผุได้ง่าย และยังทำให้ฟันแข็งแรงยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย
หน้าที่ของฟลูออรีน
ฟลูออรีนมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างด้วยกัน เช่น
- ฟลูออรีนช่วยเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมกับกระดูกและฟัน จึงทำให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ หรือภาวะกระดูกเปราะบางได้อีกด้วย นอกจากนี้ก็สามารถป้องกันวามผิดปกติของกระดูกได้เช่นกัน
- ฟลูออรีนช่วยลดการเกิดกรดในช่องปากที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ดี และช่วยปกป้องเคลือบฟันให้แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
- ฟลูออรีนป้องกันโรคฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟลูออไรด์จะมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันหากได้รับมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกัน โดยจะทำลาย น้ำย่อยฟอสฟาเตส ( Phosphatase ) ซึ่งเป็นน้ำย่อยสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการเผาผลาญวิตามินและนำไปใช้กับส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังไปยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยที่มีความสำคัญอีกหลายตัว ที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่เนื้อเยื่อสมองได้อีกด้วย
การดูดซึมและการเก็บฟลูออรีน
ฟลูออรีนมักจะถูกดูดซึมได้ดีที่สุดบริเวณลำไส้เล็ก และดูดซึมบางส่วนที่กระเพาะอาหาร โดยฟลูออรีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายนั้น ครึ่งหนึ่งจะถูกจับที่ฟังและกระดูกเพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็จะถูกขับออกมา ทางปัสสาวะ นอกจากนี้ฟลูออไรด์ในเลือดก็ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนอีกด้วย ซึ่งก็คือ ส่วนที่อยู่ในรูปของไอออนอิสระ และส่วนที่อยู่รวมกับโปรตีนและอัลบูมินฟลูออไรด์นั่นเอง และที่สำคัญในภาวะที่ระดับฟลูออไรด์ในเลือดลดต่ำลง ก็จะเกิดการสลายฟลูออไรด์ที่สะสมเอาไว้ออกมาทดแทนในกระแสเลือดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การดูดซึมฟลูออรีนก็อาจถูกขัดขวางได้ ด้วยเกลือของอลูมิเนียมและเกลือของแคลเซียมที่ไม่ละลายนั่นเอง จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมฟลูออรีนได้น้อยลงและอาจทำให้ขาดได้ในที่สุด
ส่วนวิตามินซี ก็จะช่วยในการส่งเสริมการดูดซึม ให้มีการดูดซึมฟลูออไรด์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้ดี
ฟลูออรีน ( Fluorine ) คือ สารประกอบชนิดหนึ่งที่มักจะพบได้มากในรูปของเกลือฟลูออรีน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุโดยตรง
แหล่งที่พบฟลูออรีน
1. น้ำที่มีการเติมฟลูออรีนลงไป โดยจะเติมลงไป 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วน น้ำชนิดนี้จึงเป็นแหล่งฟลูออรีนอย่างดี และนอกจากนี้ในช่วงอากาศร้อนก็ควรมีระดับฟลูออรีนที่ต่ำกว่าช่วงอากาศหนาวด้วย เพราะในช่วงอากาศร้อนจะมีการดื่มน้ำมากกว่าปกติ จึงอาจทำให้ได้รับฟลูออรีนมากไปได้
2. ฟลูออรีนสามารถพบได้ในอาหาร โดยจะพบในอาหารทะเลประมาณ 5-15 ส่วนต่อล้าน ส่วนอาหารจำพวกพืช ปริมาณของฟลูออรีนจะขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่ปลูก และการใส่ปุ๋ย ว่ามีฟลูออรีนอยู่มากน้อยเท่าไหร่นั่นเอง โดยใบชาเป็นพืชที่สามารถพบได้ในฟลูออรีนมากที่สุด คือประมาณ 75-150 ส่วนต่อล้านเลยทีเดียว
3. ฟลูออรีนที่มีการนำมาใช้เฉพาะที่ คือนำมาสัมผัสกับฟันโดยตรง มักจะพบได้ในยาสีฟัน ไหมขัดฟัน การเคลือบฟัน และน้ำยาบ้วนปากฟลูออรีน แต่จะเหมาะกับการใช้เฉพาะที่เท่านั้นและไม่ควรทานเข้าไป
ปริมาณฟลูออรีนที่พอเพียงในแต่ละวัน (AI) สำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ | |||
เพศ | อายุ | ปริมาณที่ได้รับ | หน่วย |
ทารก | 6-11 เดือน | 0.4 | มิลลิกรัม/วัน |
1-3 ปี | 0.6 | มิลลิกรัม/วัน | |
เด็ก | 4-5 ปี | 0.9 | มิลลิกรัม/วัน |
6-8 ปี | 1.2 | มิลลิกรัม/วัน | |
วัยรุ่นผู้ชาย | 9-12 ปี | 1.6 | มิลลิกรัม/วัน |
13-15 ปี | 2.4 | มิลลิกรัม/วัน | |
16-18 ปี | 2.8 | มิลลิกรัม/วัน | |
วัยรุ่นผู้หญิง | 9-12 ปี | 1.7 | มิลลิกรัม/วัน |
13-15 ปี | 2.3 | มิลลิกรัม/วัน | |
16-18 ปี | 2.4 | มิลลิกรัม/วัน | |
ผู้ใหญ่ชาย | 19-≥ 71 ปี | 2.8 | มิลลิกรัม/วัน |
ผู้ใหญ่หญิง | 19-≥ 71 ปี | 2.6 | มิลลิกรัม/วัน |
การได้รับฟลูออรีนที่เหมาะสม อาจสรุปได้ว่า ฟลูออรีน 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนจะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กได้จนถึงอายุ 8-12 ปี และสำหรับในผู้ใหญ่บางราย การได้รับฟลูออรีนก็จะช่วยรักษาฟันให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการดื่มน้ำที่มีฟลูออรีน 1 ส่วนต่อล้านส่วนก็จะได้รับฟลูออรีนเพิ่มขึ้นวันละ 3.2 มก. และเก็บไว้ในกระดูก 2-3 มก.ต่อวัน ซึ่งถือเป็นระดับที่ปกติและไม่เป็นอันตราย แต่ในคนที่ได้รับน้ำที่มีฟลูออรีนเยอะเกินไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬา ก็อาจถึงขีดอันตรายได้เหมือนกัน
รูปแบบในการให้ฟลูออรีน
การให้ฟลูออรีน มักจะใช้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 6 ปี เพราะเป็นวัยที่กำลังมีการสร้างหน่อฟันน้ำนมและหน่อฟันแท้ขึ้นมา โดยมีรูปแบบในการให้ฟลูออรีนดังนี้
1. การให้ฟลูออรีนโดยเติมลงในน้ำ ซึ่งจะเติมประมาณ 1 ส่วนต่อน้ำหนึ่งล้านส่วน แต่จะไม่นิยมเติมฟลูออรีนลงในน้ำประปาเพราะทำได้ยากและมีความสิ้นเปลืองพอสมควร
2. การให้ฟลูออรีนในรูปของเม็ด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเป็นเม็ดขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีการแนะนำว่าเด็กที่มีอายุเกินกว่า 3 ปี ควรกินประมาณวันละ 0.5 มก. เด็กอายุ 2-3 ปี ควรกินประมาณวันละ 0.3 มก. และต่ำกว่า 1 ปี ควรกินวันละประมาณ 0.2 มก.
3. ฟลูออรีนในยาสีฟัน ซึ่งจะช่วยลดฟันผุได้ร้อยละ 20-30 ส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลกับเด็กที่ฟันยังไม่เจริญเต็มที่ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและระมัดระวังมากพอสมควร เพราะอาจเป็นอันตรายหากเด็กกลืนเข้าไป โดยจะทำให้เกิดโทษจากการได้รับฟลูออรีนเกินขนาดได้
4. การใช้ยาเคลือบฟลูออรีนบนผิวฟัน โดยวิธีนี้จะต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้ให้เท่านั้น เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร
5. น้ำยาบ้วนปากชนิดฟลูออรีน โดยอาจอมบ้วนปากทุกวันก่อนนอนพร้อมกับการแปรงฟันอย่างถูกวิธี หรือใช้อมอ้วนปากร้อยละ 0.2 และแปลงฟันทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสฟันผุได้มากถึงร้อยละ 70 เลยทีเดียว
ผลของการขาดฟลูออรีน
เมื่อขาดฟลูออรีน โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ฟันกำลังเจริญ จะทำให้การเจริญของฟันเป็นไปได้ไม่ดีหรือหยุดชะงักลง และเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันผุได้ง่ายอีกด้วย
การเป็นพิษของฟลูออรีน
โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบการเป็นพิษของฟลูออรีนมากนัก เพราะไตจะพยายามขับถ่ายฟลูออรีนส่วนเกินออกจากร่างกายอยู่แล้ว แต่หากได้รับฟลูออรีนในปริมาณมากและสะสมมาเป็นเวลานาน หรือได้รับยาเม็ดฟลูออรีนมากเกินขนาด ก็จะทำให้เกิดการเป็นพิษตามมาได้ โดยในเด็กก็จะมีอาการปวดข้อ หลังแข็ง ปวดกระดูก เคลื่อนไหวลำบาก หรือในกรณีที่มีอาการแบบเฉียบพลัน ก็จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หัวใจวาย ชัก ท้องเดิน น้ำลายไหล เป็นต้น ส่วนกรณีที่มีอาการแบบเรื้อรัง ก็จะมีอาการดังต่อไปนี้
1. ฟันตกกระ Dental Fluorosis ซึ่งก็คืออาการที่เคลือบฟันจะมีลักษณะขาวด้านคล้ายกับชอล์กมีสีเหลืองหรือน้ำตาลและพื้นผิวไม่ค่อยเรียบมากนัก โดยอาการนี้ก็จะทำให้ผิวเคลือบฟันไม่แข็งแรงได้ นอกจากนี้ในรายที่มีอาการรุนแรง ก็อาจเป็นการทำลายเคลือบฟันได้เลยทีเดียว ซึ่งแหล่งน้ำในประเทศไทยที่พบมีฟลูออรีนสูงมาก ได้แก่เชียงใหม่ และลำพูน เป็นต้น
2. กระดูกแน่นและทึบจนเกินไป ซึ่งเกิดจากการที่ดื่มน้ำที่มีฟลูออรีนในอัตราส่วน 8-20 ส่วนต่อล้าน จึงทำให้เกลือแร่ไปจับอยู่ที่กระดูกมากกว่าปกติ และทำให้กระดูกหนาขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ก็อาจจะมีแคลเซียมมาเกาะที่ข้อต่อและเส้นเอ็น และลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจนไปกดทับประสาททำให้มีอาการทางประสาทได้อีกด้วย
และนอกจากการเป็นพิษจากฟลูออรีนดังกล่าวแล้ว ก็ยังส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลงและอาจทำให้เด็กมีไอคิวต่ำได้เช่นกัน ซึ่งหากรุนแรงก็อาจทำให้ไตเสื่อมหรือเกิดอาการไตวายได้เลยทีเดียว หรือในขณะตั้งครรภ์ หากได้รับฟลูออไรด์ 50 ส่วนต่อล้านหรือ 2500 เท่าของปริมาณที่แนะนำ ก็จะทำให้เป็นพิษต่อเด็กได้ในที่สุด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
Agricola, Georgius; Hoover, Herbert Clark; Hoover, Lou Henry (1912). De Re Metallica. London: The Mining Magazine.
Aigueperse, J.; Mollard, P.; Devilliers, D.; Chemla, M.; Faron, R.; Romano, R. E.; Cue, J. P. (2000). “Fluorine Compounds, Inorganic”. In Ullmann, Franz. Ullmann’s Encyclopedia of Industrial Chemistry. 15. Weinheim: Wiley-VCH. pp. 397–441. ISBN 3527306730.
Air Products and Chemicals (2004). “Safetygram #39 Chlorine Trifluoride” (PDF). Air Products and Chemicals. Archived from the original (PDF) on 18 March 2006. Retrieved 16 February 2014.