หน้าที่สำคัญและประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)
แมงกานีส คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ พบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี

แมงกานีส ( Manganese )

แมงกานีส ( Manganese ) คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ 10-20 มิลลิกรัม ซึ่งมักพบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี

หน้าที่ของแมงกานีส คือ

1. แมงกานีส ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้โคลีนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. แมงกานีส เป็นตัวกระตุ้นน้ำย่อยที่มีความจำเป็นในการนำวิตามินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไบโอติน วิตามินบีหนึ่ง และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

3. แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล

4. แมงกานีส มีส่วนในการสร้างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน

5. แมงกานีส มีความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างของกระดูก โดยช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมในร่างกายและมีส่วนสำคัญในการผลิตเลือด

6. แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการผลิตน้ำนม ในหญิงตั้งครรภ์ และช่วยในการสร้างยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปัสสาวะ

7. แมงกานีส ช่วยในการผลิตฮอร์โมนเพศ

8. แมงกานีส ช่วยเลี้ยงเส้นประสาทและสมอง ทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานได้อย่างเป็นปกติ

9. แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการปล่อยพลังงานในร่างกาย

แมงกานีส คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ 10-20 มิลลิกรัม ซึ่งมักพบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี

การดูดซึมแมงกานีส ( Manganese )

ในอวัยวะบางส่วนอย่างเช่นลำไส้จะดูดซึมแมงกานีสได้น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่างกายได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสเข้ามาในปริมาณที่สูงมากก็จะไปทำให้อัตราการดูดซึมลดน้อยลงไปอีก ซึ่งในการดูดซึมแมงกานีสของร่างกายจะต้องอาศัยโปรตีนเฉพาะที่ชื่อ ทรานส์แมงกานิน ( Transmanganin ) เป็นตัวนำพาแมงกานีสเข้าสู่กระแสเลือด

การเก็บแมงกานีสในร่างกาย

แมงกานีสจะถูกเก็บไว้ในร่างกายที่ตับอ่อน ตับ ไต

แหล่งที่พบแมงกานีส

พบมากในธัญพืช ไข่แดง ผักสีเขียว ถั่ว ( Nut และ Legumes )  ชา แต่ปริมาณที่พบอาจจะมากน้อยแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่ในดิน

ปริมาณแมงกานีสที่พอเพียงต่อวัน ( AI ) สำหรับคนไทยในแต่ละวัย
เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย
ทารก 6-11 เดือน 0.6 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 1.2 มิลลิกรัม/วัน
4-8 ปี 1.5 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นชาย 9-12 ปี 1.9 มิลลิกรัม/วัน
13-18 ปี 2.2 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นหญิง 9-18 ปี 1.6 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – ≥ 71 ปี 2.3 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – ≥ 71 ปี 1.8 มิลลิกรัม/วัน
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 0.2 มิลลิกรัม/วัน
ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 0.8 มิลลิกรัม/วัน

ผลของการขาดแมงกานีส

การขาดแมงกานีสจะมีผลให้ร่างกายต้านทาน กลูโคส ( Glucose Tolerance ) ได้ลดน้อยลง คือ ร่างกายจะขาดความสามารถที่จะนำเอาน้ำตาลในเลือดที่มีอยู่มากเกินไปออกไป โดยการออกซิเดชั่น หรือเอาไปเก็บไว้ที่อื่นได้ นอกจากนี้การที่ร่ายกายไม่ได้รับแมงกานีสอย่างเพียงพอยังส่งผลให้เกิดภาวะเคลื่อนไหวไม่ประสานกันคือจะมีอาการเดินเซคล้ายคนเมาเหล้า และยังทำให้เกิดอัมพาต ตาบอด หูหนวก และชักในเด็กทารก ผู้ใหญ่จะมีอาการการวิงเวียนศีรษะ และมีปัญหาต่อการได้ยิน

การเป็นพิษจากแมงกานีส ( Manganese )

หากร่างกายได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงเกินไปจะทำให้เกิดความต้องการแมงกานีสเพิ่มมากขึ้น และหากได้รับแมงกานีส มาก ๆ จะทำให้ธาตุเหล็กที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายลดลง และมีการใช้ธาตุเหล็กลดน้อยลงด้วย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพมากทีเดียว

ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับแมงกานีสสูงเกินไปก็คือคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อร่างกายได้ โดยจะมีอาการคือ ไม่มีเรี่ยวแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างยากลำบาก ซึ่งมีผลจากมีระดับแมงกานีสในเนื้อเยื้อมีปริมาณสูง ดังนั้นในกลุ่มเสี่ยงจึงควรระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Zhang, Wensheng; Cheng, Chu Yong (2007). “Manganese metallurgy review. Part I: Leaching of ores/secondary materials and recovery of electrolytic/chemical manganese dioxide”. Hydrometallurgy. 89 (3–4): 137–159.

Corathers, L. A.; Machamer, J. F. (2006). “Manganese”. Industrial Minerals & Rocks: Commodities, Markets, and Uses (7th ed.). SME. pp. 631–636. ISBN 978-0-87335-233-8.

“Manganese Mining in South Africa – Overview”. MBendi.com. Retrieved 2014-01-04.