ไลโคปีน คืออะไร และแคโรทีนอยด์จากมะเขือเทศ มีผลต่อความดันโลหิตอย่างไร

0
21286
ในไลโคปีนมีสารอนุมูลอิสระมากกว่าเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ไลโคปีนและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ
ในไลโคปีนมีสารอนุมูลอิสระมากกว่าเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

ไลโคปีน ( Lycopene )

ไลโคปีน ( Lycopene ) คือ สารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งสารตัวนี้ทำให้ผลไม้ ผักมีสีแดง เป็นหนึ่งในเม็ดสีที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระในตระกูลแคโรทีนอยด์พบได้ในผลไม้สีแดง สีชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม ส้มเนื้อแดง ส้มโอเนื้อแดง ฝรั่งใส้แดง ทับทิม มะละกอ พริกแดง ลูกพลับ หน่อไม้ฝรั่งสีม่วง กะหล่ำปลีม่วง และเกรฟฟรุต ไลโคปีนในอาหารมาจากผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ หรือมะเขือเทศสด โดยการแปรรูปมะเขือเทศดิบจากการใช้ความร้อน และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้นแม้จะอายุมากแล้วก็ตาม เมื่อระดับอนุมูลอิสระมีมากกว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระก็สามารถสร้างความเครียดจากการออกซิเดชั่นในร่างกายได้ นอกจากนี้วิจัยพบว่าไลโคปีนถูกใช้ป้องกันโรคไม่ติดต่อได้หลายชนิดอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคเส้นเลือดตีบในสมอง เป็นต้น

มะเขือเทศกับสารไลโคปีน

จากการวิจัยพบว่าในมะเขือเทศจะอุดมไปด้วยสาร ไลโคปีน เป็นจำนวนมาก และไลโคปีนจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อมีการปรุงมะเขือเทศด้วยความร้อน เพราะจะทำให้เกิดชีวประสิทธิผลที่ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณของไลโคปีนให้สูงขึ้นไปอีก นั่นก็เพราะเมื่อไลโคปีนสัมผัสกับความร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีแบบทรานส์ ทำให้ไลโคปีนกลายเป็นพันธุแบบซิสที่เป็นเส้นโค้งงอ โดยจะสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่า จึงทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าด้วยนั่นเองซึ่งจากกรณีของมะเขือเทศจะเห็นได้ว่า ผักผลไม้ทุกชนิดไม่ได้มีประโยชน์มากที่สุดเมื่อทานสดๆ เท่านั้น โดยเฉพาะมะเขือเทศที่จะยิ่งมีคุณค่าสูงขึ้นเมื่อได้ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนั่นเอง เพราะฉะนั้นมาทานมะเขือเทศที่ปรุงด้วยความร้อนกันบ่อยๆ

ไลโคปีน ช่วยอะไร

ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสารชนิดอื่นๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ซึ่งรวมถึงเบต้าแคโรทีน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมีประสิทธิภาพในการรักษาความแข็งแรงความหนาและความลื่นไหลของเยื่อหุ้มเซลล์ มีหน้าที่ช่วยคัดกรองสิ่งที่เข้าและออกจากเซลล์ช่วยให้สารอาหารที่ดีเข้า กำจัดขยะในเซลล์และป้องกันไม่ให้สารพิษเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ที่แข็งแรงมีความสำคัญในการป้องกันโรคต่างๆ

ไลโคปีนประโยชน์ต่อสุขภาพ

ประโยชน์ไลโคปีนนั้นสามารถช่วยป้องกันมะเร็งหลายรูปแบบ ตลอดจนการป้องกันและรักษาความเจ็บป่วย และโรคต่าง ๆ ได้ เช่น

  • ไลโคปีนช่วยต้านอนุมูลอิสระลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ผลจากการทดสอบพบว่าไลโคปีนสามารถเพิ่มความเข้มข้นของอสุจิในผู้ชายได้
  • ไลโคปีนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • การเสริมด้วยไลโคปีนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดพารามิเตอร์หรือความเครียดภายในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน 30 วัน สามารถเพิ่มพลาสมาเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ป้องกันการเสื่อมสภาพของอายุและต้อกระจก
  • ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์
  • ทำหน้าที่เป็นครีมกันแดดภายในและปกป้องผิวของคุณจากการถูกแดดเผา

แหล่งอาหารของไลโคปีน

ไลโคปีนพบในผัก ผลไม้หลายชนิดที่มีสีแดง สีชมพู อาหารที่มีไลโคปีนสูงและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาให้ใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในรูปแบบที่เข้มข้นและแยกได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

อาหาร ปริมาณในการรับประทาน ปริมาณไลโคปีน (มิลลิกรัม)
มะเขือเทศบดกระป๋อง 1 ถ้วย 54.4
มะเขือเทศตากแดด 1 ถ้วย  24.8
น้ำมะเขือเทศ 1 ถ้วย 22.0
ฝรั่งใส้แดง 1 ถ้วย 8.59
แตงโม (หั่นลูกเต๋า) 1 ถ้วย 6.89
มะเขือเทศแดงดิบ(สับ) 1 ถ้วย 4.63
ซอสมะเขือเทศเข้มข้น 1 ช้อนโต๊ะ 4.60
ส้มโอสีเนื้อแดง 1 ถ้วยตวง 3.26
มะละกอ 1 ถ้วย 2.65
ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ 2.05

สารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid )

สารในกลุ่ม แคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ท่สามารถพบได้มากในพืชและแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดสีส้ม แดงและสีเหลือง จึงดูได้ไม่ยากว่าผักผลไม้ชนิดใดที่มีแคโรทีนอยด์สูงนั่นเอง ส่วนคุณสมบัติของสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ก็มีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสารในกลุ่มนี้มีสูงมากถึง 600 ชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมและมีการยอมรับมากที่สุด ก็มีเพียง 6 ชนิดได้แก่

1. อัลฟาแคโรทีน ( Alpha Carotene ) เป็นสาระสำคัญที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์วิตามินเอ โดยจะพบมากในผักโขม มะเขือเทศ และแครอท

2. เบต้าแคโรทีน ( Beta Carotene ) เป็นสารที่จะช่วยสังเคราะห์วิตามินเอเช่นกัน แต่หากมีมากเกินความจำเป็น ก็จะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งก็จะพบได้มากใน มะม่วง มันเทศ แครอท แคนตาลูปและลูกพีช

3. คริปโตแซนทีน ( Cryptoxanthin ) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดโดยตรง ซึ่งมักจะพบได้มากในพริกหยวก ฟักทอง ส้มเขียวหวานและลูกพลัม

4. ไลโคปีน ( Lycopene ) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลากหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น และสามารถลดระดับไขมัน น้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย

5. ลูทีน ( Lutein ) มีส่วนช่วยในการปกป้องและบำรุงสายตา พร้อมกับลดการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา โดยเฉพาะในคนที่ต้องทำงานหน้าคอม จ้องแสงหน้าจอตลอดเวลา โดยสามารถพบลูทีนได้มากในดอกดาวเรือง และผักเคล

6. ซีแซนทิน ( Zeaxanthin ) มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาและป้องกันภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเช่นกัน โดยจะพบได้มากในผักขม บรอกโคลี และมะเขือเทศที่ปรุงผ่านความร้อนแล้ว

ไลโคปีน ผลข้างเคียงที่อาจเกิด

  • เจ็บหน้าอก
  • ท้องเสีย
  • ไขมันสะสมใต้ผิวหนัง
  • ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง
  • หัวใจวาย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • สีผิวเปลี่ยน
  • อาการปวดท้อง ไม่ย่อย
  • แผลระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
  • ร้อนวูบวาบ

ไลโคปีนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและร่างกายของคุณมากมาย แต่การรับประทานไลโคปีนส่วนใหญ่ไม่มีอาการแพ้อาหารพวกนี้ แต่อย่างไรก็ตามควรกินไลโคปีนในปริมาณที่เหมาะสมปริมาณ 9 – 12 มิลลิกรัมต่อวัน และที่สำคัญไลโคปีนอาจเป็นอีกทางเลือกในการกินอาหารแทนการรักษาด้วยยาที่ใช้ในผู้หญิงวัยทองที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

เอกสารอ้างอิง

“Tomato History. The history of tomatoes as food”. Home cooking. Retrieved 2013-08-07.

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.