วิตามินบี 12 คืออะไร ทำไมต้องกินวิตามิน B12
วิตามินบี 12 ( Vitamin B12 ) หรือ Cobalamin คือ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด แล้วทำไมต้องกินวิตามิน B12 เนื่องจากวิตามินบี 12 มีส่วนช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง สร้างDNA ผลิตพลังงานเร่งการเผาผลาญ และช่วยในทำงานของเส้นประสาทอย่างมาก
ร่างกายควรได้รับวิตามินบี 12 ปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน
ปริมาณวิตามินบี 12 ที่แนะนำต่อวันมีความแตกต่างกันไปตามเพศ อายุ และความต้องการอาหารโดยเฉพาะผู้ขาดวิตามินบี 12 ดังนี้ ปริมาณวิตามินบี 12 สำหรับเด็ก คือ 0.5 – 1.2 ไมโครกรัม/วัน สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรต้องการปริมาณที่สูงขึ้น ควรได้รับวิตามินบี 12 ประมาณ 1.8-2.4 ไมโครกรัม/วัน
คุณสมบัติของวิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน
วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน เป็นผลึกสีแดงเข้ม วิตามินบี 12 สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ไม่ทนกรด ด่างและแสง โดยวิตตามินบี12 มีสูตรโครงสร้างสลับซับซ้อนคล้ายกับเฮโมโกลบิน จะแตกต่างกันเพียง วิตามินบี12 มีโคบอลท์อยู่ที่ 1 อะตอม แต่เฮโมโกลบินมีธาตุเหล็กอยู่ ทั้งนี้วิตามินบี12 จะแตกต่างจาก วิตามินบีตัวอื่นๆตรงที่พืชไม่สามารถสังเคราะห์เองได้
วิตามินบี 12 เมื่ออยู่ในร่างกายจะมีหลายแบบ แต่จะเรียกรวมๆกัน ว่า “ โคบาลามิน ” สำหรับตัวที่มีฤทธิ์มากจะเป็นผลึกสีแดงเข้ม ส่วนตัวที่วางขายกันในท้องตลาดและมีฤทธิ์สูงกว่าในทางยา ก็คือ “ ไฮดรอกโซโคบาลามิน ” ( Hydroxocobalamin )
บี12 หรือ Cyanocobalamine เมื่อใช้ร่วมกับยา Chloramphenical จะทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาภาวะโรคโลหิตจางด้วย Cyanocobalamine ด้อยลงไป ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
กินวิตามินบี 12 ช่วยอะไรบ้าง
วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ของร่างกายรวมถึง
- มีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองและระบบประสาทเป็นปกติ
- การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- การป้องกันภาวะโลหิตจาง
- ช่วยสร้างและควบคุมดีเอ็นเอ (DNA)
- ช่วยปกป้องดวงตาจากการเสื่อมสภาพของเม็ดสี
- การสร้างพลังงานในร่างกาย
ผลข้างเคียงหลังได้รับวิตามินบี 12 ในปริมาณสูงเกินไป
หลังร่างกายได้รับวิตามินบี 12 มากเกินไป อาจทำให้รู้สึกปวดศึรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย และมีอาการชาที่มือและเท้าได้
ผลของการขาดวิตามินบี 12
ส่วนใหญ่สาเหตุของการขาดวิตามินบี12 ( Vitamin B12 ) มาจากการได้รับวิตามินไม่เพียงพอจากการทานอาหาร หรืออาจมีปัญหาในการดูดซึม หรือรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการปิดกั้นการดูซึมวิตามิน
1. การได้รับจากอาหารไม่พอ ทำให้เกิดการขาดขาดวิตามินบี12 เช่น คนที่ทานอาหารมังสวิรัติ
2. คนที่มีความผิดปกติของการดูดซึม เช่น การขาด IF การเป็นโรคท้องเสียเรื้อรัง การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออก หรือเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้เสื่อมทำให้มีการดูดซึมผิดปกติและถ้าขาดวิตามินบี 12 ไขกระดูกจะไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงให้เจริญเต็มที่ได้ เม็ดเลือดแดงนี้ก็จะไม่ถูกแบ่งตัว จะมีลักษณะใหญ่ที่เรียกว่าเมกกะ โลบลาสท์ Megalobladst และจะถูกปล่อยเข้ามาสู่กระแสโลหิต ก็จะทำให้ความสามารถในการนำเฮโมโกลบินไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง เป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเซียสได้ง่าย ซึ่งโรคนี้จะมีอาการที่แสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ น้ำหนักลด ผิวหนังมีสีเหลืองอ่อน คลื่นไส้ หายใจขัดข้อง ท้องอืด ลิ้นอักเสบ มีความผิดปกติของระบบประสาทและเดินไม่ตรงได้
การรักษาอาการขาดวิตามินบี12
ต้องทานวิตามินบี 12 ให้มากขึ้น เพื่อเสริมวิตามินชนิดนี้ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือให้สารทดแทนหรืออาหารเสริมวิตามินบี12 ที่มีคุณสมบัติในการเร่งหรือการบำรุงการสร้าง IF นั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
“Vitamin B12”. Micronutrient Information Center, Linus Pauling Institute, Oregon State University. 2014. Retrieved February 16, 2017.
Yamada, Kazuhiro (2013). “Chapter 9. Cobalt: Its Role in Health and Disease”. In Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland K. O. Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases. Metal Ions in Life Sciences. 13. Springer. pp. 295–320.
Miller, Ariel; Korem, Maya; Almog, Ronit; Galboiz, Yanina (June 15, 2005). “Vitamin B12, demyelination, remyelination and repair in multiple sclerosis”. Journal of the Neurological Sciences. 233 (1–2)