โรคอ้วน เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนที่คุณคาดไม่ถึง

0
6918
โรคอ้วน เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนที่คุณคาดไม่ถึง
โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน ( Overweight ) เป็น โรคเรื้อรังที่มีตัวกำหนดคือไขมันส่วนเกินในร่างกายเห็นได้ชัดอ้วนลงพุง เส้นรอบเอวสำเกิน 36 นิ้ว
โรคอ้วน เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนที่คุณคาดไม่ถึง
โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน ( Overweight ) เป็น โรคเรื้อรังที่มีตัวกำหนดคือไขมันส่วนเกินในร่างกายเห็นได้ชัดอ้วนลงพุง เส้นรอบเอวสำเกิน 36 นิ้ว

โรคอ้วน

โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน ( Overweight ) เป็น โรคเรื้อรังที่มีตัวกำหนดคือไขมันส่วนเกินในร่างกายเห็นได้ชัดอ้วนลงพุง เส้นรอบเอวสำเกิน 36 นิ้ว แม้ว่าไขมันจะจำเป็นต่อร่างกายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ แต่โรคอ้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศไทย จากสถิติพบว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคอ้วนสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และโรคมะเร็ง เป็นต้น

สาเหตุของโรคอ้วน

โดยทั่วไปแล้วความอ้วนมักเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมนบางอย่าง ความเครียด การนอนหลับที่ไม่ดี และที่สำคัญการกินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลใน
ปริมาณมากเป็นประจำ เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทนี้จะต้องมีการเผาผลาญโดยการออกกำลังกาย แต่ในปัจจุบันทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายจึงทำให้ไขมันไม่ดีถูกสะสมอยู่ในร่างกายและพัฒนาเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต

การวินิจฉัยโรคอ้วน

แพทย์จะวินิจฉัยโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินตามประวัติทางการแพทย์ที่มีการตรวจร่างกาย
1. การวัดค่าดัชนีมวลกายสูง ( BMI ) สำหรับผู้ใหญ่ค่าดัชนีมวลกายจะอยู่ที่ 18.5 – 22.9 ถือว่าน้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. วัดเส้นรอบวงรอบเอว หากมากกว่า 35 นิ้ว แสดงถึงปริมาณไขมันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้องซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน
3. การประเมินน้ำหนักตัวของคุณ
4. การตรวจเลือดเพื่อหาสารตะกั่ว ตรวจต่อมไทรอยด์วัดระดับฮอร์โมน อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้
5. การตรวจอุลตร้าซาวด์เชิงกราน เพื่อตรวจหาสาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่และซีสต์ได้ อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้

แพทย์จะใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคอ้วน จากความผิดปกติอย่างน้อย 3 ข้อใน 5 ข้อ ต่อไปนี้

  • ผู้ชายอ้วนลงพุง จะต้องมีเส้นรอบเอว ≥ 90 เซนติเมตร หรือผู้หญิงอ้วนลงพุงมีเส้นรอบเอว ≥ 80 เซนติเมตร
  • ผู้ชายและผู้หญิง มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥ 150 มก./ดล.
  • ผู้ชาย มีระดับ ( HDL ) คอเลสเตอรอล ชนิด HDL < 40 มก./ดล. หรือในผู้หญิง < 50 มก./ดล.
  • ผู้ชายและผู้หญิงมีความดันโลหิต ≥ 130/85 มม.ปรอท หรืออยู่ระหว่างการรับประทานยาลดความดันโลหิต
  • ผู้ชายและผู้หญิงมีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ≥ 100 มก./ดล.

การรักษาโรคอ้วน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาโรคอ้วนได้อย่างถาวร หากความอ้วนมีความรุนแรงของอาการมากขึ้นอาจต้องใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักที่ถูกต้องและปลอดภัย เช่น การคุมอาหารที่ให้พลังงานสูง กำหนดเป้าหมายการออกกำลังหรือทำกิจกรรมที่มีการขยับร่างกาย เช่น การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ฟิตเนส อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับที่ดีสามารถรักษาช่วยลดน้ำหนักได้เช่นกัน

ภาวะแทรกซ้อนโรคอ้วน

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1 โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน ได้แก่
1. โรความดันโลหิตสูง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่อ้วนอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.9 เท่า
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบอันตรายจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้น แม้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เปอร์เซ็นต์
3. โรคมะเร็งบางชนิด เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบการเสียชีวิตในเพศชายประมาณ 1.3 เท่า และเพศหญิงประมาณ 1.6 เท่า
4. โรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค 3 – 4 เท่า
5. โรคตับอักเสบจากไขมันสะสม เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วน พบร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ ในคนที่ดัชนีมวลกาย >40
กก./ตรม. ผู้ป่วยโรคนี้พบโรคอ้วนร่วมด้วยร้อยละ 60 – 90 เปอร์เซ็นต์

กลุ่มที่ 2 กลุ่มความผิดปกติของต่อมไร้ท่อฯ และเมตาบอลิซึม
1. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับคนที่อ้วนเล็กน้อยอัตราการเกิด 2 เท่า อัตราการเกิด 5 เท่าในคนอ้วนปานกลาง และอัตราการเกิด 10 เท่าในคนที่อ้วนมาก
2. โรคภาวะไขมันผิดปกติ เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนอัตราการเกิดพบภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง คอเลสเตอรอลชนิด HDLต่ำ คอเลสเตอรอลชนิด LDL อยู่ในเกณฑ์ปกติ และพบ LDL ชนิดเพิ่มขึ้น     
3. โรคความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
3.1 กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1 – 2 เท่า
3.2 ฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนจะพบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติจึงทำให้มีบุตรยาก
4. โรคอ้วนลงพุง เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
5. โรคเกาต์ เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบว่าระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนปกติ และมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากขึ้น

กลุ่มที่ 3 กลุ่มโรคหรือภาวะที่เกิดจากน้ำหนักตัวและไขมันมากเกิน
1. โรคข้อเสื่อม เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม ข้อกระดูกสันหลังเสื่อม ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
2. โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ นอนกรน โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับ เมื่อเทียบกันคนที่ไม่
อ้วนพบร้อยละ 10 ในคนอ้วนที่ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กก./ตร.ม. และพบร้อยละ 44 ในคนอ้วนที่ดัชนีมวลกาย ≤ 40 กก. / ตร.ม.
3. โรคผิวหนัง เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบโรคผิวหนังได้มากกว่าปกติ อาทิ เชื้อราบริเวณใต้ราวนม รักแร้ ขาหนีบ ผิวหนังบริเวณรอบคอ และรักแร้เป็นปื้นดำ
4. โรคหลอดเลือด เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนพบว่าการไหลเวียนเลือดจากขาขึ้นสู่หัวใจไม่สะดวกเกิดเส้นเลือดขอด และผิวหนังอักเสบจากเส้นเลือดขอดรวมถึงหลอดเลือดดำ
5. ปัญหาอื่น ๆ เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมีปัญหาจากการดมยาสลบ การผ่าตัด การคลอดบุตร และแผลผ่าตัดหายช้ากว่าคนทั่วไป กรณีที่ 2 อาจมีอาการท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก สำหรับผู้หญิงอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะได้ไม่ดี
6. กลุ่มปัญหาทางสังคม จิตใจและคุณภาพชีวิต เมื่อเทียบกันคนที่ไม่อ้วนมักไม่ได้รับความเสมอภาคในสังคม อาทิ การสมัครเข้าทำงาน รู้สึกท้อแท้ ซึมเศร้า มีปมด้อยเวลาเข้าสังคม ความผิดปกติทางจิตใจ อาจทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมไปรับประทานอาหารมากขึ้น เป็นต้น

การป้องกันโรคอ้วนในเด็กและผู้ใหญ่

  • กินอาหารเช้าทุกวันสามารถป้องกันโรคอ้วนได้
  • เด็กในวัยหัดเดินไม่ต้องการอาหารในปริมาณมาก สำหรับเด็กทุกเพศทุกวัยที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 3 ขวบ ควรรับประทานอาหารประมาณ 40 แคลอรี่ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
  • ควรเสริมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ลองทานผัก ผลไม้ และโปรตีนหลากหลายชนิดตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ดีให้แก่เด็ก     
  • แนะนำให้เด็กและวัยรุ่นออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่มีการขยับร่างกายอย่างน้อย 30 นาที
  • ควรฝึกการนอนให้เป็นเวลา งดการเล่นมือถือในเวลามี่กำหนด
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่ดีให้น้อยลง
  • กินอาหารแปรรูปหรืออาหารหวานให้น้อยลง
  • กินอาหารที่มีไฟเบอร์ให้เพียงพอ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ และต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่วัน
  • ลดความเครียด โดยการฝึกจิต นั่งสมาธิ

อย่างไรก็ตามทุกคนไม่ควรมองข้ามโรคอ้วนในเด็ก อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้เมื่อเวลาผ่านไปเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโรคอ้วนที่รุนแรงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดและหยุดหายใจขณะหลับ โรคไขมันพอกตับ กรดไหลย้อยในกระเพาะอาหาร โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็งในอนาคตได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม