ถั่วขาว (Navy Bean) ตัวช่วยในการลดน้ำหนัก
ถั่วขาวมีสารอาหารที่มีประโยชน์ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และมีใยอาหารสูง มีสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์อะไมเลสช่วยย่อยแป้ง

ถั่วขาว

ถั่วขาว ( Navy Bean ) คือ พืชตระกูลถั่วจัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับถั่วเหลือง มีชื่อเดิมว่า ถั่วแฮริคอต ( Haricot Bean ) มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา ซึ่งมีการปลูกถั่วขาวอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่สูงของประเทศ ต่อมาชาวแอทเทกส์ ( Aztecs ) ได้นำไปปลูกยังอเมริกากลาง และมีการแพร่ขยายพันธุ์เข้าไปยังยุโรป อเมริกาเหนือ อังกฤษ เรื่อยมาจนในปัจจุบันนี้มีการปลูกอยู่ทั่วไป และได้มีการนำมาผลิตเป็นอาหารและนำมาสกัดสารใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเสริมหลายชนิด ในปัจจุบันนี้ประเทศหลักที่ส่งออกถั่วขาวของโลกคือประเทศลาตินอเมริกา

ประเทศไทยเราก็มีการนำเข้าถั่วขาวด้วยเช่นกัน  ถึงแม้ว่าเราจะมีการปลูกถั่วขาวแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของท้องตลาดภายในประเทศ ถั่วขาวในประเทศไทยมีการเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่เพาะปลูก เช่น ภาคใต้เรียก “โปรงหรือโปรย” สตูลเรียก “ปร้ย” จันทบุรีเรียกว่า “ประสักขาว” เพชรบุรีเรียกว่า “ลุ่ย” เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของ ถั่วขาว

ถั่วขาว มีลักษณะคล้ายกับถั่วฝักยาวและถั่วบอร์ลอตติ ( Borlotti Bean ) จัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่เป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณหนึ่งปีหรือที่เรียกว่าพืชฤดูเดียว ลำต้นขึ้นเป็นพุ่มไม่สูงมากนักมีใบหนาทึบ ถั่วขาวบางสายพันธุ์มีพุ่มสูงกว่า 15 เซนติเมตรแต่บางายพันธุ์จะมีความสูงเฉลี่ย 8-15 เซนติเมตรเท่านั้น ลักษณะของพุ่มมีรูปทรงคล้ายปิรามิดเหมือนกับต้นของถั่วแขกและถั่วแดงหลวง ส่วนโคนต้นมีขนาดใหญ่ ลำต้นถั่วขาวมีเปลือกหยาบสีเทาหรือสีน้ำตาลรอบต้น ซึ่งทำให้รอบๆ ต้นมีช่องอากาศขนาดเล็กอยู่ทั่วไป รากจะงอกออกมาจากบริเวณโคนต้นที่เรียกว่ารากอากาศ

ใบ ส่วนของใบจะยื่นออกมาบริเวณข้อของต้น ใบมี ถั่วขาว ลักษณะเป็นกลุ่มที่ปลายก้านโดยแต่ละกลุ่มจะมี 3 ใบ  ลักษณะของใบถั่วขาวคล้ายกับใบโพธิ์ คือมีฐานใบกว้าง ส่วนปลายแหลม ลักษณะเนื้อบนใบเนียนเรียบเช่นเดียวกับขอบใบ ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างของใบ มีขนเล็กๆ คล้ายกำมะหยี่อยู่รอบใบ

ดอก ดอกจะออกเป็นช่อในหนึ่งช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 3 ดอกต่อหนึ่งช่อซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของ ถั่วขาว ดอกมีขาวอมม่วง ดอกถั่วขาวเป็นดอกสมบูรณ์เพศเช่นเดียวกับดอกถั่วชนิดอื่นๆ นั่นคือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน สมารถผสมพันธุ์กันเกิดเป็นผลได้โดยไม่ต้องอาศัยเกสรจากดอกอื่น ดอกจะมีก้านยื่นออกมาจากช่อมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านของช่อดอกจะยื่นออกมาจากซอกของก้านในที่ติดกันอยู่

ฝัก ผลของต้นถั่วขาวเราเรียกว่าฝักเหมือนถั่วชนิดอื่น มีลักษณะกลมเป็นทรงกระบอกยาวเรียวยาวหรือเรียวโค้ง มีความยาวกประมาณ 7-14 เซนติเมตร มีความกว้างประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล ถั่วขาวจะมีการออกดอกและให้ผลผลิตเกือบทั้งปี ฝักมีเมล็ดอยู่ภายใน การเรียงของเมล็ดจะเรียงตามแนวยาวของฝัก จำนวนเมล็ดจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความยาวและความสมบูรณ์ของฝัก ซึ่งเมล็ดเป็นส่วนที่รับประทานได้ เมล็ดมีสีขาวเป็นทรงกลมซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถั่วขาว เมล็ดมีขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วแดงหลวง

คุณสมบัติและประโยชน์ของ ถั่วขาว

ถั่วขาว เป็นถั่วที่มีคุณค่าทางอาหารไม่ต่างจากถั่วชนิดอื่น แต่สาเหตุที่ทำให้ถั่วขาวเป็นที่รู้จักกันมากก็คือการที่ถั่วขาวช่วยลดน้ำหนักได้ การที่ถั่วขาวช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากในถั่วขาวมีฟาซิโอลามิน ( Phaseolamin ) ที่จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์แอลฟา อะไมเลส ( Alpha amylase ) ที่เป็นตัวย่อยสลายแป้งที่ร่างกายได้รับเข้าไปให้มีขนาดเล็กจนกลายเป็นน้ำตาลที่ร่างกายสมารถดูดซึมได้ เมื่อฟาซิโอลามิน ( Phaseolamin ) ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์แอลฟา อะไมเลส ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลหรือเปลี่ยนได้ช้าลง ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปก็น้อยลง น้ำหนักเราจึงไม่ขึ้นและลดลงเมื่อได้รับฟาซิโอลามิน ( Phaseolamin ) ซึ่งได้มีการนำสารสกัดจากถั่วขาวไปผสมในอาหารเสริม กาแฟ ชา เช่น กาแฟผสมถัวขาว ถั่วขาวผสมคอลลาเจน เป็นต้น เพื่อลดน้ำหนักเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นแบบผงไว้สำหรับชงดื่มและแบบอัดเม็ดพร้อมทานได้ทันที

การรับประทาน ถั่วขาว สามารถรับประทานได้ทั้งที่แปรรูปเป็นอาหารเสริมแล้ว และนำมาปรุงอาหารหรือขนมหวานเพื่อรับประทานได้ทันที เช่น น้ำเต้าหู้ ถั่วขาวกะทิสด เป็นต้น หรือจะนำมาทำให้อยู่ในรูปแป้งที่นำไปทำขนมได้อีกด้วย แต่ว่าไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก เพราะว่าถั่วขาวที่อยู่ในท้องตลาดมีราคาแพงและหาซื้อได้ยาก ไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงอาหารรับประทานเองหรือทำเพื่อจำหน่าย คนที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักควรเลือกทานอาหารที่มีถั่วขาวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย รับรองว่าคุณจะมีหุ่นสวย เพรียวได้ไม่ยาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Willett, Walter C. (2006-04-13). “Trans Fatty Acids and Cardiovascular Disease”. New England Journal of Medicine.

The Importance of Carbohydrate, Protein, and Fat”. McKinley Health Center. University of Illinois at Urbana-Champaign. Retrieved 20 September 2014.