Home Blog Page 21

โคกกระออม ทั้งต้นใช้รักษาโรคดีซ่าน ลดความดันโลหิต

0
โคกกระออม
โคกกระออม ทั้งต้นใช้รักษาโรคดีซ่าน ลดความดันโลหิต เป็นไม้เลื้อย ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ผลคล้ายกับถุงลมเป็นเยื่อบาง ๆ มีขนสั้น เมล็ดเท่าเมล็ดข้าวโพดสีเขียวอ่อนและนิ่ม
โคกกระออม
เป็นไม้เลื้อย ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ผลคล้ายกับถุงลมเป็นเยื่อบาง ๆ มีขนสั้น เมล็ดเท่าเมล็ดข้าวโพดสีเขียวอ่อนและนิ่ม

โคกกระออม

โคกกระออม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีการแพร่กระจายเป็นวัชพืชไปทั่วโลก ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Cardiospermum halicacabum L. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE) ชื่อสามัญ Balloon vine, Heart pea, Heart seed, Smooth leaved heart Pea ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ สะไล่น้ำ สะโคน้ำ สะไคน้ำ สะไล่เดอะ หญ้าแมงวี่ หญ้าแมลงหวี่ (ปราจีนบุรี) วี่หวี่ วิวี่ (แพร่) ตุ้มต้อก (ปัตตานี) โพธิ์ออม โพออม (ภาคเหนือ) ลูกลีบเครือ เครือผักไล่น้ำ (ภาคกลาง) กะดอม (จีนกลาง) ไต้เถิงขู่เลี่ยน เต่าตี้หลิง เจี่ยขู่กวา (จีน) ไหน ติ๊นโข่

ลักษณะของโคกกระออม

  • ต้น โดยจัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาล้มลุกขนาดกลาง มีอายุราว 1 ปี ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก มีเถายาวโดยประมาณ 1-3 เมตร มักเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้หรือตามกิ่งไม้ และอาจเลื้อยไปตามพื้นดิน ลักษณะของเถาเป็นเหลี่ยมมีสันโดยประมาณ 5-6 เหลี่ยม และมีขนปกคลุมเล็กน้อย ผิวของเถามีสีเขียว เถามีขนาดก้านไม้ขีดไฟ หรืออาจจะเล็กกว่านั้นก็มี และบริเวณข้อของเถาจะมีมือสำหรับยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด มักเกิดขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ตามชายป่า หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ริมทาง ตามริมน้ำ หรือบริเวณที่มีร่มเงา จนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยจะเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบจะแหลม ส่วนขอบใบเป็นหยักลึกและมีมือเกาะสั้นๆ จะอยู่ที่ปลายยอดระหว่างซอกเถาที่มีก้านช่อดอก โดยมือจับจะมีอยู่ 2 อันแยกกันออกจากก้านช่อดอกที่ยาว ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 5-12 เซนติเมตร แผ่นใบบางสีเขียว ผิวใบเรียบไม่มีขน ใบหลังจะมีขนาดเล็กกว่า และมีก้านใบยาว
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อๆ มีโดยประมาณ 3-4 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ดอกมีขนาดไม่เท่ากัน ดอกยาวโดยประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน
  • ผล ลักษณะคล้ายกับถุงลมเป็นเยื่อบางๆ ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม มีพู 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลโดยประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เปลือกผลบางและมีสีเขียวอมเหลือง มีขนสั้นนุ่มกระจายอยู่ทั่วผล ผลเมื่อแก่มีสีดำ ก้านผลสั้น ภายในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็กโดยประมาณ 1-3 เมล็ด
  • เมล็ด มีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวโพด หรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมล็ดมีสีเขียวอ่อนและค่อนข้างนิ่ม เมล็ดแก่เป็นสีดำและแข็ง ที่ขั้วเมล็ดมีสีขาวลักษณะคล้ายรูปหัวใจ

หมายเหตุ : ในพรรณไม้วงศ์เดียวกัน ยังพบว่ามีอีกชนิดหนึ่ง คือ ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cardiospermum Halicacabum L.var microcarpum (Kunth) Blume โดยจะมีลักษณะรูปร่างภายนอกที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ชนิดนี้ขนาดของผลจะเล็กกว่ากันประมาณ 1 เท่าตัว แต่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้

สรรพคุณของโคกกระออม

1. ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตให้ตก (ดอก)
2. ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
3. ทั้งต้นมีรสขมและเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็น โดยจะออกฤทธิ์ต่อตับและไต สามารถใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ได้ (ทั้งต้น)
4. แก้พิษในร่างกาย (ทั้งต้น)
5. ดอกมีรสขมขื่น ใช้เป็นยาขับโลหิต (ดอก)
6. เมล็ดมีรสขมขื่น ใช้เป็นยาแก้ไข้ (เมล็ด) ส่วนเถาใช้เป็นยาแก้ไข้ รักษาไข้จับ (เถา) บ้างว่าใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น) บ้างใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)
7. แก้ตาเจ็บ (ใบ)
8. ทั้งต้นใช้ต้มกินต่างน้ำ จะช่วยลดความดันโลหิตได้ (ทั้งต้น)
9. ใช้รักษาโรคดีซ่าน (ทั้งต้น)
10. ทั้งต้นช่วยรักษาต้อตา (ทั้งต้น) น้ำคั้นจากรากสดใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาต้อ (ราก) หมอพื้นบ้านจะนำรากสดๆ มาคั้นกับน้ำสะอาดใช้หยอดตาแก้ตาต้อ แก้เจ็บตาได้ผลดี (ราก)
11. ราก มีรสขม ทำให้อาเจียน (ราก)
12. ใบมีรสขมขื่น ใช้แก้อาการไอ รักษาโรคหืดไอ แก้ไอหืด (ใบ) ส่วนน้ำคั้นจากใบใช้แก้อาการไอ (น้ำคั้นจากใบ)
13. ช่วยแก้ไข้เพื่อทุราวสา แก้ปัสสาวะให้บริบูรณ์ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
14. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (เมล็ด) บ้างว่าใช้โคกกระออมทั้ง 5 นำมาต้มกินต่างน้ำก็ช่วยขับเหงื่อได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
15. ทั้งต้นใช้ผสมกับตัวยาอื่น ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (ทั้งต้น)[4] ส่วนน้ำคั้นจากใบสดก็ช่วยแก้หอบหืดเช่นกัน (น้ำคั้นจากใบ)
16. ดอกช่วยขับประจำเดือนของสตรี (ดอก) น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาขับระดูของสตรี (น้ำคั้นจากใบ)
17. ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด และใช้แก้นิ่ว โดยใช้ทั้งต้นนำมาต้มเป็นยาใช้กินต่างน้ำ (ทั้งต้น หากใช้แก้ปัสสาวะขัดเบา ให้ใช้โคกกระออมและใบสะระแหน่ อย่างละประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำประทาน (เข้าใจว่าคือต้นแห้ง) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใบเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
18. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก) บ้างว่าใช้ทั้งต้นเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
19. รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
20. ใช้ทั้งต้นนำมาต้มให้คนแก่ที่อาการต่อมลูกหมากโตใช้ดื่มต่างน้ำเป็นยา จะช่วยลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ (ทั้งต้น)
21. ทั้งต้นใช้แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงู (ทั้งต้น) รากใช้ตำคั้นเอาแต่น้ำมากินเป็นยาแก้พิษงู ส่วนกากที่เหลือใช้เป็นยาพอกแก้พิษงู พิษงูเห่า และพิษจากแมลง (ราก)
22. ดับพิษแผลไฟไหม้ แผลไฟลวก (ผล)
23. ผลมีรสขมขื่น ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล)
24. ดับพิษทั้งปวง (ผล)
25. ใบสดใช้เป็นยาใส่แผลชั้นยอด โดยใช้น้ำต้มข้นๆ นำมาใช้ล้างแผล (ใบ)
26. ใช้รักษาอาการอักเสบบวมตามร่างกาย โดยนำมาใบสดมาตำกับเกลือแล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบบวม (ใบ)
27. แก้ถอดไส้ฝี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
28. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝี กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น)
29. ใช้แก้ฝีบวม ฝีหนอง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ต้นสด) ส่วนใบสดก็สามารถนำมาตำพอกรักษาฝีได้เช่นกัน (ใบ)
30. ใช้รักษาอาการอักเสบบวมตามร่างกาย โดยนำมาใบสดมาตำกับเกลือแล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบบวม (ใบ)
31. แพทย์แผนจีนจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับน้ำนม ทำให้เกิดน้ำนม และยังช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (ทั้งต้น)
32. ทั้งต้นช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ทั้งต้น)
33. รักษาโรครูมาตอยด์ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำไปเคี่ยวกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาทาเช้าและเย็นติดต่อกันประมาณ 7 วัน อาการของโรครูมาตอยด์จะค่อยๆ ดีขึ้น (ใบ)

วิธีใช้

1. สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
2. ต้นแห้ง ให้ใช้ประมาณ 10-18 กรัม นำมาต้มกับน้ำประทาน
3. หากเป็นต้นสด ให้ใช้ประมาณ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทานหรือใช้เป็นยาพอกภายนอก

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. การทดลองในหนูขาวระบุว่าสารสกัดจากใบมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตและช่วยยับยั้งการอักเสบ
2. เมล็ด พบว่ามีน้ำมันหอมระเหย เช่น 11-Eicosenoic acid, 1-Cyano-2 hydroxy methyl prop 2-ene-1-ol และสาร Saponin เป็นต้น
3. ใบกระออมมีฤทธิ์ในการยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ จึงใช้ใบเป็นยาแก้หอบหืดได้
4. น้ำมันระเหยจากเมล็ด เมื่อนำไปทดลองกับสุนัขพบว่าสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้านำน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ในระยะเวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง

ประโยชน์ของโคกกระออม

1. มีการนำยอดอ่อนมาใช้รับประทานเป็นผักสดหรือเผาไฟ โดยยอดอ่อนจะมีรสขมเล็กน้อย ช่วยบำรุงสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความแก่และช่วยในการต่อต้านมะเร็งได้อีกต่างหาก
2. ในชนบทจะเรียกว่า “หญ้าแมงหวี่” หากเด็กมีอาการตาแฉะหรือตาแดง ก็มักจะมีแมลงหวี่มาตอม คนชนบทก็จะใช้เถารวมทั้งใบสด ๆ ด้วย มาพันไว้รอบศีรษะ จะทำให้แมลงหวี่กลัวไม่กล้ามาตอมอีก (เถาและใบ)
3. ใช้เป็นยาสระผมกำจัดรังแค ด้วยการนำเถามาทุบคั้นแช่ในน้ำพอข้น ๆ แล้วนำมาใช้ชโลมศีรษะและทิ้งไว้สักครู่ แล้วค่อยล้างออก จะช่วยกำจัดรังแคได้ดีมาก

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “โคกกระออม”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 168.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “โคก กรออม (Kok Kra Om)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 86.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โคก กระ ออม”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 207-208.
4. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “โคกกระออม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [19 ก.พ. 2014].
5. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “โคกกระออม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [19 ก.พ. 2014].
6. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “สะไคน้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [19 ก.พ. 2014].
7. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โคกกระออม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/. [19 ก.พ. 2014].
8. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “โคกกระ ออม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [19 ก.พ. 2014].
9. ไทยรัฐออนไลน์. “โคกกระออมกับสรรพคุณน่ารู้”. (นายเกษตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [19 ก.พ. 2014].
10. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โคกกระออม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [19 ก.พ. 2014].
11. สยามธุรกิจ. “หญ้าแมงหวี่ ขับปัสสาวะ-ลดความดัน-แก้หอบหืด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.siamturakij.com. [19 ก.พ. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.natureticabielli.it/
2.https://commons.wikimedia.org/

ดอกคําฝอย ช่วยลดไขมันในเลือด แก้ดีซ่าน

0
ดอกคําฝอย
คําฝอย ช่วยลดไขมันในเลือด แก้ดีซ่าน เป็นไม้ล้มลุกใบเดี่ยว ปลายใบเป็นหนามแหลม ดอกสีเหลืองแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม คล้ายดาวเรือง ผลรูปไข่สีขาวงาช้างปลายตัด
คําฝอย
เป็นไม้ล้มลุกใบเดี่ยว ปลายใบเป็นหนามแหลม ดอกสีเหลืองแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม คล้ายดาวเรือง ผลรูปไข่สีขาวงาช้างปลายตัด

ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย จัดเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องที่ช่วยลดความอ้วน ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเลือด ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร คือ ดอก, เกสร, กลีบดอกที่เหลือจากผล, เมล็ด, และน้ำมันจากเมล็ด ถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ในประเทศไทยจะพบทางภาคเหนือ จะพบได้มากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ชื่อสามัญ คือ Safflower (แซฟฟลาวเวอร์), False saffron, Saffron thistle ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Carthamus tinctorius L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง

ลักษณะของคำฝอย

  • ต้น
    – เป็นไม้ล้มลุก มีความสูง 40-130 เซนติเมตร
    – มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก
    – เป็นพืชที่มีอายุสั้น
    – มีความทนแล้ง
    – เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร
    – ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
    – อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเติบโตจะอยู่ที่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส
    – อุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส
    – ใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ใบออกเรียงสลับกัน รูปวงรี
    – ใบมีความคล้ายกับรูปหอกหรือรูปขอบขนาน
    – ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ปลายใบเป็นหนามแหลม
    – ใบมีความกว้าง 1-5 เซนติเมตร และยาว 3-12 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด
    – มีดอกย่อยขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
    – ดอกมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง
    – ดอกเมื่อบานใหม่ ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
    – ดอกเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
    – มีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นไข่หัวกลับ
    – ผลมีความเบี้ยว เป็นสีขาวงาช้างปลายตัด
    – มีสัน 4 สัน
    – ผลมีความยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร
    – เป็นผลแห้งไม่แตก
    – ผลเมื่อแก่จะแห้ง
    – ผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็ง มีสีขาว
    – เมล็ดจะไม่แตกกระจาย

งานวิจัยดอกคำฝอย

  1. มีรายงานจากน้ำมันจากเมล็ด(ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
    – ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
    – แต่จะไปสะสมระดับคอเลสเตอรอลในตับ
    – อาจจะทำให้เกิดอาการตับแข็งได้
  2. ประเทศอังกฤษ ในปีค.ศ. 1989
    – ได้ทำการทดลองน้ำมันจากดอกกับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิด Mild hypertension
    – โดยให้รับประทานน้ำมันจากดอกฝอยทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ วันละ 5.9 กรัม
    – จากผลการทดลองพบว่า ค่าความดัน Systolic ลดลงมา 6.5 mm.Hg และค่าความดัน Diastolic ลดลงมา 4.4 mm.
    – มีการสรุปว่าน้ำมันจากดอกมีผลในการช่วยลดความดันโลหิตได้จริง
  3. ประเทศอเมริกา ในปีค.ศ. 1976
    – ได้ทำการทดลองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นชาย 122 คนและหญิง 19 คน
    – โดยการให้รับประทานน้ำมันดอกจากดอกทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ วันละ 57 กรัม
    – จากผลการทดลองพบว่า น้ำมันจากดอก ช่วยลดระดับความดันโลหิตและระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
    – มีผลการสร้าง Prostaglandin ที่เป็นผลให้ High Density Lipoprotein เพิ่มขึ้น
  4. มีการทดลองให้อาหารปกติผสมน้ำมันจากดอกกับหนูทดลองที่มีคอเลสเตอรอลสูง
    – โดยให้ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงถึง 36%
    – หากให้อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงผสมกับน้ำมันดอกคำฝอย 4% พบว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น
  5. มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากดอกย่อยด้วยเอทานอล 50%
    – โดยให้หนูทดลองกินในปริมาณ 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
    – ให้โดยการฉีดเข้าในผิวหนังของหนูในขนาดเท่ากัน
    – พบว่าตรวจไม่พบอาการเป็นพิษแต่อย่างใด
  6. การวิเคราะห์ทางคลินิก(ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
    – พบว่าสารสกัดจากดอก มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง
    – มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกและฮอร์โมนเพศหญิง
    – ช่วยทำให้มดลูกและกล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้
    – หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้มดลูกเป็นตะคริวได้

คำแนะนำในการใช้

  1. ควรระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (Anticoagulant)
  2. สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภค
    – เพราะมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน
    – หากรับประทานอาจจะทำให้แท้งบุตรได้
  3. การรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป
    – อาจจะทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
    – อาจทำให้มีอาการมึนงง หรือมีผดผื่นคันขึ้นตามตัวได้
  4. วิธีใช้
    – ควรใช้ดอกร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอยู่เสมอ
    – ไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว
    – ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
    – ไม่ควรใช้ในระยะยาว
  5. โทษ
    – การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไป
    – จะส่งผลทำให้โลหิตจางได้
    – มีผลทำให้มีเลือดน้อยลง
    – มีอาการอ่อนเพลีย
    – เหนื่อยง่าย
    – มีอาการวิงเวียนศีรษะ

สรรพคุณของคําฝอย

  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยขยายหลอดเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ แก้แพ้
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งฟันผุ
  • ดอกช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
  • ดอกช่วยบำรุงคนเป็นอัมพาต
  • ดอกช่วยป้องกันและรักษาแผลกดทับ
  • ดอกช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว
  • ดอกช่วยแก้อาการแสบร้อนตามผิวหนัง
  • ดอกช่วยแก้ดีซ่าน
  • ดอกช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
  • ดอกช่วยบำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติ
  • ดอกช่วยแก้อาการตกเลือด
  • ดอกช่วยแก้อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด
  • ดอกช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ดอกช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • ดอกช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • ดอกช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ
  • ดอกช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน
  • ดอกช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล
  • ดอกช่วยแก้ไข้ในเด็ก
  • ดอกช่วยรักษาอาการไข้หลังคลอดของสตรี
  • ดอกช่วยขับเหงื่อ
  • ดอกช่วยสลายลิ่มเลือด
  • ดอกช่วยบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ
  • ดอกช่วยฟอกโลหิต
  • ดอกช่วยขยายหลอดเลือด
  • ดอกช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  • ดอกช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น
  • ดอกช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย (Hysteria) หรือโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง
  • ดอกช่วยบำรุงประสาทและระงับประสาท
  • ดอกช่วยลดความอ้วน
  • ดอกช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ดอกช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • เมล็ดช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
  • เมล็ดช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
  • เมล็ดช่วยแก้อาการปวดมดลูกหลังการคลอดบุตรได้
  • เมล็ดช่วยแก้อัมพาต และอาการขัดตามข้อต่าง ๆ ได้
  • เมล็ดช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว
  • เมล็ดช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบได้
  • เมล็ดช่วยแก้ฝี
  • เมล็ดช่วยแก้อาการปวดมดลูก
  • เมล็ดช่วยลดอาการอักเสบของมดลูกในสตรี
  • เมล็ดช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • เมล็ดช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี
  • เมล็ดช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ
  • เมล็ดช่วยขับเสมหะ

ประโยชน์ของคำฝอย

  • สามารถนำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น ยาแคปซูล ชา
  • น้ำมันจากดอกที่สกัดโดยไม่ผ่านความร้อน สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้
  • น้ำมันจากเมล็ดที่สกัดโดยผ่านความร้อน สามารถนำมาใช้ผสมสีทาบ้าน ทำสบู่ น้ำยาเคลือบผิว
  • น้ำมันจากดอก ทนความร้อนได้สูง สามารถนำมาใช้ในการทอดและใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้
  • กากเมล็ด สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์และทำเป็นปุ๋ยได้
  • ดอกแก่ เมื่อนำมาชงกับน้ำร้อน สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีอาหาร ทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เนยเทียม หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้
  • สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าไหมและฝ้ายได้
  • ดอก สามารถนำมาใช้แต่งสีข้าวได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่), สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, เว็บไซต์โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เว็บไซต์คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, หนังสือร่วมอนุรักษ์มรดกไทย สารานุกรมสมุนไพรไทย รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), หนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง และหนังสือลดไขมันในเลือด (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://jardinage.lemonde.fr/

คำแสด เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุ

0
คำแสด
คำแสด เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวท้องใบมีขน ดอกตัวผู้สีเขียว ดอกตัวเมียสีเหลืองหรือสีแดงมีขนปกคลุม ผลสีแดงมีขนสั้น เมื่อแห้งจะแตกออกตามพู เมล็ดสีดำ
คำแสด
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวท้องใบมีขน ดอกตัวผู้สีเขียว ดอกตัวเมียสีเหลืองหรือสีแดงมีขนปกคลุม ผลสีแดงมีขนสั้น เมื่อแห้งจะแตกออกตามพู เมล็ดสีดำ

คำแสด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus philippensis (Lam.) Müll.Arg. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
ชื่อสามัญ Monkey-faced tree, Red berry ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ (เชียงใหม่) ขี้เนื้อ กายขัดหิน (สุโขทัย,พิษณุโลก) สากกะเบือละว้า (นครพนม) ซาดป่า ขางปอย (เลย) ทองขาว (จันทบุรี) ลายตัวผู้ (เลย) ทองขาว (ราชบุรี) แทงทวย (ภูเก็ต) ชาตรีขาว (ตรัง) พลากวางใบใหญ่ (สุราษฎร์ธานี) ขี้เต่า (นครศรีธรรมราช) พลับพลาขี้เต่า (ภาคเหนือ) มะกายคัด (ภาคกลาง) แสด ทองทวย แทงทวย มะคาย คำแดง (ไทใหญ่) ไม้เล็ง

หมายเหตุ : ในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับต้นคำแสดที่มีผลสีแดงคล้ายกับผลเงาะ (มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bixa orellana Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Bixaceae) เนื่องจากทั้งสองชนิดมีชื่อท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า “คำแสด” จึงอาจทำให้เกิดความสับสนได้ หากต้องการอ่านบทความดังกล่าว ท่านสามารถอ่านได้ที่ คำไทย

ลักษณะของคำแสด

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นโดยประมาณ 5-12 เมตร บ้างว่าสูงได้โดยประมาณ 15 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลปนเทาและมักมีร่อง ที่กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมและมียางสีแดง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่แถบหิมาลัย ศรีลังกา พม่า อินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ถึงไต้หวัน ออสเตรเลีย และตลอดจนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในประเทศสามารถพบได้ทุกภาค โดยจะขึ้นตามชายฝั่งทะเล ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และจามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,200 เมตร
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบจะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 6-10 เซนติเมตร บ้างว่ายาวได้โดยประมาณ 4-22 เซนติเมตร หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนอยู่หนาแน่นและมีต่อมเกล็ดเป็นจำนวนมาก มีเส้นแขนงใบ 3 เส้นใบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาล และมีก้านใบยาวโดยประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวโดยประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและตามปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกเพศผู้จะมีความยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร ออกเป็นกลุ่มโดยประมาณ 3-4 ดอก ดอกมีสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ดอกไม่มีกลีบดอก แต่มีเฉพาะกลีบเลี้ยงดอก 3-4 กลีบ และดอกมีเกสรเพศผู้ 15-20 อัน ส่วนช่อดอกเพศเมียจะมีความยาวโดยประมาณ 20 เซนติเมตร โดยดอกเพศเมียจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 0.3 เซนติเมตร มีสีเหลืองหรือสีแดง มีกลีบเลี้ยงดอกมีประมาณ 3-6 กลีบ มีรังไข่ 2-3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียจะยาวได้โดยประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก และยาวโดยประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และตามช่อดอกทุกส่วนจะมีขนปกคลุมอยู่ตลอด
  • ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น แบ่งออกเป็นพู 3 พู ผลมีขนาดโดยประมาณ 0.7-0.9 เซนติเมตร ผิวของผลมีขนสั้นและต่อมผงเล็กๆ สีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ผลเมื่อแห้งจะแตกออกตามพู
  • เมล็ด ภายในมีเมล็ดสีดำ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงรี มีความยาวโดยประมาณ 0.4 เซนติเมตร

สรรพคุณของคำแสด

1. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (เมล็ด)
2. ผลและใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หวัด (ผลและใบ)
3. เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุ (เปลือกต้น)
4. เมล็ดช่วยแก้ไข้ (เมล็ด)
5. ช่วยแก้พรรดึก (เปลือกต้น)
6. ดอกและเปลือกต้นมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยารักษาแผลเรื้อรัง (ดอก เปลือกต้น)
7. แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้ปัสสาวะแดงหรือเหลือง (แก่น)
8. เปลือกต้นใช้รักษาโรคกระเพาะ (เปลือกต้น)
9. เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ (เมล็ด) ขนจากผลที่เป็นผงสีแดง ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และพยาธิตัวตืด (ขนจากผล) สารสกัดจากผลสามารถฆ่าพยาธิตัวตืดได้ทั้งหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง
10. ใบและดอกมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ ดอก) หรือจะนำเมล็ดมาทำเป็นผงก็ใช้พอกแผลได้เช่นกัน (เมล็ด)
11. ตำรับยาพื้นบ้านใช้แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้โรคเส้น (แก่น)
12. เมล็ดใช้แก้โรคเรื้อน (เมล็ด)
13. ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้แผลอักเสบ (ราก ใบ ขนจากผล)
14. เปลือกต้นมีรสเฝื่อนใช้รักษาโรคผิวหนัง (เปลือกต้น)
15. ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้สัตว์มีพิษกัดต่อย (ราก ใบ ขนจากผล)

ประโยชน์ของคำแสด

1. ผลใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีแดงที่เรียกว่า Kamela dye
2. เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อปลา
3. ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้สิวและลอกฝ้า
4. เนื้อไม้ใช้ทำเป็นฟืนได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “คำ แสด (Kam Saed)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 82.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “คำแสด”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 102.
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “คําแสด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [18 ก.พ. 2014].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Monkey-faced tree”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [18 ก.พ. 2014].
5. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “คำแสด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [18 ก.พ. 2014]

ต้นคำไทย ดอกช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง

0
ต้นคำไทย
ต้นคำไทย ดอกช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบสีเขียวเหลือบแดงบางนุ่ม ดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน ผลมีขนสีแดงเหมือนผลเงาะ เมล็ดสีน้ำตาลแดง
ต้นคำไทย
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบสีเขียวเหลือบแดงบางนุ่ม ดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน ผลมีขนสีแดงเหมือนผลเงาะ เมล็ดสีน้ำตาลแดง

คำไทย

คำไทย หรือ คำแสด มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกาตอนกลาง ต่อมาได้ขยายไปทางเหนือและใต้ เช่น เม็กซิโก บราซิล และกัวเตมาลา ก่อนจะถูกนำไปปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ Bixa orellana L. จัดอยู่ในวงศ์คำแสด (BIXACEAE) ชื่อสามัญ Anatto tree ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ (กรุงเทพ) คำแสด คำแงะ คำเงาะ คำแฝด (เลย) ซิติหมัก (ภาคเหนือ) แสด มะกายหยุม (ภาคอีสาน) ชาตรี (ภาคใต้) ดอกชาติ ชาด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) หมากมอง (เขมร-สุรินทร์) ส้มปู้ จำปู้ (เขมร) ชาดี ชาตี คำยง

หมายเหตุ : ต้นในบทความนี้เป็นพันธุ์ไม้คนละชนิดกันกับต้นคําแสด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mallotus philippensis Mull.arg. ที่จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เนื่องจากทั้งสองชนิดมีชื่อท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า “คําแสด” จึงอาจทำให้เกิดความสับสนได้ หากต้องการอ่านบทความดังกล่าว ท่านสามารถอ่านได้ที่ คำแสด

ลักษณะของคำไทย

  • ต้น จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นโดยประมาณ 3-8 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมหนาทึบ เปลือกลำต้นเรียบมีสีน้ำตาลปนเทา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และการตัดกิ่งเพื่อนำไปปักชำ สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณชื้นและตามป่าดิบแล้ง[1],[4],[5],[8]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบจะแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 8-10 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 11-18 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะบางนุ่ม ใบมีสีเขียวเหลือบแดง ส่วนใบอ่อนมีสีแดง
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้ง ดอกจะออกที่ปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยโดยประมาณ 5-10 ดอก ดอกย่อยมีสีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อนๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่ยาว และมีกลีบรองดอกขนาดเล็กสีเขียว ดอกอ่อนจะมีลักษณะกลม ผิวสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากและมีเกสรเพศเมียอีก 1 ก้าน ที่รังไข่มีขนรุงรัง ภายในมีช่อง 1 ช่อง และมีไข่อ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก[1],[2]
  • ผล ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายผลแหลม มีขนสีแดงเหมือนผลเงาะ ผลเมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก[1],[2]
  • เมล็ด มีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะกลม และมีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงหรือสีแสด[1],[2]

สรรพคุณของคำไทย

1. บำรุงหัวใจ (ดอก)[5]
2. หากความดันโลหิตสูง ให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 1 ฝ่ามือต่อน้ำ 1 ลิตร นำมาต้มเป็นยาดื่มวันละ 3 เวลาจะช่วยลดความดันโลหิตได้ (เปลือกต้น)[9]
3. ดอกใช้ปรุงเป็นยาหรือใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงโลหิตให้สมบูรณ์ (ดอก[1],[2],[3],[4],[5], ราก[5], เปลือกต้น[5], เมล็ด[5]) และมีข้อมูลระบุว่ารากเป็นยาบำรุงเลือดลม (ราก)[9]
4. ดอกใช้ต้มกินเป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (ดอก)[1],[2],[3],[4],[5]
5. ราก มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)[9]
6. เมล็ดช่วยรักษาไข้มาลาเรีย ส่วนเปลือกรากช่วยป้องกันไข้มาลาเรีย (เมล็ด, เปลือกราก)[1],[2],[4],[5]
7. หมอพื้นบ้านจะใช้เมล็ดทำเป็นยารักษาอาการไข้ แก้ไข้ (เมล็ด)[4],[5]
8. ช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง (ดอก)[5]
9. ใบนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้กษัย (ใบ)[9]
10. ใบหรือเปลือกรากใช้เป็นยาลดไข้ (ใบ, เปลือกราก)[1],[2],[4],[5]
11. ใบช่วยรักษาอาการเจ็บคอ (ใบ)[1],[2],[4],[5]
12. ช่วยขับเสมหะ (เมล็ด)[5]
13. เปลือกต้นและเมล็ดช่วยแก้ไข้ทับระดู (เปลือกต้น, เมล็ด)[5]
14. ช่วยระงับความร้อนภายในร่างกาย (ดอก)[5]
15. ช่วยรักษาริดสีดวงที่จมูก ด้วยการใช้ใบนำมาซอยแล้วตากแดดให้แห้ง นำมามวนเป็นยาสูบจะช่วยแก้ริดสีดวงจมูกได้ (ใบ)[9]
16. เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวานร้อน เป็นยาระบายท้อง (เนื้อหุ้มเมล็ด)[1],[2],[4],[5]
17. เมล็ดมีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม (เมล็ด)[5]
18. ใบ ช่วยรักษาโรคดีซ่าน (ใบ)[1],[2],[4],[5]
19. รากใช้เป็นยาบำรุงปอด (ราก)[9]
20. ดอกนำมาต้มกินจะช่วยรักษาโรคบิดได้ (ใบ, ดอก)[1],[2],[3],[4],[5] ส่วนเมล็ดมีสรรพคุณแก้บิดเช่นกัน (เมล็ด)[5]
21. ช่วยรักษาโรคหนองใน (เมล็ด, เปลือกราก)[1],[2],[4],[5]
22. ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ใบประมาณ 8-10 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 1 ลิตร ใช้ดื่มวันละ 3 เวลา (ใบ[1],[2],[4],[5], เมล็ด[5]) ใบนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ใบ)[9]
23. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นคําไทยทั้งห้านำมาต้มรับประทานเป็นยา โดยใช้ประมาณ 1 มือต่อน้ำ 1 ลิตร แบ่งกินหลังอาหารวันละ 3 เวลา (ทั้งต้น)[9]
24. ใช้เป็นยาขับพยาธิ (เนื้อหุ้มเมล็ด[1],[2],[4],[5], ขนจากผล[5])
25. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นประมาณ 1 ฝ่ามือต่อน้ำ 1 ลิตร นำมาต้มเป็นยาดื่มวันละ 3 เวลา (เปลือกต้น)[9]
26. ช่วยรักษาไตพิการ (ดอก)[1],[2],[4],[5]
27. เมล็ดใช้ตำพอกหัวหน่าวแก้อาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร (เมล็ด)[5]
28. สำหรับผู้ที่ต่อมลูกหมากโต ให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 1 ฝ่ามือต่อน้ำ 1 ลิตร นำมาต้มเป็นยาดื่มวันละ 3 เวลา (เปลือกต้น)[9]
29. ดอกช่วยบำรุงโลหิตระดูและขับระดูของสตรี ส่วนเมล็ดก็เป็นยาขับระดูเช่นกัน (ดอก, เมล็ด)[5]
30. รากใช้ต้มเป็นยาให้หญิงอยู่ไฟกิน (ราก)[9]
31. ดอกช่วยรักษาอาการแสบร้อนและคันตามผิวหนัง (ดอก[1],[2],[4],[5], ราก[5])
32. เมล็ดใช้เป็นยาหอมและเป็นยาฝาดสมาน สมานแผล ส่วนดอกและผลก็เป็นยาสมานแผลเช่นกัน (เมล็ด, ดอก, ผล)[1],[2],[4],[5]
33. ช่วยแก้ดีพิการ (ดอก)[5]
34. ช่วยบำรุงน้ำเหลืองให้สมบูรณ์ (ดอก)[5]
35. เนื้อหุ้มเมล็ดช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เนื้อหุ้มเมล็ด[1],[2],[4],[5], เมล็ด[5])
36. เปลือกต้นนำมาใช้ฝนทาแก้พิษงู (เปลือกต้น)[9]
37. เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคพิษจากสบู่แดง และมันสำปะหลัง (เมล็ด)[1],[2],[4],[5]
38. น้ำมันจากเมล็ดช่วยรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง (น้ำมันจากเมล็ด)[7]
39. ดอกช่วยแก้พิษ (ดอก)[5]
40. นอกจากนี้ยังมีการใช้ใบเพื่อรักษาการถูกงูกัด (ใบ)[4],[5]
41. เถาช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (เถา)[7]
42. มีข้อมูลระบุว่า นำใบมาใช้ชงกับน้ำดื่มจะช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศได้ (ใบ)[9]
43. เมล็ดนำมาตำใช้เป็นยาพอกหรือทาแก้อาการปวดบวม (เมล็ด)[5]
44. น้ำมันจากเมล็ดมีรสร้อน ใช้ทาแก้อัมพฤกษ์อัมพาต แก้อาการขัดตามข้อ (น้ำมันจากเมล็ด)[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่า สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยเอทานอล : น้ำ (1:1) มีขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 0.375 ก./กก. หรือมากกว่า 1 ก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง และมีค่า 3.8 ก./กก. เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาดของสารสกัดรากด้วยน้ำที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 700 มก./กก. ไม่พบความเป็นพิษ[6]

ประโยชน์ของคำไทย

1. หมอยาอีสานจะนิยมปลูกต้นคำไทยไว้หน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาผู้ที่ถูกมนต์ดำหรือผู้ที่โดนของ ทั้งจากการถูกคนทำใส่หรือจากภูตผีมาทำด้วย โดยหมอยาจะให้กินยาสมุนไพรชนิดนี้หรือชนิดอื่นต้มให้รับประทาน แต่จะต้องใช้ใบคำไทยลูบตามผิวกายเพื่อดึงเอาของไม่ดีออกจากร่างกายร่วมกับมนต์คาถา หรือจะใช้ใบคำไทยร่วมกับมนต์คาถาโดยไม่ต้องกินยาสมุนไพรก็ได้[9]
2. เปลือกต้นของคำไทยหรือคําแสดสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกได้ดี[8]
3. ชาวท้องถิ่นดั้งเดิมในอเมซอนจะใช้เนื้อหุ้มเมล็ดทาเพื่อแต่งลวดลายตามร่างกายและใบหน้า เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว[8]
4. เนื้อหุ้มเมล็ดใช้ทำเป็นสีสำหรับแต่งอาหาร แต่งสีเนย สีไอศกรีม ฝอยทอง น้ำมัน หรือเพื่อเพิ่มความเข้มของไข่แดง เป็นต้น และยังใช้เป็นสีสำหรับย้อมไหมและฝ้าย ผ้าขนแกะ ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้ผสมในยาขัดรองเท้า ยาขัดหนัง ขัดพื้นเพื่อจะทำให้หนังมีสีแดงคล้ำ ฯลฯ โดยนำเมล็ดมาแช่ในน้ำร้อนและหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน เพื่อทำให้ผงสีส้มที่มีชื่อว่า Bixin ตกตะกอน แล้วจึงแยกเอาเมล็ดออก แล้วนำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนน้ำเกือบแห้ง และนำไปตากแดดจนแห้งเป็นผง เก็บไปใช้ในการย้อมสีต่อไป โดยสีที่ได้คือสีแสด หรือเรียกว่าสี Annatto, Arnotto, หรือ Orlean และเป็นสีที่ไม่มีพิษ[2],[3],[4],[5],[7],[8]
5. น้ำมันจากเมล็ดสามารถช่วยรักษาสภาพของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์นมได้[7]
6. นิยมใช้ปลูกกันเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม เพราะนอกจากดอกก็ยังมีผลที่ออกเป็นกลุ่ม ๆ ดูสวยงามกว่าดอกเสียอีก และยังมีความทนทานมากกว่าดอกหลายเท่าอีกด้วย โดยจะมีทั้งพันธุ์ผลสีแดงและผลสีเหลือง ในประเทศไทยเราส่วนมากแล้วจะปลูกแต่พันธุ์ผลสีแดง หากนำพันธุ์ผลสีเหลืองมาปลูกคู่กับพันธุ์ผลสีแดงก็จะทำให้เกิดความงดงามมากยิ่งขึ้น[4],[8]
7. มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ต้านปรสิต โปรโตซัว กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการหลั่งของกระเพาะอาหาร คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ ยับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดิน (อังกฤษ: prostaglandin) ยับยั้งเอนไซม์ Aldolase ยับยั้งการเจริญของเซลล์ ทำให้แพ้ ไล่แมลง ฆ่าแมลง ดึงดูดแมลง และเร่งการงอกของพืช[6] บ้างว่ามีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ขับปัสสาวะ ต้านการอักเสบ ต้านอาการชัก ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดการหลั่งของกรดในหนู ต้านพิษงู และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย[9]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1 หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “คำไทย (Kham Thai)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 79.
2 หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “คําไทย”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 86.
3 หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “คำไทย Annatto Tree”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 64.
4 หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คําไทย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 185-187.
5 ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “คำเงาะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [18 ก.พ. 2014].
6 สมุนไพรในร้านยาโบราณ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “คำไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [18 ก.พ. 2014].
7 ศูนย์ปฎิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “คำแสด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [18 ก.พ. 2014].
8 มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 279 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “คำแสดสีสันบนใบหญ้าและผืนผ้า”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [18 ก.พ. 2014].
9 กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “คําไทย หน้าตาสดใส เลือดลมดี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakkhaoyai.com. [18 ก.พ. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://antropocene.it
2.https://costarica.inaturalist.org

ประโยชน์ และ สรรพคุณ ของ ข้าว ที่เรากินทุกวัน

0
ข้าว
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นเป็นปล้อง เมล็ดสีขาวขุ่นห่อหุ้มไว้โดยเปลือก รากฝอยแตกแขนงใต้ผิวดินคล้ายต้นหญ้า

ข้าว

ข้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มธัญพืชและสามารถกินเมล็ดได้ โดยมีสองสปีชีส์หลักคือ Oryza glaberrima ซึ่งปลูกในเขตร้อนของแอฟริกา และ Oryza sativa ที่ปลูกทั่วโลก ซึ่งชนิดหลังนี้สามารถแบ่งออกได้อีกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ Japonica และ Javanica ซึ่งปลูกในเขตอบอุ่น และ Indica ซึ่งปลูกในเขตร้อน

ชื่อสามัญของข้าวคือ “Rice” และชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Oryza sativa L. อยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE) ในประเทศไทย ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Indica ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า

พันธุ์ข้าวมีการปรับปรุงและคัดเลือกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีหลายพันธุ์ที่มีรสชาติและคุณประโยชน์แตกต่างกันไป ข้าวหอมมะลิของไทยถือเป็นหนึ่งในพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ข้าวนึ่งก่อนสี ข้าวกล้อง ข้าวเสริมวิตามิน และข้าวซ้อมมือ ก็เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ลักษณะของข้าว

  • ลักษณะของข้าว - ประโยชน์ และ สรรพคุณ ของ ข้าว ที่เรากินทุกวันลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง
  • ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ
    รวง เกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
  • ดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้
  • เมล็ด หรือ เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ
  • ราก รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายอยู่ใต้ผิวดินคล้ายต้นหญ้า

คำแนะนำเสริม

ข้าวที่ยังมีจมูกข้าวกับรำข้าวติดอยู่ หรือ ข้าวกล้อง เพราะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า เป็นข้าวที่สีครั้งเดียว โดนแค่กะเทาะเปลือกนอกออก ไม่มีการขัดสีเอาเส้นใยที่อยู่รอบเมล็ดออก และไม่แนะนำให้ทานข้าวขัดขาวที่ขายกันทั่วไปเท่าไหร่ เนื่องจากจะให้แค่พลังงานเท่านั้นและยังได้น้ำตาลด้วย ถ้าทานอย่างต่อเนื่องไปนาน ๆ อาจทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ โรคเส้นเลือดตีบตัน โรคความดัน

วิธีการเลือกซื้อข้าว

  • วิธีการเลือกซื้อข้าว - ประโยชน์ และ สรรพคุณ ของ ข้าว ที่เรากินทุกวันการซื้อในแต่ละครั้งควรซื้อให้พอเหมาะกับสมาชิกครอบครัวที่ทานได้ 1-2 อาทิตย์ เพื่อความสดใหม่
  • สีเมล็ดต้องเป็นสีขาวขุ่น หรือสีน้ำตาลปนนิดหน่อยขึ้นอยู่ที่สายพันธุ์ บางครั้งอาจมีสีเขียวอ่อนติดอยู่ แสดงว่าเป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ ๆ เลยมีเยื่อหุ้มติด
  • เมล็ด จะต้องแห้งสนิท ไม่ชื้น ไม่มีรา บรรจุในถุงที่ปิดสนิท มีแหล่งผลิตชัดเจน
  • เมล็ด ต้องสมบูรณ์ ปลายเมล็ดไม่แหว่ง ไม่แตกหัก เนื่องจากถ้าเมล็ดแตกหักหรือเมล็ดแหว่งแสดงว่าไม่มีจมูกข้าว จมูกข้าวสำคัญมาก เนื่องจากจมูกข้าวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เยอะที่สุด

วิธีหุงข้าว

1. ถ้าเปิดถุงมาใช้ ต้องปิดถุงให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงสาบกับหนูมาแพร่เชื้อ
2. การหุงข้าวกล้องในแต่ละครั้งควรหุงให้พอดีต่อการทานแต่ละมื้อ เพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามิน
3. ซาวน้ำข้าวกล้องก่อนหุง ควรซาวไม่เกิน 1-2 ครั้ง เนื่องจากถ้าซาวน้ำหลายรอบจะทำให้สูญเสียวิตามินบางชนิดที่ละลายน้ำได้ไป
4. ถ้าหุงข้าวกล้องสุกให้ถอดปลั๊กทันที และทานในทันทีได้จะดีมาก ๆ เนื่องจากวิตามินบางชนิดถ้าโดนความร้อนนาน จะทำให้เสื่อมสลายไป และถ้าเสียบทิ้งไว้ทั้งวัน วิตามินหรือแร่ธาตุที่สำคัญจะหายไป

ประโยชน์ของข้าว

  • สามารถใช้ฟางข้าวทำปุ๋ย ปลูกเห็ด ใช้เป็นส่วนผสมของยาขัดรถ ผสมทำเครื่องปั้นดินเผา ทำของเล่น กระดาษ ทำแกลบหรือขี้เถ้า ถ่านกัมมันต์หรือถ่านดูดกลิ่นได้ เป็นต้น
  • สามารถใช้เมล็ดข้าวทำเป็นเครื่องประดับได้
  • ใช้ทำเป็นของหวานได้ อย่างเช่น ทำเป็นแป้งข้าวเจ้า ขนมกล้วย ลอดช่อง ขนมตาล ปลากริมไข่เต่า แป้งข้าวเหนียว
  • สามารถนำรำข้าวมาใช้ทำ น้ำมันรำข้าว ทำโลชันบำรุงผิว ทำยาหม่อง ใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำแวกซ์ ทำลิปสติกได้ เป็นต้น
  • เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานกับความอบอุ่น และใช้เป็นยารักษาโรคได้

สรรพคุณของข้าว

1. ข้าวกล้องสามารถช่วยลดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของผู้หญิงวัยทองได้ (ข้าวกล้องงอก)
2. สามารถช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โดยเฉพาะข้าวนึ่งก่อนสี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เนื่องจากมีวิตามินบี 1 สูง
3. น้ำข้าวสามารถช่วยแก้พิษได้ (น้ำข้าว)
4. การทานข้าวกล้องจะได้กากอาหารเยอะ สามารถช่วยการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ได้ดี
5. สามารถช่วยเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร ลำไส้ได้
6. น้ำข้าวสามารถช่วยแก้เลือดกำเดาได้ (น้ำข้าว)
7. ข้าวหอมมะลิแดงสามารถช่วยป้องกันโรคคอหอยพอกได้ (ไอโอดีน)
8. น้ำข้าวสามารถช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (น้ำข้าว)
9. น้ำข้าวสามารถช่วยแก้อาการกระหายน้ำ แก้ร้อนในได้ (น้ำข้าว)
10. ใยอาหารของข้าวหอมมะลิกล้องสามารถช่วยดูดซับของเสียกับสารพิษออกจากร่างกายได้ (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
11. สามารถช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดของโรคหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดของโรคหัวใจได้ (เบตาแคโรทีน, วิตามินอี)
12. ข้าวมีลูทีนที่สามารถช่วยบำรุงรักษาสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือต้องใช้สายตาในการนั่งหน้าจอนาน (ลูทีน, เบตาแคโรทีน)
13. ฟอสฟอรัสสามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกกับฟันให้แข็งแรงได้ (ฟอสฟอรัส)
14. ข้าวกล้องงอกสามารถช่วยป้องกันและช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคความจำเสื่อม
15. วิตามินบี 3 สามารถช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังกับลิ้นได้
16. ข้าวกล้องจะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยชะลอความแก่ได้ (ข้าวกล้องงอก)
17. ช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันอาการอ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย และช่วยฟื้นฟูกำลัง (วิตามินบี 2)
18. สามารถช่วยรักษาอาการตกเลือดหลังคลอดได้ (ข้าวผัวไม่ลืม)
19. ข้าวกล้องงอกสามารถช่วยทำให้ผ่อนคลายหลับสบายขึ้น (ข้าวกล้องงอก)
20. สามารถช่วยลดการเกิดหรือลดอาการเป็นตะคริวได้ (แคลเซียม)
21. สามารถช่วยรักษาโรคท้องร่วงได้ (ข้าวผัวไม่ลืม)
22. น้ำข้าวสามารถช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อยได้ (น้ำข้าว)
23. สามารถช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก และริมฝีปากบวมได้ (วิตามินบี 2)
24. สามารถช่วยแก้ตาแดงได้ (น้ำข้าว)
25. สามารถช่วยป้องกันโรคเลือดออกที่ตามไรฟันได้ (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
26. น้ำข้าวสามารถช่วยรักษาอหิวาตกโรคได้ (น้ำข้าว)
27. เส้นใยอาหารของข้าวหอมนิลมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด (ข้าวหอมนิล)
28. สามารถช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง และส่งออกซิเจนในเลือดไปอวัยวะต่าง ๆ ได้ (ธาตุเหล็ก)
29. สามารถช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้ (ธาตุเหล็ก, ธาตุทองแดง)
30. สามารถช่วยป้องกันและช่วยเสริมสร้างการสึกหรอของร่างกายได้ (โปรตีน)
31. สามารถช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (วิตามินบี 2)
32. สามารถช่วยเสริมสร้างการทำงานระบบประสาทได้
33. สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสได้
34. สามารถช่วยเสริมสร้างการโตของร่างกายได้

คุณค่าทางโภชนาการ

ข้าวสารดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 365 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
ธาตุโพแทสเซียม 115 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมงกานีส 1.088 มิลลิกรัม 52%
ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
น้ำ 11.61 กรัม
ไขมัน 0.66 กรัม
น้ำตาล 0.12 กรัม
ธาตุสังกะสี 1.09 มิลลิกรัม 11%
ธาตุฟอสฟอรัส 115 มิลลิกรัม 16%
ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี 1 0.0701 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 2 0.0149 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 3 1.62 มิลลิกรัม 11%
วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม 20%
วิตามินบี 6 0.164 มิลลิกรัม 13%
โปรตีน 7.13 กรัม
เส้นใย 1.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 80 กรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.kew.org/plants/asian-rice
2. https://agrobaseapp.com/united-states/weed/red-rice
3. https://medthai.com

ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

0
ข้าวเย็นใต้
ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ยับยั้งเซลล์มะเร็ง เป็นไม้เลื้อยมีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกมีสีเหลืองอมเขียวและมีขนาดเล็ก ผลมีสีเขียว และผลแก่มีสีแดงดำ
ข้าวเย็นใต้
เป็นไม้เลื้อยมีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกมีสีเหลืองอมเขียวและมีขนาดเล็ก ผลมีสีเขียว และผลแก่มีสีแดงดำ

ข้าวเย็นใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax glabra Roxb.[1] อยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ยาหัวข้อ(ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์ใต้(ภาคใต้), ยาหัว(เลย, นครพนม), ถู่ฝุหลิง(ภาษาจีน), ข้าวเย็นโคกขาว เป็นต้น[1],[2],[4],[8]

ลักษณะของข้าวเย็นใต้

  • ต้น เป็นไม้เลื้อยมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นและเถามีสีน้ำตาลเข้ม เหง้ามีรูปร่างไม่แน่นอนลักษณะแบนหรือกลมเป็นก้อน มีก้อนแข็งนูนขึ้น เหมือนแยกเป็นแขนงสั้นๆ มีผิวสีเทาน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีหลุมลึกและนูนขึ้นอยู่ตามผิว มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกรากฝอย เนื้อมีสีขาวอมเหลือง ความกว้าง 2-5 เซนติเมตรและความยาว 5-22 เซนติเมตร [1],[2]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกอยู่ประมาณ 10-20 ดอก มีสีเหลืองอมเขียวและมีขนาดเล็กมีกลีบดอก 6 กลีบยาว 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 4-15 มิลลิเมตร[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ โคนใบมน ปลายใบบางแหลม ผิวใบมัน มีเส้นตามยาวอยู่หน้าใบ 3 เส้นเห็นได้ชัดเจน ความยาวของใบ 5-14 เซนติเมตรและความกว้างของใบ 2.5-5 เซนติเมตร มีผงสีขาวคล้ายแป้งอยู่บริเวณหลังใบ ก้านใบมีความยาว 9-14 มิลลิเมตร[2]
  • ผล เป็นทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-7 มิลลิเมตร ผลมีสีเขียว และผลแก่มีสีแดงดำ[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นใต้

  • จากการทดลองใช้น้ำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ต้ม อัตราส่วน 1 ต่อ 2 ฉีดเข้าช่องท้องของกระต่ายทดลองและหนูขาว พบว่าช่วยในการห้ามเลือดที่ออกในบริเวณช่องท้องได้[2]
  • พบน้ำมันหอมระเหย 11.2% ในเมล็ด และพบสาร ได้แก่ Diosgennin, Parillin, Saponins, Saponin, Smilacin, Smilax, Tanin, Alkaloid, Amino acid, Tigogenin[2]
  • น้ำที่ได้จากการต้ม ช่วยในการรักษาโรคเรื้อนกวางในคนและมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลอง[8]
  • การทดลองนำน้ำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ต้ม อัตราส่วน 1 ต่อ 4 มาให้หนูทดลองทาน พบว่าช่วยยับยั้งเชื้อ Staphylo coccus และเชื้อราได้[2]

สรรพคุณของข้าวเย็นใต้

1. หัว ใช้แก้อาการข้อเข่าทำงานไม่ปกติ(หัว)[1]
2. สามารถรักษาอาการฟกช้ำเคล็ดขัดยอกได้ (หัว)[2]
3. สามารถนำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้มาบดเป็นผง รวมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงาใช้ทารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้(หัว)[2]
4. ใช้ในการแก้ฝีทุกชนิดได้ โดยใช้หัว 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นเหนือ, ขันทองพยาบาท, กำมะถันเหลือง, กระดูกควายเผือก, กระดูกม้า 4 บาท, เหง้าสับปะรดหนัก 10 บาท, หัวต้นหนอนตายหยาก หนักอย่างละ 20 บาท, ผิวไม้รวก 3 กำมือ, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น นำมาต้มในหม้อดิน ดื่มหลังอาหารวันละ 3 เวลาครั้งละ 1 ถ้วยชา นอกจากจะแก้ฝีได้ยังสามารถใช้รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้ แก้โรคแผลกลายได้ ข้อมูลจากตำรับยาแก้ฝีทุกชนิด(หัว)[3]
5. หัวสามารถใช้รักษาเม็ดผื่นคัน แก้ฝีแผลเน่าเปื่อย บวมพุพอง ทำให้แผลฝีหนองยุบ อีกทั้งยังใช้แก้อาการปวดบวม เป็นฝีหนองบวมได้(หัว)[1],[4],[6]
6. หัวใช้แก้น้ำเหลืองเสียได้ มีรสหวานเอียนเบื่อ(หัว)[2],[4],[6],[8]
7. ใช้รักษาอาการตกขาว ระดูขาวของสตรีได้(หัว)[2]
8. สามารถใช้รักษาโรคบุรุษ และแก้ระดูขาวของสตรีได้ ด้วยการใช้หัว 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, เกลือทะเล, ต้นตะไคร้ทั้งต้น(รวมรากด้วย) 20 บาท, ต้นบานไม่รู้โรยดอกขาวทั้งต้น(รวมรากด้วย) 1 ต้น นำมาต้มรวมกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน จากนั้นใช้ดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น ข้อมูลจากตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ(หัว)[3]
9. ใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ โดยใช้ หัวข้าวเย็นใต้, หัวข้าวเย็นเหนือ, เหง้าสับปะรด, พริกไทยล่อน, รากลำเจียก, จุกกระเทียม, จันทน์ขาว, จันทน์แดง, จุกหอมแดง, สารส้ม, แก่นจำปา และเครือส้มกุ้ง นำมาต้มในหม้อดินและดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา เช้า กลางวัน เย็น(หัว)[3]
10. มีสรรพคุณในการแก้ปัสสาวะพิการ (หัว)[6]
11. นำมารักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ (หัว)[2]
12. ใช้รักษาอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่คอ(หัว)[3]
13. ช่วยบรรเทาอาการไอได้ โดยใช้หัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้อย่างละ 5 บาท ต้มในหม้อดินและเติมเกลือทะเลเล็กน้อย ให้ดื่มเช้าและเย็นรอบละครั้ง(หัว)[2]
14. มีการใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือมาผสมกับตัวยาในตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้(หัว)[3]
15. ใช้ในการขับไล่ความเย็น (หัว)[1]
16. สามารถขับลมชื้นในร่างกาย โดยใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้อย่างละ 30 กรัม, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียง, โกฐหัวบัว, โกฐเขมา อย่างละ 20 กรัม นำมาแช่กับเหล้าด้วยการใส่เหล้าให้ท่วมตัวยาทิ้งไว้ 7 วันหรือต้มกับน้ำดื่ม จากนั้นนำมารับประทาน(หัว)[2]
17. ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาตได้ ใบมีรสจืดเย็น(ใบ)[7]
18. มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าหัวข้าวเย็นใต้และหัวข้าวเย็นเหนือมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง จึงนิยมถูกนำมาใช้ในตำรับยารักษามะเร็งร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในหลายตำรับ[5]
19. ใช้ทำเป็นยาแก้มะเร็งได้ โดยนำบดยาหัวให้ละเอียดมาผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งจากนั้นนำน้ำผึ้งมาผสม ทานวันละ 1 เม็ด(หัว)[6]
20. ทำเป็นยาบำรุงเลือดได้ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำดื่ม
21. ใช้บรรเทาอาการปวดสำหรับหญิงอยู่ไฟหลังคลอดบุตรได้ ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำทานเป็นยา(หัว)[6]
22. มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดข้อเข่า ปวดหลัง ปวดเอว หรืออาการหดเกร็งแขนและขา ดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[4],[6] และใช้รักษาอาการเอ็นพิการได้ (หัว)[4],[6]
23. สามารถนำมาแก้อาการอักเสบในร่างกายได้(หัว)[6]
24. ใช้ในการฆ่าเชื้อหนองได้(หัว)[6],[8]
25. นำหัวมาใช้แก้มะเร็งคุดทะราดได้(หัว)[4],[6]
26. ใช้แก้อาการพิษจากปรอท ช่วยระงับพิษ(หัว)[1]
27. ช่วยรักษาเนื้องอกบริเวณปากมดลูกได้ โดยนำข้าวเย็นเหนือและใต้อย่างละ 25 กรัมนำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี หรือประมาณ 3 ชั่วโมง แบ่งทาน 4 ครั้ง ครั้งละ 25 ซีซี(หัว)[2]
28. ใช้ในการรักษากามโรค เข้าข้อออกดอก และโรคซิฟิลิส(หัว)[1],[2],[4],[6]
29. ข้อมูลจากตำรับยาพบว่า ใช้ทำเป็นยารักษาหนองในทั้งชายและหญิงได้ ด้วยการนำหัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ มารวมกับสมุนไพรอีก 14 ชนิดจากนั้นน้ำมาต้มเป็นยา(หัว)[3]
30. ใช้ผลมาทำเป็นยาแก้ลมริดสีดวงได้ ผลมีรสขื่นจัด(ผล)[7]
31. หัวช่วยในเรื่องของการขับปัสสาวะได้(หัว)[2]
32. ใช้แก้อาการกระหายน้ำ และร้อนในได้(หัว)[6]
33. มีสรรพคุณในการแก้ประดง (หัว)[4],[6]
34. ใช้แก้อาการน้ำมูกไหลได้(หัว)[1] อีกทั้งยังใช้ในการขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ หัวมีรสกร่อย เป็นยาเย็น(หัว)[2]
35. หัวมีการนำมาใช้รักษาอาการไข้อันเนื่องมาจากความเย็นชื้น (หัว)[1]
36. นำต้นมาทำเป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ตัวร้อนได้ ต้นมีรสจืดเย็น(ต้น)[7]
37. สามารถช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้ โดยใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ไม้สัก และใบโพธิ์มาต้มในหม้อดิน ข้อมูลจากอีกตำรับระบุว่า ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ต้นลูกใต้ใบ มาต้มกับน้ำดื่ม(หัว)[3]
38. มีการใช้เหง้ามาทำเป็นยาบำรุง ข้อมูลจากตำรับยาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซีย(หัว)[6]

วิธีการใช้งาน

  • ใช้หัวใต้ดินเป็นยาร่วมในยาต้มทุกชนิดโดยหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดสุโขทัย[8]
  • เหง้าควรเก็บในฤดูร้อนและในฤดูใบไม้ร่วง จากนั้นตัดรากฝอยทิ้ง ล้างแล้วทำให้แห้ง หรืออาจจะฝานเป็นแผ่นบางๆ ขณะหัวสด จากนั้นทำให้แห้ง[1]
  • ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นหัวแห้งใช้ในขนาด 15-60 กรัม[1],[2]
  • ข้าวเย็นใต้ และข้าวเย็นเหนือมีสรรพคุณที่เหมือนกัน มักจะถูกใช้คู่กันเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง” ข้อมูลในหนังสือสารานุกรมสมุนไพรของอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวชระบุไว้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สมุนไพรในเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. “ข้าวเย็นใต้”. (ทวีศักดิ์ สุนทรธนศาสตร์). อ้างอิงใน: People’s Rebublic of China’s Pharmacopoeia 1985. Vol.1 p.11-12.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ข้าวเย็นใต้”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 130.
3. มติชนออนไลน์. “ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ในตำรับยาแผนไทย” อ้างอิงใน: หนังสือตำรายาหลวงพ่อศุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.matichon.co.th. [07 เม.ย. 2014].
4. การบำบัดและรักษามะเร็งทางเลือก อโรคยาศาล, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. “ข้าวเย็นใต้” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/. [07 เม.ย. 2014].
5. มูลนิธิสุขภาพไทย. “หมอพื้นบ้าน 3 จ.ใต้ ใช้สมุนไพรรักษามะเร็ง 26 ตำรับ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [06 เม.ย. 2014].
6. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ข้าวเย็น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [07 เม.ย. 2014].
7. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ข้าวเย็น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [07 เม.ย. 2014].
8. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ยาหัว”. หน้า 198.
9. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. http://www.epharmacognosy.com

โกฐสอ ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ

0
โกฐสอ
โกฐสอ ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ เป็นไม้ล้มลุกสีม่วง ดอกสีขาวมีขนสั้น ใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม รากกลมยาวคล้ายหัวผักกาด สีน้ำตาลมีความแข็ง มีกลิ่นหอมฉุน นิยมใช้รากทำยา
โกฐสอ
เป็นไม้ล้มลุกสีม่วง ดอกสีขาวมีขนสั้น ใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม รากกลมยาวคล้ายหัวผักกาด สีน้ำตาลมีความแข็ง มีกลิ่นหอมฉุน นิยมใช้รากทำยา

โกฐสอ

ต้นโกฐสอ รากใช้เป็นยา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชอบอากาศอบอุ่น มักพบขึ้นตามภูเขาสูงและชื้น ชอบดินร่วนซุยหนาและลึก มีความอุดมสมบูรณ์ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศรัสเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น และจีนชื่อสามัญ Dahurian angelica[5] ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Angelica dahurica (Hoffm.) Benth. & Hook.f. ex Franch. & Sav. อยู่ในวงศ์ผักชี(APIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ไป๋จื่อ (จีนกลาง), แป๊ะลี้ แปะจี้(จีนแต้จิ๋ว)เป็นต้น[1],[3]

ลักษณะของโกฐสอ

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี มีสีม่วงแต้มเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลางของโคนต้นราวๆ 2-5 เซนติเมตรและมีความสูง 1-2.5 เมตร
  • ดอก ดอกออกบริเวณปลายกิ่งและง่ามใบ เป็นดอกช่อแบบซี่ร่มเชิงประกอบ มักมี 18-40 ช่อ มีขนอยู่สั้นๆ มีดอกขนาดเล็กสีขาว มีกลีบดอก 5 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 10-30 เซนติเมตร มีใบประดับคล้ายกาบหุ้มช่อดอกอ่อนอยู่ มีใบประดับไม่เกิน 2 ใบ ดอกจะออกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม[5]
  • ใบ ใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ประกอบกันแบบขนนก 2-3 ชั้น โคนใบเป็นกาบแผ่ออกมา ก้านใบยาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 40 เซนติเมตรและยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปรีแคบจนถึงใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1-4 เซนติเมตรและยาว 4-10 เซนติเมตร ใบย่อยไร้ก้าน โคนใบออกเป็นครีบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลม ตอนบนของใบจะลดรูปเป็นกาบ[5]
  • ผล ผลเป็นรูปรีกว้างเป็นผลแบบผลแห้งแยก สันด้านข้างแผ่ออกเป็นปีกกว้าง สันด้านล่างหนากว่าร่อง มีท่อน้ำมันอยู่ตามร่อง ด้านล่างแบนราบ ผลจะติดในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน[5]
  • ราก มีลักษณะกลมยาวคล้ายหัวผักกาด มีความแข็ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร มีรอยย่นและมีสัน มีผิวรากสีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีขาวนวล มีจุดเล็กๆ มีกลิ่นหอมฉุน นิยมนำรากมาใช้ทำเป็นยา [2],[5]

ประโยชน์ของโกฐสอ

  • มีการใส่โกฐลงไปในน้ำเลี่ยงจุ๊ยที่คนจีนทำขาย[5]
  • เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้า[3],[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโกฐสอ

  • มีสาร Angelicotoxin ซึ่งเป็นสารพิษ แต่ถ้าหากใช้ในจำนวนที่น้อยจะสามารถกระตุ้นประสาทควบคุมการทำงานของเส้นเลือดในกระดูกสันหลังและประสาทกระดูกสันหลังส่วนกลาง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจได้ลึกขึ้น แต่ชีพจรเต้นช้าลง และหากใช้มากเกินไปจะกระตุกอย่างแรงเป็นพักๆ จนชาทั้งตัวในที่สุด[1]
  • มีสารที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีในกลุ่ม coumarins ประเภท furacoumarins หลายชนิด ตัวอย่างเช่น phellopterin, isoimperatorin, oxypeucedanin, imperatorin, byak-angelicol, byak-angelicin สารกลุ่ม ferulic acid, polyacetylenic และมีสารscopoletin และmarmecin[4],[5]
    จากการวิจัยพบว่า สามารถใช้ป้องกันสมองเสื่อม ช่วยคลายกังวล ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ต้านการอักเสบ ปกป้องตับ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการเต้นผิดปกติของหัวใจหนู มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ฯลฯ[4]
    ใช้ในการต่อต้านเชื้ออะมีบาที่เป็นสาเหตุของโรคบิดได้ ช่วยยับยั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคไทฟอยด์และโรค
  • อหิวาตกโรค ต้านเชื้อ Columbacillus ในลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้ และสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ด้วยน้ำต้มของโกฐ[1]
  • พบสาร Angelicotoxin anomalin Byak-angelicin, Imperatorin, Oxypevcedanin ซึ่งสารเหล่านี้จะไปกระตุ้นกระดูกสันหลัง ถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกหดตัว กระตุ้นประสาททางจมูกทำให้หายใจคล่อง แต่หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายบางส่วนมีความรู้สึกชา [1]

สรรพคุณของโกฐสอ

1. สามารถนำมารักษาโรคเลือดเป็นพิษ หัด สุกใสและแก้ร้อนในได้ โดยทำตามตำรับ “ยาเม็ดขี้กระต่าย” ของล้านนาซึ่งประกอบด้วยโกฐสอและสมุนไพรอื่นๆ(ราก)[4]
2. มีปรากฏใช้ในหลายตำรับยา เช่น ตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” ที่สามารถใช้ในการบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ และมีปรากฏในตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” และ “ยาหอมเทพจิตร”ซึ่งมีสรรพคุณในการแก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น แก้ลมวิงเวียน แก้ไข้ แก้ลมจุกแน่นท้อง และตำรับ “ยาประสะกานพลู” ซึ่งช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ และแก้อาการปวดท้อง(ราก)[4]
3. ราก สามารถทำเป็นยาแก้ปวด บวมแดง(ราก)[1],[3]
4. นำราก มาทำเป็นยาแก้อาการทางผิวหนังต่างๆได้(ราก)[1],[3],[5]
5. ที่จีนมีการใช้มาทำเป็นยาเกี่ยวกับระดู เช่น ใช้เป็นยาแก้ตกขาวของสตรี (ราก)[1],[3],[5]
6. ช่วยทำให้หัวใจชุ่มชื่นได้ เป็นยาบำรุงหัวใจ(ราก)[2],[3],[5]
7. ในจีนมักใช้ราก เป็นยาแก้ไข้หวัดคัดจมูก และตำราไทยก็ใช้เป็นยาแก้อาการไอ แก้หืด แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น(ราก)[2],[3],[5]
8. ข้อมูลจากตำรายารักษาไซนัส ระบุว่าโกฐสอ 10 กรัม, ซิงอี๊ 10 กรัม, อึ่งงิ้ม 10 กรัม, กัวกึ้งอีก 20 กรัมและซังหยือจี้ 8 กรัม มาต้มกับน้ำทานเช้าเย็น 3-5 เทียบจะช่วยในการรักษาได้(ราก)[1],[3],[5]
9. ใช้ทำเป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้ ด้วยการนำรากมาทำโดยจะออกฤทธิ์ต่อธาตุ ม้าม และปอด(ราก)[1]
10. มีการนำมาใช้ในเครื่องยา “พิกัดโกฐ” สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ บำรุงกระดูก บำรุงเลือด ช่วยชูกำลัง และขับลมได้(ราก)[4]
11. อยู่ในตำรับ “ยาจิตรการิยพิจรูญ” ใช้เป็นยาแก้หืด ไอ อาการม้ามโต แก้ลมอัมพาต แก้ริดสีดวงผอมเหลืองได้(ราก)[4]
12. พบว่าการใช้โกฐสอ 30 กรัม ต้มกับน้ำทานวันละ 2 ครั้งสามารถเป็นยาแก้ปวดกระดูกสันหลังขึ้นหัวได้(ราก)[1]
13. ราก มีสรรพคุณช่วยสร้างเนื้อเยื่อให้แผลหายเร็ว และยังใช้เป็นยาขับฝีมีหนอง ทำให้หนองแห้งได้(ราก)[1]
14. ช่วยแก้ริดสีดวงทวารมีเลือด หรือเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนักได้ (ราก)[1],[3]
15. ใช้รากเป็นยาขับลมได้[1]
16. ราก ช่วยในการแก้เสมหะเป็นพิษ แก้หลอดลมอักเสบ แก้สะอึกได้[3]
17. ราก สามารถนำมาทำเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกได้[3]
18. ราก ใช้แก้อาการปวดฟันและทำเป็นยาแก้ปวดศีรษะได้[1],[3],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐสอ”. หน้า 110.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐสอ”. หน้า 216.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐสอ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [09 มิ.ย. 2015].
4. บทที่ 3 ศักยภาพการปลูกพืชสมุนไพรจีนในประเทศไทย. (สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร). “โกฐสอ”. หน้า 42-46.
5. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://alchetron.com/

โกฐหัวบัว สรรพคุณเป็นยาขับลม แก้อาการแน่นหน้าอก

0
โกฐหัวบัว
โกฐหัวบัว สรรพคุณเป็นยาขับลม แก้อาการแน่นหน้าอก เป็นไม้ล้มลุก ดอกย่อยสีขาวขนาดเล็ก มีขนเล็กน้อยที่เส้นใบ เหง้ามีผิวขรุขระสีน้ำตาลอมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน รสขม
โกฐหัวบัว
เป็นไม้ล้มลุก ดอกย่อยสีขาวขนาดเล็ก มีขนเล็กน้อยที่เส้นใบ เหง้ามีผิวขรุขระสีน้ำตาลอมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน รสขม

โกฐหัวบัว

โกฐหัวบัว ใช้ส่วนข้อของลำต้นในการขยายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชอบดินหนาและลึก ชอบอากาศร้อนชื้น [4],[5] ชื่อสามัญ Selinum[2], Szechuan lovage[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Ligusticum striatum อยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ ชวงชวอง ชวนโซยงวิง(จีนกลาง), ชวงเกียง (จีนแต้จิ๋ว)เป็นต้น[1],[5]

ลักษณะของโกฐหัวบัว

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีกลิ่นหอม ลำต้นตั้งตรงมีความสูงราวๆ 30-80 เซนติเมตร ส่วนโคนต้นจะเป็นข้อๆและมีรากฝอยงอกอยู่บริเวณข้อ จะแตกกิ่งก้านมากบริเวณช่วงบน[1],[5]
  • ดอก เป็นช่อแบบซี่ค้ำร่มมีหลายชั้น มีดอกย่อยสีขาวขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปกลมรี มีกลีบดอก 5 กลีบ ช่อดอกจะออกบริเวณกิ่ง มีเกสรตัวอยู่ 5 อัน[1],[5]
  • ใบ ออกเรียงเวียนประกอบแบบขนนกมี 2-3 ชั้น มีแฉกท้ายสุดเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน มีรอยหยักลึกสุดแบบขนนกที่ขอบใบ ก้านใบยาว 20 เซนติเมตร โคนก้านแผ่ออกเป็นกาบ ใบที่อยู่ใกล้โคนต้นจะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ความกว้างราวๆ 15 เซนติเมตรและยาว 20 เซนติเมตร[5] มีขนเล็กน้อยที่เส้นใบ ส่วนหน้าและหลังใบไร้ขน[1]
  • ผล เป็นรูปไข่หรือกลมรี มีสองลูกเป็นห้าเหลี่ยมและในเหลี่ยมมีท่อน้ำมันอยู่ 1 ท่อ[1],[5]
  • เหง้า มีลักษณะออกกลมคล้ายกำปั้น มีผิวขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำไม่สม่ำเสมอ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-7 เซนติเมตร ข้อป่อง ปล้องสั้น ผิวด้านนอกเหี่ยวย่น สาก เนื้อแน่น หักยาก เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง รอยหักจะมีสีเหลืองอมเทาหรือขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุนที่รุนแรง มีท่อน้ำมันกระจายอยู่ทั่ว รสขม มันและหวานในภายหลัง ชาเล็กน้อย และเป็นส่วนที่นำมาทำเป็นยา[1],[4]

ประโยชน์ของโกฐหัวบัว

  • ค้นพบว่า สารสกัดจากเหง้ามีประสิทธิภาพในการไล่ยุงสูง ใช้ป้องกันยุงกัดได้ถึง 6.5 ชั่วโมง และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการแพ้ใด ๆ จึงสามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างสารไล่ยุง เพื่อทดแทนสารเคมีไล่ยุงชนิดต่างๆได้ ข้อมูลจากทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[6]
  • ดอกถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางแต่งหน้า[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • พบว่าใช้ในการลดระดับความดันในเส้นเลือดได้ ทดลองโดยนำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของหัวใจที่แยกออกจากร่างของกระต่ายและหลอดเลือดหัวใจของกระต่ายเกิดการขยายตัว[1]
  • มีน้ำมันระเหยง่ายอยู่ประมาณ 2% ซึ่งจะมี cnidic acid, cnidium lactone และชันที่มีรสเปรี้ยว และยังมีสาร phthalide หลายชนิดเช่น ferulic acid, crysophanol, butylpthalide, butylidenephthalide, 3-butylidine-7-hydroxyphthalide, wallichilide, spathulenol, tetramethylpyrazine, senkyunolide A, perlolyrine, sedanonic acid, neocni-dilide, ligustilideเป็นต้น[4],[5]
  • เมื่อใช้น้ำที่สกัดได้จากเหง้า นำมาฉีดเข้าไปในมดลูกของกระต่ายที่กำลังตั้งครรภ์
    สามารถนำเหง้าที่สกัด มาฉีดในมดลูกของกระต่ายที่กำลังตั้งครรภ์พบว่ามดลูกบีบตัวอย่างแรง และเมื่อฉีดมากเกินไปจะทำให้ การบีบตัวของมดลูกเกิดอาการชาและหยุดการบีบตัว[1]
  • ช่วยป้องกันการขาดออกซิเจนในเลือด อาการอักเสบ ต้านอาการปวด ช่วยขับเหงื่อ ขับประจำเดือน ช่วยทำให้นอนหลับได้นาน และยังสามารถลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และมดลูกได้ [4]
  • พบสารจำพวก Chidiumlantone, Phenols, Ferulic acid, Folic acid, Cnidlide กับน้ำมันระเหยและอัลคาลอยด์(Alkaloid)ในเหง้าโกฐหัว[1]

สรรพคุณของโกฐหัวบัว

1. มีการใช้ใน “พิกัดจตุวาตะผล” ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ยาบำรุงธาตุ แก้ตรีสมุฏฐาน แก้พรรดึก แก้ลมกองริดสีดวง ขับผายลม(เหง้า)[4]
2. จัดอยู่ในตำรับ“ยาหอมนวโกฐ”และ“ยาหอมเทพจิตร” ซึ่งสามารถช่วยแก้อาการหน้ามืด คลื่นเหียน อาเจียน ตาลาย ใจสั่น แก้ลมจุกแน่นในท้อง แก้อาการหน้ามืดได้(เหง้า)[4]
3. ช่วยลดความดันในเส้นเลือดและทำให้เส้นเลือดในหัวใจขยายตัวได้ เมื่อนำมาเข้าตำรายารักษาโรคหัวใจ(เหง้า)[1]
4. สามารถเป็นยาทำให้หายปวดเมื่อยตามร่างกายและขับลมชื้นในร่างกายได้ ด้วยการใช้เข้ากับตำรายาจีน(เหง้า)[1]
5. เหง้านำมารักษาอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมาไม่ปกติได้(เหง้า)[1],[5]
6. ใช้เหง้าในการแก้อาการปวดหัวใจได้(เหง้า)[1]
7. นำมาทำเป็นยาแก้เสมหะได้(ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[3]
8. เหง้าใช้เป็นยาฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้เลือดน้อย แก้โรคโลหิตจาง ช่วยกระจายการตีบของเส้นเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียน เหง้ามีรสเผ็ด ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม(เหง้า)[1],[3],[4],[5]
9. ในตำรับยาสมุนไพรประจำบ้าน เช่น “ยาประสะเปราะใหญ่”(ถอนพิษไข้ตานแทรกสำหรับเด็ก) , “ยาวิสัมพยาใหญ่” (แก้อาการท้องขึ้นท้องเฟ้อ), “ยาหอมเทพวิจิตร” (บำรุงหัวใจ แก้ลม), “ยามันทธาตุ” (แก้ธาตุไม่ปกติ)
10. ปรากฏการใช้ในตำรับ “ยาทรงนัตถุ์” ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้วิงเวียน อาการปวดศีรษะ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา แก้สลบ อีกทั้งยังอยู่ในตำรับ“มโหสถธิจันทน์”ซึ่งเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด (เหง้า)[4]
11. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับลม แก้หืดไอ บำรุงกระดูก บำรุงโลหิต ซึ่งจัดอยู่ในพิกัดโกฐได้แก่ โกฐทั้งห้า โกฐทั้งเจ็ด และโกฐทั้งเก้า(เหง้า)[2]
12. ใบ สามารถช่วยในการขับพยาธิในท้อง ขับลม แก้บิด ฆ่าเชื้อ แก้โรคประสาท แก้ไอ และใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้ท้องร่วงและแก้หวัดได้ โดยใบมีกลิ่นที่หอมชื่นใจ(ใบ)[5]
13. เหง้าสามารถนำมาทำเป็นยาแก้ปวด[1] แก้อาการปวดจากเลือดคั่ง[5] แก้ปวดกระดูก ปวดข้อ แก้ฟกช้ำและอาการปวดเจ็บต่างๆ(เหง้า)[4],[5]
14. มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้อาการแน่นหน้าอก จุกเสียดแน่นท้อง [1],[2] อีกทั้งยังใช้ในการ ขับลมในลำไส้ แก้ลม กระจายลมทั้งปวง(เหง้า)[3],[4],[5]
15. มีการนำเหง้ามาเป็นยาแก้ไอ แก้หวัด วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด อาเจียนเป็นเลือด ในประเทศจีน (เหง้า)[4],[5]
16. เป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแก้อาการปวดศีรษะโดยเฉพาะ ใช้เข้ากับตำรายาจีนจะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดศีรษะได้มากขึ้น (เหง้า)[1],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐ หัว บัว”. หน้า 112.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐ หัว บัว Selinum”. หน้า 216.
3. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโกฐหัวบัว”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [08 มิ.ย. 2015].
4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐ หัว บัว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [08 มิ.ย. 2015].
5. บทที่ 3 ศักยภาพการปลูกพืชสมุนไพรจีนในประเทศไทย. (สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร). “โกฐหัวบัว”. หน้า 71-73.
6. ไทยรัฐออนไลน์. “สมุนไพรไทยสุดเจ๋ง! ทีมนักวิจัย มช. ค้นพบเหง้าโกฐหัวบัว ไล่ยุงดีสุด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [08 มิ.ย. 2015].
7. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://alchetron.com

โกฐเขมา ประโยชน์และสรรพคุณที่ควรรู้

0
โกฐเขมา
โกฐเขมา ประโยชน์และสรรพคุณที่ควรรู้ เป็นไม้ล้มลุกมีกลิ่นที่หอม ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อกระจุก ใบเดี่ยวเรียงเวียน เหง้าทรงกระบอกผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อขาวขุ่น รสเผ็ดร้อน
โกฐเขมา
เป็นไม้ล้มลุกมีกลิ่นที่หอม ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อกระจุก ใบเดี่ยวเรียงเวียน เหง้าทรงกระบอกผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อขาวขุ่น รสเผ็ดร้อน

โกฐเขมา

ชื่อสามัญ Atractylis[2], Atractylodes[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Atractylodes lancea (Thunb.) DC.อยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ชางซู่ ชางจู๋ (จีนกลาง), ชางตุ๊ก ซังตุ๊ก (จีนแต้จิ๋ว), โกฐหอม (ไทย)เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะโกฐเขมา

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีกลิ่นที่หอม ความสูงราวๆ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นกลมเป็นร่อง จะแตกกิ่งเฉพาะตอนบน มีขนเล็กน้อยคล้ายกับใยแมงมุม มีรากพิเศษจำนวนมากขนาดเท่าๆกัน เหง้าตั้งขึ้นหรือทอดนอน สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่หลากหลาย ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี กระจายพันธุ์ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย[1],[3],[4]
  • ดอก เป็นดอกช่อ มีช่อกระจุกแน่นอยู่ตามปลายกิ่ง ออกเดี่ยวหรือหลายช่อ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร วงใบประดับซ้อนกันแน่นเป็นรูประฆังมี 5-7 แถว มีขนขึ้นที่ขอบเล็กน้อยลักษณะคล้ายกับใยแมงมุม ใบประดับวงในเป็นรูปรีถึงรูปแถบ อาจมีสีแดง ความยาว 1.1-1.2 เซนติเมตรและกว้าง 2-3 มิลลิเมตร และมีใบประดับกลางเป็นรูปไข่แกมรี ความยาว 2-3 มิลลิเมตรและกว้าง 3-4 มิลลิเมตร ส่วนใบประดับที่อยู่วงนอกสุดเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาว 3-6 มิลลิเมตรและกว้าง 2-3 มิลลิเมตร ฐานดอกมีด้านบนแบน มีเกล็ดที่หนาแน่น ดอกมีสีขาวขนาดเล็กและสมบูรณ์เพศ โคนมีขนาด 7-8 มิลลิเมตรติดกันเป็นวง กลีบเลี้ยงมี 1 แถวเป็นขนสีน้ำตาลถึงขาวหม่น ความยาวโดยประมาณของกลีบดอกคือ 9 มิลลิเมตร มี 5 หยักอยู่ที่ปลาย มีเกสรตัวผู้ติดที่หลอดกลีบดอก 5 อัน ใต้วงกลีบมีรังไข่ 1 ช่อง มีขนนุ่มที่ยอดเกสรตัวเมีย เกสรตัวเมียเป็นสามเหลี่ยมจะแยกเป็น 2 แฉกและมียอดเกสรที่สั้น[1],[4]
  • ใบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษมีลักษณะเป็นรูปหอก ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบที่กลางต้นเป็นรูปไข่กลับ รูปรีแคบหรือหอกกลับ และใบที่ใกล้โคนต้นเป็นรูปไข่ ยาว 8-12 เซนติเมตรและกว้าง 5-8 เซนติเมตร เป็นหยักแบบขนนกที่ขอบใบ 3-5 แฉก ปลายแฉกเป็นรูปกลม รูปไข่ หรือรูปรี และแฉกข้างเป็นรูปไข่กลับแกมรี มีหน้าใบสีเขียวเข้ม ก้านใบจะสั้น และมีคราบสีขาวเกาะบริเวณหลังใบ[1],[4]
  • ผล เป็นรูปไข่กลับ ลักษณะแห้งเมล็ดล่อน ออกดอกและกลายเป็นผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม[4]
  • เหง้า เป็นรูปทรงกระบอกมีลักษณะกลมหรือยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร มีผิวขรุขระเป็นปุ่มปม เปลือกนอกมีสีออกน้ำตาล คล้ายผิวมะกรูด ตามขวางมีรอยบิดและรอยย่น เนื้อในแน่น หัวที่ฝานออกใหม่ๆจะมีเนื้อในเป็นสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอมเฉพาะ มีแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปราย มีรสเผ็ดร้อน และหวานอมขมเล็กน้อย เหง้าใต้ดินจะถูกเรียกว่า “โกฐเขมา” จะช่วยทำให้ยาดองเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม[1],[3],[4]

การเตรียมยา

1. นำโกฐแห้งมาแช่น้ำล้างให้สะอาดจากนั้นนำไปใส่ภาชนะและปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม และสุดท้ายนำมาหั่นเป็นแว่นหนาๆแล้วทำให้แห้ง[5]
2. ผัดเกรียม ให้นำโกฐแห้งมาผัดด้วยไฟปานกลางจนผิวมีสีน้ำตาลไหม้ จากนั้นพรมน้ำลงไปเล็กน้อยและผัดต่อด้วยไฟอ่อนๆจนแห้ง สุดท้ายนำออกมาทิ้งให้เย็นแล้วร่อนเอาเศษเล็กๆออกมา จะมีรสเผ็ด และช่วยให้การทำงานของลำไส้แข็งแรง[5]
3. ผัดรำข้าวสาลี นำรำข้าวสาลีมาใส่ในภาชนะและให้ความร้อนจนมีควันออกมาด้วยไฟปานกลาง ต่อมาให้ใส่โกฐแห้งลงไปแล้วคนอย่างรวดเร็วจนผิวยาเป็นสีเหลืองเข้ม สุดท้ายให้นำออกมาร่อนเอารำข้าวสาลีออกทิ้งไว้ให้เย็น จะช่วยทำให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น[5]

วิธีการใช้

  • ใช้โดยการนำเหง้ามาต้มกิน ครั้งละ 5-12 กรัม หรือใช้ในตำรับยาร่วมกับยาอื่นๆ[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • การทดสอบนำน้ำโกฐต้ม ฉีดเข้าทางเส้นเลือดใหญ่ของคางคกพบว่าทำให้เส้นเลือดมีการขยายตัวเล็กน้อยและหากมาฉีดใส่หัวใจของคางคกพบว่าจะทำให้การเต้นของหัวใจอ่อนลง[1]
  • พบว่าสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน กดระบบประสาทส่วนกลาง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดความดันโลหิต ลดอุณหภูมิกาย ต้านการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรีย[3]
  • การทดสอบความเป็นพิษ โดยใช้สารสกัดจากเหง้าด้วยเอทานอล 50% ให้หนูทดลองกินและฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีอาการเป็นพิษแต่อย่างใด[3]
  • ทดลองนำน้ำต้มของโกฐมาป้อนให้กระต่ายเป็นเวลา 10 วัน พบว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่ายลงได้ และพอหยุดให้ยาระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่ายก็ไม่เพิ่มขึ้น[1]
  • องค์ประกอบเคมีของเหง้าพบว่าเป็นน้ำมันระเหยง่ายอยู่ประมาณร้อยละ 3.5-5.6 และมีสารประกอบที่สำคัญอยู่ในน้ำมันระเหยง่ายคือ Coumarin, β-Eudesmol, Hinesol, Elemol, Atractylodin, Atractylon, สารกลุ่ม Polyacetylene และกลูโคส วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินดี เป็นต้น[1],[3],[4]

สรรพคุณของโกฐเขมา

1. มีปรากฏการใช้ในตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ซึ่งเป็นตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต โดยมีสรรพคุณช่วยแก้อาการหน้ามืด แก้ลมวิงเวียน ตาลาย ใจสั่น อาเจียน อีกทั้งยังปรากฏการใช้ในตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาการท้องอืดเฟ้อและอุจจาระธาตุพิการ[3]
2. มีฤทธิ์ขับลมและความชื้น ช่วยแก้อาการอาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย จุกเสียด ช่วยเสริมระบบการย่อยอาหารและบรรเทาอาการไข้หวัดจากลมเย็นหรือความชื้น อีกทั้งยังสามารถรักษาอาการปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ข้อมูลจากตำราการแพทย์แผนจีน[5]
3. ใช้ในการแก้ผดผื่นคันได้[1]
4. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย และท้องร่วง[1],[3]
5. ใช้รักษาโรคในปากในคอได้[2],[3],[4]
6. มีสรรพคุณในการระงับอาการหอบคล้ายยาอีเฟรดริน[3],[4]
7. เหง้าช่วยในการบำรุงธาตุ เป็นยาบำรุงกำลังและทำให้เจริญอาหาร มีรสเผ็ดขมหอม[1],[3],[4]
8. จัดอยู่ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยมีสรรพคุณในการ เป็นยาแก้ไข้ แก้หอบ แก้หืดไอ แก้ลมในกองธาตุ เป็นยาชูกำลัง บำรุงกระดูก บำรุงโลหิต[3],[4]
9. เป็นที่นิยมมากในวงการแพทย์แผนโบราณของจีน สามารถใช้เข้ายาจีนหลายขนาน โดยจะใช้ทำเป็นยาแก้อาการ ท้องร่วง แก้ข้อ แก้หวัด แก้โรคตาบอดตอนกลางคืน แก้บวม ขนาดที่ใช้ประมาณ 3-9 กรัม[3],[4] และยังมีการนำมาใช้ในตำรายาแก้ตับอักเสบอีกด้วย[1]
10. ช่วยแก้อาการขาปวดบวม ขาไม่มีแรง แก้โรคเข้าข้อ และอาการปวดข้อ[3],[4]
11. นำมาทำเป็นยาขับปัสสาวะได้[3],[4]
12. เหง้า มีสรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ อีกทั้งยังช่วยในการย่อยอาหารในกระเพาะ และแก้เสียดแทงสองราวข้าว[1],[2],[3]
13. ใช้ในการขับเสมหะ และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน[1]
14. สามารถใช้แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ แก้เหงื่อออกมาก แก้ลมตะกัง แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง[3],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐ เขมา”. หน้า 102.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐเขมา Atractylis”. หน้า 217.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐเขมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [11 มิ.ย. 2015].
4. บทที่ 3 ศักยภาพการปลูกพืชสมุนไพรจีนในประเทศไทย. (สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร). “โกฐเขมา”. หน้า 51-54.
5. เพจบ้านสุขภาพดี คลินิกแพทย์แผนไทย. “โกฐเขมา: Cangzhu (苍术)”.
6. https://medthai.com/

โกฐก้านพร้าว ช่วยขับลม บำรุงกระดูก

0
โกฐก้านพร้าว
โกฐก้านพร้าว ช่วยขับลม บำรุงกระดูก เป็นไม้ล้มลุก ใบออกเป็นกระจุกใกล้เหง้า ดอกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนใบ ดอกมีสีม่วงเข้มหรือสีม่วงน้ำเงิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อในเป็นสีดำ
โกฐก้านพร้าว
เป็นไม้ล้มลุก ใบออกเป็นกระจุกใกล้เหง้า ดอกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนใบ ดอกมีสีม่วงเข้มหรือสีม่วงน้ำเงิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อในเป็นสีดำ รสขม

โกฐก้านพร้าว

ชื่อสามัญ Picorrhiza[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Picrorhiza kurroa Royle ex Benth.อยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ โอ่วไน้, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, กะฎุกะ, หูหวางเหลียน (จีนกลาง)เป็นต้น[1],[3]

หมายเหตุ
โกฐก้านพร้าวพันธุ์จากอินเดียมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picrorhiza kurroa Royle ex Benth.
ส่วนโกฐก้านพร้าวพันธุ์จากทิเบตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picroriza scrophulariora Pennell. ซึ่งทั้งสองพันธุ์นี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้[1]

ลักษณะของโกฐก้านพร้าว

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก อายุ 1-2 ปี ความสูงของลำต้นราวๆ 5-10 เซนติเมตร[1] นิยมปลูกกันมากในจีน มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของป่าหิมพานต์ประเทศอินเดีย [3]
  • ดอก เป็นช่อมีสีม่วงน้ำเงินหรือม่วงเข้ม ก้านดอกยาว ดอกจะออกแทงขึ้นมาจากโคนใบ[1]
  • ใบ เป็นรูปกลมรีเหมือนช้อนออกติดกับราก ใบซ้อนกันเหมือนใบดอกบัว มีขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ความกว้างของใบ 0.6-2.5 เซนติเมตร ความยาวของใบ 1-5 เซนติเมตร[1]
  • ผล เป็นรูปไข่กลม มีเมล็ดยาวราวๆ 1.2 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่สีดำเงา[1]
  • เหง้าหรือรากแห้ง ส่วนที่ถูกนำมาทำเป็นยา ลักษณะกลมยาว ขรุขระ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ความยาว 3-6 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายหางหนูมะพร้าว มีข้อคล้ายกับตะไคร้อยู่ 5-8 ข้อแต่จะเล็กกว่า มีขนขึ้นตามข้อ มีวงๆเป็นแผลของตา ผิวมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมเทาเข้ม เนื้อนิ่ม อาจมีตาหรือส่วนของลำต้นติดอยู่บ้าง มีรอยย่นอยู่ตามแนวยาวของราก ตามขวางมีรอยแตก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเนื้อในเป็นสีดำ[1],[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดจากรากถูกใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อและตับอักเสบนอกจากนี้ยังใช้ในการต่อต้านเชื้อได้หลายอีกชนิด[1]
  • มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด ช่วย ปรับระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเครียด ขับปัสสาวะ แก้แพ้ ขยายหลอดลม ป้องกันการเกิดเนื้องอก ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ต้านออกซิเดชัน ฯลฯ ข้อมูลจากการศึกษาทางเภสัชวิทยา[3]
  • พบสาร Picroside, Rutkisterol, Vanillic acid, Cuthartic acid, Kutkin, Kutkisterol, D-Mannitalm ส่วนในผลพบแป้ง โปรตีน วิตามินซี และน้ำตาล[1]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ โดยใช้สารสกัดเหง้าด้วยเอทานอล 50% ให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูทดลองในขนาดเท่ากัน ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ[3]
  • ต้มกับน้ำ สัดส่วน 1 ต่อ 4 พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี[1]
  • พบสารขมที่ชื่อว่า Picrorrhizin ปริมาณมากในโกฐก้านพร้าว อีกทั้งยังมีสารที่แสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหลายชนิด, สารในกลุ่ม iridoid glycosides, aucubin และสารอื่นๆ[3]

สรรพคุณของโกฐก้านพร้าว

1. นำมาใช้ในเครื่องยาไทยชื่อว่า “พิกัดโกฐ” โดยมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หอบ แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ลมในกองธาตุ ใช้เป็นยาชูกำลัง ช่วยขับลม บำรุงกระดูก บำรุงโลหิต[3]
2. ใช้แก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัวได้[1]
3. นำมาเป็นยารักษาโรคบิดชนิดปวดท้องน้อยได้[1]
4. ช่วยแก้หอบเพราะเสมหะเป็นพิษได้ ด้วยการใช้รากและเหง้ามาทำ[2],[3]
5. รากนำมาใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาได้ รากมีรสขม เป็นยาเย็นจัด ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ใหญ่ และตับ[1],[3]
6. ข้อมูลจากตำราอายุรเวทของอินเดียระบุไว้ว่า หากใช้น้อยจะเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยบำรุงธาตุและทำให้เจริญอาหาร และหากใช้มากจะเป็นยาบำรุง และเชื่อว่าช่วยในการรักษาไข้จับสั่นและช่วยขับน้ำดีได้[3]
7. ปรากฏการใช้ในตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ”ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้อาการหน้ามืด แก้ลมวิงเวียน ใจสั่น ตาลาย คลื่นเหียนอาเจียน และแก้ลมจุกแน่นในท้อง[3]
8. ใช้ในการแก้ริดสีดวงทวาร[1]
9. ใช้ทำเป็นยาแก้ลมได้ด้วยการนำรากมาทำ[3] อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยขับความชื้นในร่างกาย[1]
10. สามารถใช้เป็นยาลดไข้ แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ไข้เรื้อรัง แก้อาเจียน แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้ซางตัวร้อนในเด็ก และแก้อาการเหงื่อออกไม่รู้ตัว[1],[2],[3]

ปริมาณและวิธีการใช้

  • นำมาบดเป็นยาผง ทานครั้งละ 0.5-1.5 กรัม โดยนำมาต้มกับน้ำทานครั้งละ 3-10 กรัม[1]

ข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่มีธาตุอ่อน ไม่ควรทานสมุนไพรชนิดนี้เกินขนาดหรือทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐ-ก้าน-พร้าว”. หน้า 100.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐ-ก้าน-พร้าว Picorrhiza”. หน้า 217.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐ-ก้าน-พร้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [12 มิ.ย. 2015].
4. https://medthai.com