Home Blog Page 22

โกฐกระดูก เปลือกใช้ทำเป็นยาแก้โลหิตจาง

0
โกฐกระดูก
โกฐกระดูก เปลือกใช้ทำเป็นยาแก้โลหิตจาง เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ดอกสามเหลี่ยม สีดอกขาว สีม่วงเข้ม ผลเป็นเส้นแบน
โกฐกระดูก
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ดอกสามเหลี่ยม สีดอกขาว สีม่วงเข้ม ผลเป็นเส้นแบน

โกฐกระดูก

(ตำรายาโบราณบางเล่มก็เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า “โกฐหอม”) ชื่อสามัญ Costus[2],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Aucklandia lappa DC. อยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[5] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ มู่เชียง มู่เซียง (จีนกลาง),บักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น[1],[5]

ลักษณะของโกฐกระดูก

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีความสูงราวๆ 1-2 เมตร มีขนขึ้นปกคลุมลำต้น ลำต้นไม่แตกกิ่งก้านสาขามีขนาดเล็ก มีอายุหลายปี[1],[3]
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกออกติดกับโคนใบ ความยาวของก้านดอกมีขนาดราวๆ 30-100 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม เล็กๆ มีกลีบดอก 10 ชั้นต่อหนึ่งดอก เป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกขาว ดอกมีสีม่วงเข้ม ความยาวกลีบดอกมีขนาด 9-25 มิลลิเมตร ในดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน คล้ายกับดอกบานไม่รู้โรย[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย โคนใบเว้าเข้าหากัน ใบขนาดใหญ่ กว้าง 15-30 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร ก้านใบยาว มีขนหยาบๆขึ้นปกคลุมหน้าใบ หน้าใบมีสีเขียว หลังใบมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง[1]
  • ผล เป็นเส้นแบนๆมีความยาวราวๆ 6 มิลลิเมตร ผลตอนแก่จะแตกออก[1]

หมายเหตุ

โกฐกระดูกเป็นชื่อเรียกของส่วนของรากที่นำมาใช้เป็นยา โดยเป็นรากสะสมอาหารขนาดใหญ่ มีเนื้อแข็ง เป็นสีเทาถึงน้ำตาล เป็นรูปกระสวยทรงกลมยาว คล้ายกระดูก มีรอยแผลเป็นรากแขนงอยู่ด้านข้าง มีร่องตามยาวและมีรอยย่นชัดเจน มีร่องไขว้กันคล้ายร่างแหบริเวณผิวนอก มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 0.5-5 เซนติเมตร และมีความยาว 5-10 เซนติเมตร รอยหักอาจพบรากแขนงบ้างเล็กน้อย รอยเป็นสีน้ำตาลอมเทาไปถึงน้ำตาลเข้ม หากนำมาผ่าแนวตามขวาง จะมีเนื้อในรากแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนในที่เป็นเนื้อราก และส่วนนอกที่บางกว่า มีรสหวาน มัน ขม และมีกลิ่นเฉพาะที่หอมชวนดม[1],[5]

สรรพคุณของโกฐกระดูก

1. มีการใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม เป็นยาชูกำลัง บำรุงกระดูก บำรุงโลหิต แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ [5]
2. ราก สามารถใช้ทำยาแก้ปวดได้(ราก)[5]
3. ข้อมูลจากตำรับยาแก้อาการปวดท้องของโรคบิด ระบุว่าให้ใช้โกฐกระดูก 10 กรัม ฟ้าทะลายโจร 10 กรัม นำมาบดเป็นผงรวมกันชงกับน้ำรับประทาน และข้อมูลจากตำรับยาแก้ปวดกระเพาะระบุว่าใช้โกฐกระดูก 30 กรัม, ข่าลิง 30 กรัม, ดีปลี 30 กรัม, อบเชย 8 กรัม, ลิ้นทะเล 100 กรัม, ส้มมือ 15 กรัม, หนังกระเพาะไก่ 30 กรัม นำมาบดรวมกันเป็นผงทานครั้งละ 8 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง (ราก)[1]
4. ใช้แก้ลมในกองเสมหะ แก้หืดหอบได้(ราก)[3],[5]
5. รากใช้ในการทำเป็นยาหอมรับประทานแก้ลมวิงเวียน แก้โรคโลหิตจาง ขับลมในลำไส้ ตาลาย หน้ามืดได้(ราก, เปลือกราก)[3],[5]
6. ราก ใช้ในการบำรุงกระดูกได้(ราก)[5]
7. สามารถนำมาทำเป็นยาลดไขมันในเลือด[4] และยังสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย(ราก)[3]
8. มีการใช้ในยาหลายตำรับเช่นในตำรับยา “พิกัดตรีทิพย์รส” ที่ช่วยในการบำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ และช่วยแก้ลมในกองเสมหะ , ตำรับยา “พิกัดสัตตะปะระเมหะ” ช่วยในการชำระเมือกมันในลำไส้ แก้อุจจาระธาตุลามก เป็นยาชำระมลทินโทษให้ตกไป[5]
9. ใช้เป็นส่วนผสมในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม โดยปรากฏการใช้ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) อีกทั้งยังมีในตำรับ “ยาประสะกานพลู” ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย และมีปรากฏอยู่ในตำรับ“ยาหอมนวโกฐ”และ “ยาหอมเทพจิตร” สามารถช่วยแก้อาการตาลาย หน้ามืด ใจสั่น แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้องได้[5]
10. ทำเป็นยาฆ่าเชื้อไทฟอยด์และฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ โดยใช้ผงจากราก (ราก)[1]
11. สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ กระเพาะ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วย แก้อาการจุกเสียด ช่วยขับลมชื้นและช่วยในการย่อยอาหารได้ สามารถใช้ทำให้น้ำย่อยของกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มขึ้น และยังช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ให้บีบตัว ในตำรับยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีการใช้โกฐเขมาขาว 10 กรัม, เปลือกส้ม 8 กรัมและโกฐกระดูก 10 กรัม โดยการนำต้มน้ำรับประทาน(ราก)[1],[2] ทำเป็นยาขับลมในลำไส้ได้ โดยใช้ส่วนเปลือกราก(เปลือกราก)[3]
12. ราก ใช้ทำเป็นยาแก้อาเจียนได้(ราก)[1],[2]
13. เปลือกรากใช้ทำเป็นยาแก้โลหิตจางได้(เปลือกราก)[3]
14. สามารถทำเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้นได้
15. รากเป็นยาสุขุมออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ ลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหาร[1] อีกทั้งรากยังใช้เป็นยาบำรุงโลหิตได้อีกด้วย(ราก)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีการใช้สารสกัดจากรากในหนูทดลอง พบว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูได้ ข้อมูลการทดลองในปี ค.ศ.1981 ที่ประเทศอินเดีย[3]
  • ให้หนูทดลองกินสารสกัดจากรากด้วยเอทานอล 50% ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมและให้โดยการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูทดลองขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สรุปว่าไม่พบอาการเป็นพิษ[5]
  • สารสกัดด้วยเอทานอลจากราก ความเข้มข้น 0.5 – 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดของแบคทีเรีย ยับยั้งการยึดเกาะของแบคทีเรียต่อแผ่นโมเดล hydroxyapatite beads ที่เคลือบด้วยน้ำลายและการสังเคราะห์กลูแคน และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ที่เป็นสาเหตุโรคฟันผุได้[6]
  • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ กระตุ้นการเจริญอาหาร ต้านการอาเจียน เพิ่มความจำ ขับพยาธิ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการเกิดออกซิเดชัน ต้านมะเร็ง ต้านการเกิดพิษต่อตับ คลายกล้ามเนื้อเรียบ ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ ขับน้ำดี ข้อมูลจากการศึกษาทางเภสัชวิทยา[3],[5]
  • ใช้สารสกัดจากราก มาทดลองในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง พบว่าช่วยให้การทำหน้าที่ของตับดีขึ้นและสามารถลดระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วยได้ จากการทดลองในปี ค.ศ.2006 ที่ประเทศญี่ปุ่น[4]
  • การทดลองใช้สารสกัดจากราก ในแอลกอฮอล์ขนาด 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนูทดลอง โดยทดลองในหนูทดลองเวลา 7 วัน พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ข้อมูลจากการทดลองในปี ค.ศ.1993 ที่ประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัย Banaras Hindu[3]
  • ให้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ : น้ำ (1 : 1) กับหนูถีบจักรทั้งทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่าปลอดภัย และพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดจากรากด้วยแอลกอฮอล์ : น้ำ (1 : 1) เข้าช่องท้องในขนาดมากกว่า 1 กรัมต่อกิโลกรัมจะทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง และเมื่อป้อนน้ำมันหอมระเหยแก่หนูขาวพบว่าขนาด 3.4 กรัมต่อกิโลกรัม ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง[3]
  • ใช้ต้มกับน้ำในการฆ่าเชื้อบิด และผงของโกฐกระดูกช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่และเชื้อไทฟอยด์ได้ อีกทั้งโกฐกระดูกยังใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร ธาตุอ่อน[1]
  • พบยางไม้ 6%,น้ำมันระเหยอยู่ประมาณ 0.3-3%, Saussurine,กลูโคลินในราก และในน้ำมันพบ Costus acid, Costus Lactone, Costen, Aplotaxene, Phellaudreneเป็นต้น[1] และมีอีกข้อมูลระบุไว้ว่า สารสำคัญที่พบคือ arbusculin B, amyrine stearate, amorphenic acid, alantolactone, betulin, buttric acid, balanophorine, costic acid, costal, costene, cedrol, caproic, camphene, elemol, inulin, humulene, friedelin, saussureal, saussureamine A,B,C,D, stigmasterol, syringin, selinene, sitosterol, picriside B, phellandrene, octanoic acid[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐ กระ ดูก”. หน้า 96.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐกระดูก Costus”. หน้า 216.
3. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “โกฐ กระ ดูก”. หน้า 58.
4. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “โกฐ กระ ดูก” หน้า 59-60.
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐ กระ ดูก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [12 มิ.ย. 2015].
6. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคฟันผุของโกฐกระดูก”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [12 มิ.ย. 2015].
7. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://nantes-naturopathe.fr/solution/costus-indien/

ประโยชน์และสรรพคุณของกุ่มบก

0
กุ่มบก
ประโยชน์และสรรพคุณของกุ่มบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบรูปไข่ค่อนข้างกลมออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวเหลืองจนเป็นสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีน้ำตาลแดง
กุ่มบก
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบรูปไข่ออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวเหลืองจนเป็นสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีน้ำตาลแดง

กุ่มบก

กุ่มบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และตามเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง ในไทยพบได้ที่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ระนอง และพังงา ชื่อสามัญ Sacred garlic pear, Temple plant ,Sacred barnar,Caper tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii DC. อยู่ในวงศ์ (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เดิมถะงัน ทะงัน (เขมร),ผักกุ่ม,กุ่ม,กะงัน,ผักก่าม,สะเบาถะงัน,ก่าม (ภาคอีสาน)เป็นต้น

ลักษณะของกุ่มบก

  • ต้นกุ่ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตรกิ่งก้านมักคดงอ เปลือกต้นหนา เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้ละเอียดมีสีขาวปนเหลือง อาจมีรอยแตกตามขวาง
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ใบเป็นรูปไข่รูปร่างค่อนข้างกลม ออกเรียงสลับ มีความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-11 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียว แผ่นใบค่อนข้างหนา ก้านใบร่วมยาว 7-9 เซนติเมตร
    มีเส้นแขนงของใบข้างละ 4-5 เส้น ที่ก้านใบย่อยยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร
  • ดอก เป็นแบบช่อกระจุกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นสีขาวแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือ สีชมพูอ่อน กลีบเป็นรูปรีปลายมน กว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร โดยมีเกสรตัวผู้สีม่วงอยู่ประมาณ 15-22 อัน ส่วนก้านชูเกสรตัวเมียมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร รังไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกจะออกประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม
  • ผล มีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลแดง ก้านผลกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ใน 1 ผลจะมีหลายเมล็ด
  • เมล็ด รูปไต ผิวเรียบ กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกุ่มบก

1. สามารถใช้เปลือกต้น มาลดพิษของงูได้ในขณะที่ถูกงูกัด (เปลือกต้น)
2. ราก มีสรรพคุณในการช่วยขับหนองได้
3. สามารถช่วยแก้โรคผิวหนังได้ โดยการนำเปลือกมาใช้เป็นยาทาภายนอก(เปลือกต้น, ใบ)
4. แก่น สามารถช่วยแก้ริดสีดวงทวารผอมเหลืองได้
5. เปลือกต้น สามารถช่วยในการขับน้ำดีได้
6. มีสรรพคุณในการ รักษาโรคนิ่วและช่วยในเรื่องของการขับปัสสาวะ(เปลือกต้น)
7. ใบสามารถช่วยในการขับพยาธิ หรือฆ่าแม่พยาธิได้(ใบ)
8. เปลือกต้นมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย (เปลือกต้น)
9. สามารถรักษาอาการท้องผูกได้ โดยการใช้ผลกุ่มมาทำเป็นยา(ผล)
10. สามารถใช้ดอกในการรักษาอาการเจ็บคอได้(ดอก)
11. มีสรรพคุณในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน (เปลือกต้น)
12. สามารถนำใบมาดองกับน้ำ กินช่วยแก้ลมได้ (ใบ)
13. มีสรรพคุณในการแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ, ดอก, เปลือกต้น)
14. แก่น สามารถช่วยบำรุงเลือดในร่างกาย
15. สามารถนำเปลือกต้น มาทำเป็นยาบำรุงประสาท หรือยาระงับประสาทได้ (เปลือกต้น)
16. เปลือกต้น สามารถช่วยคุมธาตุในร่างกายได้ เนื่องจากมีรสร้อน
17. ใช้ทำเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ด้วยการนำรากมาแช่น้ำ(ราก)
18. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ อาการปวด และโรคบิดได้ ด้วยการนำใบกุ่มมาลนไฟ จากนั้นเอาไปใช้ปิดหู(ใบ)
19. สามารถนำเปลือกและใบกุ่ม มาถูนวดเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นๆได้(ใบ, เปลือกราก)
20. สามารถใช้ใบกุ่มในการแก้กลากเกลื้อนได้ โดยใช้ใบนำมาตำทาบริเวณที่เป็น(ใบ)
21. เปลือกต้น มีสรรพคุณในการแก้อาการบวมได้
22. เปลือกต้น สามารถช่วยในการขับน้ำเหลืองได้
23.เปลือกต้นและเปลือกต้น ช่วยในการแก้โรคนิ่วหรือขับนิ่วได้
24. แก่น สามารถช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้
25. สามารถรักษาอาการปวดมวนท้อง การปวดท้อง แก้ลงท้องได้ โดยการใช้เปลือกกุ่มมาทำ(เปลือกต้น)
26. มีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหารได้ โดยเปลือกต้นจะมากระตุ้นลำไส้(เปลือกต้น)
27. สามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้ (ใบ,เปลือกต้น)
28. มีสรรพคุณในการแก้อาการสะอึกได้(เปลือกต้น)
29. กระพี้สามารถช่วยขับอุจจาระแห้งได้ (กระพี้)
30. สามารถช่วยในการขับเหงื่อได้ดี(ใบ)
31. ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ โดยการนำดอกและยอดอ่อนมาดอง ทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ดอก, ใบ, เปลือกต้น)
32. สามารถช่วยบำรุงหัวใจได้ โดยการใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม(ใบ, เปลือกต้น)
33. มีความสามารถในการช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกายได้ (เปลือกต้น)
34. รากสามารถช่วยแก้มานกษัยอันเกิดแต่กองลมได้

ประโยชน์ของกุ่มบก

  • มีความเชื่อว่า เป็นไม้มงคลสามารถปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนได้
    โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวบ้าน
  • สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจาก ต้นกุ่มเป็นไม้เนื้ออ่อนโตเร็ว มีทรงพุ่มสวยงาม ดอกและใบมีความงดงาม
  • ชาวฮินดูจะเรียกว่า “มารินา” ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปซักผ้าบังสุกุลที่ห่อศพนางบุณณทาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) แล้วนำไปซัก จากนั้นก็หาที่ที่จะตากผ้าบังสุกุลนี้ พฤกษเทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้โน้มกิ่งให้ต่ำลงมา เพื่อให้เป็นที่ตากจีวร
  • คนไทยสมัยก่อนมักปลูกไว้เป็นอาหารและเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยใช้ ดอก,ใบ,ผล,เปลือกต้น,กระพี้,แก่น,ราก และเปลือกราก มาใช้เป็นยาสมุนไพร

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
1. เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 187 (เดชา ศิริภัทร), เว็บไซต์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เว็บไซต์เขื่อนภูมิพล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com
2. https://efloraofindia.com

ประโยชน์และสรรพคุณของกวาวเครือแดงที่น่าสนใจ

0
กวาวเครือแดง
ประโยชน์และสรรพคุณของกวาวเครือแดงที่น่าสนใจ เป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่เลื้อยไปพันตามต้นไม้ มียางสีแดงข้นลักษณะคล้ายเลือด หัวอยู่ใต้ดินรูปทรงกระบอก
กวาวเครือแดง
เป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่เลื้อยไปพันตามต้นไม้ มียางสีแดงข้นลักษณะคล้ายเลือด หัวอยู่ใต้ดินรูปทรงกระบอก

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง เป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Butea superba Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABACEAE เหมือนกับกวาวเครือขาว จะพบตั้งแต่ชายแดนไทย-พม่าตรงถึงภาคเหนือ เป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง มีดอกเป็นสีส้มเหลืองบานสะพรั่งอยู่บนยอดดอย ปัจจุบันนั้นหาได้ไม่ง่ายนัก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาวแล้ว[8] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ กวาวเครือ ตานจอมทอง กวาวหัว จอมทอง ไพมือ เป็นต้น มีสรรพคุณในการเป็นยาอายุวัฒนะช่วยในการบำรุงร่างกาย และช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศเช่นเดียวกับยาไวอากรา

ลักษณะกวาวเครือแดง

  • เป็นพืชที่ มีหัวอยู่ใต้ดินรูปทรงกระบอก มีหลายขนาด
  • เปลือกจะมียางสีแดงข้นลักษณะคล้ายเลือด
  • ใบลักษณะคล้ายกับใบทองกวาว แต่จะมีใบที่ใหญ่กว่ามาก
  • ใบที่อ่อนจะมีขนาดเท่ากับใบของต้นสักหรือใบพลวง
  • อายุยิ่งมากเท่าไหร่เถาก็จะยิ่งใหญ่กลายมาเป็นต้น และยังมีการส่งเถาเลื้อยไปพันตามต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง
  • รากของพืชชนิดนี้มีขนาดใหญ่เท่าน่องขาเลื่อยออกมาจากต้นโดยรอบ มีความยาวประมาณ 2 วา

ประโยชน์กวาวเครือแดง

1. มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหลอดเลือด สามารถนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงรากผมได้ดี จึงมีการนำมาทำเป็นแชมพู สูตรทำให้เส้นผมแข็งแรง ป้องกันผมหงอกก่อนวัย ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม และเมื่อมาผสมกับสมุนไพรกวาวเครือขาวที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงเรื่องหนังศีรษะ ช่วยลดรังแค เมื่อนำมาใช้ทำเป็นแชมพูแล้วก็จะยิ่งทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น[4],[5]
2. สามารถนำมาใช้เพื่อทำเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสัตว์[1]
3. มีการนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพรอย่างหลากหลาย เช่น ยา ครีม เจล สบู่ ครีมนวด แคปซูล
4. สามารถใช้ใบห่อข้าวแทนใบตองได้[8]

สรรพคุณของกวาวเครือแดง

1. สามารถทำให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยกดการทำงานของหัวใจ เพิ่มความดันโลหิต และช่วยกระตุ้นการหายใจได้[3]
2. สามารถใช้เปลือกเถาในการแก้พิษงูได้ (เปลือกเถา)[1]
3..ใช้ในการแก้ตัวพยาธิได้ (ผล)[3]
4. มีฤทธิ์ในการขับเสมหะ (เปลือก)[3]
5. สามารถใช้ในการแก้ไข้ได้ (เปลือก, ทั้ง 5 ส่วน)[3]
6. ราก สามารถช่วยแก้ลมอัมพาตได้ (ราก[1], ต้น[3])
7. มีสรรพคุณในการบำรุงสายตาได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[5]
8. ช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหลอดเลือด (หัว)[4]
9. กวาวเครือช่วยทำให้หน้าอกมีขนาดที่เพิ่มขึ้น (หัว)[1]
10. ผลของกวาวเครือช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกายได้ (ผล)[3]
11. หัว สามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะ และช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย (หัว)[1]
12. ข้อมูลจากผู้จำหน่ายสมุนไพรสำเร็จรูปบอกไว้ว่า ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศชาย ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดอุดตัน ลดความอ้วน ไปช่วยลดไขมันในเส้นเลือดจึงช่วยรักษาโรคหัวใจบางชนิดได้ ทำให้ผมดกดำ[8] ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต ป้องกันมะเร็งในต่อมลูกหมาก ช่วยเสริมสร้างแคลเซียมในการสร้างกระดูก ลดเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าหัวมีสาร Flavonoids (วิตามินพี) ในปริมาณสูง ทำให้มีประโยชน์ในการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง (ผู้เขียนยังหาข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนไม่ได้ว่ามีสรรพคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่เพราะอาจมีการเข้าใจผิดกันได้ ฉะนั้นควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน)
13. สรรพคุณช่วยแก้เสมหะ แก้ลม ลมที่เป็นพิษ ดับพิษ ช่วยชำระล้างลำไส้ สมานลำไส้ แก้โรคดี แก้โรคตับ แก้ริดสีดวงทวาร และขับระดูร้าย[1]
14. ใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (หัว)[1]
15. ผลสามารถแก้อาการจุกเสียด แก้อาการลงท้อง แก้สะพั้นได้ (ผล)[3]
16. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ (ทั้ง 5 ส่วน)[3]
17. ช่วยรักษาอาการปวดฟันได้ (เปลือก)[3]
18. สามารถใช้รากและต้นในการช่วยแก้โลหิตได้ (ราก[1], ต้น[3])
19. สามารถใช้ใบและรากช่วยทำให้นอนหลับและเสพติดได้ (ราก, ใบ)[3]
20. ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยเพิ่มจำนวนของอสุจิ มีฤทธิ์เพิ่มความแข็งตัวของอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับฤทธิ์ของยาไวอากรา (Viagra) (หัว)[1],[2]
21. ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสุขภาพเนื้อหนังให้เต่งตึงได้ (หัว)[1]
22. สามารถช่วยทำให้เซลล์ต่าง ๆ มีอายุยืนยาวขึ้น ช่วยทำให้ร่างกายชะลอเวลาในการเสื่อมของเนื้อเยื่อได้[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีการศึกษาทางคลินิกของฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ มีอาสาสมัครที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอย่างน้อย 6 เดือน เมื่อรับประทานวันละ 4 แคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัมต่อแคปซูล
    เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีสมรรถภาพทางเพศที่ดีขึ้นสูงถึง 82.4% กล่าวได้ว่า สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศได้ และไม่พบการเกิดพิษแต่อย่างใด (พิชานันท์ ลีแก้ว, 2553, โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, จุลสารข้อมูลสมุนไพร)[1]
  • มีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน ช่วยทำให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยกดการทำงานของหัวใจ ช่วยกระตุ้นการหายใจ และเพิ่มความดันโลหิต[3]
  • ได้มีการทดลองในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่าการให้ผงกวาวเครือแดงขนาดมากกว่า 100 มก./กก. ต่อวัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีและพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน และในหนูทดลองที่ได้รับผงกวาวเครือขนาด 1,000 มก./กก. ต่อวัน พบว่ามีระดับเอนไซม์ Aspartate aminotransferase, Alanine aminotransferase, Alkaline phosphatase และ bilirubin ซึ่งแสดงถึงการทำงานของตับเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการให้ผงกวาวเครือแดงเพียงแค่ขนาด 10 มก./กก. ต่อวัน พบว่าไม่มีพิษต่อค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีและพยาธิสภาพของอวัยวะภายในและจากการตรวจสอบทางจุลพยาธิก็พบว่าเกิดความผิดปกติในตับหนูอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองจึงพบว่าการให้ผงในขนาด 250 มก./กก. ต่อวันหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะภายในของหนูโดยเฉพาะที่ตับ[7]
  • การศึกษาทางเภสัชวิทยาของฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลอง พบว่าหนูแรทตัวผู้ที่ได้รับในรูปแบบสารสกัดเอทานอล พบว่าความยาวขององคชาตเพิ่มขึ้น ทำให้หนูมีพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนูแรทตัวผู้ที่ได้รับในรูปแบบผงป่นละลายน้ำเข้มข้น 0.5 และ 5 มก./มล. ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ พบว่าหนูแรทมีน้ำหนักตัวและปริมาณของอสุจิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อศึกษาต่อไปอีก 6 สัปดาห์พบว่าหนูที่ได้รับในรูปของสารสกัดเอทานอล มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ Seminal Vesicles ลดลงส่วนหนูที่ได้รับแบบผงป่นละลายน้ำ มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ Seminal Vesicles ต่อมลูกหมาก ความยาวขององคชาต และพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้นเมื่อศึกษาไปในระยะยาวและในปริมาณของสารสกัดที่เพิ่มมากขึ้นก็พบว่าระดับฮอร์โมน Testosterone ลดลง และมีปริมาณเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น ดังนั้นการรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ (พิชานันท์ ลีแก้ว, 2553, โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, จุลสารข้อมูลสมุนไพร)[1]

คำแนะนำและข้อควรระวัง

  • การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดพิษต่อตับ หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ได้[1]
  • กวาวเครือชนิดหัวแดงนี้มีพิษมาก การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้ เช่น อาจมีอาการมึนเมา มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ตามที่ตำราสมุนไพรไทยระบุไว้[1]
  • ขนาดการรับประทานไม่ควรเกินวันละ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยาของประเทศไทย (อย.) ระบุไว้ [1]
  • ให้รับประทานแบบชงวันละ 2 ใน 3 ส่วนของเมล็ดพริกไทย หรือรับประทานเท่าขนาดของเมล็ดมะกล่ำใหญ่ ตามตำรับยาพื้นบ้านของภาคเหนือระบุไว้
  • มีพิษเมา[1]
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับหรือโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้สมุนไพรชนิดนี้[1]
  • กวาวเครือถูกขึ้นบัญชีเป็นสมุนไพรควบคุมประกาศของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2549 เพื่อจำกัดการครอบครองในกรณีที่ขุดจากป่าและเพาะปลูกเอง เมื่อขุดแล้วต้องปลูกทดแทน โดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้าน (40-120 กิโลกรัม) หรือหน่วยงานศึกษาวิจัยต่าง ๆ (80-240 กิโลกรัม) โรงงานอุตสาหกรรม (400-1,200 กิโลกรัม) และสำหรับเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไป (20-60 กิโลกรัม) สามารถครอบครองสมุนไพรควบคุมดังกล่าวได้ในปริมาณตามที่ระบุไว้ในประกาศตาม พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นการนำสมุนไพรกวาวเครือทุกชนิดมาใช้ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์แผนไทยและต้องคำนึงถึงกฎหมายด้วยแม้ว่าปริมาณที่รับประทานจะปลอดภัยมากกว่ายาไวอากราก็ตาม[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1.ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [16 ต.ค. 2013].
2.มูลนิธิสุขภาพไทย. “กวาวเครือแดงแรงฤทธิ์ ข่าวดีสำหรับบุรุษ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [16 ต.ค. 2013].
3.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมุนไพรในร้านขายยา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [16 ต.ค. 2013].
4.กิจการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “กวาวเครือ ใช่แค่อึ๋มปึ๋งปั๋งยังบํารุงเส้นผม“. (รศ.ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.research.chula.ac.th. [16 ต.ค. 2013].
5.โรงเรียนมัธยมบึงปรือ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: school.obec.go.th/mattayommb. [16 ต.ค. 2013].
6.หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [16 ต.ค. 2013].
7.สถาบันวิจัยสมุนไพร. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. “พิษเรื้อรังของกวาวเครือแดง“. ทรงพล ชีวะพัฒน์, ปราณี ชวลิตธำรง, สมเกียรติ ปัญญามัง, สดุดี รัตนจรัสโรจน์, เรวดี บุตราภรณ์
8.“กวาวเครือ ยอดสมุนไพรไทย“. (สันยาสี). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sanyasi.org. [16 ต.ค. 2013].
9. https://medthai.com

กวาวเครือขาว สรรพคุณช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

0
กวาวเครือขาว
กวาวเครือขาว สรรพคุณช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นไม้เลื้อย มีหัวอยู่ใต้ดิน มีรูปร่างกลม มีหลายขนาด มียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในจะมีสีขาวคล้ายมันแกว มีน้ำมาก
กวาวเครือขาว
เป็นไม้เลื้อย มีหัวอยู่ใต้ดิน มีรูปร่างกลม มีหลายขนาด มียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในจะมีสีขาวคล้ายมันแกว มีน้ำมาก

กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาว เป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับเพศหญิง สามารถพบได้มากทางภาคเหนือและอีสาน ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณและยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขจัดให้เป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Pueraria mirifica Airy Shaw & Suvat. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) เช่นเดียวกับกวาวเครือแดง ชื่ออื่น ๆ กวาวเครือขาว, เครือเขาปู้, ตาลานเครือ (ลำปาง)

ลักษณะกวาวเครือขาว

  • เป็นไม้เลื้อยหรือพืชในตระกูลถั่ว
  • เป็น 1 ใน 4 ชนิดของกวาวเครือทั้งหมด
  • มีหัวอยู่ใต้ดิน มีรูปร่างกลม มีหลายขนาด
  • หัวที่มีอายุมากจะหนักถึง 20 กิโลกรัม
  • เมื่อผ่าออกจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม
  • เนื้อในจะมีสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก
  • เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก

คำแนะนำจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

  • ไม่ควรรับประทานผงเกินวันละ 1-2 mg./ต่อน้ำหนักตัว 1 kg.
  • ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดขนาดในการรับประทานว่าห้ามเกินวันละ 100 mg.

วิธีการรับประทาน

  1. แบบแคปซูล
    – จะแบ่งรับประทานเป็นวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
    – ต้องเว้นช่วงที่มีประจำเดือนหรือต้องรอให้ประจำเดือนหมดก่อนแล้วค่อยเริ่มรับประทาน
    – สำหรับผู้ที่รับประทานยาคุมแบบ 21 เม็ดก็ให้เว้นในช่วง 7 วันที่หยุดกิน
    – สำหรับผู้ที่รับประทานยาคุมแบบ 28 เม็ดก็ให้เว้นการรับประทานในช่วงที่กินเม็ดแป้ง 7 เม็ด
  2. แบบใช้ผงผสมกับน้ำผึ้ง
    – ปั้นเป็นลูกขนาดเท่าเมล็ดพริกไทยรับประทานวันละ 1 เมล็ด

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

  • ช่วยลดและรักษาอาการ vasomotor เป็นอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยให้การเคลื่อนไหว การเดินเหินคล่องแคล่วขึ้น
  • ช่วยทำให้ช่องคลอดของหญิงวัยทองไม่แห้งด้วย
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน ปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • ช่วยรักษาอาการหมดประจำเดือนในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนที่มีอาการบกพร่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย
  • ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าของร่างกาย
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย บำรุงสมอง
  • ช่วยให้ความจำดีขึ้น สำหรับผู้ที่ผอมแห้ง
  • ช่วยทำให้ดูอ้วนท้วมสมบูรณ์ขึ้น
  • ช่วยให้รับประทานอาหารได้รสชาติอร่อยขึ้น
  • ช่วยบำรุงโลหิต ทำให้มีพลัง
  • ช่วยป้องกันโรคตาฟาง และต้อกระจก
  • ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
  • ช่วยบำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ
  • ช่วยลดสิว ฝ้า กระ
  • ช่วยสมานริ้วรอยบนใบหน้าจากความหยาบกร้าน
  • ช่วยเพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย
  • ช่วยลดความมันบนใบหน้า
  • ช่วยเพิ่มปริมาณเส้นผมและช่วยให้เส้นผมดกดำ
  • ช่วยให้ผมขาวกลับคืนสภาพปกติ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม
  • ช่วยขยายทรวงอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
  • ช่วยแก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อยให้กลับมาเต่งตึง
  • ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยลดเลือนริ้วรอยบริเวณผิวหน้าและผิวกาย
  • ช่วยในการชะลอวัย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง เปล่งปลั่งสดใส นุ่มนวลเรียบเนียน
  • ช่วยทำให้ช่องคลอดกระชับขึ้น และช่วยลดปัญหาหน้าท้อง สะโพก ต้นขาลาย

ประโยชน์ของกวาวเครือขาว

  • สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นแคปซูลและแบบครีมเพื่อช่วยขยายหน้าอกได้
  • สำหรับผู้ที่มีบุตรยาก มีความเชื่อที่ว่าจะทำให้มีบุตรง่ายขึ้น
  • จากการศึกษาทดลองในสัตว์ต่าง ๆ พบว่ามีส่วนช่วยคุมกำเนิดได้ทั้ง 2 เพศ คือ ทำให้สัตว์เพศผู้ไม่อยากผสมพันธุ์ ส่วนเพศเมียจะทำให้ช่องคลอดและมดลูกจะขยายใหญ่ ทำให้การตกไข่ถูกยับยั้ง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีสารออกฤทธิ์สำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง (Phytoestrogens) คือ miroestrol และ deoxymiroestrol
  • ช่วยกระตุ้นให้ลักษณะความเป็นผู้หญิงออกมา เช่น หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น
  • สาร miroestrol ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งสดใสแก่ผิวพรรณได้อีกด้วย
  • หากใช้ในปริมาณน้อย จะออกฤทธิ์กระตุ้นในเชิงบวก
  • หากใช้ในปริมาณมาก จะออกฤทธิ์ในการยับยั้งเสียเอง
  • ฤทธิ์ไม่ถาวร ถ้าหยุดรับประทานฤทธิ์ของกวาวเครือก็จะค่อย ๆ หมดไป

ผลข้างเคียงจากการใช้

  • หากรับประทานแล้วจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสีย
  • กวาวเครือมีพิษทำให้เมา เบื่อตัวเอง
  • หากรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
  • ควรรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องอืดร่วมด้วย
  • หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะมีผลทำให้เต้านมแข็งเป็นก้อนหรืออาจทำให้เกิดเนื้องอกจนเป็นมะเร็งเต้านมได้
  • หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เยื่อหุ้มอัณฑะหนาตัวและอาจเป็นมะเร็งอัณฑะในเพศชายได้
  • อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • ห้ามรับประทานของหมักดองเปรี้ยว ดองเค็ม
  • ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำ (ไม่เกินวันละ 100 mg.)
  • ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไปและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  • ผู้ที่ดื่มสุราและมีประวัติเป็นโรคตับ เป็นมะเร็งตับสูงไม่ควรรับประทาน
  • วัยก่อนมีประจำเดือนไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ ไม่ควรรับประทาน
  • ห้ามใช้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะตัวยาอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศและระบบประจำเดือนได้
  • ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี ไม่ควรรับประทาน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (www.thaicrudedrug.com)
2. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://ifarmer.vn/san-pham/cay-san-day-gia-si/

กระถินเทศ สรรพคุณช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และลดระดับน้ำตาลในเลือด

0
กระถินเทศ
กระถินเทศ สรรพคุณช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นพุ่มกลม สีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก ผิวหนาโค้งงอเล็กน้อย
กระถินเทศ
เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นพุ่มกลม สีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก ผิวหนาโค้งงอเล็กน้อย

กระถินเทศ

ชื่อสามัญ คือ Cassie, Cassie Flower, Huisache, Needle Bush, Sponge Tree, Sweet Acacia, Thorny Acacia[1],[3],[5],[7] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acacia farnesiana (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[7]
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เกากรึนอง (กาญจนบุรี), บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพฯ), บุหงาละสะมะนา บุหงาละสมนา (ปัตตานี), กระถินเทศ กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (ภาคเหนือ), กระถิน (ภาคกลาง), ถิน (ภาคใต้), กะถิ่นเทศ กะถิ่นหอม (ไทย), มอนคำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุหงาเซียม (มลายู-ภาคใต้), อะเจ๋าฉิ่ว (จีน-แต้จิ๋ว), ยาจ้าวซู่ จินเหอฮวน (จีนกลาง)[1],[2],[4],[5]

ลักษณะของกระถินเทศ

  • ลักษณะของต้น [1],[2],[5],[7]
    – เป็นพรรณไม้พุ่มผลัดใบขนาดย่อม
    – กิ่งมักคดไปมาแต่จะยืดจนเกือบตรงเมื่อต้นเจริญเติบโตขึ้น
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 2-4 เมตร
    – ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
    – กิ่งจะออกในลักษณะซิกแซ็ก
    – เปลือกต้นเป็นสีคล้ำน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี
    – ต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง
    – ควรปลูกในที่มีแสงแดดทั้งวัน
    – มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
    – สามารถพบได้เป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน
  • ลักษณะของใบ [1],[2],[5],[7]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ
    – แกนกลางใบประกอบยาว 4-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบยาว 1-1.3 เซนติเมตร
    – มีต่อมบนก้านใบ
    – เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-0.4 มิลลิเมตร
    – ไม่มีต่อมบนแกนกลางใบ
    – ช่อใบย่อยมี 4-7 คู่ มีความยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบย่อยยาว 2 มิลลิเมตร
    – ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน มีประมาณ 10-20 คู่
    – ใบย่อยเป็นรูปดาบ หรือรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบตัด ไร้ก้าน
    – ใบย่อยเป็นสีเขียวแก่ มีความยาวประมาณ 2-7 มิลลิเมตร
    – โคนก้านใบมีหูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมตรงและแข็ง 1 คู่ ยาว 3-5 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก [1],[5],[7]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น เป็นพุ่มกลม
    – มีหลายช่อออกเป็นกระจุก
    – ก้านช่อยาว 1.5-4.5 เซนติเมตร
    – ช่อดอกเป็นทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-1 เซนติเมตร
    – ที่โคนช่อจะมีใบประดับขนาดเล็ก 4-5 ใบ
    – ดอกย่อยไร้ก้าน
    – มีใบประดับ 1 ใบ มีความยาว 1 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด มีความยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาว 0.2 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกติดกันเป็นหลอด มีความยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ
    – กลีบดอกเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก มีความยาว 0.5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก
    – ก้านชูอับเรณู มีความยาว 3.5-5.5 มิลลิเมตร
    – รังไข่ มีความยาว 1.5 มิลลิเมตร
    – ก้านเกสรเพศเมียมีรูปร่างเรียวยาว มีความยาวเท่ากับเกสรเพศผู้
    – ยอดเกสรมีขนาดเล็ก
    – จะให้ดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี
    – จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
  • ลักษณะของผล [1],[2],[5],[7]
    – ออกผลเป็นฝัก
    – ฝักมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก มีความยาว 2-9 เซนติเมตร
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร
    – ฝักจะตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย
    – ผิวฝักจะมีความหนา
    – ฝักแก่จะไม่แตก
    – ฝักมีเมล็ด 15 เมล็ด
    – เรียงเป็น 2 แถว
    – เมล็ดเป็นรูปรี มีความแบนเล็กน้อย ยาว 7-8 มิลลิเมตร
    – มีรอย (pleurogram) รูปรี ยาว 6-7 มิลลิเมตร

สรรพคุณของยางกระถินเทศ

  • ช่วยแก้เยื่ออ่อนของอวัยวะภายในอักเสบ เพิ่มความชุ่มชื้น[2],[4]
  • ช่วยแก้ไอ แก้เจ็บคอ ช่วยทำให้คอชุ่ม[2],[3]
  • ช่วยบรรเทาอาการระคายคอ[1],[2]
  • ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ[2],[4]
  • ช่วยแก้ฝีหนองในปอด[2],[4]
  • ช่วยแก้บวม[5]
  • ช่วยแก้แขนขาบวมและอักเสบ[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ ปวดข้อ แก้โรคไขข้ออักเสบ[2],[3],[4],[5]
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย[1],[3]
  • ช่วยรักษาฝีหนองในร่างกาย[4]
  • ช่วยรักษาโรคปอด[4]
  • ช่วยแก้เหงือกอักเสบและมีเลือดออก[5]
  • ช่วยรักษาแผลในคอ[3]
  • ใช้ยาอายุวัฒนะ[1],[3]
  • ช่วยแก้อาการเกร็ง[5]
  • ช่วยแก้ปวดท้อง และเป็นยากระตุ้น[2]
  • ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย[2]
  • ช่วยแก้ปวดศีรษะ[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดได้[2],[4]
  • ช่วยแก้แผลเรื้อรังและแก้บาดแผล[2],[4],[5]
  • ช่วยแก้ไอ[5]
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน[2],[4]
  • ช่วยแก้ท้องเสีย[2],[3],[4]
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร[5]
  • ช่วยแก้ระดูขาว[2],[4]
  • ช่วยสมานแผลห้ามเลือด[2],[3],[4],[5]

ประโยชน์ของกระถินเทศ

  1. ลำต้นเ จะให้ยางไม้สีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม เรียกว่า “กัมอะคาเซีย” (Gum acacia)[1],[2],[5]
    – สามารถนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย ใช้ทำกาว
    – นำมาใช้เป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมการผลิตยาเม็ด
    – สามารถใช้เป็นยาหล่อลื่นได้
    – สามารถนำมาใช้ทำขนมหวานประเภทลูกอม เบียร์ น้ำผลไม้ เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์สารให้กลิ่นได้
  2. น้ำมันจากดอก(Cassie oil)[2],[5]
    – สามารถนำมาผสมในเครื่องหอมต่าง ๆ
    – สามารถนำมาทำน้ำมันใส่ผม หรือนำมาอบผ้าเช็ดหน้าได้
    – สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวานได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณน้อย
  3. ดอก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำน้ำหอมได้[2],[4],[5]
    – นำมาสกัดเอากลิ่นหอมของดอกและกลั่นมาเป็นน้ำหอม
  4. ดอก สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้[5]
  5. สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้[7]
  6. ราก สามารถนำมาใช้ตำแล้วพอกที่กีบเท้าโค กระบือ จะช่วยฆ่าหรือป้องกันพยาธิได้[2]
  7. ฝักประกอบไปด้วยของฝาด (tannin) ประมาณ 23%[2],[5]
    – สามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึกได้
    – ใช้ผสมในน้ำต้มย้อมผ้า จะได้เป็นสีธรรมชาติมากขึ้น
  8. เปลือก สามารถนำมาใช้ฟอกหนังได้[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. เมื่อปี ค.ศ.1992 ที่ประเทศอียิปต์มีการทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ด[3]
    – ผลทดลองพบว่า มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  2. จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบและเปลือกต้น[6]
    – ทดสอบโดยเอทานอลร้อยละ 70 ต่อการต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน
    – พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากเชื้อ
    – ความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 1.3±0.2 มคก./มล.
    – สารสกัดจากใบไม่สามารถต้านมาลาเรียได้
    – สารสกัดเปลือกต้น สามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium berghei ได้ 32±5%
  3. สารละลายที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีความเข้มข้น 1 ต่อ 1,000 ส่วน
    – ทำให้สามารถแก้ฤทธิ์ของ acetylcholine และแบลเรียมคลอไรด์ที่มากระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่
    – มีฤทธิ์ยับยั้งจังหวะการบีบตัวตามปกติของกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกจากตัว
  4. ในการสกัดสารด้วยแอลกอฮอล์[2],[4]
    – นำมาละลายในน้ำขนาด 20-80 มิลลิกรัมต่อกรัม
    – พบว่ามีฤทธิ์ทำให้หัวใจของกบที่แยกออกจากตัวนั้นบีบตัวลดลงเป็นจังหวะ
    – ความแรงจากการบีบตัวลดลงชั่วคราวในช่วงแรก
    – ต่อมาจะเพิ่มการบีบตัวขึ้นเป็นจังหวะ
    – ความแรงของการบีบตัวของกระต่ายเมื่อใช้สารสกัดชนิดเดียวกัน
    – พบว่าจะทำให้การบีบตัวในระยะแรกเพิ่มขึ้น
    – ต่อมาก็จะลดลงเป็นจังหวะ
    – ความแรงในการบีบตัวในขนาด 40-80 มิลลิกรัมต่อกรัม
    – จะทำให้หัวใจของสุนัขทั้งห้องบนและห้องล่างบีบตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแรก ๆ
    – ทำให้ความดันเลือดของสุนัขที่ทำให้สลบตกลงในช่วงระยะสั้น
    – แล้วความดันเลือดก็จะสูงขึ้นเล็กน้อย
    – สารที่สกัดได้มีฤทธิ์ทำให้ปริมาตรและจังหวะในการหายใจของสุนัขเพิ่มขึ้น
  5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ[3]
    – ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    – ลดความดันโลหิต
    – ขยายหลอดลม
    – เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
    – ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
    – ลดการอักเสบ
    – ต้านเชื้อแบคทีเรีย
    – เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ
  6. สารสำคัญที่พบ ได้แก่[3]
    – anisaldehyde
    – benzoic aldehyde
    – chotesterol
    – cresol
    – djenkolic acid
    – eugenol
    – hydrocyanic acid
    – kaempferol
    – kaempferol-7- galloyl0glycoside
    – N-acetyl
    – sulfoxide
    – linamarin
    – palmitic acid
    – pentadecanoic acid
    – sitostrol
    – stigmasterol
    – tannin
    – triacontan-l-o
    – tyramine

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระถินเทศ Sponge Tree, Cassie Flower”. หน้า 29.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระถินเทศ”. หน้า 24-27.
3. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “กระถินเทศ”. หน้า 50.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กระถินเทศ”. หน้า 34.
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [05 ก.ค. 2015]. สำนักงานหอพรรณไม้
6. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กระถินเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [05 ก.ค. 2015].
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/
2. https://commons.wikimedia.org/

ต้นกระแตไต่ไม้ สรรพคุณเหง้าใช้รักษาฝี และริดสีดวงจมูก

0
กระแตไต่ไม้
ต้นกระแตไต่ไม้ สรรพคุณเหง้าใช้รักษาฝี และริดสีดวงจมูก เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น เหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ใบมีทั้งสร้างสปอร์และสร้างสปอร์
กระแตไต่ไม้
เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น เหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ใบมีทั้งสร้างสปอร์และสร้างสปอร์

กระแตไต่ไม้

ต้นกระแตไต่ไม้ พบได้ในประเทศอินโดจีน ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีนทางตอนใต้ และประเทศมาเลเซีย ในประเทศไทยจะพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักจะพบขึ้นที่บริเวณตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าพรุ ขึ้นตามต้นไม้ และตามโขดหิน[4]ชื่อสามัญ Oak-leaf fern, Drynaria ชื่ออื่น ๆ กูดขาฮอก กูดอ้อม กูดไม้ (ในภาคเหนือ), กระปรอก (จังหวัดจันทบุรี), เดาน์กาโละ (ชาวมลายูในจังหวัดปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (จังหวัดกาญจนบุรี), กระปรอกว่าว (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดปราจีนบุรี), หว่าว (ปน), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), ฮำฮอก (จังหวัดอุบลราชธานี), หัวว่าว (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สะโมง (ชาวส่วยในจังหวัดสุรินทร์) เป็นต้น[1],[2],[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Polypodium quercifolium L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ POLYPODIACEAE

ลักษณะของกระแตไต่ไม้

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก จัดอยู่ในจำพวกเฟิร์น มักเลื้อยเกาะตามต้นไม้หรือโขดหิน
    – ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร ซึ่งลำต้นจะมีลักษณะที่นอนทอดราบไปกับพื้นดิน มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร
    – เหง้ามีรูปร่างกลมและยาว ภายนอกเหง้าจะปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม และมีขนที่มีลักษณะคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลขึ้นปกคลุมอยู่ ส่วนภายในเหง้าจะมีเนื้อสีขาว บางเหง้ามีสีเขียว[1]
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้สปอร์หรือเหง้า[1],[3]
  • ใบ (แบ่งออกเป็น 2 ชนิด)
    1. ใบที่สร้างสปอร์
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ตรงปลายใบแหลมหรือมน บริเวณขอบใบจะมีรอยเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ ใบมีฐานใบเป็นรูปหัวใจ ใบชนิดนี้จะไม่มีก้านใบ ใบมีขนขึ้นปกคลุมเป็นรูปดาวสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และใบชนิดนี้จะมีกลุ่มอับสปอร์อยู่ อับสปอร์จะมีรูปร่างเป็นรูปขอบขนานหรือกลม ซึ่งกลุ่มอับสปอร์จะอยู่เรียงกันเป็นแถว 2 แถวอยู่ที่บริเวณขนาบข้างตรงกลางระหว่างเส้นใบ
    – ใบจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 20 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 32 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ
    2. ใบที่ไม่สร้างสปอร์
    – ใบจะเรียงตัวกันแบบขนนก ใบมีรูปร่างเป็นรูปหอก ตรงปลายใบเรียวแหลม บริเวณขอบใบจะเว้าลึกลงไปเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบมีฐานใบเป็นรูปลิ่ม ผิวใบมีสีเขียวหม่นและผิวมีความเป็นมัน ใบชนิดนี้จะมีก้านใบ โดยที่โคนก้านใบจะมีเกล็ดสีน้ำตาลดำเป็นจุดเด่น[1]
    – ใบจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 50 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร

สรรพคุณของต้นกระแตไต่ไม้

1. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปัสสาวะพิการ และมีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ (เหง้า)[1],[2],[3]
2. เหง้ามีสรรพคุณในการขับระดูขาวของสตรี (เหง้า)[1],[2],[4]
3. เหง้ามีฤทธิ์เป็นยารักษาโรคงูสวัด (เหง้า)[1]
4. เหง้ามีสรรพคุณในการรักษาแผลเนื้อร้ายและแผลพุพอง (เหง้า)[1]
5. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดบวม (เหง้า)[1]
6. เหง้ามีสรรพคุณในการรักษาโรคนิ่ว (เหง้า)[1],[2]
7. เหง้ามีสรรพคุณในการรักษาโรคไตพิการ (เหง้า)[1],[2],[3],[4]
8. นำเหง้ามาต้มผสมรวมกับสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดเส้น (เหง้า)[1]
9. เหง้ามีสรรพคุณในการรักษาฝี (เหง้า)[1]
10. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (เหง้า)[1],[2],[3],[4]
11. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดประดงเลือด (เหง้า)[1]
12. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการริดสีดวงที่จมูก (เหง้า)[1]
13. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการกระหายน้ำ (เหง้า)[1]
14. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (เหง้า)[1],[2],[4]
15. นำเหง้ามาต้มผสมกับสมุนไพรยาข้าวเย็น มีฤทธิ์ในการรักษาโรคหอบหืด (เหง้า)[1],[3]
16. เหง้ามีสรรพคุณในการแก้โรคมือเท้าเย็น (เหง้า)[3]
17. เหง้ามีสรรพคุณในการบำรุงโลหิต ทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น (เหง้า)[3]
18. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมะเร็งปอด (เหง้า)[1]
19. เหง้ามีฤทธิ์เป็นยาคุมธาตุ (เหง้า)[1],[2],[3]
20. เหง้านำมาใช้แบบเดี่ยว ๆ หรือนำไปใช้ร่วมกันกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ โดยมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบ บรรเทาอาการฟกช้ำดำเขียว แก้เคล็ดขัดยอก และบำบัดอาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากเส้นเอ็นฉีกขาด หรือกระดูกแตกหัก (เหง้า)[3]
21. เหง้า มีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด แต่ไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใช้เพียงแค่เหง้าอย่างเดียว หรือมีสมุนไพรอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบร่วมด้วย (เหง้า)[1]
22. นำขนที่ได้มาจากเหง้ามาทำการบดให้ละเอียด ทำเป็นไส้ยาสูบใช้สูบเพื่อแก้อาการโรคหอบหืด (ขนจากเหง้า)[1]
23. ใบมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการแผลพุพองและแผลเรื้อรัง (ใบ)[2]
24. นำใบมาต้มกับสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ทำเป็นน้ำสำหรับอาบ โดยจะช่วยรักษาอาการบวมตามร่างกาย และบรรเทาอาการไข้สูงให้ลดลงได้อีกด้วย (ใบ)[1]
25. น้ำต้มจากใบ มีสรรพคุณในการแก้อาการอ่อนเพลียของสตรีหลังการคลอดบุตรได้ (ใบ)[1]
26. นำรากและแก่นมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยา โดยมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการประจำเดือนไหลไม่หยุด (ราก, แก่น)[1]
27. น้ำต้มจากรากและแก่นนำมาอาบ โดยจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคซาง (ราก, แก่น)[1]
28. มีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[3]
29. มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดฟัน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[3]

ประโยชน์ของต้นกระแตไต่ไม้

1. ในด้านความเชื่อ เป็นว่านไม้ที่เสริมเรื่องความมีเมตตามหานิยม เชื่อว่าหากนำมาปลูกตั้งไว้ในร้านที่มีการค้าขาย จะทำให้ค้าขายดีขึ้นเป็นเท่าตัว[5]

2. มีใบที่สวยงาม เหมาะสำหรับการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “กระแตไต่ไม้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [29 พ.ย. 2013].
2. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กระ แต ไต่ ไม้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [29 พ.ย. 2013].
3. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน.  “กระ แต ไต่ ไม้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.  [29 พ.ย. 2013].
4. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “กระแตไต่ไม้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: web3.dnp.go.th.  [29 พ.ย. 2013].
5. บ้านว่านไทย.  “ว่านกระแตไต่ไม้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: banvanthai.com.  [29 พ.ย. 2013].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://plantsam.com
2. https://zh.m.wikipedia.org

กระดูกไก่ดำ ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้อาการปวดศีรษะ

0
กระดูกไก่ดำ
กระดูกไก่ดำ ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้อาการปวดศีรษะ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงคู่รูปหอก ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมสีเขียวแกมสีชมพู ผลเป็นฝัก
กระดูกไก่ดำ
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงคู่รูปหอก ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมสีเขียวแกมสีชมพู ผลเป็นฝัก

กระดูกไก่ดำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Justicia gendarussa Burm.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Gendarussa vulgaris Nees, Justicia gandarussa L.f.) อยู่วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1],[5] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น อูกู่หวางเถิง (จีนกลาง), สำมะงาจีน (ภาคกลาง), ผีมอญ (ภาคกลาง), เฉียงพร้าม่าน (ภาคกลาง), เกียงพา (ภาคกลาง), กุลาดำ (ภาคเหนือ), สันพร้ามอญ (ภาคกลาง), เฉียงพร่าม่าน (ภาคกลาง), เฉียงพร้ามอญ (ภาคกลาง), เฉียงพร้า (ภาคกลาง), แสนทะแมน (จังหวัดตราด), ปั๋วกู่ตาน (จีนกลาง), ปองดำ (จังหวัดตราด), (จังหวัดสุราษฎรณ์ธานี), บัวลาดำ (ภาคเหนือ), โอกุด๊ดอื้งติ้น (จีน) [1],[2],[3]

ลักษณะของกระดูกไก่ดำ

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นสีแดงเข้มถึงดำ เป็นสีม่วง จะเกลี้ยงและมัน กิ่งกับลำต้นเป็นปล้องข้อ ข้อลำต้นมีขนาดยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว ข้อปล้องกิ่งมีขนาดยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ตามลำต้น กิ่งก้าน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ ขึ้นดีที่ดินร่วนซุย มักจะขึ้นที่ตามริมลำธารในป่าดงดิบ[1],[2],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงคู่ ใบเป็นรูปใบหอก ที่โคนใบจะแหลม ส่วนที่ปลายใบจะแหลมเช่นกัน ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 4-14 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้มและเรียบเงา ที่หลังใบจะมีสีเหลืองอมสีเขียว ส่วนที่หน้าใบจะมีสีเขียวสด เส้นกลางใบมีลักษณะเป็นสีแดงอมสีดำ มีก้านใบที่สั้น[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ยอดต้น ที่ปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ดอกเป็นหลอดเล็ก ที่ปลายดอกจะแยกเป็นกลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาวอมสีเขียวแกมสีชมพู ที่ปลายกลีบจะแยกออกเป็นกลีบบนกลีบล่าง ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน กลีบดอกโค้งงอน มีเกสรเพศผู้ 2 ก้านที่ด้านในของหลอดดอก จะโผล่พ้นขึ้นจากหลอด[1],[4]
  • ผล เป็นฝัก ยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร[1]

ประโยชน์กระดูกไก่ดำ

  • มาเลเซียถือว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยป้องกันภูตผี ช่วยป้องกันภัย[1]
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มักปลูกตามบ้านหรือใช้ทำรั้ว[1],[3]
  • ถ้าไก่ขาหัก จะนำใบกระดูกดำมาประคบหรือห่อตรงขาที่หัก และหมอยาพื้นบ้าน ถ้าใครขาแขนแตกหรือหักจะนำใบกระดูกดำมาประคบหรือห่อตรงขาที่หัก[6]

สรรพคุณกระดูกไก่ดำ

1. ทั้งต้นมีรสเผ็ด จะเป็นยาร้อนนิดหน่อย มีสรรพคุณที่สามารถเป็นยาขับลมชื้นที่ตามข้อกระดูกได้ (ทั้งต้น)[2]
2. ในสูตรตำรับสเปรย์ แก้ฟกช้ำ แก้อาการปวดข้อ อักเสบเฉียบพลัน ปวดเมื่อย (ฉีดตรงที่มีอาการปวดหรืออักเสบของข้อ) มาผสม สารสกัดกระดูกไก่ดำ 400 ซีซี (ระเหยแอลกอฮอล์ออก) เมนทอล 60 กรัม การบูร 120 กรัม น้ำมันหอมระเหย 10 ซีซี (กลิ่นเปปเปอร์มินต์) น้ำมันเขียว (Cajuput oil) 2% 8 ซีซี การทำให้ละลายเมนทอลกับการบูรให้เข้า และทำให้เติมสารสกัดกระดูกไก่ดำกับน้ำมันเขียวแล้วทำให้เข้ากัน แต่งกลิ่นเปปเปอร์มินต์ บรรจุในขวดสเปรย์[7]
3. นำน้ำที่คั้นได้จากใบมาผสมเหล้าทาน สามารถช่วยแก้ปวดบวมตามข้อ และแก้อาการช้ำใน หรือนำน้ำคั้นที่คั้นได้จากใบมาใช้ทาแก้อาการปวดตามข้อ (ใบ)[1],[4]
4. สามารถนำใบกับรากมาต้มกับน้ำอาบแก้โรคผิวหนัง แก้ผื่นคันตามตัวได้ (บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษางูสวัดได้[6]) (ราก, ใบ)[1] สามารถใช้รากเป็นยาทาเด็กที่เป็นเม็ดตุ่มขึ้นที่ตามตัวได้ (ราก)[4]
5. สามารถนำน้ำใบคั้นมาผสมเหล้าทานเป็นยาขับปัสสาวะได้ (ใบ)[1]
6. รากสามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ราก)[5]
7. น้ำใบคั้นสามารถใช้เป็นยาทาแก้อาการปวดท้องได้ (ใบ)[4]
8. นำน้ำใบคั้นมาผสมเหล้าใช้ทานเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (ใบ)[1],[2]
9. สามารถนำใบสดมาตำคั้นเอาน้ำมาใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคหืด (ใบ)[1],[2]
10. ประเทศอินโดนีเซีย กับประมาเลเซียใช้ใบมาต้มกับน้ำใช้เป็นยาบำรุงโลหิตได้ (ใบ)[4]
11. สามารถนำใบสดมาตำคั้นเอาน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อัมพาต (ใบ)[1],[2]
12. ที่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียมีการนำใบมาใช้รักษาโรคติดเชื้อได้หลายชนิด (ใบ)[7]
13. สามารถช่วยแก้เคล็ดขัดยอกได้ โดยนำรากมาตำผสมเหล้าหรือน้ำส้มสายชู ใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น (ราก)[2]
14. สามารถนำใบมาต้มกับนมใช้ทานเป็นยาแก้ฝีฝักบัวได้ (ใบ)[4]
15. นำใบกับรากมาตำผสมกัน สามารถใช้เป็นยาพอกถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อย่างเช่น ต่อ พิษงู แตนต่อย ผึ้ง หรือนำกากใบมาใช้พอกตรงแผลที่โดนกัดสามารถช่วยดูดพิษอสรพิษได้ หรือนำใบมาขยี้ผสมเหล้าขาวใช้เป็นยาทา (ใบ,รากและใบ)[1],[2],[4],[5],[6]
16. สามารถนำใบมาต้มกับนมทานเป็นยาแก้ท้องร่วงแบบแรงได้ (ใบ)[4]
17. สามารถนำใบมาตำคั้นเอาน้ำมาผสมเหล้าใช้ทานเป็นยาแก้ไอได้ (ใบ)[1],[2]
18. สามารถนำใบสดมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำใบมาตำผสมเหล้าคั้นเอาน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ทำให้เลือดที่อุดตันภายในร่างกายไหลเวียนได้สะดวก ช่วยขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย แก้เลือดคั่งค้างเป็นลิ่มเป็นก้อน สามารถช่วยกระจายเลือดได้ (ใบ)[1],[2],[3],[4]
19. สามารถนำใบสดมาตำคั้นเอาน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ สำหรับประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซียนำใบสดมาตำผสมหัวหอม เมล็ดเทียนแดง ใช้พอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบ)[1],[2],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีรายงานว่าพบสาร Apigenin ที่อยู่ในใบจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตและยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากได้[7]
  • กลุ่มนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย University of Illinois (ชิคาโก) และมหาวิทยาลัย Baptist University (ฮ่องกง) และสถาบัน Vietnam Academy of Science and Technology (เวียดนาม) ได้ร่วมตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสาร Journal of Natural Products การค้นพบสารประกอบ Patentiflorin A จากต้น เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งไวรัส HIV ได้ดีกว่ายาอะซิโดไทมิดีน (Azidothymidine) ที่ใช้ในปัจจุบัน ทางทีมงานทดสอบกับตัวอย่างเซลล์นอกร่างกาย ปรากฏว่าได้ผล (สารประกอบนี้เข้าไปยับยั้งเอนไซม์ที่ไวรัส HIV ใช้เข้าไปรวมตัวกับ DNA ของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์ เอนไซม์หายไป ไวรัสจึงรวมตัวกับ DNA ของเซลล์เป้าหมายไม่ได้) แต่ไม่ได้ทดสอบกับร่างกายมนุษย์ จนกว่าจะมั่นใจในเรื่องผลข้างเคียง ถ้าผลิตยาต้านไวรัส HIV จากสารประกอบของ ยาต้านไวรัสน่าจะมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลดีก็จะตกอยู่กับผู้ป่วยในประเทศที่ยากจนด้วย[8]
  • สารสกัดเมทานอลของใบจะมีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด และเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก อย่างเช่น Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Staphylococcus mutans, Micrococcus luteus และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ อย่างเช่น Shigella Flexner, Salmonella typhimusium, Proteus vulgaris, Escherichia coli, Salmonella paratypi A, Proleus mirabilis, Klebsiella pneumoniae เป็นสมุนไพรที่น่าสนใจที่จะนำมาพัฒนาเป็นยาปฏิชีวนะเพื่อใช้ในการรักษาการติดเชื้อที่ดื้อยาในอนาคต [7]
  • พบสารอัลคาลอยด์, Juaticin และมีน้ำมันระเหยอยู่[2]
  • สารสกัดมีฤทธิ์ที่เป็นพิษกับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ในหลอดทดลอง โดยเหนี่ยวนำให้เซลล์ตาย (Apoptosis) ฤทธิ์ที่ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด (Anti-angiogenesis) ฤทธิ์ดังกล่าวน่าจะนำมาพัฒนาเป็นยารักษามะเร็งได้[7]
  • มีฤทธิ์ที่ต้านอาการอักเสบ ช่วยลดอาการปวด เป็นฤทธิ์จากสารสำคัญในกลุ่ม Flavonoids นั่นก็คือ Apigenin กับ Vitexin ที่จะออกฤทธิ์ผ่านกลไกเดียวกับยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยจะยับยั้งเอนไซม์ Lipoxygenase pathways กับ Cyclooxygenase (COX) มีผลยับยั้งการหลั่งสารที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการอักเสบหลายชนิด อย่างเช่น Prostaglandins, Prostaglandins, Histamine, NO, iNOS, MMP-9 และพบว่าสารสกัดออกฤทธิ์ที่ Opioid receptor เป็นกลไกเดียวกันกับมอร์ฟีน จะมีฤทธิ์ลดอาการปวดน้อยกว่ามอร์ฟีนประมาณ 2 – 5 เท่า และมีกลไกลดอาการอักเสบเหมือนยาสเตียรอยด์ จะไปยับยั้ง หรือ Stabilizing Lysosomal Membrane ไม่ให้สร้างสารพวก Hydrolytic enzyme จากเม็ดเลือดขาวมาย่อยเซลล์ และยังมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวไปตรงที่อักเสบ มีฤทธิ์ลดอาการปวด เทียบเท่ายามาตรฐานแบบแอสไพริน (Aspirin) และจะออกฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดทั้งที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย เห็นได้ว่าฤทธิ์แก้อาการปวด ลดการอักเสบ เกิดจากการทำงานผ่านหลายกลไก เทียบเท่ายาแผนปัจจุบันหลายชนิดที่ใช้กันในปัจจุบัน และมีจุดเด่นที่สำคัญและจุดเด่นที่น่าสนใจนำไปพัฒนาเป็นยาแก้อาการปวด ลดการอักเสบได้ในอนาคต[7]
  • รากเอามาต้มกับน้ำหรือแช่ในแอลกอฮอล์ หรือสกัดด้วยแอลกอฮอล์ฉีดเข้าท้องหนูทดลองปริมาณ 1-2 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปรากฏว่าทำให้หนูมีอุณหภูมิในร่างกายสูงมากขึ้น ถ้าฉีดเข้าหนูทดลองปริมาณ 10-20 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีผลทำให้อุณหภูมิในร่างกายของหนูทดลองต่ำลงมาก ๆ และมีอาการถ่ายเฉียบพลันและทำให้ถึงแก่ความตาย[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “กระดูกไก่ดํา”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 19-20.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “กระดูกไก่ดำ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 28.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. “กระดูกไก่ดํา”. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). หน้า 75.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เฉียงพร้ามอญ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 237-239.
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Justicia gendarussa Burm. f.”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [16 เม.ย. 2014].
6. จำรัส เซ็นนิล. “เฉียงพร้า-กระดูกไก่ดำ รักษามะเร็งเต้านม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [16 เม.ย. 2014].
7. ผู้จัดการออนไลน์. “กระดูกไก่ดำ สุดยอดสมุนไพร แก้ปวด แก้อักเสบ”. (ข้อมูลโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [20 มิ.ย. 2017].
8. SCI NEWS. “Powerful Anti-HIV Compound Found in Asian Medicinal Plant: Patentiflorin A”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sci-news.com. [20 มิ.ย. 2017].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.smpn1turen.sch.id/
2. https://www.womenfitness.net/

ต้นกระชายแดง สรรพคุณป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

0
ต้นกระชายแดง สรรพคุณป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้า ผิวใบเรียบเป็นมันทรงแกมหอก ปลายแหลม ขอบขนาน โคนสอบ ก้านใบเป็นร่อง ดอกสีชมพู
ต้นกระชายแดง
เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้า ผิวใบเรียบเป็นมันทรงแกมหอก ปลายแหลม ขอบขนาน โคนสอบ ก้านใบเป็นร่อง ดอกสีชมพู

กระชายแดง

กระชายแดง สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย โดยมักจะพบในพื้นที่ดินที่มีความชื้นสูง[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Gastrochilus pandurata (Roxb.) Ridl., Kaempferia pandurata Roxb.[4] จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ขิงละแอน (ในภาคเหนือ)[4], ขิงแดง[4], กระชายป่า[1], ขิงแคลง[2], ขิงทราย (ในภาคอีสาน)[4] เป็นต้น

ลักษณะต้นกระชายแดง

  • ต้น
    1. เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ล้มลุกที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี
    2. มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะเรียวยาว กระจายตัวออกเป็นกระจุก เหง้ามีสีน้ำตาลอ่อน เหง้าจะทำหน้าที่ในการสะสมอาหารเอาไว้ สามารถสังเกตเหง้าที่ทำการสะสมอาหารเอาไว้ได้จากรูปร่างที่จะพองตรงกลาง มีลักษณะเป็นแท่งกลม และมีความฉ่ำน้ำ ลำต้นมีกาบใบสีน้ำตาลแดงที่มีลักษณะเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้นอยู่บนเหง้า และเหง้ามีความสูงของทรงพุ่มอยู่ที่ประมาณ 30-80 เซนติเมตร
    3. มีลักษณะที่คล้ายกันกับกระชายเหลือง โดยจะแตกต่างกันตรงที่เนื้อด้านในมีสีเหลืองแก้มส้มออกไปทางสีแดงอย่างเห็นได้ชัด
    4. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เป็นพืชที่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำดี และชอบอยู่ในพื้นที่ร่ม [1],[2],[3],[4]
  • ใบ
    1. รูปร่างของใบเป็นรูปใบแกมหอก ใบมีสีเขียว มีผิวใบเรียบเป็นมัน ตรงปลายใบแหลม ขอบใบขนาน และที่โคนใบสอบ มีก้านใบเป็นร่อง โดยใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว
    2. ใบมีกาบใบที่ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มลำต้นเอาไว้ ที่บริเวณโคนกาบใบจะมีสีแดง[1],[2],[3]
    3. ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร
  • ดอก
    1. กลีบดอกมีสีชมพูอ่อนมีทั้งหมด 3 กลีบ โดยแบ่งเป็น 1 กลีบด้านบน และ 2 กลีบด้านล่าง กลีบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ ตรงขอบกลีบจะม้วนเล็กน้อย กลีบด้านบนจะโดดเด่นเป็นพิเศษเนื่องจากมีรอยหยักที่กลีบ ดอกมีเกสรเพศเมียมีสีขาวแกมชมพูอ่อน มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ ดอกมีก้านเกสรสั้น โดยที่โคนก้านเกสรจะมีต่อมอยู่ 2 ต่อม มีรูปร่างเรียวยาว
    2. ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ ซึ่งช่อดอกจะโผล่ขึ้นมาจากบริเวณตรงกลางระหว่างใบ จะโผล่มาเฉพาะส่วนที่เป็นกลีบดอกและใบประดับที่ห่อช่อดอกเอาไว้เท่านั้น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ตรงปลายกลีบเลี้ยงแยกออกเป็นหยัก 3 หยัก
    3. ดอก จะค่อย ๆ ทยอยบานทีละดอก ไม่บานทีเดียวพร้อมกัน[2],[3]
  • ผล
    1. ผล เมื่อผลยังอ่อนจะไม่มีพูปรากฏขึ้น แต่เมื่อผลแก่แล้วจะปรากฏพูขึ้นมา 3 พู[2]
    2. ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่

สรรพคุณของกระชายแดง

1. หัวมีสรรพคุณในการบำรุงระบบประสาท (หัว)[5]
2. หัวมีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน (หัว)[5]
3. หัวนำมาใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ โดยมีฤทธิ์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ (หัว)[3]
4. หัวมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (หัว)[4]
5. หัวมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้ (หัว)[5]
6. หัวมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเบ่ง (หัว)[4]
7. หัวมีฤทธิ์ในการรักษาอาการบิดมูกเลือด (หัว)[4]
8. หัวมีสรรพคุณในการขับสารที่เป็นพิษต่อตับ (หัว)[5]
9. หัวมีสรรพคุณในการป้องกันโรคมะเร็ง (หัว)[5]
10. หัวมีสรรพคุณในการรักษาอาการมุตกิดระดูขาวของสตรี และช่วยขับระดูขาว (หัว)[4]
11. หัวมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม (หัว)[5]
12. หัวมีสรรพคุณในการเป็นยาขับพยาธิ (หัว)[4]
13. น้ำมันหอมระเหยที่สกัด มีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อบริเวณระบบทางเดินอาหารหดตัวได้[5]
14. หัวมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (หัว)[4]
15. หัวมีสรรพคุณรักษาโรคภายในช่องปากต่าง ๆ ได้ เช่น รักษาแผลในช่องปาก แก้อาการปากแตก แก้อาการปากเปื่อย เป็นต้น (หัว)[4]
16. หัวมีสรรพคุณในการรักษาโรคกามตายด้าน และมีส่วนช่วยบำรุงกำหนัด (หัว)[3],[4]
17. หัวมีสารชนิดหนึ่งที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ได้ โดยเชื้อชนิดนี้เป็นสาเหตุของการเกิดอาการจุกเสียดแน่นท้อง (หัว)[5]
18. หัวมีสรรพคุณในการรักษาอาการใจสั่น และรักษาอาการลมในหัวใจ (หัว)[4]
19. หัวมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดมวนท้อง (หัว)[4]
20. จากรายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล มีข้อมูลระบุเอาไว้ว่า สาร Pinostrobin ในกระชายมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican อยู่ ซึ่งเชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุของอาการตกขาวในสตรี และอีกทั้งยังช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเชื้อรานี้ก็เป็นต้นตอของการทำให้เกิดโรคกลาก 3 ประเภทอีกด้วย[5]
21. สาร Cineole มีสรรพคุณในการลดอาการบีบตัวของลำไส้ได้ [5]
22. ในตำรับยาแก้โรคมะเร็งกระดูก (BOE) จะนำมาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วนำไปชงกับน้ำร้อนใช้ดื่ม โดยดื่มวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ดื่มก่อนอาหารเป็นปริมาณครั้งละ 2 ช้อนชา[5]
23. ในตำรายารักษามะเร็งเม็ดเลือด (BVHJ) จะมีเป็นส่วนประกอบ โดยใช้ในปริมาณ 50 กรัม และส่วนประกอบอื่น ๆ อย่าง หญ้างวงช้างทั้งต้นในปริมาณ 50 กรัม, สบู่แดงทั้งต้นในปริมาณ 50 กรัม และแพงพวยดอกขาวทั้งต้นในปริมาณ 50 กรัม ซึ่งการปรุงยานั้นก็ให้นำมาบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนำมาชงกับน้ำร้อนใช้สำหรับดื่ม โดยดื่มวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ดื่มหลังอาหารเป็นปริมาณครั้งละ 2 ช้อนชา (ทั้งต้น)[5]

ประโยชน์ของกระชายแดง

1. ในด้านความเชื่อ สามารถแก้การถูกคุณไสยใส่ หรือโดนเล่นของใส่ได้ โดยระบุวิธีไว้ว่า ให้นำหัวมาโขลกให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำผึ้งจากนั้นปั้นเป็นยาลูกกลอน แล้วทำการปลุกเสกด้วยคาถาบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ “อิติปิโสภะคะวา จนถึง ภะคะวาติ” สวดให้ครบ 16 จบ หลังจากนั้นก็เป็นอันเสร็จ สามารถนำไปให้ผู้ที่ถูกคุณไสยใส่ หรือโดนเล่นของใส่รับประทานได้
2. ในทางความเชื่อต้นหากนำปลุกเสกคาถา แล้วนำมารับประทานจะสามารถทำให้ร่างกายอยู่ยงคงกระพันได้[3],[4]
3. หน่ออ่อนมักนำมาปรุงรสในน้ำยาขนมจีน
4. หน่ออ่อนสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดทานร่วมกันกับน้ำพริกได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [20 พ.ย. 2013].
2. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักพื้นบ้าน กระชายแดง“. อ้างอิงใน: หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข). หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25. [20 พ.ย. 2013].
3. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ว่านกระชายแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com. [20 พ.ย. 2013].
4. ว่านและพรรณไม้สมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “กระ ชาย แดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th. [20 พ.ย. 2013].
5. ไทยรัฐออนไลน์. “กระชายแดงกับงานวิจัยใหม่“. โดยนายแพทย์นพรัตน์ บุณยเลิศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [20 พ.ย. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.healthbenefitstimes.com

สตรอเบอรี่ป่า สรรพคุณช่วยรักษาโรคงูสวัด

0
สตรอเบอรี่ป่า
สตรอเบอรี่ป่า สรรพคุณช่วยรักษาโรคงูสวัด เป็นไม้เลื้อยคลุมดิน ใบด้านล่างมีจะขนสั้นเป็นสีขาวขึ้นคลุม ดอกสีเหลือง ผลฉ่ำน้ำลูกเล็ก ผลสุกเป็นสีแดงสดรสจืด มีพิษ
สตรอเบอรี่ป่า
เป็นไม้เลื้อยคลุมดิน ใบด้านล่างมีจะขนสั้นเป็นสีขาวขึ้นคลุม ดอกสีเหลือง ผลฉ่ำน้ำลูกเล็ก ผลสุกเป็นสีแดงสดรสจืด มีพิษ

สตรอเบอรี่ป่า

ชื่อสามัญ Snake Strawberry ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Duchesnea indica (Jacks.) Focke (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Duchesnea indica var. indica) อยู่วงศ์กุหลาบ (ROSACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เสอเหมย (จีนกลาง), จั่วม่วย (จีนแต้จิ๋ว), ยาเย็น (เชียงใหม่), ฮ่วยเสี่ยเถาเช่า (จีนแต้จิ๋ว), จั่วผู่ท้อ(จีนแต้จิ๋ว)

ลักษณะของสตรอเบอรี่ป่า

  • ต้น เป็นไม้เลื้อยคลุมดิน เหง้าอยู่ใต้ดิน ไหลหรือลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเลื้อยทอดตามพื้นดิน สามารถเลื้อยยาวได้ประมาณ 1 เมตร ข้อสั้น ที่ตามข้อต้นจะมีราก ลำต้นสูงได้ประมาณ 8-15 เซนติเมตร อาจจะมีขนสั้นหรือขนยาวขึ้นคลุมต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การแยกไหล (ตัดไหลที่มีรากชำลงดินที่ผสมขุยมะพร้าว) โตได้ดีและเร็วที่ในดินร่วนซุย ที่ชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบอากาศเย็น
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เป็นก้านใบแบบประกอบสามารถยาวได้ประมาณ 5-8 เซนติเมตร หนึ่งก้านใบมีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ออกใบเรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปมนรี ที่ปลายใบจุมน ส่วนที่โคนใบจะเรียวเล็กถึงก้านใบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว มีความยาวประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว แผ่นใบมีลักษณะเป็นสีเขียว ที่ด้านล่างมีจะขนสั้นเป็นสีขาวขึ้นคลุมอยู่ ที่ด้านบนจะไม่ค่อยมีขน
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบ ส่วนใหญ่ก้านช่อดอกจะยาวกว่าก้านใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5.5 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลือง มีกลีบดอกอยู่ 3-5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ จะซ้อนเป็น 2 ชั้น ดอกที่บานเต็มที่มีขนาดประมาณ 12-15 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นกลีบแหลมพุ่งออก มีกลีบเลี้ยงดอกประมาณ 3-5 กลีบ มีขนขึ้นคลุมบาง ๆ มีเกสรเพศผู้เยอะมาก[1],[3]
  • ผล ติดรวมเป็นกลุ่ม มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมยาวแบน ฉ่ำน้ำ ผลเป็นลูกเล็ก ผลสุกเป็นสีแดงสด ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวหรือฐานรองดอกที่ขยายเป็นรูปทรงกลม ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณ และประโยชน์สตรอเบอรี่ป่า

1. สามารถช่วยแก้บวมได้ (ใบ, ก้าน)[3]
2. ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำทั้งต้น มาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดเอว แก้ปวดหลัง (ทั้งต้น)[2]
3. สามารถช่วยรักษาแผลมีหนองเรื้อรัง แผลพองมีหนอง โดยนำใบกับก้านสดมาตุ๋นกับเนื้อวัวกิน และนำมาตำใช้พอกตรงบริเวณที่เป็นแผล (ใบ, ก้าน)[1]
4. ผลสุกมีพิษห้ามทาน สามารถใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้ (ผล)[3]
5. สามารถช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย พิษจากงูกัดได้ โดยนำต้นสดมาตำ ใช้พอกตรงบริเวณที่โดนกัด (ใบ, ก้าน)[1],[3]
6. สามารถช่วยแก้สตรีที่มีประจำเดือนมาเยอะได้ (ใบและก้าน)[3]
7. สามารถถ่ายเป็นมูกเลือด แก้บิดได้ โดยนำใบกับก้านสด 30 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ใบและก้าน)[1]
8. ใบกับก้านมีพิษเล็กน้อย สามารถใช้เป็นยารักษาแผลที่ปากเพราะร้อนในได้ โดยนำใบกับก้านสดมาคั้นเอาน้ำให้ได้ 1 แก้ว เอาไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว ใช้ทานเป็นยา (ใบและก้าน)[1]
9. ถ้าเด็กที่อายุ 10 ปีขึ้นไป เป็นโรคคอตีบ โดยนำใบกับก้านสด 250 กรัม มาตำผสมน้ำเย็น นำมาคั้นเอาน้ำผสมน้ำตาล ค่อยทานให้หมดภายใน 1 วัน (ใบ, ก้าน)[1]
10. ในตำรับยาแก้คอตีบ คอเจ็บ คออักเสบ นำต้นสดมาตำให้แหลกแช่ในน้ำสะอาด (ใช้น้ำสองเท่าของปริมาณยา) ทิ้งเอาไว้เป็นเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง เอามากรองเอาน้ำผสมน้ำตาลนิดหน่อย แบ่งทานวันละ 4 ครั้ง ถ้าเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ในการทานครั้งแรกให้ทานเพียง 50 ซีซี ครั้งถัดไปให้ทานครั้งละ 30 ซีซี ถ้าเป็นเด็กที่อายุ 6-10 ขวบ ในการทานครั้งแรกให้ทานครั้งละ 100 ซีซี ครั้งถัดไปให้ทานครั้งละ 60 ซีซี (ใบ, ก้าน)[3]
11. สามารถช่วยแก้เด็กที่มีไข้สูง มีอาการชักได้ (ใบและก้าน)[3]
12. ทั้งต้น มีรสชุ่มเปรี้ยว ขมนิดหน่อย เป็นยาเย็น มีพิษแต่ไม่เยอะ จะออกฤทธิ์กับปอด ม้าม สามารถใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนใน ทำให้เลือดเย็นได้ (ก้าน, ใบ)[3]
13. ถ้าเป็นฝีเนื้อร้าย มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร ให้นำใบกับก้านสด, มาผสมปาล์มจีน, ปั้วกีน้อย อย่างละ 30 กรัม มาต้มทานเป็นยา (ใบและก้าน)[1]
14. สามารถช่วยรักษาแผลที่โดนความร้อนแล้วยังไม่มีหนองได้ โดยนำใบกับก้านสดมาผสมพิมเสนนิดหน่อย แล้วนำมาตำใช้พอกตรงบริเวณแผล (ใบ, ก้าน)[1]
15. สามารถช่วยรักษาแผลไฟไหม้ แผลโดนน้ำร้อนลวกได้ (ใบ, ก้าน)[3]
16. สามารถช่วยรักษาตับอักเสบ รักษาตับอักเสบแบบตัวเหลืองได้ (ใบและก้าน)[1],[3]
17. สามารถช่วยรักษาโรคงูสวัด ผิวหนังผดผื่นคัน ฝีมีหนองได้ (ใบ, ก้าน)[3]
18. นำต้นสดประมาณ 50-100 กรัม มาต้มกับน้ำทาน สามารถช่วยแก้บิดอะมีบา แก้บิดติดเชื้อได้ (ใบ, ก้าน)[3]
19. สามารถช่วยรักษาเยื่อตาอักเสบได้ (ใบ, ก้าน)[1]
20. ถ้ามีอาการไอ อาเจียนเป็นเลือด หรือกระอักเลือด ให้นำใบกับก้านสดประมาณ 60-90 กรัม มาตำคั้นเอาน้ำ 1 แก้ว นำมาผสมน้ำตาลกรวดนิดหน่อย แล้วต้มทานเป็นยา (ใบ, ก้าน)[1]
21. สามารถช่วยแก้คางทูมได้ (ใบ, ก้าน)[3]
22. ถ้ามีอาการคอเจ็บ ไอ ให้นำใบกับก้านสดประมาณ 30-60 กรัม มาต้มกับน้ำทานหรืออมกลั้วคอ (ใบ, ก้าน)[1]
23. สามารถช่วยรักษาไข้หวัด ไอหวัด มีไข้สูง โดยนำใบกับก้านสดประมาณ 15-25 กรัม มาต้มกับน้ำทานวันละ 2 ครั้ง (ใบ, ก้าน)[1],[3]
24. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีดอก ใบ ผลดูสวยงาม แต่ไม่นิยมทานผล เนื่องจากมีรสจืด แต่นกชอบกิน

ข้อควรระวังในการใช้

  • ห้ามทานผลสุกเพราะมีพิษ [3]
  • ห้ามให้สตรีที่มีครรภ์ ผู้ที่ร่างกายอ่อนเพลีย ร่างกายพร่องทาน[1]

ข้อมูลทาเภสัชวิทยา

  • น้ำต้นสดคั้น จะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อบิด, เชื้อ Staphelo coccus, เชื้อไทฟอยด์ได้, เชื้อคอตีบ [3]
  • เมล็ด มีน้ำมัน น้ำมันประกอบด้วยกรดไขมันหลัก ก็คือ nonsaponification fat ที่ประกอบด้วยสารจำพวก sterol, alcohol, hydrocarbon มี Beta-sitosterol เป็นหลัก โดยมีปริมาณ 89.5% ของประมาณ Sterols ทั้งหมด และมี Linoleic acid 53.1%[1],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สตรอเบอรี่ป่า”. หน้า 740-742.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สตรอเบอรี่ป่า”. หน้า 98.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สตรอเบอรี่ป่า”. หน้า 540.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://blog.naver.com/PostView.nhn?blogId=anpi9&logNo=221276982337
2. https://01065622234.tistory.com/128

ว่านชักมดลูก สรรพคุณรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

0
ว่านชักมดลูก สรรพคุณรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มีหัวอยู่ใต้ดิน เปลือกเหง้าสีขาวอมเหลือง เนื้อในสีขาว กลิ่นหอมเปรี้ยว ผิวใบเป็นสันเล็กน้อยตามแนวเส้นใบ ดอกออกเป็นช่อทรงกระบอก สีขาวนวลแต้มชมพู
ว่านชักมดลูก
มีหัวอยู่ใต้ดิน เปลือกเหง้าสีขาวอมเหลือง เนื้อในสีขาว กลิ่นหอมเปรี้ยว ผิวใบเป็นสันเล็กน้อยตามแนวเส้นใบ ดอกออกเป็นช่อทรงกระบอก สีขาวนวลแต้มชมพู

ว่านชักมดลูก

เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีหลากหลายสายพันธุ์ บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก ตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก พบได้มากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma comosa Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) ชื่อท้องถิ่น อื่น ๆ ว่านหมาวัด(อุบลราชธานี), ว่านทรหด, ว่านหำหด, ว่านพญาหัวศึก, ว่านการบูรเลือด ในประเทศไทยตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์

สายพันธุ์ว่านทรหด

1. ว่านตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.)
– มีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง
– มีแขนงสั้น
2. ว่านตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe)
– มีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่
– หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า
– แขนงจะยาวมากกว่า

สมุนไพรว่านชักมดลูก

  • จะใช้ว่านตัวเมียเป็นหลัก
  • เนื่องจากมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี
  • นักวิจัยก็ได้ตีความว่า มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน
  • มีงานวิจัยพบว่าว่านตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์
  • แม้จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ตาม
  • เรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน
  • มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • วงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้

ผลข้างเคียงของว่านชักมดลูก

1. สำหรับสตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
– หลังจากรับประทานอาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้นได้
– สามารถรับประทานต่อไปได้ ประจำเดือนก็จะค่อย ๆ หมดไปเอง
2. มีอาการปวดหน้าอก ตึงหน้าอก หรือปวดมดลูก ช่องคลอด
– หากมีอาการดังกล่าวให้ลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง
– หลังจากอาการดีขึ้นค่อยรับประทานในปริมาณที่กำหนด
– มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและตามลำตัว เป็นอาการที่พบได้น้อย
– แนะนำว่าถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากจนเกินให้รับประทานต่อได้
– แต่ถ้ามีผื่นมากก็ให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง
3. มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน
– มีอาการไอเหมือนจะเป็นไข้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้สตรีที่ร่างไม่แข็งแรง
– แนะนำว่าให้หยุดรับประทานสักพักจนกว่าอาการไข้จะหายไป
– ให้รับประทานต่อในปริมาณที่ลดลงครึ่งหนึ่ง
– สำหรับผู้ไม่ได้มีอาการไข้ให้เริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ
– แล้วค่อยเพิ่มปริมาณในการรับประทานตามฉลากสมุนไพร
4. มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ
– เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุด
– แนะนำว่าสามารถรับประทานต่อไปได้เลย

สรรพคุณ และประโยชน์ของยาว่านชักมดลูก

  • ต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท
  • ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์
  • ช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษ
  • ช่วยลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี
  • ช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
  • ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับ
  • ช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น
  • ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น
  • ช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม
  • ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  • ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ
  • ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว
  • ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง
  • ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์
  • ช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี
  • ช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน
  • ช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี
  • ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูก
  • ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด หรือในมดลูก
  • ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  • ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร
  • ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  • ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆ ของสตรี
  • ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ
  • ช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด
  • ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่
  • ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักในการผลิตยาสมุนไพรยี่ห้อต่าง ๆ เช่น ชนิดแคปซูล ชนิดผง

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี en.wikipedia.org/wiki/Curcuma_comosa, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล