Home Blog Page 20

ต้นมะกล่ำเผือก ใช้ใบพอกหน้าลดจุดด่างดำบนใบหน้า

0
มะกล่ำเผือก
ต้นมะกล่ำเผือก ใช้ใบพอกหน้าลดจุดด่างดำบนใบหน้า ไม้เถา ดอกเป็นแบบช่อกระจะสีชมพูอ่อน ทรงคล้ายดอกถั่ว เปลือกฝักมีขนสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุม เมล็ดมีผิวมันเงา และเรียบเกลี้ยง
มะกล่ำเผือก
เป็นไม้เถา ดอกเป็นแบบช่อกระจะสีชมพูอ่อน ทรงคล้ายดอกถั่ว เปลือกฝักมีขนสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุม เมล็ดมีผิวมันเงา และเรียบเกลี้ยง

มะกล่ำเผือก

สามารถพบได้ในแถบภูมิภาคมาเลเซียและอินโดจีน, ประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล, ประเทศจีน, ประเทศภูฏาน, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศปาปัวนิวกินี, ประเทศพม่า และประเทศศรีลังกา เจริญเติบโตในสภาพพื้นที่ตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น[1],[2],[3],[5]ชื่อวิทยาศาสตร์ Abrus pulchellus Thwaites ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Abrus fruticulosus auct. non Wight & Arn., Abrus pulchellus subsp. pulchellus จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[3],[5] ชื่ออื่น ๆ จีกู่เฉ่า (ภาษาจีนกลาง), โกยกุกเช่า (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), คอกิ่ว มะขามป่า (จังหวัดจันทบุรี), มะกล่ำตาหนู แปบฝาง (จังหวัดเชียงใหม่), มะขามย่าน (จังหวัดตรัง) เป็นต้น[1],[3]

ลักษณะของมะกล่ำเผือก

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถา (โดยจะทำการเลื้อยทอดยาวไปกับพื้นดินหรือเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ๆ)
    – ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ลำต้นมีความยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร แผ่กิ่งก้านออกมามากเป็นทรงพุ่มทึบ ก้านมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม
    – ต้นมีเถาสีเขียวลักษณะกลมยาว และต้นมีรากกลมใหญ่ มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร
  • ใบ
    – ใบจะออกเรียงสลับกัน มีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
    – ใบย่อยมีรูปร่างเป็นรูปไข่กลับ ตรงปลายใบเป็นติ่งหนามหรือโค้งมน ขอบใบเรียบ ส่วนที่โคนใบเบี้ยว ใบด้านบนไม่มีขน ส่วนด้านล่างจะมีขนสีขาวขึ้น มีหูใบรูปใบหอก และมีหูใบย่อยเป็นเส้นเรียวยาว มีเส้นกลางใบนูนขึ้นเล็กน้อย มีเนื้อใบบาง ใบย่อยมีอยู่ประมาณ 4-7 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน [1],[2],[3],[5]
    – ใบย่อยมีขนาดความยาวประมาณ 3.2-4.5 เซนติเมตร มีก้านใบยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และใบหลักมีขนาดที่ยาวกว่าใบย่อย มีก้านใบยาวประมาณ 2-3เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกมีรูปร่างเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ มีความยาวได้ประมาณ 1.2-1.3 เซนติเมตร ตรงกลางกลีบมีสีขาว กลีบมีรูปร่างเป็นรูปรี ตรงปลายกลีบเว้าบุ๋ม ขอบเรียบ ที่โคนกลีบเป็นรูปลิ่ม ส่วนกลีบเลี้ยงมีสีเขียวแกมสีชมพูอ่อน ที่โคนกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ตรงปลายโคนเว้าเป็นปลายตัด หรือเป็นรอยหยักตื้น ๆ และดอกมีใบประดับเป็นรูปไข่ มีความยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร
    – กลีบด้านข้างมีสีชมพูอ่อน มีรูปร่างเป็นรูปเคียว ตรงปลายมน ที่โคนสอบเรียว และมีรยางค์เป็นติ่ง มีความยาวรวมก้านกลีบประมาณ 1.1-1.2 เซนติเมตร
    – กลีบด้านล่างเป็นสีชมพู มีรูปร่างเป็นรูปเคียว ตรงปลายมน โคนมีสีขาวมีลักษณะสอบเรียวยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 9 อัน รูปร่างเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร อับเรณูมีสีเหลือง ติดอยู่บริเวณทางด้านหลัง ตรงโคนมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปหลอด มี 2 แบบ ออกเรียงสลับกัน คือแบบสั้นและแบบยาว แบบสั้นก้านชูอับเรณูจะมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร แบบยาวก้านชูอับเรณูจะมีความยาวประมาณ 1.2-1.3 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศเมียมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปแถบ แบน และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น
    – ออกดอกตามบริเวณซอกใบ ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อกระจะ[1],[3],[5]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนาน เปลือกฝักมีขนสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุม ผลมีขนาดความกว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร เมื่อฝักแห้งฝักจะแตกตัวออกมา
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีผิวมันเงา และเรียบเกลี้ยง เมล็ดมีรูปร่างกลมรีและแบนเล็กน้อย ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 4-5 เมล็ด
    – เมล็ดอ่อนมีสีขาว ส่วนเมล็ดสุกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีดำเข้ม [1],[3],[5]

สรรพคุณของมะกล่ำเผือก

1. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นเกาะติด[3]
2. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษงู (สำหรับใช้ภายนอก)[3]
3. ทั้งต้นนำมาทำเป็นยาแก้พิษร้อน แก้อาการร้อนใน และบรรเทาพิษไข้ (ทั้งต้น)[3]
4. ทั้งต้นนำมาทำเป็นยาแก้อาการปวดกระเพาะ[3]
5. ทั้งต้นหรือเครือ นำไปต้มกับน้ำใช้ทานช่วยลดความดันโลหิต[4]
6. ตำรับยากล่อมตับ ระบุไว้ว่า ให้ใช้ต้นสดในปริมาณ 30 กรัม, ตี้เอ๋อเฉ่าในปริมาณ 30 กรัม, ต้นยินเฉินในปริมาณ 30 กรัม, ซานจีจื่อ (เมล็ดพุดตานแห้ง) ในปริมาณ15 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้รับประทาน โดยยาจะมีสรรพคุณในการรักษาอาการตับอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง รักษาตับอักเสบที่ติดเชื้อแบบดีซ่าน
(ถ้ามีอาการอักเสบและตัวร้อน ก็ให้เพิ่มดอกสายน้ำผึ้งในปริมาณ 30 กรัม กับต้นหมากดิบน้ำค้างในปริมาณ 30 กรัม เข้าไปในสูตรตำรับยาข้างต้น) (ทั้งต้น)[3]
7. ใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย และแก้อาการเจ็บคอ (ใบ)[4]
8. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการปวดบวมตามข้อ และปวดตามแนวประสาท (ใบ)[4]
9. ใบมีสรรพคุณแก้อาการอักเสบ และปวดบวม โดยให้นำใบมาตำใช้พอกบริเวณที่มีอาการ (ใบ)[4]
10. ใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)[4]
11. เถาและรากนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม มีสรรพคุณเป็นยารักษาหลอดลมอักเสบ แก้อาการร้อนใน แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้หืด แก้อาการไอแห้ง และแก้อาเจียน [4]
12. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการจุกเสียดท้องและอาการปวดท้อง (ราก)[1]
13. เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำมันพืช ทำเป็นยาใช้เฉพาะภายนอก โดยมีสรรพคุณในการฆ่าพยาธิผิวหนัง รักษาฝีมีหนอง บรรเทาโรคกลากเกลื้อน และอาการผิวหนังบวมอักเสบ [4]

ประโยชน์ของต้นมะกล่ำเผือก

1. ใบนำมาใช้แทนน้ำตาลทรายได้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากมีสาร glycyrrhizin ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 50 เท่า[1],[2]
2. ใบนำมาตำใช้สำหรับพอกหน้า จะช่วยแก้จุดด่างดำบนใบหน้าได้ (ใบ) [4]
3. เมล็ดนำมาทำเป็นยาฆ่าแมลงได้ โดยจะออกฤทธิ์ได้นานถึง 2 วัน [4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากงานวิจัยใบพบว่า ภายในใบมีสารจำพวก Sterol, สารจำพวก Flavonoid, Amino acid และสารที่ให้รสหวานที่มีชื่อว่า Glycyrrhizin, Abrine และสาร Choline อยู่ [3]

ขนาดและวิธีใช้

1. ยาแห้งใช้ในปริมาณครั้งละ 10-15 กรัม นำไปใช้เข้ากับตำรายาอื่น ๆ หรือนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับรับประทาน
2. ยาสดใช้ในปริมาณครั้งละ 30-60 กรัม หรือตามที่ต้องการ นำมาใช้ภายนอก
3. ห้ามนำเมล็ดมารับประทานเพราะมีพิษอยู่[3]

ข้อควรระวัง

1. ถ้านำเมล็ดมาทำยา ให้ใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น และควรระมัดระวังในการใช้ [3]
2. เมล็ดมีสารพิษที่ส่งผลทำให้ถึงตายได้ [1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “มะกล่ำเผือก”. หน้า 145.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะกล่ำเผือก”. หน้า 30.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะกล่ำเผือก”. หน้า 422.
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “มะกล่ำเผือก”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา)., หนังสือสารานุกรมสมุนไพร : รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [05 พ.ย. 2014].
5. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “มะกล่ำเผือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [05 พ.ย. 2014].
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/
2. https://maklum101.files.wordpress.com/

ต้นแดง แก่นมีสรรพคุณรักษาโรคไข้กาฬ

0
ต้นแดง
ต้นแดง แก่นมีสรรพคุณรักษาโรคไข้กาฬ เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้ละเอียดสีน้ำตาลอมแดง ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ฝักแบนและแข็งมีสีน้ำตาลอมเทา เมล็ดมีสีน้ำตาลมีผิวเป็นมันเงา
ต้นแดง
เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้ละเอียดสีน้ำตาลอมแดง ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ฝักแบนและแข็งมีสีน้ำตาลอมเทา เมล็ดมีสีน้ำตาลมีผิวเป็นมันเงา

ต้นแดง

แดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย[4] สามารถพบได้ตามบริเวณตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณทั้งแล้งและชื้น โดยในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ[1] ชื่อสามัญ Iron wood, Irul, Jamba, Pyinkado ชื่ออื่น ๆ ไคว เพร่ (จังหวัดแพร่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน), ปราน (จังหวัดสุรินทร์), จาลาน สะกรอม ตะกร้อม จะลาน (จังหวัดจันทบุรี), คว้าย (จังหวัดเชียงใหม่และกาญจนบุรี), เพ้ย (จังหวัดตาก), ไปร (จังหวัดศรีสะเกษ), ผ้าน (จังหวัดเชียงใหม่), กร้อม (จังหวัดนครราชสีมา), เพ้ย (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดตาก) เป็นต้น[1],[2]
ชื่อวิทยาศาสตร์: Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia xylocarpa (Roxb.) Willd., Inga xylocarpa (Roxb.) DC., Mimosa xylocarpa Roxb., Xylia dolabriformis Benth.
จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1]

ข้อควรรู้
ไม้แดงมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่กล่าวถึงในบทความนี้ และอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Xylia xylocarpa var. kerrii (Craib & Hutch.) I.C.Nielsen มีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Xylia kerrii Craib & Hutch. ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่ชนิดนี้จะมีต่อมขึ้นที่เกสรเพศผู้[1]

ลักษณะของต้นแดง

  • ต้น
    – จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่
    – ต้นมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดรูปทรงกลม มีสีเขียวอมแดง ส่วนลำต้นจะมีรูปร่างค่อนข้างเปลาตรง มีผิวเปลือกต้นเรียบ ลำต้นมีสีเทาอมแดง ทั่วลำต้นมักจะตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนยอดอ่อนจะมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม
    – เนื้อไม้ที่มีสีเป็นสีน้ำตาลอมแดงหรือสีแดงเรื่อ ๆ
    – เนื้อไม้ละเอียด มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และมีเสี้ยนไม้เป็นลูกคลื่น
    – เนื้อไม้สามารถนำมาเลื่อยไสกบ นำมาขัดชักเงา เพื่อตบแต่งให้ดูสวยงามได้ง่าย มีคุณภาพดี[1]
    – มีความสูงตั้งแต่ 25 เมตร ไปจนถึงความสูงประมาณ 30-37 เมตร
    – นิยมการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นช่อใบแบบขนนกสองชั้น ซึ่งในแต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 4-5 คู่
    – ใบ ย่อยมีรูปร่างคล้ายไข่เกือบกลม ตรงปลายใบแหลม ส่วนที่โคนใบเบี้ยว
    – ใบ ที่แก่แล้วจะไม่มีขนขึ้นมาปกคลุมหรือถ้ามีก็มีขึ้นเล็กน้อยที่ใต้ท้องใบ
    – ช่อใบหลักมีความยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร มีก้านช่อใบที่มีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีขนาดความกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร และมีก้านใบยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
    – เป็นไม้ผลัดใบ
  • ดอก
    – ดอกมีสีเหลืองเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก โดยดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง และดอกมีกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังเช่นเดียวกับตัวดอก โดยกลีบรองดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ทั้งตัวดอกหลักและกลีบรองดอกจะมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมเป็นประปราย ดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน
    – ดอกมีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว
    – ดอกจะออกในลักษณะที่เป็นช่อ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยกระจุกตัวอยู่รวมกัน โดยช่อดอกจะอยู่ที่บริเวณซอกใบ
    – ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนมีนาคม[1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนและแข็ง ฝักมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกฝักเรียบเกลี้ยง รูปร่างของฝักเป็นรูปขอบขนาน โดยจะโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักมีขนาดความยาวอยู่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก โดยเปลือกของฝักที่แตกออกจะมีลักษณะที่ม้วนบิดงออย่างเห็นได้ชัด
    – ฝักจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[4]
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีสีน้ำตาลมีผิวเป็นมันเงา มีเปลือกแข็งห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้ เมล็ดมีรูปร่างกลมแบนและรีเป็นเรียวแหลม มีขนาดความกว้างประมาณ 0.35-0.5 นิ้ว และมีความยาวประมาณ 0.4-0.7 นิ้ว โดยภายในฝัก 1 ฝัก จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 6-10 เมล็ด
    – เมล็ดที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถงอกได้ในทันที แม้จะเก็บเอาไว้นานเป็นระยะเวลา 1 ปีก็ตาม[1]

สรรพคุณของต้นแดง

1. เปลือกมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องร่วง (เปลือก)[3]
2. เปลือกมีฤทธิ์เป็นยาช่วยสมานธาตุ (เปลือก)[1]
3. แก่นมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดอักเสบของฝีประเภทต่าง ๆ ได้ (แก่น)[1]
4. แก่นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (แก่น)[3]
3. แก่นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกษัย (แก่น)[1],[3]
4. แก่นมีสรรพคุณเป็นยารักษาท้องเสีย (แก่น)[3]
5. แก่นมีสรรพคุณรักษาโรคไข้กาฬ และรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ (แก่น)[1]
6. แก่นนำมาทำเป็นยารักษาโรคซางโลหิต (แก่น)[1],[3]
7. ดอกมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไข้หวัด (ดอก)[1],[3]
8. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก)[1],[3]

ประโยชน์ของต้นแดง

1. ไม้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำมาทำเป็นถ่านหรือฟืนได้เป็นอย่างดี[1],[4]
2. เนื้อไม้เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งปลวกและเพรียงยังไม่ค่อยมาทำลายอีกด้วย จึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ นำมาทำเรือ นำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่าง ๆ นำมาทำหมอนรองรางรถไฟ นำมาทำไม้บุผนังให้เกิดความสวยงามภายในบ้าน นำมาใช้ผลิตเป็นด้ามเครื่องมือต่าง ๆ นำมาทำเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้าน และสามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักได้อีกด้วย [1]
3. สามารถนำมาปลูกเป็นพรรณไม้สำหรับตกแต่งสถานที่ได้ เช่น ในบริเวณบ้าน ตามสวนสาธารณะ และตามพื้นที่โล่งแจ้ง เป็นต้น[1]
4. เมล็ดสามารถนำมารับประทานได้[1],[4]
5. เป็นพรรณไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ทางด้านระบบนิเวศ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการบำรุงหน้าดิน และช่วยยึดเกาะหน้าดิน อีกทั้งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไปปลูกป่า[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “แดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [28 พ.ย. 2013].
2. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ต้นแดง ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com. [28 พ.ย. 2013].
3. โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร. “ต้นแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: khtpschool.ning.com. [28 พ.ย. 2013].
4. กรมป่าไม้. “ไม้แดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.forest.go.th. [28 พ.ย. 2013].
5. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://efloraofindia.com/

ดองดึง ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ

0
ดองดึง
ดองดึง ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นไม้เถาล้มลุก ใบเดี่ยว กลีบดอกด้านบนมีสีแดง โคนดอกสีเหลือง เมล็ดกลมสีแดงส้มเป็นจำนวนมาก
ดองดึง
เป็นไม้เถาล้มลุก ใบเดี่ยว กลีบดอกด้านบนมีสีแดง โคนดอกสีเหลือง เมล็ดกลมสีแดงส้มเป็นจำนวนมาก

ดองดึง

ดองดึง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกาเขตร้อน มีอยู่ทั่วไปในแถบเอเชียเขตร้อน พืชชนิดนี้จะขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า และดินปนทราย หรือดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับ มีการนำมาทำเป็นยาสมุนไพร ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนหัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด และราก ชื่อสามัญ คือ Climbing lily, Turk’s cap, Superb lily, Flame lily, Gloriosa lily ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Gloriosa superba L. จัดอยู่ในวงศ์ดองดึง (COLCHICACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เช่น ก้ามปู (ชัยนาท), หมอยหีย่า (อุดรธานี), พันมหา (นครราชสีมา), คมขวาน หัวขวาน บ้องขวาน (ชลบุรี), ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (ภาคกลาง), มะขาโก้ง (ภาคเหนือ), ดาวดึง หัวขวาน หัวฟาน พันมหา (ภาคอีสาน), ฎงฎึง (เขมร)

ลักษณะของต้นดองดึง

  • ต้น
    – เป็นไม้เถาล้มลุก
    – มีความยาวได้ถึง 5 เมตร
    – มีอายุอยู่ได้หลายปี
    – มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินเป็นทรงกระบอกโค้ง
  • ใบ
    – มีใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกันหรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบ
    – ใบมีความคล้ายรูปหอก มีความยาว 5-15 เซนติเมตร
    – ปลายใบแหลมงอเป็นมือเกาะไม่มีก้าน
  • ดอก
    – เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ
    – กลีบดอกด้านบนมีสีแดง โคนดอกสีเหลือง
    – ดอกมีความยาว 6-10 เซนติเมตร
    – ก้านดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
    – มีเกสรตัวผู้ 6 อัน
    – มีก้านยาว 3-5 เซนติเมตร
    – อับเรณูจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
    – เกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก
  • ผล
    – เป็นรูปขอบขนาน
    – มีความยาว 5-10 เซนติเมตร
    – แตกตามรอยประสาน
    – มีเมล็ดกลม ๆ สีแดงส้มเป็นจำนวนมาก

สารโคลชิซีน (Colchicine) จากดองดึง

  • ช่วยรักษาอาการปวดข้อได้เป็นอย่างดี
  • มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์
  • สามารถนำไปรักษาโรคมะเร็งได้
  • ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม ที่มีการนำไปใช้ผสมพันธุ์ให้กับพืชเพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่

ข้อควรระวังของสารโคลชิซีน (Colchicine)

  • ถึงจะมีประโยชน์ แต่ก็ยังมีผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์
  • เป็นพิษต่อทางเดินอาหาร
  • เมื่อได้รับสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก หรือประมาณ 3 มิลลิกรัม
  • อาการเป็นพิษจะแสดงออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง
  • จะมีอาการแสบร้อนในปากและลำคอ
  • ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ
  • รู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก
  • มีอาการเจ็บปวดตามตัว
  • ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ
  • คลื่นหัวใจผิดปกติจนวัดไม่ได้
  • อาจจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน
  • ปากและผิวหนังชา
  • กลืนไม่ลง มีอาการชัก
  • อุจจาระร่วงอย่างแรง
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • ปวดท้องปวดเบ่ง
  • มีอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง
  • ทำให้ร่างกายเสียน้ำมาก
  • อาจส่งผลทำให้หมดสติได้
  • หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-20 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิของร่างกายก็จะต่ำลงและเสียชีวิตในที่สุด
  • ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ของสารโคลชิซีน หลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมงจะเป็นช่วงที่มีอาการหนักสุด
  • การขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกายก็จะเป็นไปอย่างช้า ๆ
  • พิษของสารชนิดนี้เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้งก็จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย
  • พิษจะปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้สารนี้เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นพิษต่อคนที่กินนมเข้าไปด้วย
  • สารโคลชิซีนก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด

เคสตัวอย่างที่รับประทานหัว

  1. มีผู้เสียชีวิตจากการได้รับสารโคลชิซีนจากหัว
    – มีอาการไตวายเฉียบพลัน ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ลำไส้อักเสบ คลื่นหัวใจผิดปกติจนไม่สามารถวัดได้
  2. ผู้ป่วยที่รับประทานหัวต้ม
    – หลังจากรับประทาน 2 ชั่วโมงก็เริ่มมีอาการอาเจียน อีก 8 ชั่วโมงต่อมาก็มีอาการถ่ายเป็นน้ำอย่างรุนแรงและท้องเสียตลอดทั้งคืน มีอาการหมดสติ หัวใจเต้นเร็ว ขาดน้ำ แพทย์ได้รักษาด้วยการให้น้ำเกลือและยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยจึงมีอาการดีขึ้น
  3. ผู้เสียชีวิตหลังจากรับประทานหัวเป็นอาหารเพราะคิดว่าเป็นหัวกลอย
    – หลังจากรับประทานไป 2 ชั่วโมงก็เริ่มมีอาการท้องเสีย อาเจียน มีอาการขาดน้ำ มีความดันเลือดต่ำวัดค่าไม่ได้ อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว เมื่อถึงวันที่ 4 ก็เสียชีวิตลงเพราะหัวใจล้มเหลว หายใจไม่ได้
  4. ผู้เสียชีวิต 3 รายจากการรับประทานหัว
    – เข้าใจผิดว่าเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการท้องอืด แก้ปวดเมื่อย โดยนำไปต้มแล้วนำมารับประทานคนละ 1 แก้ว หลังจากนั้นก็มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในวันรุ่งขึ้น

การแก้พิษเบื้องต้น

  • ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อล้างท้องให้เร็วที่สุด
  • รักษาปริมาณอิเล็กโทรไลต์ให้สมดุลเพื่อป้องกันการช็อก
  • อาจจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดอย่าง meperidine (50-100 mg.) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • จะใช้ meperidine ร่วมกับ atropine เพื่อช่วยลดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ควรจะมีเครื่องช่วยหายใจในกรณีที่กล้ามเนื้อเกิดอัมพาต หรือมีภาวะการหายใจล้มเหลวหรืออาการช็อก

สรรพคุณของรากและหัวดองดึง

  • ช่วยขับพยาธิสำหรับสัตว์พาหนะ
  • ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อหรือรูมาติสซั่ม
  • ช่วยรักษาโรคลมจับโปง หรือโรคปวดเข่า
  • ช่วยแก้อาการหัวเข่าปวดบวมได้
  • ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
  • ช่วยรักษาโรคคุดทะราด
  • ช่วยรักษาโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นแผลตามผิวหนัง
  • ช่วยแก้พิษงู พิษแมงป่อง ตะขาบกัด
  • ช่วยรักษาโรคเรื้อน
  • ช่วยรักษาบาดแผล
  • ช่วยแก้โรคผิวหนัง
  • ช่วยแก้โรคหนองใน
  • ช่วยรักษากามโรค
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยลดเสมหะ แก้เสมหะ
  • ช่วยแก้ลมพรรดึก
  • ช่วยรักษาโรคมะเร็งได้

ประโยชน์ของดองดึง

  • สารสกัดจากหัวและราก สามารถนำมาใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ได้
  • เหง้าหรือหัว สามารถนำมาใช้มาสกัดสารและทำเป็นยาเม็ดไว้สำหรับรักษาโรคเกาต์ (Gout) หรืออาการปวดข้อได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
1. สุดยอดสมุนไพรธรรมชาติที่ควรรู้. ศักดิ์ บวร. ปีที่พิมพ์ ม.ค.2543. สำนักพิมพ์สมิต, www.rspg.or.th, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพรมหาวิทยาลัยมหิดล
2. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.walmart.com
2. https://www.gardeningknowhow.com

ต้นซาก สรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ

0
ต้นซาก
ต้นซาก สรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ เป็นไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สีขาว ผิวท้องใบมีขนสั้นปกคลุม ดอกสีเหลือง สีเหลืองนวล หรือสีขาวปนเหลืองอ่อน ฝักคล้ายกับฝักประดู่
ต้นซาก
เป็นไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สีขาว ผิวท้องใบมีขนสั้นปกคลุม ดอกสีเหลือง สีเหลืองนวล หรือสีขาวปนเหลืองอ่อน ฝักคล้ายกับฝักประดู่

ซาก

ซาก หรือพันซาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrophleum succirubrum Gagnep. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Erythrophleum teysmannii var. puberulum Craib)[1] จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[4],[5]
ชื่อเรียกอื่น ๆ ผักฮาก (ภาคเหนือ), ชาด พันชาด ไม้ชาด ซาด พันซาด (ภาคอีสาน), ตะแบง (อุดรธานี), ซาก คราก (ชุมพร), ตร้ะ (ส่วย-สุรินทร์), เตรีย (เขมร-สุรินทร์)[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของต้นซาก

  • ต้น [1],[2],[4],[5]
    – เป็นไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดใหญ่
    – เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
    – ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณได้ถึง 20-35 เมตร
    – ลำต้นมีขนาดใหญ่
    – ออกใบเยอะจนหนาทึบ
    – เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่องค่อนข้างลึกตามยาวและตามขวางของลำต้น
    – เนื้อไม้ด้านในเป็นสีขาว
    – แก่นกลางไม้มีเนื้อแข็งเป็นสีน้ำตาล
    – กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด
    – สามารถพบขึ้นได้ตามป่าราบและป่าผลัดใบ
    – สามารถพบได้มากในจังหวัดนครราชสีมา หรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และทางภาคใต้ตอนบน
  • ใบ [1],[3],[5]
    – ใบมีรูปร่างคล้ายกับใบมะค่าหรือใบประดู่
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
    – ออกเรียงสลับกัน
    – มีช่อใบด้านข้าง 2-3 คู่
    – ในช่อใบมีใบย่อยประมาณ 8-16 คู่ ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่ รูปใบหอก รูปหัวใจ หรือรูปข้าวหลามตัด
    – ปลายใบมน
    – โคนใบสอบหรือเบี้ยว
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และมีความยาว 3-10 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเป็นสีเขียวสด
    – ผิวท้องใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุม
    – มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 5-7 เส้น
    – ก้านใบย่อย มีความยาว 2-3 มิลลิเมตร
  • ดอก [1],[3],[5]
    – ออกดอกเป็นพุ่มหรือจะออกเป็นช่อยาวใหญ่
    – จะออกดอกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง
    – จะมีช่อดอก 1-3 ช่อต่อหนึ่งซอกใบ
    – มีดอกย่อยจำนวนมากอยู่ตามแกนดอก
    – ดอกเป็นสีเหลือง สีเหลืองนวล หรือสีขาวปนเหลืองอ่อน
    – ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นรูปถ้วยสีเขียว
    – ขอบถ้วยแยกเป็นแฉก 5 แฉก
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปใบพายแคบ ๆ สีเขียวแกมขาวติดกันเล็กน้อยที่ฐาน
    – กลีบดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน
    – เกสรเพศเมียมี 1 อัน
    – สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
    – จะออกดอกพร้อมกับการผลิใบอ่อน
    – ดอกจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายกับกลิ่นซากเน่าตายของสัตว์ จึงถูกเรียกชื่อว่า “ต้นซาก“
  • ผล [1],[2],[3],[5]
    – ผลจะออกเป็นฝัก
    – ฝักจะรูปร่างกลมคล้ายกับฝักประดู่
    – มีความกว้าง 2-3.5 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร
    – มีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ดต่อฝัก
    – เมล็ดมีรูปร่างกลมและแบน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของซาก

  1. สารสกัดจากลำต้นของซากด้วย 50% แอลกอฮอล์[5]
    – มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
    – ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
    – มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย
    – ไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรง
    – สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดที่เซลล์
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus (เชื้อที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนอง)
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Shigella (เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคบิด)
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อ V. cholerae (เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค) ที่ความเข้มข้น ≤ 0.78 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Salmonella ที่ความเข้มข้น 1.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli และ Ps. aeruginosa ที่ความเข้มข้น 6.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก ที่ความเข้มข้น 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริม Herpes simplex virus type 1
    – มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง
    – สามารถชักนำการตายของเซลล์มะเร็งตับแบบอะพอพโทซิต่ำเมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน
  2. มีสารในกลุ่มแนนนินส์ ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์เป็นองค์ประกอบ[5]
  3. จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์[4]
    – มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ กระตุ้นหัวใจ
    – กระตุ้นการหดตัวและคลายของกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย
    – เพิ่มความดันโลหิต และเป็นพิษต่อหัวใจ อาจทำให้ตายได้

พิษของต้นซาก

  1. ส่วนที่เป็นพิษของต้นซาก[2]
    – เปลือกไม้
    – เนื้อไม้
    – ราก
    – ใบ
    – สารที่เป็นพิษของต้นซาก[2]
    – เป็นสารในกลุ่ม alkaloids คือ
    – acetylcassaidine
    – cassainecassaidine
    – coumingine
    – coumidine
    – erythrophleine, ivorine
  2. สาเหตุในการเกิดพิษ
    – ส่วนมากจะเป็นความเข้าใจผิดว่าเมล็ดของซากเป็นเมล็ดของไม้แดง
  3. อาการของพิษ[2]
    – ในอาการแรกจะเริ่มเมื่อกินเมล็ดเข้าไป มีอาการอาเจียน อาการจะเกิดขึ้นหลังการกินเข้าไปประมาณ 30-60 นาที จากนั้นจะมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ต่อมาจะมีผลต่อระบบประสาท อาจจะทำให้เสียชีวิตได้
  4. การรักษาพิษ[2]
    – ควรรีบให้สารน้ำ, NaHCO3, atropine และ dopamine เข้าหลอดเลือดดำ
    – ทำการให้ออกซิเจน

ข้อควรระวัง[3]

  • หากนำมารับประทานเดี่ยวหรือต้มกับน้ำดื่มอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
  • ก่อนนำมาปรุงเป็นยาจึงต้องนำเนื้อไม้มาเผาให้เป็นถ่านก่อน เพื่อทำลายพิษให้หมดไป
  • ด้วยความเป็นพิษของต้น ในบรรดามิจฉาชีพจึงนำเอาไปใช้ในทางที่ไม่ดี
  • ทำให้ต้นไม่เป็นที่นิยมในการปลูกและหาได้ยากในปัจจุบัน

ตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับพิษ

  1. เด็กหญิงอายุ 12 ปี[2]
    ได้รับประทานเมล็ด 3 เมล็ด 1 ชั่วโมงก่อนมาถึงโรงพยาบาล หลังรับประทานเด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะ ผลการตรวจร่างกายพบว่า มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 130/90 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 24 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น 94 ครั้งต่อนาที ต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 3 ของการรักษา
  2. เด็ก 4 คน อายุประมาณ 10 ขวบ[2]
    ได้กินเมล็ดเข้าไปตั้งแต่ตอนเที่ยงจนถึงเวลา 9 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ได้พาเด็กมาโรงพยาบาล เนื่องจากเด็กมีอาการอ่อนเพลียมากเกือบไม่รู้ตัว มีอาการหอบ และเสียชีวิต 1 คน ในขณะที่มาถึงโรงพยาบาลได้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนจะได้รับการรักษา ผลการตรวจร่างกายพบว่า เด็กไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการหอบ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอม่านตาหดเล็กมาก เด็กอีก 3 คนที่เหลือได้ทำการรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ ผลการรักษาหายเป็นปกติ
    – จากการสอบถามเด็กที่รอดชีวิตพบว่าได้กินเมล็ดเข้าไปคนละประมาณ 2-3 เมล็ดเท่านั้น
  3. เด็กหญิงอายุ 6 ปี[2]
    ได้รับประทานเมล็ด 2 เมล็ด ในภายหลังการรับประทานเด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้งและซึมลง
    จึงมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผลการตรวจร่างกายพบว่า อุณหภูมิของร่างกายเป็นปกติ ความดันโลหิต 100/60 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 40 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น 100 ครั้งต่อนาที ผู้ป่วยมีอาการซึมลงเล็กน้อย
    หายใจไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นเร็วเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. เด็กอายุ 5 ปี[2]
    ได้รับประทานเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด ผ่านไป 7 ชั่วโมงก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล หลังรับประทานไปได้ 30 นาที เด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้งและซึมลง เมื่อตรวจร่างกายพบว่าอุณหภูมิเท่ากับ 36.8 องศาเซลเซียส
    ความดันโลหิต 80/50 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 40 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น 50 ครั้งต่อนาที หายใจไม่สม่ำเสมอหัวใจเต้นช้าและจังหวะไม่สม่ำเสมอแพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโดยให้สารน้ำ NaHCO3 atropine และ dopamine เข้าทางหลอดเลือดดำ และทำการให้ออกซิเจน ผลการรักษาพบว่าหัวใจของผู้ป่วยเต้นช้าอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยมีอาการซึมลงเรื่อย ๆ 3 ชั่วโมงต่อมาเริ่มหายใจช้าลง ความดันโลหิตลด และได้เสียชีวิตในที่สุด
  5. เด็กชายอายุ 3 ปี[2]
    ได้รับประทานเมล็ด ประมาณ 15 เมล็ด ผ่านไป 12 ชั่วโมงก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล หลังการรับประทานไปได้ 30 นาที เด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ปวดท้อง ผลการตรวจของแพทย์พบว่าเด็กมีอาการซึมเล็กน้อย ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอุณหภูมิของร่างกายปกติ ความดันโลหิต 100/100 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 32 ครั้งต่อนาที
    ชีพจรเต้นเบาเร็วไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโดยให้สารน้ำและ NaHCO3 เข้าทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน 30 นาที ต่อมาผู้ป่วยมีอาการหมดสติและหัวใจหยุดเต้น คลื่นหัวใจมีลักษณะ cardiac standstill ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ผู้ป่วยได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
  6. เด็กชายอายุ 2 ปี[2]
    – มีประวัติรับประทานเมล็ดพร้อมผู้ป่วยรายที่ 1 รับประทานเพียงแค่ 3-4 เมล็ด หลังการรับประทานไปได้ 30 นาที เด็กมีอาการอาเจียนประมาณ 3-4 ครั้ง มีอาการปวดท้อง ผลการตรวจของแพทย์พบว่าเด็กมีอาการซึมลงเล็กน้อย ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ อุณหภูมิของร่างกายเป็นปกติ ความดันโลหิต 90/50 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 32 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นประมาณ 100 ครั้งต่อนาที แพทย์ทำการรักษาโดยให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ และผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 3 ของการรักษา

สรรพคุณของซาก

– ช่วยแก้ไข้สันนิบาต[4]
– ช่วยดับพิษโลหิต[4]
– ถ่าน ช่วยแก้โรคผิวหนัง[4]
– ถ่าน ช่วยแก้พิษไข้ แก้อาการเซื่องซึม[1]
– ถ่าน ช่วยดับพิษตานซาง[4]
– ถ่าน ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับเด็กได้[1]
– ลำต้น ช่วยแก้ไข้ที่มีพิษร้อน กระสับกระส่าย[4]
– ลำต้น ช่วยแก้ไข้เซื่องซึม[4]

ประโยชน์ของซาก

  • ต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้อนุรักษ์หรือปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า[3]
  • ต้น สามารถช่วยรักษาหน้าดินได้ดี เพราะเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่[3]
  • เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาอาคารบ้านเรือน เสาเข็มได้[3]
  • แก่น สามารถนำมาใช้ทำด้ามขวานหรือเครื่องมือทางการเกษตร[4]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาเผาให้เป็นถ่านได้ จะทำให้ไฟแรงได้ดี เรียกว่า “ถ่านทำทอง“[1]
  • ชาวบ้านชนบทในสมัยก่อน จะตัดเอาต้นไปเผาทำถ่านบรรจุกระสอบขาย เนื่องจากเป็นถ่านที่ให้แรงและไม่มอดง่าย ทำให้ได้รับความนิยมมาก[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ซ า ก”. หน้า 280-281.
2. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “หูปลาช่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [14 ก.ย. 2014].
3. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ซ า ก กับที่มาชื่อประโยชน์และโทษ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [14 ก.ย. 2014].
4. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ซ า ก, ชาด, พันชาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [14 ก.ย. 2014].
5. โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “พันซาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/. [14 ก.ย. 2014].
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org
2. https://www.malawiflora.com

ชิงช้าชาลี ช่วยรักษาโรครำมะนาด

0
ชิงช้าชาลี
ชิงช้าชาลี ช่วยรักษาโรครำมะนาด เป็นไม้เถาคล้ายบอระเพ็ด เถาเกลี้ยงไม่มีตุ่ม ใบรูปหัวใจ ดอกตัวผู้เป็นช่อสีเหลือง ผลกลม ฉ่ำน้ำ ใบรสขม ใช้ฆ่าพยาธิ
ชิงช้าชาลี
เป็นไม้เถาคล้ายบอระเพ็ด เถาเกลี้ยงไม่มีตุ่ม ใบรูปหัวใจ ดอกตัวผู้เป็นช่อสีเหลือง ผลกลม ฉ่ำน้ำ ใบรสขม ใช้ฆ่าพยาธิ

ชิงช้าชาลี

ชิงช้าชาลี หรือบอระเพ็ดตัวผู้ ชื่อสามัญ Heart-leaved Moonseed[3], Gulancha Tinospora[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora baenzigeri Forman[1],[2],[3] จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ จุ่งจะริงตัวพ่อ (ภาคเหนือ),จุ่งจะลิงตัวแม่ (ภาคเหนือ)[1],[2], บรเพ็ชร บรเพ็ชร์ ชิงชาลี (ภาคกลาง), ตะซีคี, ตะคี[4], ตะซีคิ (กะเหรี่ยง ภาคเหนือ)[5] เป็นต้น

ลักษณะของชิงช้าชาลี

  • ต้น เป็นไม้เถาที่จะเลื้อยพาดตามต้นไม้อื่นๆ เถาอ่อนเป็นสีเขียว มีลักษณะกลมและเหนียว มีปุ่มเล็กน้อยตามเถา เถามีรูอากาศเป็นสีขาว ทุกส่วนนั้นมีรสขม[1],[2],[3] ใช้วิธีการปักชำและเพาะเมล็ดในการขยายพันธุ์ พบได้ตามที่รกร้าง[4]
  • ดอก ออกเป็นช่อๆ ดอกมีขนาดเล็กสีครีม ไม่มีกลีบดอก มักจะออกช่อตามซอกใบและตามเถามีเกสรตัวผู้ยาวพ้นออกมาเหนือดอก[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจใบจะกลมโตและมีขนาดเดียวกับบอระเพ็ด ใบมีขอบเรียบ โคนใบมีความมนและเว้า ปลายแหลม ใบมีเนื้อในที่บาง ก้านใบมีความยาว 3-5 เซนติเมตร
    ใบยาวและกว้าง 6-10 เซนติเมตร มีปุ่ม 2 ปุ่มเล็กๆอยู่บนเส้นใบ ท้องใบและหลังใบมีความเรียบ[1],[2],[3]
  • ผล มีลักษณะเรียบเป็นมัน เป็นทรงกลมขนาด 1 ถึง 1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดเดี่ยวเป็นสีเทาออกดำ เมล็ดมีผิวขรุขระ ผลสดมีสีเขียวเข้มและผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อผลเป็นสีขาวใส[1],[2]

ประโยชน์ของชิงช้าชาลี

1. โตเร็วและไม่ต้องดูแลมาก สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
2. สามารถทำเป็นอาหารสัตว์ได้ โดยการนำใบมาทำ[5]
3. สามารถใช้เถาที่โตเต็มที่แล้วมาทำเป็นชิงช้าสำหรับเด็กๆใช้แกว่งไกวเล่นได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดชนิดหนึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูได้ ระยะเวลาทดลอง 1 เดือน สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 38.01 ข้อมูลจากการทดลองเมื่อปี ค.ศ.2002 ที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย แต่ในคนยังไม่เคยพบรายงานการทดลอง
  • มีการทดลองใช้สารสกัดจากต้นในสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ ข้อมูลจากการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1985 ประเทศอินเดีย
  • เถามีสารรสขม ที่สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการอักเสบ แก้อาการเกร็ง แก้ไข้ และมีอีกข้อมูลว่าเถาสามารถใช้เป็นยาระงับความเจ็บปวดได้ประมาณ 1/5 ของ Sodium salicylate
    ในสิ่งสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของเถามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Escherichia coli และสิ่งที่สกัดด้วยน้ำของชิงช้าชาลีมี Phagocytic index สูง สามารถระงับการเจริญของ Mycobacterium tuberculosis ภายนอกร่างกายได้[5]
  • ใบ มีปริมาณของโปรตีนสูง มีฟอสฟอรัสและแคลเซียมในปริมาณปานกลาง เถามี Glucoside รสไม่ขมชื่อ giloinin และ golo-sterol รสขม ชื่อ giloin glucosides และยัง พบแอลคาลอยด์อีก 3 ชนิด fatty acids และessential oilในพืชนี้และเมื่อเร็วๆนี้มีผู้พบสารรสขม chasmanthin columbinและ palmarin และมีนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งพบสารรสขมอีก 3 ชนิด คือ tinosporol,tinosporic acid และ tinosporan [5]
  • มีการทดลองกับหนูที่เป็นเบาหวาน พบว่าการใช้สารสกัดจากรากด้วยแอลกอฮอล์ เป็นเวลานาน 6 อาทิตย์สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักของหนูทดลองได้ ข้อมูลเมื่อปี ค.ศ.2003 ประเทศอินเดีย ใน Annamalai University[5]
  • มีการทดลองใช้สารสกัดในกระต่าย พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จากการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1992 ประเทศอินเดีย[5]
  • มีการทดสอบความเป็นพิษด้วยการฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลกับน้ำ เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ในอัตราส่วน 1:1 พบว่าขนาดที่สัตว์ทดลองทนสูงสุดคือ 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[5]
  • มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านไวรัส ลดความดันโลหิต แก้ปวด ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบ[5]
  • มีฤทธิ์แก้ปวดและลดการอักเสบแต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ข้อมูลจากการทดลองในสัตว์[3]

สรรพคุณของชิงช้าชาลี

1. เถา สามารถช่วยแก้อาการเกร็งได้ [1],[2],[5]
2. เถา ช่วยในการทำเป็นยาแก้อักเสบและแก้พิษอักเสบได้ [1],[2],[5]
3. สามารถรักษาฝีได้ โดยการใช้ใบสดนำมาตำพอก(ใบ)[4]
4. แก้ไฟลามทุ่ง (erysipelas) ได้โดยการใช้ใบอ่อนผสมกับน้ำนมทา(ใบ)[1],[2]
5. สามารถช่วยในการดับพิษทั้งปวงได้ โดยการใช้ใบทำเป็นยาถอนพิษ (ใบ)[1],[2],[4]
6. ใบเป็นรสขมเมาสามารถใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี แก้ดีพิการได้ (ใบ)[1],[2],[4]
7. สามารถใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องเฟ้อได้โดยการนำดอกและรากมาทำ(รากและดอก)[5]
8. ช่วยแก้รำมะนาด แก้อาการปวดฟันได้(ดอก)[2]
9. รากอากาศ สามารถทำให้อาเจียนอย่างแรงได้ [1],[5]
10. สามารถแก้โลหิตอันเป็นพิษ ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยการใช้เถาเป็นยา(เถา)[4],[6]
11. ทำเป็นยาลดเบาหวานโดยการใช้น้ำต้มจากทั้งต้นมาทำ(ทั้งต้น)[5]
12. ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ(เถา)[1],[2],[3],[4],[5] อีกข้อมูลพบว่าทำเป็นยาแก้ธาตุพิการได้ โดยใช้รากและดอกมาทำเป็นยา (รากและดอก)[5]
13. สามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้โดยใช้รากและดอกมาทำเป็นยา(รากและดอก)[5]
14. สามารถช่วยรักษาอาการปวดได้ โดยการนำใบสดมาตำพอก(ใบ)[1],[2],[4]
15. สามารถใช้แก้พิษฝีดาษ แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษโดยการใช้เถามาเป็นยา (เถา)[1],[2],[4]
16. สามารถทำเป็นยาฆ่าพยาธิ พยาธิผิวหนังโดยการใช้ใบมาทำ (ใบ)[1],[2],[4]
17. ช่วยในการรักษาแผลได้ โดยการนำใบมาบดผสมกับน้ำผึ้ง(ใบ)[1],[2],[5]
18. สามารถช่วยแก้ดีซ่านได้(ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[6]
19. สามารถทำเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะโดยการใช้เถามาทำ(เถา)[1],[2],[5]
20. เป็นยาขับพยาธิในท้อง ในฟัน ในหูได้โดยการใช้ดอก(ดอก)[2],[4]
21. เป็นยาแก้แมลงเข้าหูได้ เนื่องจากดอกมีรสขมเมา(ดอก)[2]
22. ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อนได้ เนื่องจากรากอากาศมีรสเย็น (รากอากาศ)[1]
23. มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ ไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรียที่จับเว้นระยะ (antiperiodic) ทำให้เลือดเย็นไข้กาฬ ไข้เหนือ โดยการนำเถามาใช้และสามารถใช้แทนเถาบอระเพ็ดได้(เถา)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
24. สามารถใช้เป็นยาแก้มะเร็งได้ (เถา, ใบ)[1],[2],[4]
25. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลียเนื่องจากเถามีรสขมเย็น (เถา)[1],[2],[4],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ชิงช้า ชาลี (Chingcha Chali)”. หน้า 106.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ชิงช้า ชาลี”. หน้า 110.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชิง ช้า ชาลี Heart-leaved Moonseed”. หน้า 203.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ชิงช้าชาลี”. หน้า 269-270.
5. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ชิงช้า ชาลี”. หน้า 81-82.
6. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชิงช้าชาลี”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [05 ม.ค. 2015].
7. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://cpreecenvis.nic.in/

ชาอู่หลง ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน

0
ชาอู่หลง ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน เป็นชากึ่งหมัก ผ่านกระบวนการนวดเล็กน้อย ใช้เวลาไม่มากนัก มีกลิ่นหอม รสชาติชุ่มคอ
ชาอู่หลง
เป็นชากึ่งหมัก ผ่านกระบวนการนวดเล็กน้อย ใช้เวลาไม่มากนัก มีกลิ่นหอม รสชาติชุ่มคอ

ชาอู่หลง

ชาอู่หลง (Oolong Tea) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Camellia sinensis โดยชาทุกยี่ห้อที่นำมารับประทานเป็นชาที่จากพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด เพียงแต่วิธีการหมักและกระบวนการผลิตนั้นแตกต่างกัน

กระบวนการผลิต

  • เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักยอดใบชาสดเพียงบางส่วน 10-80%
  • นำใบชามาผึ่งแดดไว้ 20-40 นาที
  • ทำให้อุณหภูมิของใบชาสูงขึ้นจนเกิดกลิ่นหอม
  • นำไปผึ่งในที่ร่มอีกครั้ง
  • ช่วยกระตุ้นให้ยอดชาตื่นตัว เร่งการหมัก
  • นำยอดชาที่หมักนั้นมาทำให้แห้ง
  • นิยมดื่มกันมากในแถบประเทศจีนตอนกลาง แถบมณฑลฝูเจี๋ยน กวางตุ้ง
  • เป็นชาที่มีรสชาติเข้มข้นและมีกลิ่นหอม
  • น้ำชาที่ได้จะมีสีแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต
  • ในประเทศไทยได้มีการผลิตในแถบยอดดอยแม่สลอง ดอยวาวี จังหวัดเชียงราย

สารสำคัญที่พบ

  • Oolong Tea polymerized-polyphenols หรือ OTPPs เป็นกลุ่มของสารโพลีฟีนอล
  • เป็นสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสารกลุ่มคาเทชินมาจากกระบวนการกึ่งหมักของใบชา
  • มีเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสและความร้อนจากกระบวนการผลิตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
  • สารในกลุ่มนี้จะมีผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาอู่หลง
  • ปริมาณของสารนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามระดับของการหมัก

คำแนะนำในการชงชา

  1. ปริมาณใบชา
    – หากใบชาที่ใช้ประเภททรงกลมแน่น ให้ใช้ชาประมาณ 25% ของกาชา
    – เมื่อใบชาคลายเต็มที่ควรจะมีปริมาณ 90% ของกาชา
    – ขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบชา
    – ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ว่าต้องการให้ใช้มากหรือน้อย
  2. อุณหภูมิน้ำ
    – น้ำที่ใช้ชงไม่จำต้องใช้น้ำร้อนเกิน 100 องศาเซลเซียส
    – อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส เหมาะกับชาประเภทใบอ่อน
    – อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหมาะกับชาประเภททรงกลมแน่น
  3. เวลาในการชง
    – ชาประเภททรงกลมแน่น ใช้เวลาในการชงครั้งแรก 45-60 วินาที
    – หากชงครั้งต่อไป ให้เพิ่มเป็น 10-15 วินาทีต่อครั้ง
  4. กาชาที่ใช้ชง
    – กาที่ใช้ควรทำมาจากดินเผา
    – กาดินเผาจะเก็บความร้อนได้ดีกว่า
    – ให้การตอบสนองที่ดีกว่ากาที่ทำมาจากวัสดุแบบอื่น

วิธีการชงชาอู่หลง

  •  ใส่ใบชาลงไปในกาชา 1/6 1/4 ของปริมาตรกาชา
  • รินน้ำเดือดลงในกาครึ่งหนึ่ง แล้วเทน้ำทิ้งทันที เพื่อเป็นการล้างและอุ่นใบชา
  • ให้รินน้ำเดือดลงในกาชาอีกครั้งจนเต็ม แล้วปิดฝากาทิ้งไว้ 45-60 วินาที
  • ทำเสร็จแล้วให้รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม
  • ในการรินแต่ละครั้ง จะต้องรินน้ำออกให้หมดจากกา
  • น้ำชาที่เหลือในกาชามีรสขมและฝาด อาจทำให้เสียรสชาติได้
  • ใบชาสามารถชงซ้ำได้ 4-6 ครั้ง
  • ในการชงครั้งต่อไปให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10-15 วินาที

รสชาติของชาอู่หลง

  • กลิ่นหอมละมุนและชุ่มติดคอ
  • ให้รสชาติที่เข้มกว่าชาเขียว
  • มีความฝาดน้อยกว่าชาดำ

สรรพคุณของชาอู่หลง

  • ช่วยชะลอวัย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยต้านอาการอักเสบและบวม
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยลดการสะสมและช่วยควบคุมปริมาณของไขมันในเลือด
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน
  • ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส
  • ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • ช่วยเพิ่มการขับไขมันออกทางอุจจาระ
  • ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน

ประโยชน์ของชาอู่หลง

  1. ช่วยเพิ่มกระบวนเมทาบอลิซึม (Metabolism)
    – เป็นกระบวนการเผาผลาญพลังงาน
    – มีรายงานว่าช่วยเพิ่มการเผาผลาญขณะพักในเวลา 120 นาที
    – เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมกินเนื้อสัตว์ และผู้ที่ต้องการลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดสูง
  2. จากการศึกษาของ Rong-rong H และคณะ
    – การบริโภคชาอู่หลงวันละ 8 กรัม ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 1 กิโลกรัม
    – ไขมันที่สะสมในร่างกายลดลง 12% ทำให้เส้นรอบวงเอวที่ลดลง
  3. จากการศึกษาของ Junichi N และคณะ
    – การดื่มติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยทำให้ไขมันในช่องท้องลดลง ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
  4. จากการศึกษาของ Maekawa T และคณะ
    – มีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง
    – ดัชนีมวลกายลดลง
    – มวลไขมันรวมในร่างกายลดลง
    – ไขมันในช่องท้องลดลง
    – เส้นรอบวงเอวลดลง
    – เส้นรอบวงสะโพกลดลง
    – ความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  5. จากการศึกษาของ Nakamura J และคณะ
    – การดื่มชาอู่หลง ช่วยลดไขมันสะสมในช่องท้องและขนาดรอบวงเอว
  6. จากการศึกษาของประเทศจีน
    – มีกลุ่มตัวอย่างเป็นคนอ้วนจำนวน 102 ราย เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างดื่มทุกวัน ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ พบว่าร้อยละ 22 ของกลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักตัวลดลงเกินกว่า 3 กิโลกรัม ส่วนที่ลดจะเป็นไขมันบริเวณพุงมากกว่าส่วนอื่น ๆ
  7. จากรายงานของกองการป้องกันโรคและกองงานโภชนาการ ในกรมการแพทย์ของประเทศจีน
    – มีฤทธิ์ยับยั้งสาร DEAN ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด
    – ยับยั้งสาร MNNG ที่เป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหารและลำไส้
  8. จากการศึกษาวิจัยของชาวสหรัฐอเมริกา และได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Nutrition
    – ช่วยในการล้างพิษ
    – สามารถกำจัดอนุมูลอิสระที่ทำลาย DNA ในกระแสเลือดได้

คำแนะนำ

  1. ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
    – ไม่ควรดื่มชาอู่หลงเพียงอย่างเดียว
    – ควรใช้วิธีการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การออกกำลังกายอย่างเสมอ ควบคุมอาหาร
  2. ควรซื้อแบบที่เป็น “ใบชาอู่หลง”
    – นำมาชงดื่มเองจะได้รับประโยชน์ดีที่สุด
    – ไม่แนะนำให้ซื้อแบบสำเร็จรูป
  3. บุคคลที่ไม่ควรดื่ม
    – ผู้ป่วยโรคไทรอยด์
    – ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบ
    – ผู้ที่เป็นโลหิตจาง
    – ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
    – ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
    – สตรีมีครรภ์

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. “มารู้จัก ชา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : edtech.ipst.ac.th. [07 ส.ค. 2014].
2. ผู้จัดการออนไลน์. (วีณา นุกูลการ, เพ็ญนภา เจริญกิจวิวัฒน์). “OTPPs คุณประโยชน์จากชาอู่หลง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th. [07 ส.ค. 2014].
3. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 ก.ย. 2556. (ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล). “คุณค่าน่ารู้ของชาอู่หลง”.
4. วารสารสุขสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2556
5. Chin J Integr Med. (He RR, Chen L, Lin BH, Matsui Y, Yao XS, Kurihara H.). “Beneficial effects of oolong tea consumption on diet-induced overweight and obese subjects.”
6. Jpn Pharmacol Ther. (Nakamura J, Abe K, Ohta H and Kiso Y.). “Lowering Effects of the OTPP (Oolong Tea Polymerized Polyphenols) Enriched Oolong Tea (FOSHU “KURO-Oolong Tea OTPP) on Visceral Fat in Over Weight Volunteers.”
7. Jpn Pharmacol Ther. (Maekawa M, Teramoto T, Nakamura J, et al). “Effect of long-term Intake of “KURO-Oolong tea OTPP” on body fat mass and metabolic syndrome risk in over weight volunteers.”
8. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com

ต้นชะเอมไทย สรรพคุณบำรุงหัวใจและปอด

0
ชะเอมไทย
ต้นชะเอมไทย สรรพคุณบำรุงหัวใจและปอด เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง เปลือกสีน้ำตาลเนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ดอกสีขาวมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมเป็นกลิ่นเฉพาะตัว ผลเป็นฝักแบนสีเหลือง พอแกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ชะเอมไทย
เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง เปลือกสีน้ำตาลเนื้อไม้สีเหลือง ดอกขาวมีขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบนสีเหลือง พอแกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ชะเอมไทย

ถิ่นกำเนิดหรือพื้นที่พบเห็นเติบโตในพื้นที่ป่าโปร่งและป่าดงดิบเขา[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[3] ชื่ออื่น ๆ กอกกั๋น (เฉพาะถิ่น), ส้มป่อยหวาน (ในภาคเหนือ), ชะเอมป่า (ในภาคกลาง), เพาะซูโฟ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), อ้อยช้าง (จังหวัดสงขลาและจังหวัดนราธิวาส), ตาลอ้อย (จังหวัดตราด), อ้อยสามสวน (จังหวัดอุบลราชธานี), เซเบี๊ยดกาชา ย่านงาย (จังหวัดตรัง) เป็นต้น[1],[3],[4]

ลักษณะของชะเอม

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง
    – เปลือกเป็นสีน้ำตาล ผิวเปลือกมีลักษณะเป็นรอยขรุขระ ตามลำต้น กิ่งก้าน และเถา จะมีหนามขนาดเล็กขึ้นอยู่เป็นประปราย
    – เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน สามารถนำมารับประทานได้ซึ่งจะให้รสหวาน
  • ใบ
    – ใบย่อยมีรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน โดยใบจะมีขนาดเล็กมาก เป็นใบละเอียดที่มีลักษณะเป็นฝอย ก้านใบตรงโคนจะป่องออก ก้านใบจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ก้านใบหลักและก้านใบร่วม
    – มีใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น โดยใบจะออกเรียงสลับกัน และใบย่อยจะออกใบในลักษณะที่เรียงตรงข้ามกัน [1]
    – ใบมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ก้านใบหลักมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร และก้านใบร่วมมีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร
  • ดอก
    – กลีบดอกสีขาวมีขนาดเล็ก โดยดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีลักษณะเป็นพู่ ดอกมีก้านช่อดอกยาว และดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก เกสรมีลักษณะเป็นก้านยาวมีสีขาว
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะออกช่อดอกที่บริเวณปลายกิ่ง[1]
    – มีกลิ่นหอมเป็นกลิ่นเฉพาะตัว
  • ผล
    – ผลเป็นฝัก ฝักมีสีเหลือง เมื่อฝักมีอายุมากขึ้นจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล รูปร่างของฝักแบน ตรงปลายแหลม ฝักมีรอยนูนจากเมล็ดภายในอย่างเห็นได้ชัด ขนาดของฝักมีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตรและมีความกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และก้านฝักมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร[1]
  • เมล็ด
    – ภายใน 1 ฝัก จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะที่ค่อนข้างไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป เมล็ดมีสีดำ บางสายพันธุ์จะมีสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณของต้นชะเอม

  • ลำต้นมีสรรพคุณบำรุงผิว โดยจะทำให้ผิวหนังเกิดความชุ่มชื้น (ต้น)[1]
  • ตำรายารักษาโรคตับ ระบุให้ใช้เครือตากวง เครือหมาว้อ เครือไส้ไก่ และลำต้นชะเอม มาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม
  • เป็นยารักษาโรคตับ (ต้น)[1]
  • ลำต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับตาได้ (ต้น)[1]
  • ลำต้นมีสรรพคุณในการช่วยขับลม (ต้น)[1]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงพละกำลัง (เนื้อไม้)[1],[4]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณบำรุงธาตุ (เนื้อไม้)[1],[3],[4]
  • เนื้อไม้นำมารับประทาน มีสรรพคุณเป็นยาในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับลำคอได้ (เนื้อไม้)[1],[3],[4]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณในการช่วยขับลม (เนื้อไม้)[1],[4]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณในการรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)[1],[4]
  • ลำต้นและเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาอาการเจ็บคอ (ต้น, เนื้อไม้)[1]
  • ใบมีสรรพคุณในการช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)[1],[4]
  • รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ราก)[1]
  • รากมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล
  • รากมีสรรพคุณในการรักษาอาการโลหิตเสียในช่วงท้อง
  • รากมีสรรพคุณช่วยในการบำรุงหัวใจ
  • ดอกนำมารับประทาน มีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหาร (ดอก)[1],[4]
  • ดอกมีสรรพคุณในการขับเสมหะ (ดอก)[1]
  • ดอกมีสรรพคุณในการรักษาโรคดี
  • ดอกมีสรรพคุณในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับโลหิตได้ (ดอก)[1],[4]
  • ในตำราแก้อาการไอ ระบุว่าให้นำรากชะเอมไทยมาใช้ในปริมาณ (วัดจากความยาวราก) ประมาณ 2-4 นิ้ว นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม 2 เวลา เช้าและเย็น หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรับประทานต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาประมาณ 2-4 วัน แล้วอาการจะเริ่มดีขึ้น (ถ้าไม่มีราก สามารถใช้เปลือกต้นนำมาต้มดื่มแทนได้) (เปลือกต้น, ราก)[1],[3]
  • เนื้อไม้ ผล และราก มีสรรพคุณในการแก้อาการน้ำลายเหนียว และช่วยขับเสมหะ[1],[3],[4]
  • เนื้อไม้และรากมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการกระหายน้ำลงได้ (ราก[1], เนื้อไม้[3])
  • เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญ ในตำรับยาพิกัดทศกุลาผล โดยตำรับยานี้จะมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง รักษาอาการลมอัมพฤกษ์และอัมพาต ช่วยรักษาไข้ ช่วยขับลมในลำไส้ บำรุงปอด ขจัดเสมหะ แก้รัตตะปิตตะโรค[2]
  • มีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยทำให้ชุ่มคอ[1],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [26 พ.ย. 2013].
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [26 พ.ย. 2013].
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [26 พ.ย. 2013].
4. สมุนไพรดอตคอม. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [26 พ.ย. 2013].
5. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com
2.https://efloraofindia.com

ชาดำ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย

0
ชาดำ
ชาดำ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย เป็นชาประเภทหนึ่งมีกระบวนการหมักที่ยาวนานมาก รสขมเล็กน้อย สีของชานั้นจะมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ
ชาดำ
เป็นชาประเภทหนึ่งมีกระบวนการหมักที่ยาวนานมาก รสขมเล็กน้อย สีของชานั้นจะมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ

ชาดำ

ชาดำ (Black tea) เป็นชาที่ผ่านการแปรรูป ได้มาจากการเก็บใบชาอ่อน (ใบชาสายพันธุ์ Camellia sinensis) นำมาทำให้แห้งเพื่อลดปริมาณของน้ำลง นำใบชากึ่งแห้งนั้นไปคลึงหรือบดด้วยลูกกลิ้ง เพื่อให้ใบชาช้ำ เซลล์ในใบชาจะแตกช้ำโดยใบไม่ขาด เอนไซม์ในเซลล์จะย่อยสลายสารเกิดเป็นกระบวนการหมัก ซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นและรส ใบชาจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีทองแดง เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อนใช้ความร้อนเป่าไปที่ใบชา เอนไซม์จะหมดฤทธิ์ ใบชาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อนำไปตากหรืออบให้แห้ง จากนั้นจะบดหรือหั่นตามแต่ชนิดของชา ชาที่ได้มีชื่อเรียกว่า “ชาดํา”
จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Dundee University และมหาวิทยาลัย The Scottish Crop Research Institute ได้มีการรายงานว่า สาร theaflavins และ therubigins ที่พบในชา ทำหน้าที่เลียนแบบอินซูลินตามธรรมชาติ

กระบวนการหมักชาดำ

  • มีกระบวนการหมักโดยการใช้แบคทีเรีย
  • กระบวนการหมักนี้จะทำให้สามารถหมักชาได้อย่างเต็มที่
  • เมื่อบ่มนานมากก็จะได้รสชาติที่ดีขึ้นตาม
  • ชาดำที่เป็นที่รู้จักมากและเป็นที่นิยมสูงก็คือ “ชาผู่เอ๋อร์” (Pu-erh) จากจีน และ “ชาอัสสัม” (Assam) จากอินเดีย

กระบวนการผลิตชาดำ

  • จะทำให้สารเคมีที่มีประโยชน์ลดลง
  • จะมีสารคาเทชินหลงเหลืออยู่เพียง 4 กรัม
  • ชาดำกับชาเขียว มีปริมาณของสารโพลีฟีนอลที่ใกล้เคียงกัน
  • ในใบชา 100 กรัม จะมีโพลีฟีนอลอยู่ประมาณ 15-16 กรัม
  • นักวิทยาศาสตร์จึงยืนยันว่า ชาดำก็สามารถให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้
  • นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่นั้นจะเชื่อว่าชาเขียวมีประโยชน์มากกว่า เพราะมีสารคาเทชินที่มากกว่า

รสชาติของชาดำ

  • จะมีรสชาติขมเล็กน้อย
  • มีรสชาติที่ละมุนกลมกล่อม ชุ่มคอ
  • มีปริมาณของกาเฟอีนมากที่สุดในบรรดาชาหรือประมาณ 40 มิลลิกรัมต่อถ้วย
  • มี monoterpene alcohols ซึ่งเป็นสารให้กลิ่นมากกว่าชาเขียว
  • สีของชานั้นจะมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ

ด้านความงามจากชาดำ

  1. บำรุงเส้นผมให้เงางาม
    – แช่ถุง 3 ถุง ลงในน้ำร้อน 2 ถ้วย
    – ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หรือจนน้ำชาเย็น
    – นำมาใช้สระผมให้สะอาด
    – รอจนผมหมาด
    – เทน้ำชาที่ได้ลงบนผมโดยไม่ต้องล้างออก
    – เช็ดผมให้แห้ง
  2. ลบเลือนจุดด่างดำบนใบหน้า
    – แช่ถุง 1 ถุง ลงในน้ำร้อน 1 ถ้วย
    – ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที
    – นำถุงชาขึ้นมาจดสะเด็ดน้ำ
    – นำมาวางบริเวณใบหน้าตรงจุดที่มีจุดด่างดำทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
    – นำออกและปล่อยให้แห้ง
  3. แก้ผิวคล้ำจากแดด
    – แช่ถุง 4 ถุง ลงในน้ำร้อน 2 ถ้วย
    – ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
    – นำถุงชาขึ้น
    – ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำชาให้ชุ่ม
    – บีบพอสะเด็ดน้ำ
    – นำไปวางบริเวณผิวที่หมองคล้ำหรือไหม้แดด
    – ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
    – ให้ทิ้งระยะไว้สัก 1-2 ชั่วโมง แล้วค่อยทำซ้ำอีก
    – ทำให้ได้วันละ 4 ครั้ง
  4. บำรุงริมฝีปากให้นุ่มชุ่มชื้น
    – แช่ถุง 1 ถุง ลงในน้ำร้อน 1 ถ้วย
    – ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที
    – นำถุงชาขึ้นรอจนสะเด็ดน้ำ
    – นำถุงชามาวางบนริมฝีปากที่สะอาด
    – ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
    – นำถุงชาออก และปล่อยให้แห้ง
  5. แก้อาการตาบวมและรอยคล้ำรอบดวงตา
    – แช่ถุง 2 ถุง ลงในน้ำร้อน 2 ถ้วย
    – ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที
    – นำถุงชาขึ้นรอจนสะเด็ดน้ำ
    – นำมาแช่ในตู้เย็นจนถุงชาเย็น
    – เมื่อเย็นแล้วให้นำถุงชามาวางไว้ที่บริเวณดวงตาทั้งสองข้าง
    – ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 นาที
    – แล้วนำออก และปล่อยให้แห้ง
  6. ช่วยดับกลิ่นเท้า
    – แช่ถุงชาดำ 3 ถุง ลงในน้ำร้อน 3 ถ้วย
    – ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
    – แช่เท้าลงในน้ำชาประมาณ 20 นาที
    – จากนั้นก็เช็ดเท้าให้แห้ง

สรรพคุณของชาดำ

  • ช่วยยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก
  • ช่วยป้องกันฟันผุ
  • ช่วยลดอาการสึกหรอของฟันได้
  • ช่วยบำรุงโลหิตสำหรับสตรีที่มีประจำเดือน
  • ช่วยในการย่อยอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยบำรุงกระเพาะ
  • ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยขจัดสารที่ทำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งออก
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้
  • ช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ
  • ช่วยละลายไขมัน ทำให้ไขมันแตกตัว
  • ช่วยในการลดน้ำหนัก
  • ช่วยในการล้างสารพิษในร่างกาย
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ
  • ช่วยในการชะลอวัย
  • ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
  • ช่วยแก้อาการง่วงนอน
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • ช่วยกระตุ้นระบบกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยซ่อมแซมสภาพเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
  • ช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลไม่ให้ทำลายเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
  • ช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนและผนังเลือดอักเสบ

ประโยชน์ของชาดำ

  1. จากรายงานของยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน
    – มีผลต่อระดับฮอร์โมนความเครียดในร่างกายที่มีชื่อว่า “คอร์ติซอล”
    – การดื่มเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
    – มีผลต่อการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางชนิด คือ เอนไซม์ Butyrylcholinesterase ที่มีส่วนร่วมก่อโปรตีน Amyloid Beta ในสมอง
  2. งานวิจัยของศาสตราจารย์แอนดริว เตรบโต ที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Psychopharmacology
    – ในการทดลองพบว่าคนที่ดื่มสามารถลดความเครียดได้ง่าย
    – มีการฟื้นตัวจากความเครียดได้เร็วกว่าคนที่ไม่ดื่มชา
    – สารเคมีที่พบในใบชานั้นมีความซับซ้อน
    – มีสารเคมีหลายตัวที่มีผลต่อการส่งกระแสประสาทในสมอง เช่น amino acids, catechins, flavonoids และ polyphenols
  3. จากการทดลองกับอาสาสมัครที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ
    – ผลการทดลองพบว่าหากดื่มวันละ 4 ถ้วย จะมีชั้นบาง ๆ ที่หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น
  4. หากดื่มประมาณ 3 ถ้วยต่อวัน จะมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันลดลงถึง 21%

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพิมพ์ข่าวสด. “ชาดำ”. คอลัมน์: รู้ไปโม้ด (น้าชาติ ประชาชื่น). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.khaosod.co.th. [09 ส.ค. 2014].
2. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ. “ชา 6 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ”. เข้าถึงได้จาก : www.moe.go.th. [09 ส.ค. 2014].
3. สมิทธิ โชติศรีลือชา นิสิตสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “ชาดำ – Black Tea”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.student.chula.ac.th/~53373316/. [09 ส.ค. 2014].
4. ชีวจิต.
5. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.harney.com
2. https://www.promessedefleurs.com

จันทน์เทศ เมล็ดช่วยทำให้นอนหลับง่าย หลับลึก

0
จันทน์เทศ
จันทน์เทศ เมล็ดช่วยทำให้นอนหลับง่าย หลับลึก เป็นไม้พุ่มยืนต้น เนื้อใบแข็ง หลังใบเรียบเป็นมันและมีสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ดอกสีเหลืองอ่อน ผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ รกหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม มีกลิ่นหอม
จันทน์เทศ
เป็นไม้พุ่มยืนต้น เนื้อใบแข็ง หลังใบเรียบเป็นมันและมีสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ดอกสีเหลืองอ่อน ผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ รกหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม มีกลิ่นหอม

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Myristica fragrans Houtt. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Myristica officinalis L. f, Myristica aromatica Lam., Myristica moschata Thunb.) จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ (MYRISTICACEAE) ชื่อสามัญ Nutmeg ชื่อท้องถิ่นอื่น (ภาคเหนือ,เงี้ยว-ภาคเหนือ) จันทน์บ้าน (จีนแต้จิ๋ว) เหน็กเต่าโขว่ (จีนกลาง) โร่วโต้วโค่ว โย่วโต้วโค่ว (มาเลเซีย)

ลักษณะของจันทน์เทศ

  • ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นโดยประมาณ 5-18 เมตร เปลือกลำต้นเรียบมีสีเทาอมดำ เนื้อไม้สีนวลหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหย โดยสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของไทย สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร และนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในปัจจุบันพบว่ามีการปลูกทั่วไปในเขตเมืองร้อน ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคใต้
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลมรี ปลายใบจะแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 4-5 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 10-15 เซนติเมตร เนื้อใบแข็ง หลังใบเรียบเป็นมันและมีสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนท้องใบเรียบและมีสีเขียวอ่อน ส่วนก้านใบยาวโดยประมาณ 6-12 มิลลิเมตร
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อละโดยประมาณ 2-3 ดอก หรือออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกัน ดอกเป็นรูปคนโทคว่ำ ปลายกลีบแยกออกเป็น 4 แฉกแหลม ดอกเป็นแบบแยกเพศกันอยู่คนละต้น ช่อดอกเพศผู้ยาวโดยประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองอมขาว ลักษณะเป็นรูปไข่กลมรี ยาวโดยประมาณ 6 มิลลิเมตร ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่า ดอกเพศผู้จะเกิดเป็นกลุ่มๆ ส่วนดอกเพศเมียจะเกิดเป็นดอกเดี่ยว และดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ โดยต้นตัวเมียเท่านั้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ส่วนต้นเพศผู้จะปลูกไว้เพื่อผสมเกสรกับต้นตัวเมียเท่านั้น โดยมักจะปลูกต้นตัวผู้และต้นตัวเมียในอัตราส่วน 1 : 10 เท่านั้น
  • ผล เป็นผลสด ค่อนข้างฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม รูปร่างคล้ายกับลูกสาลี่ ยาวโดยประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบมีสีเหลืองนวล สีเหลืองอ่อน หรือสีแดงอ่อน เมื่อผลแก่แตกอ้าออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดลักษณะกลม ยาวโดยประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 3 เซนติเมตร เมล็ดมีสีน้ำตาล เนื้อและเปลือกแข็ง มีจำนวน 1 เมล็ดต่อผล
  • เมล็ด เราจะเรียกเมล็ดว่า “ลูกจันทน์” (Nutmeg) และเมล็ดจะมีเยื่อหุ้มหรือรกหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม มีกลิ่นหอม ซึ่งเราจะเรียกรกหุ้มเมล็ดว่า “ดอกจันทน์” (Mace) โดยมีลักษณะเป็นริ้วสีแดงจัด รูปร่างคล้ายร่างแห เป็นแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ด โดยจะรัดติดแน่นอยู่กับเมล็ด เมื่อนำมาแกะแยกออกจากเมล็ด รกที่แยกออกมาสดๆ จะมีสีแดงสด และเมื่อทำให้แห้งสีของรกจะเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเนื้อ ผิวเรียบและเปราะ มีความยาวโดยประมาณ 3-5 เซนติเมตร กว้างโดยประมาณ 1-3 เซนติเมตรและมีความหนาโดยประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม รสขมฝาดและเผ็ดร้อน

สรรพคุณของจันทน์เทศ

1. ช่วยกระจายเลือดลม (ลูกจันทน์ (เมล็ด), ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด), ลูกจันทน์ (เมล็ด)) ส่วนตำรับยาจีนระบุว่าให้ใช้จันทน์เทศที่เป็นยาแห้ง 10 กรัม เนื้อหมากแห้ง 10 กรัม ดอกคังวู้ 15 กรัม นำมาบดเป็นผง แล้วทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ใช้รับประทานครั้งละ 10-20 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
3. ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) และลูกจันทน์ (เมล็ด) มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนเล็กน้อย โดยออกฤทธิ์ต่อลำไส้และม้าม ใช้เป็นยาทำให้ธาตุและร่างกายอบอุ่น (ลูกจันทน์ (เมล็ด), ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
4. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ธาตุอ่อน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
5. ลูกจันทน์ (เมล็ด) มีรสหอมออกฝาด เป็นยาบำรุงโลหิต (ลูกจันทน์ (เมล็ด)) ส่วนอีกตำราหนึ่งก็ระบุว่าดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ก็มีสรรพคุณบำรุงโลหิตเช่นกัน (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
6. ช่วยแก้อาการหอบหืด (เข้าใจว่าต้องใช้ผสมกับตัวยาอื่นด้วย) (ลูกจันทน์ (เมล็ด), ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
7. ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร (ลูกจันทน์ (เมล็ด)) บ้างระบุว่ารกหุ้มเมล็ดก็ช่วยทำให้เจริญอาหารเช่นกัน (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
8. ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงกำลัง (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด)) ส่วนอีกตำราหนึ่งก็ระบุว่าลูกจันทน์ (เมล็ด) ก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังเช่นกัน (ลูกจันทน์ (เมล็ด))
9. ช่วยบำรุงหัวใจ (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
10. ลูกจันทน์ช่วยทำให้นอนหลับได้และนอนหลับสบาย (ลูกจันทน์ (เมล็ด))
11. ช่วยแก้อาการกระสับกระส่าย ตาลอย (แก่น)
12. แก่นเป็นยาลดไข้ แก้ไข้ แก้ไข้ดีเดือด ไข้ที่เกิดจากไวรัส (แก่น) บ้างระบุว่าลูกจันทน์ (เมล็ด) หรือดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้
13. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
14. ช่วยแก้ดีซ่าน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
15. ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยทำให้ชุ่มคอ แก้อาการกระหายน้ำ (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
16. ช่วยแก้ลม ขับลม โดยใช้ดอกจันทน์ (รก) นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ใช้ชงกับน้ำสะอาดดื่มครั้งเดียว วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันโดยประมาณ 2-3 วัน (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ลูกจันทน์ (เมล็ด) ผล เนื้อผล ราก)
17. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด)) แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน อันเกิดจากธาตุไม่ปกติ โดยใช้ดอกจันทน์ (รก) ประมาณ 3-5 อัน นำมาต้มกับน้ำสะอาดพอประมาณ แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ใน 3 ใช้ดื่มเป็นยา (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
18. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลออก (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
19. ช่วยขับเสมหะ (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
20. ช่วยแก้อาการสะอึก (ผล ลูกจันทน์ (เมล็ด))
21. ตามตำราการแพทย์แผนจีน ลูกจันทน์มีรสเผ็ดและอุ่น มีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร ทำให้ชี่หมุนเวียนได้ดี ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ช่วยระงับอาการท้องร่วง แก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อันเนื่องมาจากม้ามและไตพร่องและเย็นเกินไป และมีฤทธิ์ในการสมานลำไส้ (ลูกจันทน์ (เมล็ด))
22. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยใช้ดอกจันทน์ (รก) นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ใช้ชงกับน้ำสะอาดดื่มครั้งเดียว วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันโดยประมาณ 2-3 วัน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
23. ช่วยแก้ลมจุกเสียดแน่นท้อง (ลูกจันทน์ (เมล็ด)) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด)
24. ช่วยในการย่อยอาหาร (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
25. ช่วยแก้อาการท้องเสียอันเนื่องมาจากธาตุเย็นพร่อง (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
26. ช่วยแก้อาการท้องมาน บวมน้ำ โดยในตำรับยาจีนระบุว่าให้ใช้จันทน์เทศที่เป็นยาแห้ง 10 กรัม เนื้อหมากแห้ง 10 กรัม ดอกคังวู้ 15 กรัม นำมาบดเป็นผง แล้วทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ใช้รับประทานครั้งละ 10-20 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
27. เปลือกเมล็ดมีรสฝาดมันหอม ช่วยแก้ท้องขึ้น แก้อาการปวดท้อง (เปลือกเมล็ด)
28. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ลูกจันทน์ (เมล็ด)
29. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ลูกจันทน์ (เมล็ด)
30. ใช้เป็นยาสมานลำไส้ กระเพาะและลำไส้ไม่มีแรง หรือขับถ่ายบ่อย ให้ใช้ลูกจันทน์ 1 ลูกและยูเฮีย 5 กรัมบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 3 กรัม ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 กรัม (ลูกจันทน์ (เมล็ด))
31. ช่วยบำรุงน้ำดี (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
32. แก่นช่วยบำรุงตับและปอด (แก่น) บ้างระบุว่าเมล็ดและรกก็มีสรรพคุณบำรุงปอดและตับเช่นกัน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
33. ช่วยแก้อาการปวดมดลูก (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ลูกจันทน์ (เมล็ด)
34. ช่วยในการคุมกำเนิด (ผล ลูกจันทน์ (เมล็ด))
35. ช่วยแก้ตับพิการ (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
36. น้ำมันระเหยง่ายใช้เป็นส่วนผสมของขี้ผึ้งที่นำมาใช้ทาระงับอาการปวด ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ทำให้แท้ง และทำให้ประสาทหลอน ส่วนในประเทศอินโดนีเซียใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย แก้อาการปวดข้อ กระดูก
37. ช่วยแก้ผื่นคัน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
38. ช่วยรักษาม้ามหรือไตพิการ ด้วยการใช้ลูกจันทน์หรือดอกจันทน์ ขิงสด 8 กรัม พุทราจีน 8 ผล โป๋วกุ๊กจี 10 กรัม อู่เว้ยจื่อ 10 กรัม อู๋จูหวี 10 กรัม โดยนำทั้งหมดมารวมกันแล้วต้มกับน้ำเป็นยารับประทาน (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
39. ช่วยสมานบาดแผลภายใน (เปลือกเมล็ด)
40. ช่วยบำรุงผิวหนัง บำรุงผิวหนังให้สวยงาม (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด)) ช่วยบำรุงผิวเนื้อให้เจริญ (ลูกจันทน์ (เมล็ด) ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
41. แก่นจัดอยู่ในตำรับยา (พิกัดจันทน์ทั้งห้า) (ประกอบไปด้วย แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดง (แก่นจันน์ผา) แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์ชะมด) ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น)
42. ดอกจันทน์มีปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนประกอบของดอกจันทน์ (รก) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยเป็นตำรับยาที่ช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย มีอาการใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))
43. ตามตำราเภสัชกรรมล้านนา จะใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยามะเร็งครุดและยาเจ็บหัว
44. ผลจัดอยู่ในตำรับยา (พิกัดตรีพิษจักร) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ผลจันทน์เทศ กานพลู และผลผักชีล้อม โดยเป็นตำรับยาที่ช่วยบำรุงโลหิต แก้ธาตุพิการ แก้พิษเลือด แก้ลม (ผล)
45. ผลจันทน์เทศจัดอยู่ในตำรับยา (พิกัดตรีคันธวาต) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ผลจันทน์เทศ กานพลู และผลเร่วใหญ่ โดยเป็นตำรับยาที่แก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แต่แก้อาการจุกเสียด (ผล)
46. ดอกจันทน์ยังปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนประกอบของดอกจันทน์ (รก) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับ โดยเป็นตำรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด))

วิธีใช้สมุนไพรจันทน์เทศ

1. การใช้รักษาอาการตาม ให้ใช้ลูกจันทน์ (เมล็ด) และดอกจันทน์ (รก) ขนาด 0.5 กรัม หรือโดยประมาณ 1-2 เมล็ด หรือใช้รกโดยประมาณ 4 อันแล้วนำมาป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ชงกับน้ำครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน
2. การใช้รักษาอาการตาม ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้โดยประมาณ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นๆ ในตำรับยา หากใช้เป็นยาขับลมให้ใช้โดยประมาณ 5 กรัม และหากใช้เป็นยาแก้ท้องเสียให้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 10 กรัม (น่าจะ 6-8 กรัม)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. ส่วนที่เป็นพิษคือส่วนของเมล็ด โดยสารพิษที่พบ Myristicin (Methoxysafrol), Phenolic ether, Volatile oil
2. ลูกจันทน์ (เมล็ด) มีน้ำระเหยอยู่ประมาณ 8-15%, แป้ง 23%, ไขมัน 25-40% และพบสาร Camphene, D-pinene, Dipentene, Eugenol, Lipase, Myristicin และ Xylan
3. ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) มีน้ำมันระเหยอยู่ประมาณ 6-11% และพบสาร Macilenic acid, Macilolic acid, และยังพบสารเดียวกันกับที่พบในลูกจันทน์อีก เช่น Myristin Olien เป็นต้น ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าดอกจันทน์มีน้ำมันระเหยประมาณ 7-14% โดยมีองค์ประกอบทางเคมีคือ Alpha-pinene (18-26.5%), Beta-pinene (9.7-17.7%), Elemicin, Limonene (2.7-3.6%), Myrcene (2.2-3.7%), Myristicin, Sabinene (15.4-36.3%), Safrole
4. น้ำมันระเหยจากลูกจันทน์ นอกจากจะมีกลิ่นหอมแล้ว ยังออกฤทธิ์ทำให้ประสาทส่วนกลางมึนชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น แมว หากใช้น้ำมันระเหยในอัตราส่วน 1.9 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม มาทดลองกับแมว จะทำให้ม่านตาดำขยาย มีอาการหายใจช้าลง เดินไม่ตรง และหมดสติ และถ้าหากใช้น้ำมันระเหยเกินจากอัตราส่วนข้างต้น จะพบว่าแมวจะเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง
5. ผลให้ Myristica Oil ซึ่งเป็น Volatile Oil ประกอบไปด้วย Myristien และ Safrole ซึ่งใช้เป็นตัวแต่งกลิ่นและยาขับลม
6. สาร Myristin ที่พบในจันทน์ เมื่อนำมาสูดดมจะทำให้เกิดอาการมึนเมาคล้ายกับกัญชา โดยพบว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ไปกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้เกิดอาการมึนเมาได้
7. มีการทดสอบที่ระบุว่า หากรับประทานเกินกว่าในปริมาณที่กำหนดจะมีผลกระทบต่อไขมันในตับ ทำให้เกิดอาการเป็นพิษ เพราะมีสาร Myristicin อยู่ในน้ำมันระเหยของลูกจันทน์ ซึ่งหากคนรับประทานน้ำมันระเหยในปริมาณ 0.5-1 มม. จะเกิดอาการเป็นพิษต่อตับได้
8. ในคนที่รับประทานผงของลูกจันทน์ครั้งละ 7.5 กรัม จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ พูดจาไม่รู้เรื่อง มีอาการมึนและหมดสติ และหากรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้จะทำให้เสียชีวิตได้
9. การบริโภค Myristicin ในอัตรา 4-5 กรัม จะทำให้คนแสดงอาการผิดปกติทางด้านระบบประสาท เกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน หากบริโภคในขนาด 8 กรัม จะทำให้เสียชีวิตได้ และการรับประทานลูกจันทน์ในขนาดที่มากกว่า 5 กรัม จะทำให้อาการมึนงง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการชัก และอาจถึงตายได้ เพราะมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท การใช้เครื่องยาชนิดนี้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
10. จากการศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันในการต้านการชักที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดนสารเคมีและไฟฟ้าในหนูเมาส์ ด้วยการฉีดน้ำมันเข้าทางช่องท้อง 5 นาที ก่อนการเหนี่ยวนำให้หนูเกิดอาการชัก พบว่าขนาด 50, 100 และ 200 มคล./กก. มีผลต้านการชักได้ โดยขนาด 200 มคล./กก. จะให้ผลดีที่สุด และจากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าน้ำมันในขนาด 600 มคล./กก. ไม่เป็นพิษต่อระบบประสาทของหนู และในขนาด 1,265 มคล./กก. ทำให้หนูจำนวนเครื่องหนึ่งหลับ และในขนาด 2,150 มคล./กก. ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง
11. สาร Macelignan ที่แยกได้จากเหง้าของต้นจันทน์เทศ ความเข้มข้น 10 – 50 μM สามารถผลยับยั้งการสร้าง Melanin และยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ได้ เมื่อทำการทดสอบในเซลล์ Melan-a melanocytes ของหนู โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งฤทธิ์ได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 13 และ 30 μM ตามลำดับ และให้ผลดีกว่าสารอาร์บูติน (Arbutin) นอกจากนี้ยังมีผลในการลดการแสดงออกของ Tyrosinase, Tyrosinase-related protein-1 (TRP-1), Tyrosinase-related protein-2 (TRP-2)
12. สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ด มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำ
จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมล็ดไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรเมื่อให้จนถึงขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม (ให้ทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) ส่วนรากก็ไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรเมื่อให้จนถึงขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม (ให้ทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง)
13. มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน (Hallucination) หรือความรู้สึกสัมผัสที่ผิดจากความเป็นจริง และยังมีฤทธิ์ในการต้านอาการท้องเสียซึ่งเกิดจากเชื้อ Escherichia coli ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง ต้านอาการปวดและการอักเสบ ช่วยยับยั้งการสร้าง Prostaglandin
14. จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมล็ดไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรเมื่อให้จนถึงขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม (ให้ทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) ส่วนรากก็ไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรเมื่อให้จนถึงขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม (ให้ทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง)

ประโยชน์ของจันทน์เทศ

1. ลูกจันทน์เป็นผลไม้ที่มีรสชาติแปลก คือ มีรสหวาน ร้อน สามารถนำมาตากแห้งใช้ทำเป็นลูกจันกรอบ หรือนำมาเชื่อมกับน้ำตาลก็จะมีกลิ่นหอมหวานน่ารับประทาน ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน โดยนำมาทำเป็นจันทน์ฝอยหรือเส้น ดอง แช่อิ่ม หยี ตากแห้ง แยม
2. ลูกจันทน์ (เมล็ด) และดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) มีรสและกลิ่นคล้ายกัน สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหารได้ โดยเฉพาะดอกจันทน์จะมีเนื้อหนา ใช้เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและเครื่องปรุง ให้กลิ่นรสที่นุ่มนวลกว่าแบบเมล็ด[2],[4],[15] ชาวอาหรับนิยมนำมาใส่อาหารประเภทเนื้อแพะหรือเนื้อแกะ ส่วนทางยุโรปจะใช้ใส่อาหารทั้งคาวและหวาน ส่วนชาวดัตซ์นำมาใส่ในแมสโปเตโต้ สตู กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ฟรุตพุดดิ้ง ฯลฯ ชาวอิตาลีจะนำมาใส่ในอาหารจานผักรวม ไส้กรอก เนื้อลูกวัว และพาสต้า สำหรับอาหารทั่วไปของชนชาติในหลาย ๆ ชาติที่ใส่ทั้งลูกจันทน์และดอกจันทน์ก็ได้แก่ เค้กผลไม้ เค้กน้ำผึ้ง ฟรุตพันช์ ฟรุตเดสเสิร์ต พายเนื้อ ประเภทอาหารจานไข่และชีส ส่วนเมล็ดลูกจันทน์บดเป็นผง ก็จะนำมาใช้โรยหน้าเพื่อให้มีกลิ่นหอมกับขนมปัง บัตเตอร์ พุดดิง ช็อกโกแลตร้อน เป็นต้น[16] และทางภาคใต้ของบ้านเราจะใช้เนื้อผลสดกินเป็นของขบเคี้ยวร่วมกับน้ำปลาหวานหรือพริกเกลือ มีรสออกเผ็ดและฉุนจัดสำหรับผู้ไม่เคยกิน แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะติดรส
3. น้ำมันลูกจันทน์ (Nutmeg oil or myristica oil) ที่ได้จากการกลั่นลูกจันทน์ด้วยไอน้ำ สามารถนำมาไปใช้แต่งกลิ่นผงซักฟอก ยาชะล้าง สบู่ น้ำหอม ครีมและโลชันบำรุงผิวได้[7] หรือเอาเมล็ดมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย นำมาใช้ทำเป็นยาดม ใช้ดมแก้อาการหวัด แก้อาการวิงเวียนหน้ามืดตาลาย
4. ลูกจันทน์และดอกจันทน์ สามารถนำมาใช้ในการปรุงอาหาร โดยนำไปผสมกับขนมปัง เนย แฮม ไส้กรอก เบคอน เนื้อตุ๋นต่างๆ แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น น้ำพริกสำเร็จรูป หรือนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อช่วยในการถนอมอาหาร ส่วนเนื้อผลสามารถนำไปทำเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายหรือรู้จักกันมากนัก เพราะการเอาไปแปรรูปยังมีไม่มาก อีกทั้งรสชาติก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อผลจะพบได้มากในประเทศอินโดนีเซีย และสำหรับในส่วนของเมล็ด ชาวบ้านจะนำเมล็ดที่แห้งแล้วมาขูดผิวออก ก่อนนำมาใช้ก็กะเทาะเอาเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดมาทุบให้แตกกระจาย คั่วให้หอม แล้วป่นเป็นผงใส่แกงคั่ว ทั้งแบบคั่วไก่ คั่วหมู คั่วเนื้อ หรือใส่ในแกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ เป็นต้น
5. ปัจจุบันได้มีการนำไปแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง ลูกอมลูกกวาด เครื่องหอมต่างๆ ทำเครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม สุรา ซึ่งอเมริกามีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
6. เนื้อผลแก่นิยมนำไปแปรรูปทำเป็นของขบเคี้ยว มีรสหอมสดชื่น หวานชุ่มคอ เผ็ดแบบเป็นธรรมชาติ และช่วยขับลม แก้บิด
7. น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้
8. เนื้อไม้มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ทำเครื่องร่ำ น้ำอบไทย หรือใช้ทำเครื่องหอมต่างๆ ได้ บ้างว่าใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ชั้นดี เพราะป้องกันมดปลวกได้ดีเยี่ยม

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจันทน์เทศ

1. สตรีมีครรภ์ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้
2. สำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร มีอาการปวดฟันและท้องเสียอันเกิดจากความร้อน ไม่ควรใช้แก่นเป็นยา
3. ผู้ป่วยที่มีอาการร้อนแกร่ง บิดท้องร่วง ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้
4. ไม่ควรรับประทานลูกมากกว่า 5 กรัม เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปากแห้ง มึนงง ทำให้ระบบการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติและอาจเสียชีวิตได้
5. ลูกมีน้ำมันในปริมาณสูง จึงมีฤทธิ์ในการหล่อลื่นและกระตุ้นลำไส้มากจนเกินไป โดยทั่วไปแล้วจึงต้องนำมาแปรรูปโดยวิธีเฉพาะก่อนนำมาใช้ การคั่วจะช่วยขจัดน้ำมันบางส่วนออกไปได้และทำให้ฤทธิ์ดังกล่าวน้อยลง แต่จะมีฤทธิ์แรงขึ้นในการช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรงและระงับอาการท้องเสีย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องร่วง อาเจียน
6. การรับประทานเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สารจากลูกจันทน์จะไปยับยั้งการสร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังไปยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้อีกด้วย และหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้หมดสติ ม่านตาดำขยายตัว โดยพิษของลูกจันทน์นี้มาจากสารที่ชื่อว่า Myristicin ซึ่งพบอยู่ในน้ำมันระเหยของลูกจันทน์

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “จันทน์เทศ (Chan Tet)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 90.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “จันทน์เทศ Nutmeg tree”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 148.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “จันทน์เทศ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 180.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “จันทน์เทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [24 ก.พ. 2014].
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ดอกจันทน์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [24 ก.พ. 2014].
6. สาขาพืชผัก, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. “จันทร์เทศ”. อ้างอิงใน: กรมส่งเสริมการเกษตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg. [24 ก.พ. 2014].
7. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “จันทน์เทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th/wiki/. [24 ก.พ. 2014].
8. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “จันทน์เทศ”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้เกียรติประวัติของไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [24 ก.พ. 2014].
9. ฐานข้อมูลพืชพิษ, สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “จันทน์เทศ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือตำราสมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 ว่าด้วยสมุนไพรที่เป็นพิษ (สมพร (ภ) หิรัญรามเดช), เอกสารข้อมูลการวิจัยสมุนไพรไทย (วันทนา งามวัฒน์, นาถฤดี สิทธิสมวงศ์ และสุทธิพงษ์ ปัญญาวงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/poison/. [24 ก.พ. 2014].
10. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร, งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ลูกจัน/จันทน์เทศ”. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [24 ก.พ. 2014].
11. ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว). กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “จันทน์เทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/pharma/. [24 ก.พ. 2014].
12. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “จันทน์เทศ, Nutmeg Tree”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [24 ก.พ. 2014].
13. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารวิชาการสมุนไพร. นนทบุรี: สถาบันวิจัยสมุนไพร, 2543.
14. ระบบข้อมูลทางวิชาการ, กรมวิชาการเกษตร. “จันทน์เทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: it.doa.go.th/vichakan/. [24 ก.พ. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/
2. https://www.iplantz.com/
3. https://www.indiamart.com/

งัวเลีย ช่วยในการขับน้ำนมของสตรี

0
งัวเลีย
งัวเลีย ช่วยในการขับน้ำนมของสตรี เป็นไม้พุ่มมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ดอกสีเหลืองหรือมีสีเขียวปน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ผลกลมสีเขียวเมื่อสุกจะเป็นสีแดง ผลขรุขระเนื้อสีเหลือง
งัวเลีย
เป็นไม้พุ่มมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ดอกสีเหลืองหรือมีสีเขียวปน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ผลกลมสีเขียวเมื่อสุกจะเป็นสีแดง ผลขรุขระเนื้อสีเหลือง

งัวเลีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Capparis flavicans Kurz วงศ์ (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)[1]
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ งวงช้าง (อุดรธานี),งัวเลีย (ขอนแก่น),วัวเลีย (อุบลราชธานี), กระจิก (ภาคกลาง), ค้อนก้อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กะอิด (ราชบุรี), ตะครอง (นครศรีธรรมราช),ไก่ให้ ไก่ไห้ (พิษณุโลก),ก่อทิง ก่อทิ้ง (ชัยภูมิ), กระโปรงแจง กะโปงแจง (สุโขทัย), หนามนมวัว โกโรโกโส หนามเกาะไก่ (นครราชสีมา)เป็นต้น[1]

ลักษณะของงัวเลีย

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม มีความสูงราวๆ 2-10 เมตร เรือดยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้างและแตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านสาขาแตกออกมาเรียวเล็ก มีหนามแหลมบริเวณกิ่งก้านและลำต้น ความยาว 1-3 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองรูปดาวขึ้นปกคลุมอยู่ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทาแตกเป็นร่องลึกและบางตามลำต้นแนวยาว ชอบอยู่ในดินหินในระดับต่ำหรือดินทราย พบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และป่าละเมาะ [1],[2],[3]
  • ดอก เป็นสีเหลืองหรือมีสีเขียวปน เป็นดอกเดี่ยว ดอกจะออกตามกิ่งอ่อนและซอกใบ มีกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ 4 กลีบ กว้างราวๆ 4-6 มิลลิเมตร และยาวราวๆ 8-9 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบกว้างราวๆ 4-5 มิลลิเมตรยาวราวๆ 5-8 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นบริเวณกลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอกอย่างหนาแน่น ก้านดอกยาว 1-3 เซนติเมตร เกสรตัวเมียมีก้านชูโค้งยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร มีรังไข่เป็นรูปไข่หรือรูปรี มีขนหนาแน่นบริเวณก้านชูตัวเมียและรังไข่ มีเกสรตัวผู้อยู่ 6-12 อันบริเวณกลางดอก มีสีออกเหลืองอมเขียว ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด โคนใบมนเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบมนหรือเว้าเป็นบุ๋ม ผิวใบส่วนบนมีสีเขียวเข้มและส่วนล่างเป็นสีขาวปกคลุม มีเนื้อบางที่หนาและนุ่ม มีเส้นแขนงใบข้างละ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 3-4 มิลลิเมตร ใบมีขนาดกว้างราวๆ 1-2 เซนติเมตรและยาวราวๆ 1.5-3 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล เป็นรูปมนรีเล็กน้อยหรือกลม เป็นผลสด ทั่วทั้งผลมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีแดงหรือส้มแดง เปลือกผลมีขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำและหนา มีสันนูนอยู่ 4 สัน ส่วนปลายเป็นติ่งแหลม ผลกว้างราวๆ 2.5-3.5 เซนติเมตรและยาวราวๆ 2.5-4 เซนติเมตร มีเนื้อสีเหลืองหุ้มเมล็ดอยู่ เมล็ดมีสีน้ำตาลยาว 6-8 มิลลิเมตร กว้าง 3-7 มิลลิเมตร ผลมักจะออกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม[1],[2],[3]

ประโยชน์ของงัวเลีย

  • ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้เนื่องจากมีดอกที่สวยงามแปลกตา[2]
  • นำมาทำเป็นยาช่วยขับลมและแก้อาการวิงเวียนศีรษะได้

สรรพคุณของงัวเลีย

  • ใบ หากทานเข้าไปจะสามารถช่วยในการขับน้ำนมของสตรีได้(ใบ)[1]
  • ใช้แก้อาการวิงเวียนศีรษะได้โดยการนำเนื้อไม้ดิบหรือตากแห้งมาบดเป็นผง จากนั้นทำให้เป็นควันและสูดดม(เนื้อไม้)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “งัว เลีย”. หน้า 213-214.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระจิก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [10 ม.ค. 2015].
3. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ไก่ไห้”. อ้างอิงใน : หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (ราชบัณฑิตยสถาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [10 ม.ค. 2015].
4. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/
2. http://kplant.biodiv.tw/