พู่ระหง พรรณไม้ดอกใช้เป็นยารักษาอาการไข้

0
พู่ระหง
พู่ระหง พรรณไม้ดอกใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ดอกเดี่ยว สีแดงสด หรือส้ม และชมพู ผลแห้งมีจะงอย
พู่ระหง
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ดอกเดี่ยว สีแดงสด หรือส้ม และชมพู ผลแห้งมีจะงอย

พู่ระหง

เดิมทีแล้วเราจะเรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า “พู่เรือหงส์” แต่ที่พรรณไม้ชนิดนี้ถูกเรียกว่า “พู่ระหง” เป็นเพราะมีกิ่งก้านเก้งก้างและสูงโปร่ง ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายกับสาวน้อยที่มีรูปร่างผอมสูงและบอบบาง[2] เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย หรือ “บุหงารายอ” หรือก็คือ “ดอกชบาสีแดง” เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซียก็เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความอดทนในชาติ และเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม[2] ชื่อสามัญ คือ Fringed hibiscus, Coral Hibiscus, Japanese Lantern, Spider gumamela ประเทศมาเลเซียจะเรียกว่า Bunga Raya ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Hibiscus schizopetalus (Dyer) Hook.f. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ชุบบาห้อย (ปัตตานี), หางหงส์ (พายัพ), พู่ระโหง พู่เรือหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง)[1]

ลักษณะของต้นพู่ระหง

  • ต้น [1],[3],[4]
    – มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา
    – เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง
    – แตกกิ่งก้านสาขาอยู่มาก
    – กิ่งก้านจะออกรอบ ๆ ต้น และจะโค้งลงสู่พื้นดิน
    – เปลือกต้นเป็นสีเหลือง
    – เปลือกต้นและใบนั้นจะมียางเหนียวอยู่
    – กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำและวิธีการตอนกิ่ง
    – สามารถปลูกได้ง่าย
    – มีความแข็งแรง ทนทาน และโตเร็ว
    – สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด
    – ชอบแสงแดดจัด
    – ต้องการน้ำที่พอประมาณ
    – มาจากทางแถบร้อน เช่น ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย
  • ใบ [1],[3],[4]
    – มีใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกันไปตามกิ่งก้าน
    – ใบเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่
    – ปลายใบแหลมมีติ่งหาง
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย
    – ใบมีความกว้าง 4-6 เซนติเมตร และยาว 6-12 เซนติเมตร
    – แผ่นใบบางสีเขียวและเป็นมัน
    – ก้านใบเป็นสีเขียว
  • ดอก [1],[3],[4]
    – มีดอกเป็นดอกเดี่ยว
    – ออกตามส่วนยอดของปลายกิ่ง
    – ออกครั้งละหลาย ๆ ดอก
    – จะทยอยกันบาน
    – ดอกเป็นสีแดงสด หรืออาจจะออกสีอื่น เช่น ส้ม และชมพู
    – มีกลีบดอก 5 กลีบ
    – โคนกลีบแคบ
    – ขอบกลีบดอกหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๆ
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่แล้วปลายกลีบดอกจะงอเข้าหาก้านดอก
    – กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว
    – ก้านดอกสีเขียว ยาว 6-10 เซนติเมตร
    – มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เป็นสีเหลือง ก้านเกสรจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย
    – อับเรณูติดที่ปลายดอก
    – เกสรเพศเมียมีปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก โผล่พ้นเกสรเพศผู้
    – ตรงกลางดอกมีก้านเกสรชูยาวพ้นออกมาจากดอก 8 เซนติเมตร
    – ตรงปลายดอกมีแขนงเกสรเพศผู้แผ่ออกอยู่รอบ
    – ดอกห้อยคว่ำลงพื้น
    – ก้านเกสรห้อยลงต่ำสุด
    – คล้ายพู่เรือหงส์สมดั่งชื่อ
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่แล้วจะมีความกว้าง 10 เซนติเมตร หรือ 4-5 นิ้ว
    – สามารถออกได้ตลอดทั้งปี
  • ผล [6]
    – มีผลเป็นผลแห้ง
    – มีจะงอย
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตกออก
    – มีขนาด 2 เซนติเมตร

สรรพคุณของพู่ระหง

  • ใบและราก สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ของเด็กได้[1]
  • ใบและราก สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บคอ และอาการไอได้[1]

ประโยชน์ของพู่ระหง

  • ราก นิยมนำมาเผาไฟเพื่อนำมาใช้ทำเหล้า โดยมีความเชื่อว่าเหล้าที่ได้จะมีคุณภาพสูงและแรงขึ้น[4]
  • คนไทยสมัยก่อนนั้นจะนิยมนำดอกมาใช้สระผม เนื่องจากเชื่อกันว่าจะช่วยทำให้ผมดกดำ ผมไม่ร่วงและแตกปลาย[4]
  • คนไทยจะนิยมปลูกกัน เนื่องจากปลูกเลี้ยงดูแลได้ง่าย และยังสามารถออกดอกที่งดงามได้ทั้งปี สถานที่ที่นิยมปลูกกัน เช่น ขอบแนวอาคาร แนวรั้วหรือริมกำแพง ริมถนน ปลูกริมทะเล ริมน้ำตก หรือปลูกประดับในสวน และจะนำมาปลูกเป็นต้นเดี่ยว ๆ เพื่อที่จะโชว์กิ่งและดอกที่พลิ้วไหว หรือจะปลูกเป็นรั้ว จะให้ความรู้สึกเป็นแนวบังสายตา[3],[6]
  • ในด้านความเชื่อนั้น ชาวไทยจะถือกันว่าเป็นไม้มงคล เนื่องจากดอกมีพู่เหมือนกับเรือสุพรรณหงส์ หากบ้านใดที่ปลูกเป็นรั้วบ้าน เชื่อว่าจะประสบแต่สิ่งที่เป็นมงคล และมีฐานะดี[2],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พู่ ระ หง”. หน้า 568-569.
2. ข่าวสดรายวัน. “พู่ ระ หง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.khaosod.co.th. [22 ส.ค. 2014].
3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ไพร มัทธวรัตน์). “พู่ ระ หง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th. [22 ส.ค. 2014].
4. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 314 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “พู่ ระ หง :ดอกไม้แห่งศักดิ์ศรีจากพญาหงส์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [22 ส.ค. 2014].
5. ไม้ประดับออนไลน์. “พู่ ระ หงส์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.maipradabonline.com. [22 ส.ค. 2014].
6. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พู่ระหงส์” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [22 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://botany.cz/
2.https://commons.wikimedia.org/

พุดทุ่ง พืชสมุนไพรสรรพคุณเป็นยาขับเลือด

0
พุดทุ่ง
พุดทุ่ง พืชสมุนไพรสรรพคุณเป็นยาขับเลือด เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ยางสีขาวขุ่น ดอกสีขาวผิวหนา และดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นฝักคู่คล้ายดาบ
พุดทุ่ง
เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ยางสีขาวขุ่น ดอกสีขาวผิวหนา และดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นฝักคู่คล้ายดาบ

พุดทุ่ง

ต้นพุดทุ่งเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดและมักจะเติบโตตามพื้นที่ร่มรำไรสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในบริเวณพื้นที่ดินทราย ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าโกงกาง พบได้ตามที่โล่งแจ้งที่มีความชื้นแฉะ ตามริมถนน และตามทุ่งหญ้าโล่งกว้างทั่วไป[1],[2] ขึ้นเติบโตตั้งแต่บริเวณพี้นที่ที่มีความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 400 เมตร[3] เขตการกระจายพันธุ์ในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย จนไปถึงมาเลเซีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Holarrhena curtisii King & Gamble ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Holarrhena densiflora Ridl., Holarrhena latifolia Ridl., Holarrhena similis Craib จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ พุดป่า (จังหวัดลำปาง), หัศคุณเทศ (จังหวัดพังงา), สรรพคุณ (จังหวัดสงขลา), น้ำนมเสือ (จังหวัดจันทบุรี), นมราชสีห์ นมเสือ (จังหวัดพิษณุโลก), พุดนา (จังหวัดราชบุรี), โมกเกี้ย โมกเตี้ย (จังหวัดสระบุรี), ถั่วหนู พุดน้ำ หัสคุณใหญ่ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกนั่ง มูกนิ่ง โมกน้อย โมกนั่ง (ในภาคเหนือ), พุดนา (ในภาคกลาง), พุดทอง โมกเตี้ย (ในภาคใต้) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นพุดทุ่ง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะรูปร่างตั้งตรง ลำต้นนั้นจะแตกกิ่งก้านในบริเวณที่ต่ำติดกับพื้นดิน
    – เปลือกต้นมีสีเป็นสีน้ำตาลดำ และลำต้นเมื่อกรีดจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นไหลออกมา และถ้าหักกิ่งก้านหรือใบก็จะมีน้ำยางสีขาวขุ่นไหลออกมาเช่นเดียวกัน
    – ลำต้นจะแผ่กิ่งก้านไม่มากนัก กิ่งอ่อนจะมีลักษณะรูปร่างเป็นเหลี่ยมและมีขนสั้นนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุม
    – การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือเป็นติ่งหนาม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ
    – แผ่นใบมีความหนาคล้ายกับแผ่นหนังของสัตว์ ใบด้านบนจะมีสีเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนใบด้านล่างจะมีสีเป็นสีขาวนวล และใบจะมีขนสีขาวสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมผิวใบทั้งสองด้าน
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-12 เซนติเมตร
    – ใบมีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 12-16 เส้น
    – ก้านใบสั้น โดยมีความยาวเพียง 2-4 เซนติเมตร หรืออาจจะไม่มีก้านใบเลยก็มี[1],[2]
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อแยกแขนงไปตามบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง
    – จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงช่วงเดือนสิงหาคม[1],[2],[3]
    – มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก โดยก้านดอกย่อยจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นสีขาวมีผิวหนา และดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
    – มีกลีบดอกทั้งสิ้น 5 กลีบ ซึ่งลักษณะรูปร่างของกลีบดอกจะเป็นรูปไข่กลับถึงรูปรี ปลายกลีบกลม มีขนเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน แต่ละกลีบดอกจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 0.4-0.8 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 1.2-2 เซนติเมตร และดอกมีใบประดับที่มีขนาดเล็ก ลักษณะแคบมีความยาวอยู่ที่ 2-5 มิลลิเมตร
    – โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร บริเวณตรงปลายแยกออกอีกเป็นกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบเหล่านั้นจะเรียงซ้อนเหลื่อมกันเล็กน้อยซึ่งจะเริ่มเวียนซ้อนกันจากทางขวา
    – กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปแถบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 0.8-1.2 มิลลิเมตร และความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-8 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนขึ้นปกคลุมเป็นเล็กน้อยหรืออาจจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งสองด้าน
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ติดอยู่ที่บริเวณใกล้โคนหลอดของดอก ที่โคนก้านของเกสรเพศผู้จะชูอับเรณูที่มีขนขึ้นอยู่ ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มีคาร์เพลเชื่อมอยู่ 2 อัน
  • ผล
    – ผล ออกผลเป็นฝักคู่
    – ผลหรือฝัก มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมยาว รูปร่างคล้ายดาบ ปลายฝักแหลมชี้ขึ้น
    – ฝักแห้งก็จะแตกออกตามตะเข็บเดียว โดยภายในฝักก็จะมีเมล็ดที่มีสีเป็นสีน้ำตาล และมีขนกระจุกสีขาวคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ที่ปลายของเมล็ด[1],[2]
    – ฝักจะมีขนาดความกว้างอยู่ประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-30 เซนติเมตร

สรรพคุณ ประโยชน์ ของต้นพุดทุ่ง

1. เปลือกและราก มีสรรพคุณในการนำมาทำเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (เปลือกและราก)[2]
2. นำมาใช้เป็นยาขับพยาธิได้ (ต้นและราก)[2]
3. ในตำรายาของไทยจะนำส่วนของต้นและรากนำมาเป็นยาขับเลือดและหนองให้ตก (ต้นและราก)[2]
4. ต้นและรากมีสรรพคุณในการนำมาทำเป็นยาขับลม และช่วยกระจายเลือดลม (ต้นและราก)[2]
5. ราก นำมาผสมกับรากของต้นติ้วขน นำไปต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง (ราก)[1],[2]
6. ราก นำมาผสมกับต้นอ้อยดำ และข้าวสารเจ้า จากนั้นนำมาแช่กับน้ำใช้สำหรับดื่มแก้อาเจียน (ราก)[2]
7. รากนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการแก้บิด แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด และแก้อาการท้องเสีย (ราก)[1],[2]
8. ต้น สามารถนำใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับใช้ตกแต่งบ้านได้[3]

ข้อควรรู้ของต้นพุดทุ่ง

  • คนในจังหวัดสงขลาจะเรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า “สับครุน” โดยหมอยาในจังหวัดสงขลาจะนำยางของต้นสับครุนหรือมาผสมกับน้ำมะนาว แล้วจากนั้นก็นำมาป้ายตรงบริเวณหัวฝีที่บวมเต็มที่แล้ว เพื่อใช้สำหรับปิดหัวฝี ช่วยขับหนองและเลือดที่เน่าเสียออกมาจากฝี (ข้อมูลจาก : plugmet.orgfree.com)

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “พุด ทุ่ง”.  หน้า 141.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พุด ทุ่ง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [08 พ.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “พุด ทุ่ง”.  อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  www.qsbg.org.  [08 พ.ย. 2014].
 อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.inaturalist.org/
2.https://www.gbif.org/

พญามุตติ มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ต้านเชื้อบิด

0
พญามุตติ
พญามุตติ มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ต้านเชื้อบิด เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกย่อยสีเหลืองออกเป็นกระจุกแน่น ผลเป็นผลแห้ง เมล็ดเป็นลอน
พญามุตติ
เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกย่อยสีเหลืองออกเป็นกระจุกแน่น ผลเป็นผลแห้ง เมล็ดเป็นลอน

พญามุตติ

ต้นพญามุตติจัดเป็นพรรณไม้ที่เติบโตตามพื้นที่ที่มีความชื้น และตามทุ่งนา[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Grangea maderaspatana (L.) Poir. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Grangea aegyptiaca (Juss. ex Jacq.) DC., Artemisia maderaspatana L., Tanacetum aegyptiacum Juss. ex Jacq. ชื่ออื่น ๆ หญ้าจามหลวง (เชียงใหม่), พญามุตติ (สุพรรณบุรี), กาดน้ำ, กาดนา เป็นต้น[1],[2] จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1]

ลักษณะของต้นพญามุตติ

  • ต้น เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก มีอายุได้เพียงฤดูเดียวเท่านั้น ลำต้นชูตั้งขึ้น ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 10-55 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านได้มาก โดยกิ่งก้านนี้จะแผ่มาจากบริเวณตรงโคนต้น มีลักษณะชูขึ้นสูงหรือลำต้นอาจจะทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินก็ได้ ผิวมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม และมีต่อมขึ้นกระจายอยู่ทั่วลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ ออกเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน เป็นรูปหอกกลับหรือรูปไข่กลับ ตรงปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม บริเวณโคนใบสอบแคบเรียว ส่วนขอบใบจะจักเว้าลึกลงไปข้างละประมาณ 3-4 หยัก แต่ละหยักนั้นมีลักษณะค่อนข้างมน สีเขียวอ่อน เนื้อใบอวบแผ่ออกเป็นปีก และตรงบริเวณผิวใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน[1],[2] ไม่มีก้านใบ มีขนาดความกว้างอยู่ที่ 1-4 เซนติเมตร และความยาวอยู่ที่ 2-8 เซนติเมตร
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงช่วงเดือนเมษายน[1],[2] ดอกย่อยสีเหลืองออกเป็นกระจุกแน่น โดยดอกจะออกตรงบริเวณปลายยอดตรงข้ามกับใบ รูปร่างกลม ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางของช่อดอกอยู่ที่ 1-1.5 เซนติเมตร ตรงก้านดอกมีขนอ่อนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม และดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก ดอกเพศเมียจะมีลักษณะของกลีบดอกที่เรียงตัวกันเป็นชั้น ๆ ที่วงนอกเป็นจำนวนมาก กลีบดอกจะมีสีเป็นสีเหลืองอ่อน โดยจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ตรงปลายหลอดจะแยกออกเป็นแฉก 2 แฉก แต่ละแฉกจะมีความยาวอยู่ที่ 0.1-0.3 มิลลิเมตร รังไข่เป็นทรงรูปรีสีเขียว มีความยาวอยู่ที่ 3-3.5 มิลลิเมตร ผิวเกสรด้านนอกมีต่อมขึ้นอยู่ และมีก้านชูเกสรที่มีความยาวอยู่ที่ 1.8-2.2 มิลลิเมตร ส่วนบริเวณปลายยอดเกสรจะแยกออกเป็น 2 แฉก แต่ละแฉกยาวประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร ดอกสมบูรณ์เพศจะเรียงตัวกันอยู่ภายในชั้นวงใน โดยกลีบดอกจะเป็นสีขาวแกมเหลืองสด ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก แต่ละแฉกยาว 0.1-0.3 มิลลิเมตร โดยจะมีเฉพาะดอกรูปหลอดเท่านั้นที่กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่ฐาน หลอดนี้มีความยาวอยู่ที่ 1-1.5 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีต่อมขึ้นประปราย ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อันอยู่เชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มีสีเหลืองอ่อนแกมเทา ก้านชูเกสรมีรูปร่างเป็นแท่งยาว โดยมีความยาวอยู่ที่ 0.2-0.3 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้นี้จะติดอยู่ที่บริเวณฐานของหลอดกลีบดอก อับเรณูของเกสรจะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย มีความยาวอยู่ที่ 0.1-0.2 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศเมีย โดยจะมีรังไข่เป็นทรงรูปรี มีความยาวอยู่ที่ 3.5-4 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกเกสรมีต่อมขึ้น ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียมีอยู่ 1 อัน มีความยาวอยู่ที่ 1 มิลลิเมตร ตรงปลายยอดเกสรจะแยกออกเป็น 2 แฉก แต่ละแฉกมีความยาวอยู่ที่ 0.1-0.2 มิลลิเมตร ผิวมีต่อมขึ้นปกคลุม และมีชั้นใบประดับเป็นสีเขียวปนขาว ลักษณะของดอกเกสรเพศเมียนั้นจะเป็นรูปร่างใบหอก วงใบประดับมีอยู่ด้วยกัน 3 ชั้น ผิวมีเนื้อสัมผัสที่หนาแข็ง และมีขนขึ้นปกคลุมเป็นประปราย วงนอกสุดของเกสรจะมีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่มีขนาดกว้างอยู่ที่ 2-2.5 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 2.5-3 มิลลิเมตร วงที่สองเป็นรูปร่างสามเหลี่ยม มีขนาดความกว้างอยู่ที่ 2-2.5 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 3-3.5 มิลลิเมตร วงในสุดเป็นรูปร่างหอก มีขนาดความกว้างอยู่ที่ 1-1.5 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 4-4.5 มิลลิเมตร
  • ผล มีลักษณะของผลเป็นผลแห้ง เมล็ดเป็นลอน ๆ โดยลักษณะของเมล็ดจะเป็นรูปทรงกระบอกกลม[2] และมีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร

สรรพคุณ และประโยชน์ต้นพญามุตติ

1. ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะนำทั้งต้น นำมาตำจากนั้นก็นำมาใช้พอกบริเวณที่มีอาการ โดยจะมีสรรพคุณแก้อาการปวดบวม (ทั้งต้น)[2]
2. ทั้งต้นมีรสชาติที่เผ็ดร้อน โดยทั้งต้นนี้จะมีสรรพคุณเป็นยาในการช่วยบำรุงธาตุ และทำให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น (ทั้งต้น)[1],[2]
3. ในตำรายาของไทยจะใช้ทั้งต้นนำมาทำเป็นยาขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)[2]
4. ทั้งต้นนำมาช่วยระงับอาการทางประสาทได้ (ทั้งต้น)[2]
5. ทั้งต้นนำมาทำเป็นยาแก้อาการท้องร่วงได้ (ทั้งต้น)[1]
6. ทั้งต้นใช้นำมาทำเป็นยาที่ออกฤทธิ์รักษาอาการท้องขึ้น อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยขับลมในท้อง [1],[2]
7. ทั้งต้นและส่วนของรากนำมาตำ จากนั้นก็นำไปพอกหรือนำไปทาบริเวณที่มีอาการ โดยจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคอีสุกอีใส (ทั้งต้นและราก)[2]
8. ในตำรายาของไทยจะนำใบมาทำเป็นยารักษาอาการไอ (ใบ)[1],[2]
9. น้ำคั้นจากใบนำมาใช้สำหรับหยอดหู ออกฤทธิ์รักษาอาการเจ็บหูได้ (ใบ)[1],[2]
10. ใบมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อโรค โดยจะนำมาทำเป็นยาปฏิชีวนะช่วยในการชำระบาดแผล (ใบ)[1],[2]
11. ประเทศอินเดียจะนำใบมาทำเป็นยารักษาอาการปวดท้อง และนำมาใช้เป็นยาระบายอีกด้วย (ใบ)[2]
12. ประเทศอินเดียจะนำใบมาทำเป็นยาป้ายลิ้นสำหรับใช้ขับระดูและแก้อาการฮีสทีเรีย (ใบ)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นพญามุตติ

1. สารสกัดแอลกอฮอล์จากต้น มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ต้านเชื้อบิด ลดการบีบตัวของลำไส้ กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในสัตว์ทดลอง
2. การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดแอลกอฮอล์จากทั้งต้น พบว่ามีความเป็นพิษปานกลาง โดยมีค่า LD50 = 681 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[2]
3. มีการทดลองในสตรีมีครรภ์ผลพบว่าสารสกัดจากต้น จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกซึ่งอาจจะทำให้แท้งได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พ ญ า มุ ต ติ”. หน้า 523-524.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พญามุตติ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [11 พ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofbangladesh.com/2021/05/namuti-or-madras-carpet-grangea.html
2.https://www.biolib.cz/en/image/id109826/

สรรพคุณฝ้ายดอกเหลือง ช่วยลดระดับไขมันในเลือด

0
ฝ้ายดอกเหลือง
สรรพคุณฝ้ายดอกเหลือง ช่วยลดระดับไขมันในเลือด เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ดอกสีเหลืองอ่อน ฝักแห้งมีขนยาวสีขาว เมื่อแตกจะเป็นพู3ฝา
ฝ้ายดอกเหลือง
เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ดอกสีเหลืองอ่อน ฝักแห้งมีขนยาวสีขาว เมื่อแตกจะเป็นพู3ฝา

ฝ้ายดอกเหลือง

ฝ้ายดอกเหลือง มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในแถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ค่อนข้างจะมีฝนตกชุก แสดงให้เห็นว่าต้นฝ้ายนั้นเป็นพืชที่ชอบน้ำและสภาพอากาศที่ชื้น ชื่อสามัญ Cotton[2]  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium hirsutum L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ชบา (MALVACEAE)[1]

ลักษณะของฝ้ายเหลือง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก สูง1-3 เมตร ลำต้นตั้งตรง และมีขนที่ละเอียดขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบต้นฝ้ายนั้นจะเป็นรูปไข่กว้าง และส่วนตรงขอบใบก็จะมีลักษณะเว้าลึก แยกเป็นแฉก 3-5 แฉก ความกว้างและขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-12 เซนติเมตร[1]
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยวตามบริเวณซอกใบและตรงบริเวณที่ปลายกิ่งของต้น ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน แล้วหลังจากนี้ดอกฝ้ายก็จะเปลี่ยนสีดอกเป็นสีเหลืองแกมชมพูภายหลังจากที่ดอกฝ้ายบานได้เต็มที่[1]
  • ผล เป็นผลแห้ง และแตกกระจายออกมาเป็นพูมีอยู่ด้วยกัน 3 ฝา ภายในผลฝ้ายก็จะมีเมล็ดอยู่ ซึ่งเมล็ดนั้นก็จะมีลักษณะที่มีขนยาวสีขาว ๆ ได้ทำการห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้อยู่[1]

สรรพคุณ และประโยชน์ฝ้ายเหลือง

1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ได้มีการระบุเอาไว้ว่าฝ้ายชนิด (Gossypium hirsutum L.) นั้น ได้มีสรรพคุณที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ซึ่งนี่ก็สามารถระบุได้ว่า ฝ้ายชนิด (Gossypium hirsutum L.) สามารถนำมาใช้แทนฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ได้[4]
2. ในตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำใบฝ้ายผสมเข้ากับใบมะม่วง ใบมะนาวป่า ใบขมิ้น ใบไพล และใบตะไคร้ นำเอามาต้มและเคี่ยวจนเดือด นำมาดื่มเป็นยารักษานิ่ว (ใบ)[1]
3. เมล็ดของฝ้ายนำมาใช้ผสมกับแก่นข่อย แก่นฝาง หัวตะไคร้ เลือดแรด แล้วเอามาต้มกับน้ำ สำหรับไว้ดื่มเป็นยารักษาอาการประจำเดือนที่ผิดปกติ (เมล็ด)[1]
4. เมล็ดฝ้ายที่นำมาใช้สกัดเอาน้ำมันจะเรียกว่า “น้ำมันเมล็ดฝ้าย” [2]
(โดยฝ้ายขนาด 10 กิโลกรัม จะให้น้ำมันอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลกรัม)[2]
5. ปุยฝ้ายหรือเส้นใยฝ้าย จะนำมาใช้ถักทอเป็นผ้าฝ้าย เส้นด้าย สำลี หรือจะนำเอามาผสมในกระดาษ และกระดาษพิมพ์ก็ได้เช่นกัน ส่วนบริเวณตรงที่มีขนปุยสั้น ๆ ติดอยู่ที่เมล็ดนั้นส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ทำเป็นพรม โดยนำมาใช้ทำพื้นรองพรมเป็นเส้นใยปอแก้ว[2] (โดยฝ้ายขนาด 10 กิโลกรัม จะให้เส้นใยอยู่ที่ประมาณ 3.5 กิโลกรัม)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของฝ้าย

1. จากงานวิจัยการทดลองในคนเกี่ยวกับน้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดฝ้ายนั้น ทดลองโดยการให้ผู้ทดลองทานน้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดฝ้าย ผลพบว่าน้ำมันของเมล็ดฝ้ายทำให้ลดการสร้างตัวของอสุจิลงและทำให้เป็นหมันได้ชั่วคราว แต่ก็จะกลับสู่สภาพเดิมตามปกติเมื่อหยุดการรับประทาน[1]
2. น้ำต้มที่ได้จากเปลือกรากนี้ มีฤทธิ์ในการไปทำปฏิกิริยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในหลอดทดลอง[1]
3. เนื้อในเมล็ดฝ้ายได้มีการค้นพบสารที่ชื่อ gossypol ซึ่งสารตัวนี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างตัวของอสุจิ ช่วยลดระดับไขมันในเลือด และกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้[1]
ข้อควรรู้
ฝ้าย ปุยฝ้าย หรือจะเป็นเส้นใยฝ้ายชื่อที่พวกเราเรียกกันอยู่นี้ ก็คือ เซลล์ผิวของเมล็ดฝ้ายซึ่งเป็นบริเวณของเปลือกเมล็ด มีลักษณะรูปร่างยาวคล้ายคลึงกับเส้นผม โดยการจะแยกเส้นใยหรือเส้นใยฝ้ายนั้นออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีชื่อเรียกกันว่า “การหีบฝ้าย” ซึ่งเส้นใยฝ้ายที่ได้มานี้สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ อาทิ เสื้อผ้าฝ้าย กางเกงผ้าฝ้าย ผ้าห่มจากฝ้าย ในกรรมวิธีการเก็บฝ้ายในประเทศไทยบ้านเรานั้น มักจะทำการเก็บฝ้ายโดยการใช้มือ โดยจะทำการเลือกผลฝ้ายที่แตกออกมาแล้ว นำมาดึงเส้นใยออกจากสมอ แล้วทำการส่งไปที่โรงงานหีบฝ้ายสำหรับการแยกเมล็ดออก หลังจากนั้นก็จะนำเส้นใยที่ได้จากเมล็ดฝ้ายนี้ไปทำเป็นสำลี เอาไปปั่นเป็นเส้นด้าย หรือจะนำเอาไปอัดเป็นแท่งก็ตามแต่สะดวก ส่วนเมล็ดฝ้ายที่ได้ทำการแยกเอาเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้ายไปหมดแล้ว เมล็ดพวกนี้ก็จะถูกนำไปสู่กระบวนการการสกัดเอาน้ำมัน[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ฝ้าย”.  หน้า 121.
2. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ฝ้าย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.sc.mahidol.ac.th/wiki/.  [14 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gossypium_hirsutum_BotGardBln1105FlowerLeaves.JPG
2.https://www.diark.org/diark/species_list/Gossypium_hirsutum

ฝ้ายแดง สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ

0
ฝ้ายแดง
ฝ้ายแดง สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีแดงเข้ม ตรงกลางดอกจะมีสีเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำ และมีสีเหลืองแต้มเป็นจุด ผลสีเขียวอมแดง และผลผิวลื่น
ฝ้ายแดง
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีแดงเข้ม ตรงกลางดอกจะมีสีเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำ และมีสีเหลืองแต้มเป็นจุด ผลสีเขียวอมแดง และผลผิวลื่น

ฝ้ายแดง

ต้นฝ้ายแดง มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชียเขตร้อนและกึ่งร้อน และในแถบทวีปแอฟริกา โดยขึ้นตามบริเวณที่รกร้างและโล่งแจ้ง จัดเป็นหนึ่งในพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดมาก สามารถเติบโตได้ในดินร่วนทั่วไป ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ชื่อสามัญ Ceylon cotton, Chinese cotton, Tree cotton[2],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium arboreum L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ชบา (MALVACEAE)[1]

ลักษณะของฝ้ายแดง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 2-4 เมตร มีเปลือกเรียบเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลแดง โดยลำต้นนั้นจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปโดยรอบ ต้นเป็นทรงพุ่มลักษณะโปร่ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน เป็นรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลมหรือมน ตรงโคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบจะเว้าลึกลงไปเป็นแฉก 3-7 แฉกคล้ายกับฝ่ามือ บริเวณหลังใบผิวเรียบ มีเส้นใบเป็นสีแดง และก้านใบก็มีสีเป็นสีแดง[1],[2],[3] ใบกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกบริเวณตามซอกใบใกล้กับบริเวณปลายกิ่ง มีสีแดงเข้ม ตรงกลางดอกจะมีสีเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำ และมีสีเหลืองแต้มเป็นจุดประโดยรอบ มีใบประดับอยู่ 3 ใบ ใบประดับจะมีรูปร่างเป็นใบรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเรียงซ้อนกันอย่างสวยงาม ตรงโคนกลีบดอกจะติดกัน มีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีก้านเกสรที่เชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมียเอาไว้อยู่ ตรงปลายเกสรเพศเมียนั้นจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก[1],[2],[3]
  • ผล มีรูปร่างกลมเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม หัวและท้ายของผลจะมีลักษณะแหลมสีเป็นสีเขียวอมแดง และผลผิวลื่น มีกลีบรองดอกห่อหุ้มเอาไว้อยู่ซึ่งเมื่อผลแก่ตัวลง กลีบที่ห่อหุ้มก็จะคลายออกและผลก็จะแตกออกเป็นปุยฝ้าย
  • เมล็ด มีจำนวนมาก รูปทรงค่อนข้างกลมเป็นสีเขียว และผิวเมล็ดมีขนยาวสีขาวขึ้นปกคลุม[1],[3]

สรรพคุณ ประโยชน์ ของต้นฝ้ายแดง

1. ใบสดนำมาใช้ทำยาแก้พิษตานซางในเด็กได้ (ใบสด)[1],[2],[3]
2. ใบสด มีรสชาติเย็นซ่า ๆ นำมาใช้ปรุงเป็นยาทานแก้ไข้ และช่วยขับเหงื่อ (ใบสด)[1],[2],[3]
3. ในตำรายาแก้ไข้จะใช้ใบสด นำมาทำเป็นยาที่มีสรรพคุณในการแก้ไข้ และทำให้อุณหภูมิของร่างกายเย็นลง (ใบ)[4]
4. เปลือกราก นำมาบดให้เป็นผงละเอียดใช้ชงกับน้ำเดือดสำหรับดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)[3]
5. เปลือกรากนำมาบดให้เป็นผงจากนั้นนำมาชงกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาช่วยบีบมดลูกทำให้แท้ง และช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี (เปลือกราก)[3],[5]
6. เมล็ด นำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคหนองในได้ (เมล็ด)[4]
7. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ด นำมาใช้ในการเตรียมสบู่และอีกทั้งยังนำมาทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นได้อีกด้วย[5]
8. ต้น สามารถนำมาใช้ปลูกไว้สำหรับดูเล่นได้ โดยมักจะปลูกกันตามบ้านเรือนและวัด หรือจะนำมาใช้ทำเป็นรั้วบ้านก็ได้

ข้อควรระวังของการทานสมุนไพรฝ้ายแดง

  • สตรีที่ตั้งครรภ์ห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะนั่นอาจจะทำให้แท้งบุตรได้[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. เอกสารอ้างอิง หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ฝ้าย แดง (Fai Daeng)”. หน้า 186.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ฝ้าย แดง”. หน้า 518-519.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ฝ้าย แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [13 พ.ย. 2014].
4. หนังสือไม้ดอกไม้ประดับ. “ฝ้าย แดง”.
5. ไทยเกษตรศาสตร์. “ข้อ มูล ของ ฝ้าย แดง”. อ้างอิงใน : ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [13 พ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/2011/12/02/gossypium-arboreum/

ผักโขมสวน สมุนไพรสรรพคุณและประโยชน์สารพัด

0
ผักโขมสวน
ผักโขมสวน สมุนไพรสรรพคุณและประโยชน์สารพัด ใบรูปรีถึงรูปไข่ ตรงปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ หยักคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสีเป็นสีเขียวอ่อนหรือมีสีแดง
ผักโขมสวน
ใบรูปรีถึงรูปไข่ ตรงปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ หยักคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสีเป็นสีเขียวอ่อนหรือมีสีแดง

ผักโขมสวน

ต้นผักโขมสวนนี้สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย[1] ซึ่งเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ชอบดินร่วน ต้องการความชื้นสูง และชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน ชื่อสามัญ: Joseph’s coat, Chinese spinach, Tampala
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus tricolor L. จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ผักโขมสี, ผักขมขาว, ผักขมสวน, ผักขมสี, ผักโขมขาว, ผักโหมป๊าง, ผักโหมป๊าว, ผักหมพร้าว, ผักขมจีน, ผักขมใบใหญ่, ผักโขมใบใหญ่, ผักขมเกี้ยว, เงาะถอดรูป, ผักโขมหนาม, ผักโหมหนาม เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นผักโขมสวน

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก
    – มีความสูงอยู่ที่ 1.30 เมตร
    – ตั้งตรง และบริเวณส่วนยอดของลำต้นจะมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ด้วย
  • ใบ
    – ใบเดี่ยว โดยจะออกเรียงเวียนสลับกัน
    – ใบรูปรีถึงรูปไข่ ตรงปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ และขอบใบจะเรียบหรืออาจจะเป็นหยักคลื่นเล็กน้อย
    – ใบที่อยู่บริเวณปลายยอดจะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น สีแดงสด สีม่วงแดง หรือสีเหลืองทอง เป็นต้น[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 6-10 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อเชิงลดที่บริเวณปลายกิ่ง
    – ดอกจะมีสีเป็นสีเขียวอ่อนหรือมีสีแดง
    – ช่อดอกหนึ่งช่อจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 4-25 มิลลิเมตร[1]
  • ผล
    ผลมีลักษณะผิวที่แห้ง ผลไม่แตก
  • เมล็ด
    – ผลจะมีเมล็ดสีดำขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก[1],[2]

ข้อมูลเพิ่มเติมของต้นผักโขมสวน

  • ต้นและใบ มีสีเป็นสีม่วงอมดำคล้ำ โดยจะมีสีแบบนี้อยู่ประมาณ 2 เดือนนับตั้งแต่เวลาการเพาะเมล็ด พอหลังจากนั้นก็จะเริ่มเปลี่ยนสีไป
  • ส่วนของยอดลงมาวัดระยะได้ประมาณ 1 ใน 3 ของลำต้นจะมีสีแดงสดสะดุดตา
  • สายพันธุ์ Joseph’s coat โดยตรงยอดจะมีสีเป็นสีเหลืองและมีสีแดงที่โคนของใบ ส่วนใบที่อยู่ด้านล่างนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 โทนสีก็คือ โคนใบเป็นสีแดง กลางใบเป็นสีเหลือง และปลายใบเป็นสีเขียว ส่วนใบที่อยู่ถัดลงไปด้านล่างลงมาจะมีสีเป็นสีเขียว[3]

สรรพคุณและประโยชน์ผักโขมสวน

1. รากนำมาใช้รักษาอาการช้ำในได้ (ราก)[2]
2. รากมีฤทธิ์เป็นยาแก้พิษต่อร่างกายได้ (ราก)[2]
3. รากนำมาใช้แก้อาการแน่นท้องได้ (ราก)[2]
4. รากนำมาใช้ช่วยรักษาอาการไข้ได้ โดยจะมีฤทธิ์ในการระงับความร้อนภายในร่างกาย (ราก)[2]
5. รากนำมาใช้แก้อาการในเด็กที่ลิ้นเป็นฝ้าละอองและเด็กที่มีอาการเบื่ออาหารได้ (ราก)[2]
6. รากนำมาทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้ (ราก)[2]
7. รากมีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำนมของสตรี (ราก)[2]
8. รากมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาอาการฝี และแก้ขี้กลากได้ (ราก)[2]
9. ใบ มีฤทธิ์ในการบำรุงและรักษาสายตา มีวิตามินเอสูง (ใบ)
10. ยอดอ่อนและใบอ่อน นำมารับประทานได้ โดยจะนำมาทำให้สุกด้วยวิธีการลวก นึ่ง หรือต้มก็ได้ ใช้รับประทานร่วมกันกับน้ำพริก ลาบ หรือแกงเลียง เป็นต้น[2]
11. ปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้ดูดีขึ้นได้ เนื่องจากมีลักษณะของต้นที่เป็นจุดเด่นและใบ มีสีสันที่สวยงามแปลกตา แต่ก็ต้องเปลี่ยนต้นปลูกใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน[1]

ข้อควรรู้ของต้นผักโขมสวน

มีรายงานจากประเทศบราซิลว่า ต้นเป็นพิษต่อวัว กระบือ และม้า โดยพิษจะออกฤทธิ์ทำให้สัตว์เหล่านี้มีอาการเบื่ออาหาร[2]

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม
โปรตีน 5.2 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
เส้นใยอาหาร 1 กรัม
น้ำ 84.8 กรัม
วิตามินเอ 12,858 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.37 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 1.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 120 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 341 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 76 มิลลิกรัม

(แหล่งที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.)

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. เอกสารอ้างอิง ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “เงาะถอดรูป“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [13 พ.ย. 2013].
2. โครงการตาสับปะรด นักสืบเสาะภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชุมชนสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. “โขมสวน“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pineapple-eyes.snru.ac.th. [13 พ.ย. 2013].
3. ไทยเกษตรศาสตร์. “ไม้ดอกล้มลุก : เงาะถอดรูป“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [13 พ.ย. 2013].

รูปจาก
https://arit.kpru.ac.th/
https://www.amkhaseed.com/

ผ่าเสี้ยน สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย

0
ผ่าเสี้ยน สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อแยกแขนงสีม่วงครามอ่อน ผลกลมสุกแล้วจะมีสีเป็นสีเหลืองอมเขียว ผลแห้งสีน้ำตาลจนถึงสีดำ
ผ่าเสี้ยน
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อแยกแขนงสีม่วงครามอ่อน ผลกลมสุกแล้วจะมีสีเป็นสีเหลืองอมเขียว ผลแห้งสีน้ำตาลจนถึงสีดำ

ผ่าเสี้ยน

ผ่าเสี้ยน สามารถพบเห็นได้ทั่วประเทศของประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศนั้นสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดียและประเทศพม่า โดยพืชชนิดนี้สามารถพบเห็นขึ้นได้ในบริเวณตามป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ในระดับความสูงที่ไม่เกิน 800 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2] ชื่อสามัญ: Indochinese Milla, Kyetyo[2]
ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex canescens Kurz จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[1]
ชื่ออื่น ๆ จงอาง โจงอางต้น สะคางต้น (เลย), แปะ (นครราชสีมา), พะหวัง (กำแพงเพชร), หมากเล็กหมากน้อย (กาญจนบุรี), สมอตีนเป็ด (ประจวบคีรีขันธ์), กำจัง (พัทลุง), จัง (นครศรีธรรมราช), คำปอน คำปาน ซ้อเสี้ยน (ในภาคเหนือ), สมอกานน (ในภาคตะวันตกเฉียงใต้), กานนหลัว ข้องแลง (ในภาคใต้) เป็นต้น[1]

ลักษณะของผ่าเสี้ยน

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางไปจนถึงมีขนาดใหญ่ มีความสูง 10-25 เมตร แตกกิ่งก้านได้มาก ลักษณะของกิ่งอ่อนจะเป็นเหลี่ยม เมื่อดูไปตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนนั้นก็จะมีขนสีน้ำตาลเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ ส่วนในด้านของเปลือก ภายนอกนั้นจะเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกแบบรอยไถอยู่ และมีลักษณะเป็นร่องเอียง ส่วนในด้านของเปลือกด้านในนั้นจะมีสีเป็นสีเหลืองอ่อน ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ
  • ใบ เป็นใบประกอบ มีลักษณะเป็นแบบนิ้วมือ มีใบย่อยอยู่ประมาณ 3-5 ใบ โดยใบย่อยเป็นรูปไข่กลับ รูปไข่ หรือเป็นรูปรี บริเวณปลายใบจะแหลม ตรงโคนใบจะมน แผ่นใบผิวบางและมีผิวสัมผัสที่นิ่มมือ มีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน ใบอ่อนจะมีขนมากกว่าใบที่แก่แล้ว และบริเวณท้องใบจะมีขนขึ้นที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่มมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตรงเส้นกลางใบและเส้นใบ เส้นแขนงของใบย่อยจะมีอยู่กันประมาณ 6-14 คู่ โดยใบย่อยพวกนี้จะออกใบเรียงตรงข้ามกัน สลับกับการออกใบแบบตั้งฉาก [1],[2] ใบย่อยตรงส่วนยอดจะมีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนใบย่อยที่บริเวณด้านข้างจะมีขนาดเล็ก ใบที่อยู่ติดกับก้านใบจะเล็กที่สุด กว้าง 3-10 เซนติเมตร และยาวอยู่ที่ประมาณ 5-20 เซนติเมตร ก้านใบย่อยจะยาว 0.4-2.5 เซนติเมตร (ก้านใบย่อยตรงบริเวณส่วนปลายของยอดจะมีความยาวมากกว่าก้านใบย่อยที่อยู่ด้านข้าง) [1],[2] ผลัดใบในช่วงของเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์[1],[2]
  • ดอก เป็นช่อแยกแขนงหรืออาจจะออกดอกเป็นช่อแบบเชิงลดประกอบ ดอกออกดอกเรียงตัวกันเป็นวงรอบ ๆ ก้านดอก บริเวณปลายกิ่งและบริเวณตามซอกใบที่ใบหลุดร่วงหล่นไปแล้ว ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[1],[2] มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ โดยกลีบดอกนั้นจะแยกออกจากกันเป็น 2 ฝา ฝาด้านบนจะมี 2 กลีบ ส่วนฝาด้านล่างจะมี 3 กลีบ บริเวณโคนกลีบดอกจะมีสีเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน แต่ตรงปลายกลีบของดอกนั้นจะเป็นสีม่วงครามอ่อน ๆ ด้านนอกของดอกจะมีขนขึ้นอยู่ ส่วนในด้านของกลีบเลี้ยงจะมีกลีบอยู่ด้วยกัน 5 กลีบ ตรงบริเวณโคนดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนตรงปลายก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก มีสีน้ำตาล[1],[2]
  • ผล มีลักษณะกลม ผลมีขนาดประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร ผลเมื่อตอนสุกแล้วจะมีสีเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือมีสีเป็นสีเหลือง และเมื่อตอนผลแห้งแล้วก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีไปจนเป็นสีดำในที่สุด ภายในผลจะมีเมล็ดเดี่ยวหรืออาจจะมีหลายเมล็ด แต่ส่วนใหญ่ผลจะมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด ผลแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[2]

สรรพคุณ ประโยชน์ ของผ่าเสี้ยน

  • ต้น ผสมกับขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กแดง และขี้เหล็กขี้กลาก ปรุงเป็นยาใช้แก้โรคติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส โกโนเรียได้[1]
  • เปลือกต้น ตำรายาสมุนไพรของไทยจะนำเปลือกต้นมาทำเป็นยาแก้ไข้ [3]
  • เปลือกต้นมีฤทธิ์เป็นยาสำหรับใช้แก้อาการท้องเสีย [3]
  • เปลือกต้นนำมาใช้เป็นยาแก้อาการบิด และแก้เด็กถ่ายเป็นฟองได้อีกด้วย [3]
  • เปลือกต้นยังสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ตานขโมยได้อีกด้วย (โรคพยาธิในเด็ก เกิดอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซูบซีด ท้องเดิน พุงโร และก้นป่อง)  )[3]
  • ราก มีฤทธิ์ที่ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ [3]
  • ราก มีฤทธิ์เป็นยาสำหรับใช้แก้อาการท้องเสียเช่นเดียวกันกับส่วนของเปลือก [3]

ประโยชน์ของผ่าเสี้ยน

  • เนื้อไม้ มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ในงานก่อสร้างได้ นำมาทำที่อยู่อาศัย
  • เนื้อไม้นำมาใช้สร้างเครื่องเรือน เครื่องจักสาน ใช้สร้างเครื่องมือใช้สอย
  • เนื้อไม้นำมาทำเป็นฟืนก่อไฟ ใช้หุงต้มได้อีกด้วย[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ผ่ า เ สี้ ย น”. หน้า 138.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ผ่ า เ สี้ ย น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [14 พ.ย. 2014].
3. ไทยเกษตรศาสตร์. “ลักษณะต้นผ่าเสี้ยน”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [14 พ.ย. 2014].

รูปจาก
https://www.matichonweekly.com/
http://www.qsbg.org/

ตะบูนขาว สมุนไพรแก้ท้องร่วง แก้อหิวาตกโรค

0
ตะบูนขาว
ตะบูนขาว สมุนไพรแก้ท้องร่วง แก้อหิวาตกโรค เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงต้นที่มีขนาดกลาง ดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลทรงกลม ผิวเปลือกแข็งสีน้ำตาล น้ำหนัก1-2 กิโลกรัม
ตะบูนขาว
เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงต้นที่มีขนาดกลาง ดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลทรงกลม ผิวเปลือกแข็งสีน้ำตาล น้ำหนัก1-2 กิโลกรัม

ตะบูนขาว

ต้นตะบูนขาวได้ที่ตามชายฝั่งของทะเลในพื้นที่ภูมิประเทศเขตร้อนชื้น ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา เอเชีย ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย[2] เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตได้ดีในน้ำกร่อย ส่วนใหญ่มักจะขึ้นปะปนอยู่กับพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนานาพรรณ เช่น ต้นหัวสุมดอกขาว ต้นไม้พังกา ต้นถั่วดำตาตุ่มทะเล และต้นโกงกางใบเล็ก[1],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์: Xylocarpus granatum J. Koenig[1] จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์กระท้อน (MELIACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ กระบูน กระบูนขาว (ในภาคกลาง, ภาคใต้), หยี่เหร่ (ในภาคใต้) เป็นต้น[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของตะบูนขาว

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงต้นที่มีขนาดกลาง มีความสูง 10-15 เมตร ลำต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้าง ซึ่งจะมีรูปร่างที่ไม่ค่อยแน่นอนนัก เนื่องจากลำต้นมักจะคดงอ เปลือกต้นนั้นจะมีสีเป็นสีเทาหรืออาจจะมีสีเป็นสีเทาอมขาว หรือบ้างก็พบเห็นเป็นสีน้ำตาลแดง เปลือกภายนอกจะลักษณะเป็นรอยแตกล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายคลึงกันกับเปลือกของต้นตะแบก ส่วนที่โคนต้นจะมีลักษณะเป็นแบบพูพอน จุดเด่นจะอยู่ที่เป็นไม้ที่ผลัดใบแต่สามารถผลิใบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว[1],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่อยู่เรียงสลับกัน มีใบย่อยเรียงอยู่ตรงข้ามกันมีด้วยกันอยู่ 2 คู่ ซึ่งใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ บริเวณปลายใบมน บริเวณตรงโคนของใบจะเรียวสอบ แผ่นใบผิวสัมผัสที่ค่อนข้างจะหนาแต่ตัวใบนั้นเปราะได้ง่าย ส่วนบริเวณตรงขอบใบนั้นจะโค้งลงและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงของใบมีอยู่ข้างละ 6-9 เส้น ก้านใบสั้นมีสีเป็นสีน้ำตาลตัดกับสีเขียวของใบ[1] ใบกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร และยาวอยู่ที่ประมาณ 6-12 เซนติเมตร ก้านใบ 3-5 มิลลิเมตร[1]
  • ดอก มีสีขาวอมเหลือง โดยการออกดอกนั้นจะออกดอกรวมเป็นช่อและแตกแขนงไปตามซอกใบอีกทีหนึ่ง กลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยมสั้น ๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 กลีบ ส่วนกลีบดอกก็มี 4 กลีบเช่นเดียวกัน ดอกบานได้เต็มที่จะกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และดอกตะบูนจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในเวลาช่วงบ่ายถึงเวลาโพล้เพล้ไปจนถึงช่วงค่ำมืด ดอกจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อยู่ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย[1]
  • ผล เป็นผลแบบแห้งแตก ผลจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวเปลือกแข็งเป็นสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก้านผลมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผิวจะมีลักษณะเป็นร่องตามยาวของผลอยู่ 4 แนว หรือก็คือผลสามารถแบ่งได้เป็น 4 พูในลักษณะที่เท่า ๆ กัน มีเมล็ดอยู่ที่ประมาณ 4-17 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจะเป็นรูปเหลี่ยมโค้งจะนูนที่ตรงปลายแล้วค่อยประสานเข้าหากันเป็นรูปทรงกลม โดยหนึ่งด้านของเมล็ดจะกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร

สรรพคุณของตะบูนขาว

  • ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือก, เมล็ด)[2]
  • เปลือกและผล ช่วยแก้อหิวาตกโรค (ผล)[2]
  • เปลือกและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการไอ [2]
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือก, เมล็ด)[1],[2]
  • ใช้เป็นยาแก้บิด (เปลือก, เมล็ด)[1]
  • เปลือกและเมล็ดใช้ต้มเพื่อใช้ชะล้างแผล (เปลือก, เมล็ด)[1]

ประโยชน์ ของตะบูนขาว

1. สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (เปลือก, เมล็ด)[2]
2. นำมาใช้เป็นยาแก้อาการบิดได้ (เปลือก, เมล็ด)[1]
3. นำมาต้มเอาแต่น้ำเพื่อใช้ชะล้างบาดแผลภายนอกร่างกายได้ (เปลือก, เมล็ด)[1]
4. เปลือกและเมล็ด มีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไอ (เปลือก, เมล็ด)[2]
5. สามารถช่วยแก้อาการท้องร่วงได้ (เปลือก, เมล็ด)[1],[2]
6. เปลือก สามารถนำมาช่วยรักษาโรคอหิวาต์ได้ (เปลือก)[1]
7. ผล นำมาใช้รักษาโรคอหิวาต์ได้เช่นเดียวกันกับส่วนเปลือก (ผล)[1],[2]
8. ต้นมีเนื้อไม้ที่เป็นสีขาว สามารถนำมาใช้สร้างเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับการตกแต่งบ้านเรือน อาคาร หรือสถานที่ต่าง ๆ ได้[2]
9. เปลือก ให้น้ำฝาด สำหรับการนำมาใช้ย้อมสีผ้า[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ต ะ บู น ข า ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [15 พ.ย. 2013].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะ บูน ขาว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [15 พ.ย. 2013].
3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. “ต ะ บู น ข า ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th. [15 พ.ย. 2013].
4. ทัศนศึกษาออนไลน์. “พืชและสัตว์ที่พบในป่าชายเลน“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: fieldtrip.ipst.ac.th. [15 พ.ย. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://uforest.org/plants/species?q=Xylocarpus_granatum
2.https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/10854375893

ทองพันชั่ง สมุนไพรแก้โรค 108 ประการ

0
ทองพันชั่ง สมุนไพรแก้โรค 108 ประการ เป็นพุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเป็นรูปไข่ด้านในและโคนใบแหลม ดอกช่อขนาดเล็กสีขาว ผลเป็นฝัก
ทองพันชั่ง
เป็นพุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเป็นรูปไข่ด้านในและโคนใบแหลม ดอกช่อขนาดเล็กสีขาว ผลเป็นฝัก

ทองพันชั่ง

สมุนไพรทองพันชั่ง หรือ ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนังเป็นหลักชื่อสามัญ White crane flower ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus communis Nees) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

ลักษณะของทองพันชั่ง

  • ต้น มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร โดยโคนต้นมีเนื้อไม้แกนแข็ง กิ่งอ่อนเป็น 4 เลี่ยม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเป็นรูปไข่ด้านในและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่
  • ดอก เป็นดอกช่อขนาดเล็ก มีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงซอกมุมใบ มองดูดอกมีลักษณะเหมือน นกกระยางกำลังบิน กลีบรองดอกมี 5 กลีบ และมีขน กลีบดอกสีขาวติดกันตรงโคนเป็นหลอด ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร กว้าง 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้นๆ กลีบล่างแผ่กว้าง 1.5 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก โคนกลีบมีจุดประสีม่วงแดง เกสรตัวผู้สีน้ำตาลอ่อน มีสองอันยื่นพ้นปากหลอดออกมาเล็กน้อย รังไข่มี 1 อัน รูปยาวรี มีหลอดท่อรังไข่คล้ายเส้นด้าย ยาวเสมอปากหลอดดอก ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก
  • ผล มีลักษณะเป็นฝัก กลมยาว และมีขนภายใน มี 4 เมล็ดเมื่อแห้งสามารถแตกได้

สรรพคุณของทองพันชั่ง

  • ใบ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ไอเป็นเลือด ทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดี รักษาริดสีดวงทวาร แก้อาการปวดฝี
    แก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี ฆ่าพยาธิ ถอนพิษ แก้อาการอักเสบ รักษาโรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคันเรื้อรัง
  • ต้น ช่วยแก้โรค 108 ประการ แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ช่วยรักษาโรคนิ่ว รักษาคุดทะราดผู้ป่วยโรคเอดส์ใช้ต้นนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้น ช่วยทำให้น้ำเหลืองดีขึ้น เม็ดตุ่มตามตัวน้อยลง รับประทานข้าวได้มากขึ้น
  • ราก-ต้น บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ แก้น้ำเหลืองเสีย
  • ราก-ใบ รสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ ช่วยแก้พิษงู
  • ใบ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยแก้โรคไต โรคมะเร็ง แก้อาการใจระส่ำระสาย แก้อาการคลุ้มคลั่ง แก้อาการปวดหัวตัวร้อน ช่วยแก้หิดมะตอย
  • ราก ช่วยแก้กระษัย แก้อาการไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคตับพิการ รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อที่ทำให้มีอาการปวดบวม ทำให้ผมดกดำ แก้ผมหงอก ผมร่วง

ข้อควรระวัง : สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหืด โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งในเลือด โรคความดันโลหิตต่ำ ไม่ควรรับประทาน

ประโยชน์ของทองพันชั่ง

  • นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่ว ๆไป

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง :
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รองศาสตราจารย์ ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ (นักวิจัยภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, การแยกและการพิสูจน์เอกลักษณ์สารกลุ่มควิโนนที่มีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ จากใบของต้นทองพันชั่ง (ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์), www.thaigoodview.com

รูปจาก :
https://www.pinterest.com/
https://www.samunpri.com/

ต้นพลองขี้ควาย หรือพลองใบเล็ก สมุนไพรแก้ไข้ป่า บำรุงร่างกาย

0
ต้นพลองขี้ควาย
ต้นพลองขี้ควาย หรือพลองใบเล็ก สมุนไพรแก้ไข้ป่า บำรุงร่างกาย ไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อกระจุกสั้น สีม่วงแกมน้ำเงิน ผลอ่อนสีเขียวอมชมพู ผลสุกสีม่วงเข้มหรือสีม่วงดำ
ต้นพลองขี้ควาย
ไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อกระจุกสั้น สีม่วงแกมน้ำเงิน ผลอ่อนสีเขียวอมชมพู ผลสุกสีม่วงเข้มหรือสีม่วงดำ

ต้นพลองขี้ควาย หรือพลองใบเล็ก

ต้นพลองขี้ควาย หรือพลองใบเล็ก เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก พบได้ในประเทศจีนตอนใต้ ในภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค และพบได้มากในทางภาคใต้ ชื่อสามัญ Nipis Kulik, Blue Strawberry Flowers, Javanese Nipis, Api-api Hutan, Delek-delek Jambu, Delek Jamu Putih ชื่อวิทยาศาสตร์ Memecylon caeruleum Jack จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์โคลงเคลง (MELASTOMATACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ พลองขี้นก (จังหวัดลำปาง), พรม พลองขี้ไต้ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), พลองใบเล็ก เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นพลองขี้ควาย

  • ต้น
    – มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างขวาง โดยสามารถพบได้ในประเทศจีนตอนใต้ ในภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย
    – ภายในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบได้มากในทางภาคใต้
    – เจริญเติบโตในพื้นที่ระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – มีความสูงของลำต้นอยู่ที่ประมาณ 3-12 เมตร
    – แตกแขนงแผ่กิ่งก้านโปร่งออกมาจากลำต้น ซึ่งกิ่งก้านมีขนาดที่เล็กและมีสีเป็นสีน้ำตาล
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปรี ปลายใบแหลมหรือเป็นมน ตรงโคนใบเป็นรูปลิ่มหรือรูปกลม ส่วนขอบใบจะเรียบ
    – แผ่นใบจะมีความหนาที่ค่อนข้างหนาพอสมควร ผิวใบจะเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ตรงผิวใบด้านบนมีสีเป็นสีเขียวเข้มและใบเป็นมัน ส่วนใบด้านล่างหรือท้องใบจะมีสีที่อ่อนกว่าใบด้านบน
    – ใบยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร และส่วนของก้านใบจะยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-1 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ดอก ออกเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ โดยจะออกดอกตามบริเวณซอกใบ
    – ก้านช่อจะยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร
    -ดอกมีสีเป็นสีม่วงแกมสีน้ำเงิน มีใบประดับขนาดเล็กที่มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หลุดร่วงง่าย
    -ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ตรงฐานรองดอกมีรูปร่างเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร และมีผิวเกลี้ยง
    -กลีบเลี้ยงนั้นจะมีลักษณะที่เป็นรอยจักตื้น ๆ อยู่ 4 กลีบ ส่วนกลีบดอกจะมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ ปลายแหลม มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีผิวที่ย่นและเป็นสีม่วง โดยดอกจะมีอยู่ด้วยกัน 4 กลีบ
    -บริเวณโคนกลีบจะเชื่อมติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อันเป็นสีม่วง มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5 มิลลิเมตร รวมอับเรณู โดยอับเรณูมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ที่ตรงปลายมีรยางค์ห้อยลง มี บริเวณที่โคนมีต่อมขึ้น
    -รังไข่นั้นจะอยู่ใต้วงกลีบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ และมียอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม[1],[2]
  • ผล
    – ผล เป็นรูปไข่รี ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และผลมีผิวผลที่เกลี้ยงเกลา ไม่มีขนขึ้นปกคลุม
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีเขียวหรือสีชมพูอมม่วง แต่เมื่อผลสุกแล้วผลก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงเข้มหรือสีม่วงดำ
    – ผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด โดยเมล็ดจะมีลักษณะเป็นทรงกลม และมีเปลือกที่แข็ง[1],[2]3.

สรรพคุณของต้นพลองขี้ควาย

  • รากพลองใบเล็กนำผสมกับรากของต้นพลองเหมือด นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาที่มีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการผิดสำแดงหรืออาหารเป็นพิษได้ (ราก)[1],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “พลองขี้ควาย”. หน้า 140.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พลองขี้ควาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [09 พ.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พลองใบเล็ก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [31 ส.ค. 2015].

ที่มาของภาพ

Homepage


https://www.nparks.gov.sg/