แอหนัง ช่วยแก้อาการปวดท้อง

0
แอหนัง ช่วยแก้อาการปวดท้อง เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ช่อดอกขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นรูปทรงกระบอกสีเหลืองอมเขียว ผลขนาดเล็กคล้ายกับห้าเหลี่ยม
แอหนัง
เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ช่อดอกขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นรูปทรงกระบอกสีเหลืองอมเขียว ผลขนาดเล็กคล้ายกับห้าเหลี่ยม

แอหนัง

ชื่อสามัญ Roman iron wood ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crossostephium chinense (A.Gray ex L.) Makino (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Artemisia chinensis L., Chrysanthemum artemisioides (Less.) Kitam., Crossostephium artemisioides Less. ex Cham. & Schltr., Tanacetum chinense L.) อยู่วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ฝูหยงจวี๋ (จีนกลาง), เซียงจี๋ (จีนกลาง), เฮียงเก็ก (แต้จิ๋ว), เล่านั่งฮวย (จีน), เชียนเหนียนไอ๋ (จีนกลาง), ปากหลาน (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), หล่าวเหยินฮวา (จีนกลาง), เหล่าหนั่งฮวย (แต้จิ๋ว) [1],[2],[4],[5]

ลักษณะต้นแอหนัง

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงเรียบและเป็นสีเขียว จะแตกกิ่งก้านเยอะ มีใบขึ้นดกหนาทึบ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง ชอบดินร่วน ที่มีความชื้น ที่มีแสงแดดปานกลาง มักขึ้นในที่แจ้ง ที่ตามหินปูน พบเจอได้ที่ตามหลุมบ่อใกล้ชายทะเล[1],[3],[4]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับตามต้น จะออกเป็นกระจุกที่ตรงปลายยอด ที่ใบกับก้านใบจะมีขนสีขาวอมสีเทาขึ้น ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนมีลักษณะเป็นรูปไข่ ใบจะแยกเป็นแฉกประมาณ 3-5 แฉก ส่วนใบที่บริเวณยอดต้นจะไม่แยกเป็นแฉก ใบกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.5 เซนติเมตร มีลักษณะอวบน้ำ มีก้านใบสั้น[1],[3],[4]
  • ลักษณะของดอก จะออกเป็นช่อที่ยอดต้น และที่ตามง่ามใบปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร มีช่อดอกขนาดเล็ก ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อย ดอกย่อยเป็นรูปทรงกระบอกสีเหลืองอมเขียว หรือทรงกลมสีเหลือง ที่โคนดอกจะมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ[1],[3]
  • ลักษณะของผล เป็นผลขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผลเป็นรูปเหลี่ยมคล้ายกับห้าเหลี่ยม จะมีรยางค์เป็นเกล็ด มีความยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีเปลือกผลที่แข็ง ผลแห้งจะสามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ผล เมล็ดเป็นรูปทรงรีผิวมัน เป็นสีน้ำตาล[1],[3],[4]

สรรพคุณต้นแอหนัง

1. สามารถนำใบสดมาตำ ใช้พอกรักษาแก้ฝีหนองภายนอก ฝีฝักบัวได้ (ใบ, ราก)[1],[3],[4],[5]
2. สามารถนำใบมาใช้แก้แผลมีดบาด แผลฟกช้ำได้ (ใบ)[4]
3. ใบกับรากสามารถช่วยแก้พิษได้ (ใบ, ราก)[1]
4. ถ้าออกหัด ให้นำใบสดมาต้ม เอาแค่น้ำมาใช้อาบชะล้างร่างกาย (ใบ)[1]
5. ใบกับเมล็ดสามารถช่วยขับพยาธิได้ (ใบ, เมล็ด)[4]
6. ใบกับรากสามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะได้ (ใบ, ราก)[1]
7. ใบและรากสามารถช่วยละลายเสมหะได้ (ใบ, ราก)[1]
8. ใบและรากสามารถช่วยแก้หลอดลมอักเสบได้ (ใบ, ราก)[1]
9. สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดลมเย็น และแก้ไข้หวัดได้ โดยการนำใบแห้งประมาณ 20 กรัม มาต้มกับน้ำ ใส่น้ำตาลลงไปนิดหน่อย แล้วนำมาใช้ทาน (ทิ้งกาก) (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5]
10. สามารถใช้เป็นยาบำรุง ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นได้ (ใบ, เมล็ด)[4]
11. สามารถนำใบสดมาตำใช้พอกรักษาแผลที่เน่าเปื่อยเรื้อรังได้ (ใบ)[2],[3],[4],[5]
12. ใบและรากสามารถช่วยแก้บวมได้ (ใบ, ราก)[1]
13. ใบและรากสามารถช่วยแก้อาการปวดข้อที่เกิดจากลมชื้นเข้าข้อได้ (ใบ, ราก)[1]
14. ใบสามารถช่วยขับระดูประจำเดือนของสตรีได้ (ใบ)[4]
15. สามารถนำใบมาตำแล้วเอามาใช้ทาสะดือเด็กทารก ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (ใบ)[4]
16. ใบและรากสามารถช่วยรักษาเต้านมอักเสบได้ (ใบ, ราก)[1]
17. สามารถนำใบมาใช้ทำเป็นยาชงดื่ม ช่วยแก้เลือดคั่งในอวัยวะได้ (ใบ)[3],[4]
18. ใบและรากสามารถช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง แก้ไอได้ (ใบ, ราก)[1]
19. ใบกับรากเป็นยาร้อนเล็กน้อยจะออกฤทธิ์กับปอด กระเพาะ สามารถใช้เป็นยาขับลม ขับลมชื้นได้ ใบกับรากนั้นจะมีรสชาติเผ็ดขม (ใบ, ราก)[1],[2],[3],[4]

ปริมาณและวิธีใช้

– ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ ครั้งละประมาณ 15-20 กรัม มาต้มกับน้ำทาน [1]
– ถ้าเป็นยาสดให้ใช้ ครั้งละประมาณ 20-35 กรัม มาต้มกับน้ำทานหรือนำมาตำแล้วคั้นเอาแค่น้ำมาดื่ม [1]
– ถ้าใช้เป็นยาภายนอกให้เอามาตำแล้วใช้พอกในบริเวณที่ต้องการจะพอก[1]

ประโยชน์ต้นแอหนัง

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นกลุ่มใหญ่ ปลูกเป็นไม้กระถาง เพราะใบกับดอกสวยงาม [2],[3],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. คมชัดลึกออนไลน์, คอลัมน์: ไม้ดีมีประโยชน์. “แ อ ห นั ง ไม้ประดับ เป็นยา”. (นายสวีสอง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [26 ม.ค. 2014].
2. สมุนไพรดอทคอม. “แ อ ห นั ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [26 ม.ค. 2014].
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “แอหนัง”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 654.
4. สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “แอหนัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [26 ม.ค. 2014].
5. หนังสือสมุนไพรไทย ตอนที่ 4. “แอหนัง”. (ก่องกานดา ชยามฤต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อีเหนียว ช่วยลดระดับน้ำตาล ลดไขมันในเลือด

0
อีเหนียว
อีเหนียว ช่วยลดระดับน้ำตาล ลดไขมันในเลือด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู ไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงมีขนปกคลุมหนาแน่น
อีเหนียว
ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู ไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงมีขนปกคลุมหนาแน่น

อีเหนียว

อีเหนียว เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงมีขนปกคลุมหนาแน่น พบได้ตามป่าโปร่งทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Desmodium gangeticum (L.) DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Desmodium gangeticum var. maculatum (L.) Baker, Meibomia gangetica (L.) Kuntze[4]) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2],[3],[4] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ นางเหนียว หนาดออน อีเหนียวเล็ก (ภาคกลาง), หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ), หนูดพระตัน หนูดพระผู้ (ภาคใต้), กระตืดแป (เลย), กระดูกอึ่ง อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี), นอมะช่าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หงหมู่จีเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของต้นอีเหนียว

  • ต้น [1],[2],[4]
    – เป็นไม้พุ่ม
    – ลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูง 60-150 เซนติเมตร
    – กิ่งก้านอ่อน
    – แตกกิ่งก้านที่ปลาย
    – ลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่น
    – มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ที่แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และประเทศไทย
    – พบได้ตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ใบ[1],[2]
    – ใบเป็นใบประกอบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปวงรีกว้างถึงรูปไข่
    – ปลายใบมนแหลม
    – โคนใบมนหรือกลมเป็นรูปหัวใจ
    – ใบมีความกว้าง 3.5-7 เซนติเมตร และยาว 5-13 เซนติเมตร
    – เนื้อใบบาง
    – หลังใบเป็นสีเขียว
    – ท้องใบเป็นสีเขียวอมเทา
    – มีก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร
  • ดอก [1],[2],[4]
    – ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ
    – ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร
    – ในช่อหนึ่งนั้นจะมีหลายกระจุก
    – กระจุกหนึ่งมีดอก 2-6 ดอก รวมเป็นช่อแยกแขนง
    – ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู
    – แกนกลางมีขนรูปตะขอโค้ง
    – ใบประดับร่วงได้ง่าย
    – ก้านดอกย่อยยาว
    – กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง
    – ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก
    – กลีบเลี้ยงยาว 2 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวถึงสีชมพูอ่อน
    – กลีบดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
    – มีขนปกคลุม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกัน แยกเป็นสองมัด
    – รังไข่มีขน
    – ก้านดอกยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
    – ออกดอกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
  • ผล [1],[2]
    – ออกผลเป็นฝักรูปแถบ
    – ฝักมีลักษณะแบนโค้งงอเล็กน้อย
    – แบ่งเป็นข้อ ๆ
    – ฝักหนึ่งจะมี 7-9 ข้อ
    – ฝักมีความกว้าง 2 มิลลิเมตร และยาว 1.2-2 เซนติเมตร
    – ตามผิวมีขนรูปตะขอโค้งสั้น
    – เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต
    – มีเยื่อหุ้มเมล็ด

สรรพคุณของอีเหนียว

  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาถ่าย[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลัง[1]
  • ทั้งต้น มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำรุงโลหิต[1]
  • ทั้งต้น ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด[1]
  • ทั้งต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
  • ทั้งต้น มีรสหวานชุ่มเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้เส้นเลือดอุดตัน[2]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ[2]
  • ทั้งต้น สามารถเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน[2]
  • ทั้งต้น สามารถใช้แก้ปลายประสาทผิวหนังอักเสบ[2]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาห้ามเลือดได้[2]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดฟันได้[4]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบได้[1]
  • ราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย[4]
  • ราก มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ แก้ตัวร้อน[1],[4]
  • ใบ มีสรรพคุณเป็นยาลดนิ่วในท่อน้ำดีและไต[4]
  • รากและทั้งต้น ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาขับปัสสาวะ[2],[3],[4]
  • รากและทั้งต้น มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก[1],[3],[4]
  • ทั้งต้นหรือใบสด สามารถนำมาใช้ตำพอกรักษาแผล[1],[2]
  • ทั้งต้นหรือใบสด สามารถนำมาใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษสุนัขกัด[2],[3],[4]

ประโยชน์ของอีเหนียว

  • สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพรได้

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางอาหาร ที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน[3]

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
โปรตีน 14.4%
แคลเซียม 1.11%
ฟอสฟอรัส 0.24%
โพแทสเซียม 1.87%
ADF 41.7%
NDF 60.4%
DMD 56.3%
ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม
ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
แทนนิน 0.1%
มิโมซีน 0.26%

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอีเหนียว

  • สารสำคัญที่พบ ได้แก่ acetophenone, harman, chrysanthemin, iridin glucoside, tryptamine, tyvamine[1] รากพบสาร alkaloids 0.05% ใน alkaloids พบสาร N-Dimethyltryptamine, Hypapphorine, Hordenine N-Methyltyramine ลำต้นและใบ พบสาร Nb-Methyltetrahydrohardon, 6-Methoxy-2-methyl-b-carbolinium ส่วนเมล็ดพบน้ำมัน น้ำตาล และ Alkaloid อีกเล็กน้อย[2]
  • มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ ทำให้เป็นหมัน[1]
  • เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองศึกษาผลในการลดไขมันในเลือด โดยทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้สารสกัดในหนูจำนวน 100 และ 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ใช้เวลาทำการทดลองเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง P<0.05[1]
  • เมื่อนำสารที่สกัดจากใบในความเข้มข้น 10% มาให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ดี[2]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ให้หนูถีบจักรทดลอง พบว่าในขนาดที่หนูทนได้คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “อี เ ห นี ย ว” หน้า 217-218.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “อี เหนียวเล็ก”. หน้า 650.
3. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “อี เ ห นี ย ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [17 ก.ย. 2014].
4. ฐานข้อมูลชนิดพรรณพืช พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี. “อีเหนียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.en.mahidol.ac.th/conservation/. [17 ก.ย. 2014].

หิรัญญิการ์ สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

0
หิรัญญิการ์
หิรัญญิการ์ สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ดอกขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เถาจะมียางสีขาว เลื้อยเกาะพันต้นไม้ ผลเป็นฝัก มีเมล็ดแบนสีน้ำตาลมีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นกระจุก
หิรัญญิการ์
ดอกขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เถาจะมียางสีขาว เลื้อยเกาะพันต้นไม้ ผลเป็นฝัก มีเมล็ดแบนสีน้ำตาลมีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นกระจุก

หิรัญญิการ์

หิรัญญิการ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาล เป็นไม้เถาเนื้อแข็งแตกเป็นพุ่มเป็นกอ ลำเถาเลื้อยยาวและจะพาดพันกับต้นไม้อื่น เป็นพรรณไม้กลางแจ้งเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิดชื่อสามัญ คือ Easter Lily Vine, Herald trumpet, Nepal Trumpet[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Beaumontia grandiflora Wall. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เถาตุ้มยำช้าง (ภาคเหนือ) เป็นต้น[1],[2]

ชนิดหิรัญญิการ์ในประเทศไทย

มีอยู่ 3-4 ชนิด แต่ละชนิดจะแตกต่างกันตรงที่รูปร่างของกลีบดอกและใบ

  • หิ รั ญ ญิ ก า ร์ ดอกใหญ่ (Beaumontia grandiflora Wall.)
  • หิ รั ญ ญิ ก า ร์ ดอกเล็ก (Beaumontia murtonii Craib)
  • หิ รั ญ ญิ ก า ร์ แดง

ลักษณะต้นหิรัญญิการ์

  • ต้น[1],[2],[3]
    – มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาล
    – เป็นไม้เถาเนื้อแข็งแตกเป็นพุ่มเป็นกอ
    – ลำเถาเลื้อยยาวและจะพาดพันกับต้นไม้อื่น
    – แตกกิ่งก้านสาขามาก
    – ทั่วลำเถามีขนขึ้นเป็นสีน้ำตาลแดง
    – ตามกิ่งอ่อนมียางสีขาวข้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ
    – เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
    – ชอบขึ้นตามชายป่าดิบ หรือป่าเบญจพรรณใกล้ลำธาร
  • ใบ[1],[2],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกตรงข้ามกัน
    – ใบแต่ละคู่ทำมุมฉากซึ่งกันและกัน
    – ใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ
    – ปลายใบมนหรือแหลม
    – โคนใบมนหรือแหลม
    – ขอบใบเรียบไม่มีหยัก
    – ใบมีความกว้าง 1.5-2.5 นิ้ว และยาว 5-7 นิ้ว
    – หลังใบเรียบเป็นมัน
    – ใต้ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน มี 10-14 คู่
    – ไม่มีขนปกคลุม
    – ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – จะออกดอกที่บริเวณปลายกิ่งหรือตามง่ามใบ
    – 1 ช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก
    – ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะค่อย ๆ บาน
    – ในครั้งหนึ่งจะมีดอกบานแค่ 1-4 ดอก
    – ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
    – ก้านช่อดอกและก้านดอกมีขนละเอียดสีน้ำตาลปนแดง
    – ก้านดอกยาว 2-3.2 เซนติเมตร
    – ดอกตูมเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียว
    – ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีขาว
    – มีกลีบรองดอก 5 กลีบ
    – กลีบแยกออกจากกัน
    – แต่ละกลีบแผ่กว้างซ้อนทับกัน
    – กลีบเป็นรูปขอบขนาน รูปมน รูปไข่ กว้าง 0.5-1 นิ้ว และยาว 1-1.5 นิ้ว
    – ปลายแหลม ขอบเรียบ
    – แผ่นกลีบมีลายเส้นร่างแหปรากฏอยู่ชัดเจน
    – มีขนบาง ๆ ปกคลุมอยู่ประปรายที่ตรงกลางกลีบ
    – โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย
    – กลีบคอดเข้าหากันที่ฐานเป็นหลอดสั้น ๆ ยาว 4 นิ้ว
    – ปลายกลีบดอกมนหยักเป็นคลื่น ๆ
    – กลีบดอกเป็นสีขาวสะอาด
    – มีแต้มด้วยจุดสีเขียวเรื่อ ๆ
    – ที่ใจกลางกลีบดอก
    – กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
    – มีเกสรเพศเมียประมาณ 2 อัน
    – เชื่อมติดกันอยู่กับกลีบดอก
    – ก้านเกสรแต่ละอันจะแยกออกจากกันเป็นอิสระ
    – อับเรณูจะค่อนข้างยาว รูปร่างคล้ายหัวลูกศร
    – ตุ่มเกสรเพศเมียอยู่ภายในบริเวณของอับเรณูทั้ง 5 อัน
    – รังไข่ตั้งอยู่ที่ฐานกลีบดอกซึ่งเป็นหลอดแคบ ๆ
    – มีน้ำหวานขังอยู่รอบนอก
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้าง 12-16 เซนติเมตร
    – จะออกดอกในเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน
  • ผล[1],[2]
    – ออกผลเป็นฝัก
    – ฝักมีความ 12-30 เซนติเมตร
    – ผนังหนาและแข็งมาก
    – ฝักเมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก
    – ผลมีเมล็ดแบน ๆ สีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก มีความยาว 1.7 เซนติเมตร
    – ปลายของเมล็ดมีขนยาวอ่อนนุ่มติดอยู่เป็นกระจุก มีความยาว 3.5-5 เซนติเมตร

สรรพคุณของหิรัญญิการ์

  • เมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้[1],[2]
  • เมล็ด มีสารจำพวกคาร์ดีโนไลด์ สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้[1],[2]

ข้อควรระวัง

  • เมล็ดหากรับประทานมาก อาจทำให้ถึงตายได้[3]

ประโยชน์ของหิรัญญิการ์

  • ประเทศไทยจะนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ[2]
  • สามารถนำมาปลูกเพื่อประดับเป็นซุ้มกลางแจ้งได้ดี[2]
  • นิยมนำมาปลูกประดับอาคารสถานที่ สวน และสนามต่าง ๆ[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หิ รัญ ญิ การ์ (Hirun-Yika)”. หน้า 334.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หิ รัญ ญิ การ์”. หน้า 826-827.
3. พรรณไม้บริเวณพระตำหนักเรือนต้น, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หิ รัญ ญิ การ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/palace/chitralada/cld6-2.htm. [18 ก.ค. 2014].

ต้นหนูท้องขาว สรรพคุณใช้เป็นยารักษาอาการไตอักเสบ

0
ต้นหนูท้องขาว สรรพคุณใช้เป็นยารักษาอาการไตอักเสบ เป็นไม้ล้มลุกที่ทอดเลื้อย ดอกเป็นแบบช่อเหมือนรูปกรวย ผลเป็นฝักแบบข้อ
ต้นหนูท้องขาว
เป็นไม้ล้มลุกที่ทอดเลื้อย ดอกเป็นแบบช่อเหมือนรูปกรวย ผลเป็นฝักแบบข้อ

ต้นหนูท้องขาว

ต้นหนูท้องขาว สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในดินบริเวณดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่อยู่บนบริเวณความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร ภายในประเทศไทยนั้น จังหวัดที่สามารถพบ เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ สุรินทร์ นครราชสีมา เป็นต้น[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium styracifolium (Osbeck) Merr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmodium capitatum (Burm.f.) DC., Desmodium retroflexum (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE และก็ยังถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) อีกด้วย[1],[2] ชื่ออื่น ๆ ผีเสื้อน้ำ (ลำปาง), อีเหนียว ก้วงกัวฮี (อุบลราชธานี), รุกกุนิงตาหน่อ (ยะลา), กิมกี่เช่า (ในภาษาจีนแต้จิ๋ว), กว่างตงจินเฉียนเฉ่า จินเฉียนเฉ่า (ในภาษาจีนกลาง) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะต้นหนูท้องขาว

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทไม้ล้มลุกที่ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
    – ไม้เลื้อยมีความยาว 50-150 เซนติเมตร
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร
    – ลักษณะของลำต้น ต้นท้องหนูข้าวจะมีลำต้นที่เป็นลักษณะกลม ลำต้นมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวปนน้ำตาล
    แต่ลำต้นส่วนที่ถูกแสงแดดส่องโดนมักจะออกสีเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนลำต้นด้านที่ไม่ถูกแสงแดดส่องถึงก็จะออกสีเป็นสีเขียว และก็มีขนสีเหลืองสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่นตรงบริเวณดังกล่าวอีกด้วย
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบประกอบมีลักษณะแบบขนนก มีใบย่อยอยู่ 3 ใบ ออกเรียงสลับกัน และมีใบเดี่ยวขึ้นคละปะปนกันไป มีหลากหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างเป็นแบบกลม รูปร่างเป็นแบบกลมแต่บริเวณปลายใบจะมีรอยเว้าตื้น รูปร่างแบบวงรีกว้าง และรูปร่างแบบรูปไข่กลับที่มีส่วนบริเวณของยอดกว้างกว่าโคน แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ บริเวณโคนใบจะมีลักษณะเว้าคล้ายกับรูปหัวใจ บริเวณขอบใบจะเรียบ และตรงบริเวณด้านหน้าใบจะมีผิวเรียบไม่มีขนขึ้นปกคลุม ต่างจากส่วนด้านหลังของใบที่มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียวถึงสีเขียวเข้ม โดยมีเส้นใบที่เรียงกันแบบขนนกอยู่ที่ประมาณ 10 คู่ มีลักษณะเป็นผิวนูนขึ้นอยู่ตรงบริเวณด้านหน้าของใบ ส่วนหูใบมีสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนยอดของใบจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าใบทั้งสองใบที่อยู่ด้านล่าง ความกว้างของใบยอด ประมาณ 1.2-3.4 เซนติเมตร ความยาวของใบยอด ประมาณ 1.4-4.5 เซนติเมตร ความยาวของก้านใบ ประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร ใบด้านข้างมีขนขึ้นปกคลุม ซึ่งขนนี้มีความยาวประมาณ 0.6-3.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกเป็นแบบช่อไปตามง่ามใบและบริเวณปลายกิ่ง การออกดอกเป็นแบบ Indeterminate (เป็นการที่ดอกจะบานและเจริญเติบโตกลายเป็นฝักที่บริเวณโคนช่อของดอกไปจนถึงปลายช่อของดอก) โดยดอกจะติดเมล็ดมากในช่วงของฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม[1],[2]
    – ดอกเป็นช่อกระจะที่มีลักษณะเหมือนรูปกรวย ซึ่งช่อดอกนี้จะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3.5-7.5 เซนติเมตร และช่อดอกนี้ก็มีดอกย่อย ๆ อยู่เป็นจำนวนมากอัดแน่นกันอยู่ เป็นจำนวนโดยประมาณ 16-42 ดอก ส่วนดอกย่อยของะมีกลีบเลี้ยงที่มีสีเป็นสีเขียวอ่อน บริเวณกลีบดอกตรงกลางจะมีสีเป็นสีบานเย็น ถัดมาตรงปลายกลีบมีสีเป็นสีม่วงอ่อน ตรงด้านข้างกลีบดอกคู่จะมีสีเป็นสีบานเย็นสด มีอับเรณูอยู่ 4 อัน มีสีเป็นสีเหลือง ส่วนก้านเกสรเพศผู้มีสีม่วงแดงเข้ม และเกสรเพศเมียมีสีเขียวอ่อนแกมสีเหลืองนิด ๆ [1],[2]
  • ผล
    ผลแบบเป็นฝัก มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ในฝักฝักหนึ่งจะมีข้อด้วยกันอยู่ประมาณ 3-6 ข้อ โดยขนาดของฝักนี้ มีความกว้างวัดได้ประมาณ 1.8-3.0 มิลลิเมตร และวัดความยาวได้ประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตร บริเวณส่วนที่เว้าคอดของฝักสามารถทำการหักออกเป็นข้อ ๆ ได้ เมื่อสุกแล้วผลก็จะแตกออกตามตะเข็บทางด้านล่าง มีเมล็ดอยู่ ซึ่งเมล็ดนี้จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับไตของคน โดยในแต่ละฝักนั้นก็จะมีเมล็ดอยู่ภายในโดยประมาณ 1-5 เมล็ด[1],[2]

สรรพคุณหนูท้องขาว

1. ส่วนรากและลำต้นนำมาใช้เป็นยาที่ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และขับนิ่วในถุงน้ำดี
ส่วนประกอบตำรับยาขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ: หนูท้องขาว 15 กรัม, ชวนพั่วสือ 15 กรัม, สือหวุ่ย 15 กรัม, ตงขุยจื่อ 15 กรัม, ห่ายจินซา 12 กรัม, เปียนซวี 12 กรัม, จวี้ม่าย 10 กรัม, ฝูลิ่ง 10 กรัม, เจ๋อเซ่อ 10 กรัม และมู่ทงอีก 6 กรัม ปรุงโดยการนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มกับน้ำสะอาด จากนั้นนำเอาแต่น้ำมารับประทาน[1]
2. รากหรือลำต้นนั้นสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อได้
ส่วนประกอบของตำรับยารักษาระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ: หนูท้องขาว 25 กรัม, ต้นผักกาดน้ำ 15 กรัม, ห่ายจินซา 15 กรัม และดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม ปรุงโดยการนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มกับน้ำสะอาด จากนั้นนำเอาแต่น้ำมารับประทาน [1]
3. ในตำรายาพื้นบ้านของทางอีสานจะใช้รากหรือลำต้นของต้นหนูท้องขาว นำเอามาต้มกับน้ำสำหรับไว้ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย และมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้อีกด้วย [2]
4. นำมาใช้รักษาอาการตับอักเสบเฉียบพลันแบบดีซ่านได้ (ราก, ลำต้น)[1]
5. นำมาใช้เป็นยารักษาอาการร้อนในภายในช่องปาก (ราก, ลำต้น)[1]
6. นำมาใช้เป็นยารักษาอาการไตอักเสบ (ราก, ลำต้น)[1]
7. นำมาใช้รักษาอาการบวมน้ำ (ราก, ลำต้น)[1]
8. รากหรือลำต้นมีฤทธิ์ในการขับน้ำชื้นภายในร่างกายได้ (ราก, ลำต้น)[1]
-เพิ่มเติม: ขนาดการใช้ของสมุนไพรชนิดนี้นั้น ต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนต้นสดให้ใช้ครั้งละ 20-60 กรัม[1]

ประโยชน์ของหนูท้องขาว

1. เกษตรกรในแถบอีสานจะตัดใบของต้นหนูท้องขาวนำมาเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโคนมช่วยทำให้โคมีน้ำนมมากยิ่งขึ้น[2]
2. นำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์จำพวกโค หรือกระบือได้ โดยการนำใบที่ตัดเอาไว้แล้วนำเอามาเป็นอาหารหรือจะปล่อยให้สัตว์จำพวกโค หรือกระบือมาแทะเล็มเองก็ได้
– คุณค่าทางอาหารของต้นหนูท้องขาวที่มีอายุ 45 วัน: โปรตีน 11.9-14.4%, แคลเซียม 1.04-1.14%, ฟอสฟอรัส 0.16-0.2%, โพแทสเซียม 1.09-1.20%, ADF 38.4-40.2%, NDF 43.1-47.9%, DMD 36.0-45.9% (โดยการใช้วิธี Nylon bag)
– คุณค่าทางอาหารของต้นหนูท้องขาวที่มีอายุประมาณ 45-90 วัน: โปรตีน 11.8-12.4%, ไนเตรท 2.96 ppm, ออกซิลิกแอซิด 29.6-363.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 1.15-2.03%, มิโมซีน 0.77-0.85% และไม่พบสารไนไตรท์[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนูท้องขาว

1. จากการทดลองโดยการนำสารสกัดมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของสุนัขที่นำมาทดลองในปริมาณอัตราส่วนอยู่ที่ 1.6 ซีซี ต่อ 1 กิโลกรัม ผลลัพธ์ที่พบคือสารสกัดนี้จะไปทำให้เลือดในหลอดเลือดของหัวใจได้เกิดการไหลเวียนเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอัตราการเต้นของหัวใจก็เกิดลดน้อยลงจากปกติ อีกทั้งยังพบอีกด้วยว่าหัวใจมีกำลังในการบีบตัวของตัวหัวใจเองนี้มากขึ้นอีกด้วย[1]
2. สารที่พบในต้นหนูท้อง ได้แก่ สารในจำพวก Alkaloid, Flavonoid, Glucoside, Phenols และสารแทนนิน[1]
3. สารที่สกัดมาจากที่แห้งแล้วนั้น จากผลการวิจัยพบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของสัตว์[1]
4. จากการทดลองสารสกัดที่มาจากต้นในหนูทดลอง พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบที่บริเวณลำไส้เล็กของหนูตะเภา และช่วยลดความดันโลหิตในหนูขาว[1]
5. สารที่สกัดมีฤทธิ์ในการไปกระตุ้นน้ำดีของสุนัขที่นำมาทดลอง โดยพบว่าสุนัขตัวนี้มีการไหลของน้ำออกจากถุงน้ำดีมากยิ่งขึ้น[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ผีเสื้อน้ำ”. หน้า 356.
2. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “หนูท้องขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [14 พ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://mplant.ump.edu.vn/index.php/kim-tien-thao-desmodium-styracifolium-asteraceae/
2.https://www.digin.in/index.php?r=search/searchproducts&prid=29081
3.https://opcpharma.com/vuon-duoc-lieu/kim-tien-thao.html

หญ้าพันงูแดง ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี

0
หญ้าพันงูแดง
หญ้าพันงูแดง ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี เป็นวัชพืชมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ดอกเป็นช่อตั้ง ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อนเกสรเป็นเส้นสีชมพู
หญ้าพันงูแดง
เป็นวัชพืชมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ดอกเป็นช่อตั้ง ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อนเกสรเป็นเส้นสีชมพู

หญ้าพันงูแดง

หญ้าพันงูแดง เป็นวัชพืชมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyathula prostrata (L.) Blume จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)[1],[2] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หญ้าพันงูเล็ก (นครราชสีมา), ควยงูน้อย หญ้าควยงู งูน้อย (ภาคเหนือ), พันงูแดง หญ้าพันธุ์งูแดง (ภาคกลาง), อั้งเกย ซั้งพี พีไห่ (จีนแต้จิ๋ว), เปยเซี่ยน (จีนกลาง)[1],[2],[3]

ลักษณะต้นหญ้าพันงูแดง

  • ต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – มีอายุปลายปี
    – มีลำต้นสูง 1-2.5 ฟุต
    – ลำต้นเป็นข้อ มีสีแดง
    – ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีแดง
    – ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยตามลำต้นหรือกิ่งก้าน
    – มักขึ้นตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในที่ร่มทั่วไป และตามชายป่า
  • ใบ[1],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่
    – ใบเป็นรูปไข่กลับ
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1-2 เซนติเมตร และยาว 3-6 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีสีเขียวอมแดง
    – เส้นใบเป็นสีแดงเมื่อแก่
  • ดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อตั้ง
    – ออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ
    – ช่อดอกยาว 7.5-18 นิ้ว
    – ปลายช่อมีดอกออกเป็นกระจุกรวมกัน
    – โคนช่อจะมีดอกห่างกัน
    – รอบก้านช่อดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ
    – ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อน
    – ดอกมีเกสรเป็นเส้นสีชมพู 9 เส้น
  • ผล[1]
    – ผลเป็นแห้ง
    – ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมผิวเรียบ
    – มีเมล็ด สีน้ำตาลเป็นมัน
    – ผลเป็นผลแห้งและแตกได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวดของสารสกัดเมทานอล โดยการป้อนสารสกัดในขนาด 50, 100, และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรท พบว่าสามารถช่วยลดอาการบวมอักเสบบริเวณอุ้งเท้าที่เกิดจากการทำให้ปวดด้วยคาร์ราจีแนน (carageenan) ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ผลดีใกล้เคียงกับการป้อนยาอินโดเมตทาซิน (Indomethacin) หรือยาแก้ปวดอักเสบในขนาด 10 มก./กก.น้ำหนักตัว และสารสกัดจากสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถยับยั้งการบวมของใบหูที่เกิดจากการฉีด arachidonic acid และ xylene ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่จะไม่มีผลยับยั้งการสร้าง nitric oxide และการแสดงออกของ cyclooxygenase-2 ของเซลล์ macrophage เมื่อทดสอบในหลอดทดลอง[5]
  • สารสกัด ขนาด 200 มิลลิกรัม ยังแสดงฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ใกล้เคียงกับการฉีดมอร์ฟีนในขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว (ทดสอบด้วยวิธี hot plate test) และยังช่วยระงับอาการปวดจากการฉีด acetic acid ได้อย่างมีนัยสำคัญ[5]
  • ไม่พบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) และการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation[5]

สรรพคุณของทั้งต้นหญ้าพันงูแดง

  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการฟกช้ำ[3]
  • ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาขับเสมหะ[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้พิษฝี ใช้รักษาฝีหนองภายนอก[1],[3]
  • ทั้งต้น สามารถใช้ตำพอกแก้พิษตะขาบ แมงป่อง พิษงู[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการบวมอันเนื่องมาจากตับและม้ามโต[3]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการปวดบวม บรรเทาอาการปวดและอักเสบ[3],[5]
  • ทั้งต้น ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำกิน[1],[2],[4]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้บิด แก้บิดติดเชื้อ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำกิน[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ไข้ตรีโทษ[1]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้ทั้งลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำกิน[1],[2],[3]
  • ทั้งต้น มีรสจืด นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เบื่อเมา[1],[2],[4]
  • ทั้งต้น เป็นยาเย็นเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้[3]

สรรพคุณของใบหญ้าพันงูแดง

  • ใบ สามารถใช้แก้เม็ดในคอ[4]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้คออักเสบ[1]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้คออักเสบได้[1]
  • ใบ มีรสจืด สรรพคุณเป็นยาแก้โรคซาง[1]
  • ใบ สามารถใช้แก้โรคเป็นเม็ดตุ่มในช่องปากของเด็ก[1]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาตำพอกแก้โรคเริม งูสวัด ขยุ้มตีนหมา[1]

สรรพคุณของหญ้าพันงูแดง

  • ดอก สามารถใช้เป็นยาแก้นิ่ว ละลายก้อนนิ่ว[1],[4]
  • ราก สามารถใช้ปรุงเป็นยาต้มแก้บิด[4]
  • ราก มีรสจืด ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะหยดย้อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หญ้า พัน งู แดง (Ya Phan Ngu Daeng)”. หน้า 319.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้า พัน งู แดง”. หน้า 807-808.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า พัน งู แดง”. หน้า 596.
4. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “หญ้า พัน งู แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [10 ก.ค. 2014].
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของหญ้าพันงูแดง”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [10 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://medicinallive.com/
2.https://nisargorganicfarm.com/

สบู่แดง สรรพคุณช่วยแก้อาการหูอื้อ

0
สบู่แดง
สบู่แดง สรรพคุณช่วยแก้อาการหูอื้อ พันธุ์ไม้พุ่ม ใบมีสีม่วงเข้มหรือเป็นสีน้ำตาลแดง ดอกย่อยที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาล
สบู่แดง
พันธุ์ไม้พุ่ม ใบมีสีม่วงเข้มหรือเป็นสีน้ำตาลแดง ดอกย่อยที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาล

สบู่แดง

ต้นสบู่แดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง เติบโตพื้นที่ในแถบเขตร้อน[6] ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค ชื่อสามัญ Bellyache bush ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha gossypifolia L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ชื่ออื่น ๆ สลอดแดง สบู่เลือด หงษ์แดง (จังหวัดปัตตานี), บู่แดง ละหุ่งแดง (ในภาคกลาง), มะหุ่งแดง สีลอด ยาเกาะ เยาป่า เป็นต้น[1],[3],[4]

ลักษณะต้นสบู่แดง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่ม
    – ต้นมีความสูงของลำต้นอยู่ที่ประมาณ 1-2 เมตร
    – ลำต้นจะแผ่กิ่งก้านออกไปโดยรอบ
    – เป็นพรรณไม้ที่สามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่โล่งแจ้ง เป็นพรรณไม้ที่ชอบอากาศแห้ง และจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย
    – การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ[1],[3],[4]
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยลักษณะรูปร่างของใบนั้นจะคล้ายคลึงกับฝ่ามือ ซึ่งจะมีความเว้าลึกลงไปประมาณ 2-3 เว้า และใบมีเส้นใบเป็นสีแดง
    – ใบมีสีม่วงเข้มหรือเป็นสีน้ำตาลแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวปนแดงและมีขนขึ้นปกคลุม[1],[3]
    – ใบมีก้านใบอ่อน
  • ดอก
    – ดอก จะออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อรูปถ้วย โดยจะออกดอกที่บริเวณปลายยอด
    – ช่อดอกจะมีดอกย่อยที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม และดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน โดยแต่ละช่อย่อยนั้นจะมีดอกเพศเมียอยู่ 1 ดอก ที่เหลือจะเป็นดอกเพศผู้[1],[3],[4]
  • ผล
    – ผลจะเป็นรูปรียาว มีอยู่ด้วยกัน 3 พู
    – ผลอ่อนมีสีเขียว แต่เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง และเมื่อผลแก่เต็มที่ก็จะแตกออก
    – ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ 3 เมล็ด[1],[3],[4]

สรรพคุณ ประโยชน์ของต้นสบู่แดง

1. ก้านใบนำมาลนกับไฟ ใช้เป่าเข้าหูจะช่วยแก้อาการหูอื้อได้ (ก้านใบ)[4]
2. ใบนำมาตำใช้สำหรับพอกโดยจะมีฤทธิ์ในการช่วยแก้ฝี (ใบ)[5]
3. ใบมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ (ใบ)[4]
4. ใบนำมาตำใช้สำหรับพอกแก้ผดผื่นคันได้ (ใบ)[3],[5]
5. ใบ นำมาต้มใช้สำหรับดื่มจะมีสรรพคุณในการช่วยแก้ไข้ และลดไข้ได้ (ใบ)[5],[6]
6. ใบนำมาต้มใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้องได้ (ใบ)[3]
7.นำมาใช้เป็นยาระบายได้ โดยการนำใบมาต้มใช้สำหรับดื่ม หรือจะใช้เมล็ดนำมาเผาให้สุกจากนั้นก็นำมารับประทานเป็นยาถ่าย หรือยาระบายก็ได้เช่นกัน แต่ควรจะใช้ในปริมาณน้อย (ใบ, เมล็ด)[3],[5],[6]
8. รากนำมาใช้รักษาโรคหืดได้ (ราก)[5]
9. มีบางข้อมูลการทดลองที่ระบุไว้ว่าราก มีคุณสมบัติในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ซึ่งชาวเกาะคอสตาริกานั้นก็ได้นำรากมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย (ราก)[5],[6]
10. เมล็ด มีฤทธิ์ที่ทำให้อาเจียน (เมล็ด)[5]
11. เมล็ดนำมาตำใช้สำหรับทาแผลโรคเรื้อนได้ (เมล็ด)[3],[5]
12. น้ำมันจากเมล็ดนำมาใช้เป็นยาถ่ายชนิดอย่างแรงได้ (น้ำมันในเมล็ด)[5]
13. น้ำมันในเมล็ดนำมาใช้ช่วยถ่ายน้ำเหลืองเสียได้ (น้ำมันในเมล็ด)[5]
14. นำมาใช้ทำเป็นยาขับพยาธิได้ (น้ำมันในเมล็ด)[5]
15. สามารถนำมาสกัดเพื่อใช้สำหรับในการย้อมสีได้ โดยจะให้สีเขียวหรือสีน้ำตาล ซึ่งสีที่สกัดมาจากต้นจะมีความคงทนต่อการซักและไม่ซีดเมื่อโดนแสงแดดนาน ๆ[1]

พิษของต้นสบู่แดง

1. พิษจากน้ำยาง
น้ำยางใส ๆ ของต้นมีความเป็นพิษ โดยพิษจะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน ทำให้ปวดแสบปวดร้อน เกิดอาการอักเสบบวม หรือเกิดอาการพองเป็นตุ่มน้ำใส หากน้ำยางนี้เข้าตาอาจจะทำให้เกิดอาการตาอักเสบ หรืออาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถึงขั้นบอดถาวรได้
วิธีการแก้พิษ
วิธีการแก้พิษเบื้องต้น หากถูกน้ำยางที่ผิวให้รีบล้างด้วยน้ำสบู่ในทันที จากนั้นทาด้วยครีมสเตียรอยด์ และรับประทานยาแก้แพ้ร่วมด้วย เช่น ยาคลอเฟนิรามีน (Chlopheniramine) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง แต่ถ้าหากเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำหลาย ๆ รอบ จากนั้นให้ใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์หยอดตา แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด[2]

2. พิษจากเมล็ดและน้ำมันในเมล็ด
– เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปพิษจะออกฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร อาจจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง จุกเสียดแน่นท้อง อาจจะถ่ายเป็นเลือด กระหายน้ำ เริ่มปวดศีรษะ รูม่านตาขยาย มีเลือดออกในจอประสาทตา เริ่มมีอาการใจสั่น มีอาการชัก ทำให้มีความดันโลหิตต่ำ ผิวหนังแดง ทำให้อ่อนเพลีย อาจจะถึงขั้นเป็นอัมพาต และอาจมีอาการเคลิ้มฝันในเด็กได้
– น้ำมันในเมล็ดมีพิษรุนแรง จนถึงขั้นอาจทำให้อาเจียนและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้[6]
วิธีการแก้พิษ
สำหรับวิธีการแก้พิษนั้น ให้พยายามทำให้อาเจียนออกมา แล้วรับประทานบาเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ ต่อจากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้องให้เร็วที่สุด โดยแนะนำให้รับประทานยาถ่ายประเภทเกลือ เช่น ดีเกลือ เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ และให้น้ำเกลือเพื่อใช้ทดแทนน้ำ ควรรับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนตอย่างโซดามินต์ปริมาณวันละ 5-15 กรัม เพื่อทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นด่าง และเพื่อลดการอุดตันต่อทางเดินของระบบภายในไตอันเนื่องมาจากเม็ดเลือดแดงที่เกาะรวมตัวกัน และในระหว่างนี้ให้รับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างสม่ำเสมอ และงดอาหารประเภทไขมัน เพื่อลดอาการตับอักเสบ (ให้ระมัดระวังเรื่องอาการไตวายและหมดสติเอาไว้ด้วยเสมอ)[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ. “สบู่แดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th. [10 พ.ย. 2013].
2. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [10 พ.ย. 2013].
3. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [10 พ.ย. 2013].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [10 พ.ย. 2013].
5. เดอะแดนดอตคอม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com. [10 พ.ย. 2013].
6. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [10 พ.ย. 2013].

รักเร่ ไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกทั่วโลก

0
รักเร่
รักเร่ ไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกทั่วโลก เป็นไม้ล้มลุเนื้ออ่อน มีเหง้าและหัวใต้ดิน ดอกเป็นกระจุก ผลแห้งแบนไม่มีขน
รักเร่
เป็นไม้ล้มลุเนื้ออ่อน มีเหง้าและหัวใต้ดิน ดอกเป็นกระจุกมีกลายสี ผลแห้งแบน ไม่มีขน

รักเร่

รักเร่ เป็นไม้ล้มลุกพรรณพืชพื้นเมืองในอเมริกาเหนือที่มีเหง้าและหัวใต้ดิน พบได้ที่ระดับความสูงประมาณ 1,800 เมตร จัดอยู่ในตระกูลแอสเทอพรรณไม้ดอกชนิดนี้มีความสูงตั้งแต่ 70 ถึง 120 และสูงกว่า 160 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกแขนงเฉพาะดอก ชื่อสามัญ คือ Dahlia ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dahlia pinnata Cav. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ รักแรก[2]

ลักษณะต้นรักเร่

  • ต้น
    – เป็นไม้พื้นเมืองของอเมริกากลาง
    – เป็นพรรณไม้พุ่มเนื้ออ่อน
    – ลำต้นตั้งตรง
    – แตกกิ่งก้านสาขามาก
    – รากมีรูปร่างคล้ายหัวอยู่ใต้ดิน
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก
    – เติบโตได้ดีในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่ต้องมีความชื้นที่พอเพียง
    – ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี และมีธาตุอาหารพืชพอควร
  • ใบ[1]
    – ใบออกตรงข้ามกัน
    – เป็นช่อในชั้นเดียวกัน
    – แกนกลางช่อมีปีก
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเป็นซี่ฟันแกมฟันเลื่อย
    – ใบย่อยเป็นสีเขียวเข้ม มีจุดแต้มเป็นสีม่วง
  • ดอก[1]
    – ออกดอกเป็นกระจุกใหญ่ตรงปลายยอด
    – ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร
    – ดอกมีหลายสี เช่น สีม่วง สีแดงเข้ม สีส้ม สีชมพู สีเหลือง เหลืองอ่อน สีขาว หรืออาจจะมีสองสีในดอกเดียวกัน
    – กลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ
    – ขอบอาจจะตรงหรือโค้ง
    – ส่วนกลีบดอกจะเป็นรูปท่อ
    – ปลายจักเป็นแฉก 5 แฉก
    – อับเรณูมีความตรง
    – โคนเรียบ
    – ปลายแหลม
    – ท่อเกสรเพศเมียเป็น 2 แฉก ยาวและตรงปลายแหลม
  • ผล[1]
    – เป็นผลแห้ง
    – เป็นรูปขอบขนาน
    – แบน
    – ไม่มีขน

สรรพคุณของรักเร่

  • รากหัว สามารถนำมาใช้กินเป็นยารักษาโรคหัวใจได้[1]
  • รากหัว สามารถนำมาใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้ได้[1]
  • ต้น มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ สามารถฆ่าเชื้อ Staphylococcus ได้[1]

ประโยชน์ของรักเร่

  • ในต่างประเทศนั้นจะนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้มีความสวยทั้งรูปทรงของดอกและสีสันที่สวยสะดุดตา[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “รักเร่”. หน้า 675.
2. ชนิดของไม้ตัดดอกและไม้ดอกกระถาง, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “รักเร่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [22 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://antropocene.it/

รกฟ้า ประโยชน์ของเปลือกใช้ฟอกหนังสัตว์

0
รกฟ้า
รกฟ้า ประโยชน์ของเปลือกใช้ฟอกหนังสัตว์ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ดอกย่อยเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง ผลแห้งและแข็ง เป็นรูปรี
รกฟ้า
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ดอกย่อยเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง ผลแห้งและแข็ง เป็นรูปรี

รกฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Terminalia alata Roth) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[5] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เซือก เซียก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฮกฟ้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เชือก (สุโขทัย), กอง (สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, สงขลา), สพิแคล่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชะลีก (เขมร-บุรีรัมย์, เขมร-พระตะบอง), จะลีก (เขมร-บุรีรัมย์), คลี้ (ส่วย-สุรินทร์), ไฮ่หุ้นกร่ะ เคาะหนังควาย (ปะหล่อง), หกฟ้า[1],[2] (บ้างเรียกว่า “ต้นรกฟ้าขาว” ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นอัชชุนะ”)

ลักษณะของรกฟ้า

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่
    – ลำต้นมีความสูง 10-30 เมตร
    – แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น แน่นทึบ
    – เปลือกต้นเป็นสีเทาค่อนข้างดำ
    – แตกเป็นร่องลึก และเป็นสะเก็ดทั่วไป
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และประเทศไทย
    – พบได้ตามป่าผลัดใบและป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-1,000 เมตร[3]
  • ใบ1],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย
    – ใบเป็นสีเขียว
    – ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้าน
    – ปกคลุมอยู่ประปราย
    – เมื่อใบแก่ขึ้นขนนี้จะหลุดร่วงไป
    – ใบเป็นรูปมนรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่
    – ปลายใบมนเป็นติ่งทู่
    – โคนใบมนหรือเบี้ยว
    – ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ด้านหลังใบจะมีต่อมคล้ายหูดประมาณ 1-2 ต่อม
    – เส้นผ่านศูนย์กลางของต่อมมีขนาด 1.5-2.5 มิลลิเมตร
    – ใบมีความกว้าง 5-12 เซนติเมตร และยาว 6-25 เซนติเมตร
    – กิ่งอ่อนมีขนนุ่มปกคลุม
    – ใบจะร่วงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน
    – จะผลิใบใหม่ในช่วงเดือนมิถุนายนพร้อมกับตาดอก
  • ดอก[1],[3]
    – ดอกจะแตกออกเป็นสีขาวสะพรั่งเต็มต้น
    – จะออกดอกเป็นช่อ ๆ
    – มีขนาดเล็ก
    – ก้านช่อดอกยาว 7-15 เซนติเมตร
    – ก้านดอกย่อยยาว 1-2.5 มิลลิเมตร
    – ดอกย่อยเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง
    – ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่แล้วจะมีความกว้าง 3-4 มิลลิเมตร
    – เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
    – โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
    – มีขนทั้งสองด้าน
    – กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว
    – ปลายแยกเป็น 5 พู
    – กลีบมีขนาดกว้างประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร และยาว 1-2 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงไม่ร่วงติดไปพร้อมกับผล
    – ไม่มีกลีบดอก
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน
    – ขนาดเล็กแยกกัน
    – ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาวยาว 3-5 มิลลิเมตร
    – อับเรณูเป็นสีเหลือง
    – เกสรเพศเมียมี 1 อัน
    – รังไข่ inferior ovary สีเขียว ยาว 1-2 มิลลิเมตร มีขนเล็กสีขาวปกคลุม
    – ก้านเกสร 1 อัน สีขาวยาว 2-3 มิลลิเมตร
    – ยอดเกสรเป็นตุ่ม สีเขียวอ่อน
  • ผล[1],[3]
    – เป็นผลแห้งและแข็ง เป็นรูปรี
    – มีความกว้าง 2.5-5 เซนติเมตร และยาว 4-6 เซนติเมตร
    – มีปีกหนาและเป็นมัน มีความกว้างกว่าผลประมาณ 5 เซนติเมตร
    – มีเส้นปีกลากจากแกนกลางไปยังขอบปีกในแนวราบเป็นจำนวนมาก
    – มีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด

สรรพคุณของรกฟ้า

  • ราก สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้[1]
  • เปลือก สามารถนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงหัวใจได้[1]
  • เปลือก สามารถนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะได้[1]
  • เปลือก สามารถนำมาใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด และใช้ชะล้างบาดแผล[1]
  • เปลือก สามารถนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยารักษาอาการท้องร่วง อาเจียน[1]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กระษัยเส้นได้ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของสมดุลธาตุทั้งสี่ในร่างกายและเส้นเอ็น[3],[5]

ประโยชน์ของรกฟ้า

  • เปลือกต้น จะมีน้ำฝาด คนไทยสมัยก่อนนิยมนำมาใช้สำหรับฟอกหนังสัตว์[3]
  • ไม้ เป็นไม้เนื้อแข็ง ขัดชักเงาได้ค่อนข้างดี สามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ เครื่องกลึงหรือแกะสลักได้เป็นต้น[3]
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้ย้อมสีผ้าได้ ซึ่งจะให้สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ[2]

การย้อมสีจากเปลือกต้นรกฟ้า

  • แช่เปลือกต้นในปริมาณพอสมควร
  • ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน
  • แล้วตั้งไฟต้มให้เดือดจนเห็นว่าสีออกหมด
  • เทน้ำย้อมใส่ลงในอ่างย้อมหมักแช่ไว้ 1 คืน
  • นำเปลือกไม้ไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บไว้ใช้ต่อไป[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดด้วยเมทานอลจากใบและลำต้นแห้งที่ความเข้มข้น 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของเชื้อไวรัสเอดส์ได้ (HIV–1 REVERS TRANSCRIPTASE)[6]
  • สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% จากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัขได้[6]
  • ด้านของความเป็นพิษพบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความเป็นพิษ แต่ถ้าหากให้สารสกัดดังกล่าวในขนาด 100 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ไม่มีพิษ[6]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “รกฟ้า”. หน้า 668-669.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ร ก ฟ้ า”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 ส.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ร ก ฟ้ า”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, หนังสือไม้ต้นในสวน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [21 ส.ค. 2014].
4. ไม้ย้อมสีธรรมชาติ ภูมิปัญญาอีสาน ภูมิปัญญาไทย. “ร ก ฟ้ า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : web.lib.ubu.ac.th/localinformation/tint/. [21 ส.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลชนิดพรรณพืช พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช. “รกฟ้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.en.mahidol.ac.th/conservation/. [21 ส.ค. 2014].
6. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “รก ฟ้า กับสรรพคุณยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [21 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/
2.https://indiabiodiversity.org/
3.https://flickriver.com/

ว่านไพลดำ สรรพคุณช่วยขับประจำเดือนของสตรี

0
ว่านไพลดำ สรรพคุณช่วยขับประจำเดือนของสตรี ไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ ดอกเป็นช่อ ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ ผลเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีแดง
ว่านไพลดำ
เป็นไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ ดอกเป็นช่อ ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ ผลเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีแดง

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zingiber ottensii Valeton จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ[1],[2]

ลักษณะของต้นว่านไพลดำ

  • ต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุได้นานหลายปี
    – มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ
    – ต้นมีความสูง 1.5-3 เมตร หรืออาจจะสูงได้ถึง 5 เมตร
    – เหง้าอยู่ใต้ดิน
    – เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อน
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก
    – เพราะว่าว่านชนิดนี้จะสามารถเจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น
    – สามารถพบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น
  • ใบ[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปขอบขนาน
    – ปลายใบเรียว
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 6-8 เซนติเมตร และยาว 26-30 เซนติเมตร
    – แผ่นใบหนา
    – เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน
    – เส้นด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน
    – ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
    – มีสีม่วงคล้ำ
    – กาบใบซ้อนกันแน่น
    – ไม่มีขนหรืออาจจะมีประปราย
    – ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ เป็นรูปไข่ ปลายมน
  • ดอก[2]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ออกจากโคนต้นแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน
    – ช่อดอกยาวประมาณ 9 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร
    – ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเกือบกลม
    – โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
    – ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน มีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบาง
    – มีใบประดับสีเขียวปนแดงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ทำให้ดูคล้ายกับเกล็ดปลา
    – ใบประดับถ้าอ่อนจะเป็นสีแดงอมเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม
    – กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีใส
    – เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมีหยัก 3 หยัก
    – หยักกลางหรือกลีบปากใหญ่ เป็นรูปกลมแกมรูปขอบขนาน
    – ปลายแยก 2 หยักตื้น ๆ
    – หยักข้างมี 2 หยักสั้น เป็นรูปไข่ ปลายมน สีเหลืองอ่อน
    – ปลายเกสรเพศผู้จะเป็นจะงอนยาวโค้ง สีเหลืองส้ม
    – เกสรเพศเมีย ก้านเป็นสีขาว ยอดเกสรเป็นรูปกรวย สีขาว
    – รังไข่เป็นสีขาว
    – จะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
  • ผล[2]
    – เป็นผลแห้งและแตกได้
    – ผลเป็นรูปทรงกระบอก
    – เป็นสีแดง
    – ออกผลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

สรรพคุณของว่านไพลดำ

  • ทั้งต้น สามารถช่วยรักษาอาการบวม อาการช้ำทั้งตัวได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะและยาบำรุงกำลังได้[1]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย[2]
  • ใบ มีรสขื่นเอียน สามารถใช้เป็นยาแก้ครั่นเนื้อครั่นตัว[2]
  • ดอก มีรสขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยกระจายเลือดที่เป็นก้อนลิ่ม[2]
  • ราก สามารถนำมาใช้แก้อาเจียนเป็นเลือดได้[2]
  • ราก มีรสขื่นเอียน สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้เลือดกำเดาออกทางปาก ทางจมูกได้[2]
  • เหง้าสด สามารถนำมาบดให้เป็นผง และผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด ใช้เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ[2]
  • เหง้าสดตากแห้ง สามารถนำมาบดให้เป็นผง และนำมาผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด ใช้เป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะได้[2]
  • เหง้าสด สามารถช่วยขับประจำเดือนของสตรี[2]
  • เหง้า สามารถนำมาฝนใช้เป็นยาทาสมานแผล[2]
  • เหง้าสด สามารถนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยาระบายอ่อน ๆ[2]
  • เหง้าสด สามารถนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้เป็นยาแก้บิด[2]
  • เหง้าสด สามารถนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้[2]

ประโยชน์ของว่านไพลดำ

  • สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป แต่การปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษาทำได้ยาก[1]
  • ในด้านของความเชื่อนั้น เป็นว่านที่ทำให้คงกระพันชาตรี[2]
  • การนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี จะต้องเสกด้วยคาถา “พุทธังเป็นยา ธัมมังรักษา สังฆังหาย ตะหัง นะหิโสตัง” 3 จบ และ “นะโมพุทธายะ” 7 จบ[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่าน ไพล ดำ”. หน้า 725-726.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ว่าน ไพล ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [21 ส.ค. 2014].
3. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่าน ไพล ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [21 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.nparks.gov.sg/
2.https://www.flickr.com/
3.http://www.epharmacognosy.com/

พลูช้าง สรรพคุณต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง

0
พลูช้าง
พลูช้าง สรรพคุณต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ดอกเป็นช่อเดี่ยว ผลมีขนาดเล็กเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำเหมือนกับผลมะเขือเทศ 
พลูช้าง
เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ดอกเป็นช่อเดี่ยว ผลมีขนาดเล็กเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำเหมือนกับผลมะเขือเทศ

พลูช้าง

ต้นพลูช้างจัดเป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้ออ่อนชนิดหนึ่งที่มักจะขึ้นในพื้นที่ร่มที่มีความชุ่มชื้น ขึ้นตามพื้นที่เปิดโล่งแจ้ง ขึ้นตามซอกหิน ขึ้นตามพื้นที่ริมน้ำตก[1],[2] ขึ้นบนภูเขาสูง ตามป่าเบญจพรรณ และตามป่าดิบ[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Scindapsus officinalis (Roxb.) Schott จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์บอน (ARACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ เครืองูเขียว (จังหวัดหนองคาย), หีควาย (จังหวัดกรุงเทพฯ), ดิป๊ามซุง (เมี่ยน) เป็นต้น[2],[3]

ลักษณะของต้นพลูช้าง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้ออ่อน
    – ขนาดของต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะรูปร่างอวบและมีความฉ่ำน้ำ ชอบเลื้อยพาดไปตามก้อนหินต่าง ๆ หรืออาจจะอาศัยเกาะอยู่ตามไม้ยืนต้นอื่น ๆ
    – การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบที่มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่ รูปรีแกมไข่ หรือรูปไข่เบี้ยวแกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจตื้น ๆ ส่วนขอบใบมีผิวเรียบ
    – แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นใบที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และใบมีก้านใบที่แผ่เป็นครีบ[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 6.5-15 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.5-25.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกในลักษณะที่เป็นช่อเดี่ยว ๆ โดยจะออกดอกที่บริเวณยอด
    – ดอกเป็นแท่งกลมยาว มีก้านช่อดอกที่สั้นกว่าก้านใบเป็นอย่างมาก
    – ดอกมีกาบห่อหุ้มช่อดอกด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในดอกมีสีเป็นสีเหลือง
    – โดยกาบที่ห่อหุ้มอยู่บริเวณบนแท่งช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกสมบูรณ์เพศจำนวนมากที่เรียงอัดแน่นกันอยู่ ซึ่งแต่ละดอกนั้นจะมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 4-6 อัน ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 1 ช่อง[1]
  • ผล
    – ผล มีเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำเหมือนกับผลมะเขือเทศ
    – ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปไข่ ผลมีขนาดเล็กและผลมีจำนวนน้อย
    – ภายในผลมีเมล็ดที่มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ[1],[2]3.

สรรพคุณประโยชน์ของต้น พ ลู ช้ า ง

1. มีข้อมูลที่ระบุเอาไว้ว่า ถ้านำเครือมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง หรือจะนำมาต้มเข้ายาแก้นิ่วก็ได้
2. ใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบหลังคลอดบุตรได้ (ใบ)[3]
3. ใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับให้เด็กไว้ดื่มแก้โรคซางได้ (ใบ)[3]
4. ผลสามารถนำมาทำเป็นยาบำรุง และยากระตุ้นให้กับร่างกายได้ (ผล)[1]
5. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาทารักษาอาการปวดตามข้อได้ (ผล)[1]
6. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาขับพยาธิได้ (ผล)[1]
7. ผลมีฤทธิ์ในการช่วยขับเหงื่อ (ผล)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “พลู ช้าง”.  หน้า 550-551.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “พลู ช้าง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [09 พ.ย. 2014].
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “พลู ช้าง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [09 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/2014/08/22/scindapsus-officinalis/
2.https://anaturalcuriosity.org/how-scindapsus-grow-in-the-wild-how-to-care-for-them/