โรคบรูเซลโลซิส
โรคบรูเซลโลซิส ( Brucellosis ) หรือโรคแท้งติดต่อ เป็น โรคติดต่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ เรียกว่า บรูเซลล่า ( Brucella spp. ) ที่มักพบการติดเชื้อบรูเซลล่าในฟาร์มปศุสัตว์และสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ เนื่องจากเชื้อบรูเซลล่าสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก การหายใจสูดดมเชื้อบรูเซลล่าที่ปนเปื้อนในอากาศภายในโรงฆ่าสัตว์ การสัมผัสกับเนื้อ เลือด เยื่อเมือก ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของสัตว์จากการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อซึ่งสัตว์ที่พบมักติดเชื้อ ได้แก่ แกะ วัว แพะ หมู อูฐ ควาย และสุนัข เป็นต้น
การแพร่เชื้อของเชื้อแบคทีเรียบรูเซลล่า
เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือกินนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ( น้ำนมดิบ ) จากสัตว์เหล่านี้ ได้แก่ หมู แกะ วัว แพะ ควาย อูฐ แมวน้ำ วาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่ติดเชื้อทำให้นมนมของสัตว์ปนเปื้อนแบคทีเรียบรูเซลล่า เมื่อเราหายใจเอาแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคแท้งติดต่อเข้าไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยทั่วไปความเสี่ยงนี้จะสูงกว่าสำหรับคนในห้องปฏิบัติการที่ทำงานกับแบคทีเรีย รวมถึงคนงานโรงฆ่าสัตว์ พนักงานโรงงานบรรจุเนื้อ และสัตวแพทย์จากการสัมผัสกับเชื้อบรูเซลล่าและติดเชื้อในเวลาต่อมา
แพทย์วินิจฉัยโรคบรูเซลโลซิส
โรคบรูเซลโลซิสได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติของผู้ป่วยที่สัมผัสกับสัตว์ แหล่งที่มาของแบคทีเรียเชื้อบรูเซลล่า Brucella และอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมีการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ไขกระดูก สารคัดหลั่ง และเพาะเลี้ยงแบคทีเรียบรูเซลล่าจากผู้ป่วย การตรวจทางนํ้าเหลืองในห้องปฏิบัติการจะมีประโยชน์มากต่อการวินิจฉัยที่แม่นยําในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 95 เปอร์เซ็นต์ แต่จําเป็นต้องทดสอบร่วมกับการตรวจสอบอื่น ๆ ด้วยเพื่อให้ยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นหรือไม่เป็นโรคแท้งติดต่อนั่นเอง
ระยะฟักตัวของโรคบรูเซลโลซิส
โดยปกติระยะฟักตัวจะอยู่ที่ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ประมาณ 1 – 2 เดือน ซึ่งมีอาการแสดงให้เห็นถึงการติดเชื้อเริ่มแรง
อาการเริ่มแรกของโรคบรูเซลโลซิส
- เป็นไข้
- ปวดศีรษะ
- หนาวสั่น
- ไอ
- ท้องผูก
- เบื่ออาหาร
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- รู้สึกไม่สบายตัว
- รู้เหนื่อยล้าไม่มีแรง
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปวดในข้อต่อ
- ปวดในช่องท้อง
- น้ำหนักลด
ใครบ้างเสี่ยงต่อการเป็นโรคโรคบรูเซลโลซิส หรือโรคแท้งติดต่อ
1. พื้นที่ความเสี่ยงสูงติดเชื้อบรูเซลล่า การติดเชื้อบรูเซลล่า ได้แก่ เอเชีย ลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียนประเทศโปรตุเกส สเปน ฝรั่งเศสตอนใต้ อิตาลี กรีซ ตุรกี แอฟริกาเหนือ เม็กซิโกอเมริกาใต้ อเมริกากลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกา แคริบเบียน และตะวันออกกลาง เป็นต้น
2. น้ำนมดิบ และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ หรือเรียกว่าการพาสเจอร์ไรส์
3. อาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อบรูเซลล่าของโรคบรูเซลโลซิส แพทย์เตือนอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงอาจสัมผัสกับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคแท้งติดต่อได้มากที่สุด ได้แก่
– คนงานในโรงฆ่าสัตว์
– พนักงานบรรจุเนื้อ
– สัตวแพทย์
– เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ
4. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ที่เคยสัมผัสกับเชื้อบรูเซลล่า
5. คนล่าสัตว์ หรือนักล่าสัตว์
– หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าที่ป่วยหรือตาย
– สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา หน้ากากอนามัย และถุงมือยาง เมื่อจัดการกับซากสัตว์
– ไม่ให้สุนัขกินเนื้อดิบจากซากสัตว์
– ล้างมือให้สะอาดหลังการล่าสัตว์
– การทำความสะอาดเครื่องมือล่าสัตว์และการฆ่าสัตว์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
การรักษาโรคบรูเซลโลซิส
ผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุด คือ การใช้ยาปฏิชีวินะ Doxycycline ( ด็อกซีไซคลิน ) 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างของโรคแท้งติดต่อ ได้แก่
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ
- ไตเกิดความเสียหาย
- ตับเกิดความเสียหาย
- การแข็งตัวของเลือด
- เลือดเป็นพิษ
- การอักเสบของสมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง
การป้องกันตนเองให้เพื่อลดความเสี่ยงโรคบรูเซลโลซิส
ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อในมนุษย์ แต่มีหลายสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อลดโอกาสในการได้รับเชื้อโรคบรูเซลล่า
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน
2. หากมีบาดแล้วห้ามสัมผัสกับสัตว์ เลือด ปัสสาวะ และเนื้อเยื่อจากสัตว์
3. สวมชุดป้องกันหากทำงานกับสัตว์
4. ห้ามดื่มนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
5. ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
6. ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่อยู่ในอาคารหรือสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคบรูเซลล่า
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคบรูเซลโลซิส
ควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันและควบคุมโรคแท้งติดต่อในสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ซึ่งรวมถึง
- การซื้อสัตว์จากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน
- ลือกสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง
- ควรมีการกักกันสัตว์ใหม่อย่างน้อย 1 เดือน
- การทดสอบเนื้อสัตว์และนมดิบ เพื่อตรวจหารเชื้อแบคทีเรีย Brucella
- การฉีดวัคซีนสัตว์ในฟาร์ม
- ควรทำความสะอาดภายในฟาร์มทุกวัน
- คัดแยกสัตว์ที่ป่วยออกจากพื้นที่
- หากสัตว์มีอาการป่วยควรแจ้งทางปศุสัตว์
ดังนั้น ควรเลี่ยงการดื่มน้ำนมดิบหรือผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรส์ และสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่นผ้าปิดจมูกและปาก ถุงมือ ขณะที่ต้องสัมผัสเนื้อเยื่อในการทำคลอดสัตว์ และล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสตัวสัตว์
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม