ผักโขม หรือผักขม
ผักโขม เป็นทั้งวัชพืช ผัก และสมุนไพร อุดมไปด้วยโปรตีนสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ

ผักโขม

ผักโขม ( Amaranth ) เป็น ทั้งวัชพืช ผัก และสมุนไพร ชื่ออื่นๆ คือ ผักขม ผักโหม ผักหม กระเหม่อลอเตอ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน จีน เม็กซิโก แอฟริกาตะวันตก และประเทศไทย ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ป่าหญ้า ริมทาง ไร่ นาข้าว สวน พื้นที่รกร้าง ผักขมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus lividus L.จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ซึ่งผักโขมจัดอยู่ในกลุ่มผักใบเขียวนิยมปลูกเพื่อรับประทานสุกมีรสขม ต้มจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้ม แกงจืด ผัด ชุบทอด มี 3 ชนิด ได้แก่ ผักโขมจีน ผักโขมสวน ผักโขมหนาม ผักขมอุดมไปด้วยโปรตีนสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ

ชนิดของผักโขม

1. ผักโขมจีน ( Chinese Spinach ) มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักโขมสวน ผักโขมจีนสีเขียว และผักโขมจีนสีแดง ใบและลักษณะลำต้นกลมขนาดใหญ่สีแดงและสีเขียว ลำต้นสูง มีหนามและไม่มีหนาม ขึ้นอยู่ตามสายพันธุ์ ใบใหญ่สีเขียวเข้ม ปลายใบเรียวรี ผิวใบบางเรียบหรือมีขน มีก้านใบยาว ขอบใบมีรอยหยัก สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังปลูกลงแปลงประมาณ 20 – 25 วัน เมล็ดขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

2. ผักโขมสวน ( Joseph’s coat ) เป็นพืชผักสมุนไพรลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นทรงกลมแบนสีเขียว หรือสีเขียวอมม่วง โคนใบกว้างมน ปลายใบแหลม ขอบนอกสีเขียวด้านในใบแกมสีม่วง มีหนามแหลมตามข้อ ดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดเป็นหลักระยะในการเก็บเกี่ยวหลังปลูกลงแปลงประมาณ 20 – 25 วัน สามารถทยอยเก็บรับประทานได้ตลอด เมล็ดขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

3. ผักโขมหนาม ( Spiny Amaranth ) เป็นวัชพืชกินได้ ลำต้นกลมสีเขียวแกมม่วงสูงประมาณ 1.5 เมตร มีขนเล็กน้อย มีหนามแหลม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีสีเขียว กลิ่นเหม็นเขียว ดอกออกตรงข้อลำต้นตามซอกใบ ดอกมีสีม่วงอมเขียวหรือสีขาว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดเป็นหลักระยะในการเก็บเกี่ยวหลังปลูกลงแปลงประมาณ 20 – 25 วัน สามารถทยอยเก็บรับประทานได้ตลอด เมล็ดขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของผักโขม

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขม 100 กรัม ให้พลังงานทั้งหมด 102 แคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสรอาหาร
ไขมันทั้งหมด 1.6 กรัม
ใยอาหาร 2.1 กรัม
โปรตีน 3.8 กรัม
คลอเรสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
โซเดียม 6 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 135 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
แคลเซียม 5 เปอร์เซ็นต์
วิตามินบี6 เท่ากับ 6 เปอร์เซ็นต์
ไทอามิน 1 เปอร์เซ็นต์
ไนอาซิน 1 เปอร์เซ็นต์
ซิงค์ 6 เปอร์เซ็นต์
เหล็ก 12 เปอร์เซ็นต์
แมกนีเซียม 16 เปอร์เซ็นต์
ไรโบพลาวิน 1 เปอร์เซ็นต์
วิตามินอี 1 เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส 15 เปอร์เซ็นต์

*ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคผักขมต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปโดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่

สรรพคุณของผักโขม

1. ผักโขมมีสารแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) และวิตามินเอ ( Vitamin A ) เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ป้องการเกิดต้อกระจก การลดความเครียดออกซิเดชั่นในตา และช่วยในการมองเห็นในตอนกลางคืน
2. ผักโขมเต็มไปด้วยใยอาหาร หรือไฟเบอร์ ( Dietary Fiber ) สูงมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารหลายประการ ซึ่งช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยให้การดูดซึมแร่ธาตุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผักโขมไม่มีกลูเตน ( Gluten Free ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในธัญพืชผักโขมจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค หรือโรคระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน เมื่อกินโปรตีนชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ การกินผักโขมจึงไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้โปรตีนกลูเตนนั่นเอง

การใช้ประโยชน์ของผักโขม

พืชสมุนไพรชนิดนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งลำต้น ใบ ราก เมล็ด

  • ทั้งต้นของผักโขมใช้เป็นยาระบาย ฟอกเลือด และขับปัสสาวะได้
  • ชาวจีนใช้ผักโขมเป็นยาแผนโบราณในการรักษาโรคเบาหวาน
  • สมุนไพรผักโขมช่วยแก้พิษงูกัด
  • คั้นน้ำจากใบสดใช้ทาบริเวณที่ถูกแมงป่องต่อย
  • ใช้เป็นยาพอกฝี ช่วยขับหนอง
  • ช่วยป้องกันการแท้งบุตรได้
  • ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ใช้ผักขมบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ลดอาการตกขาว
  • ช่วยรักษาหนองใน
  • ช่วยรักษาอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยขับปัสสาวะ และรักษานิ่วในถุงน้ำดี
  • ใช้รักษาแผลในปาก แผลเปื่อย แผลไหม้ แผลพุพอง และรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • รากผักโขมใช้ในการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคกลาก
  • ช่วยรักษาอาการท้องเสีย แก้อาการจุกเสียด ขับลม และโรคบิด
  • ช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย และรักษาความผิดปกติของกระเพาะอาหาร
  • ใช้เป็นยาขับเสมหะ
  • ใช้รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน โรคเหงือก

องค์ประกอบทางเคมีของผักโขม

1. แซนโทฟิลล์ ( Xanthophyll ) เป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์พบทั่วไปในพืช และสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยต้านอนุมูลอิสระ
2.ไลซีน ( Lysine ) เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้จำเป็นต้องได้รับจากสารอาหาร ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างโปรตีน การเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยเสริมสร้างฮอร์โมน
3. เบต้าแคโรทีน ( Beta-Carotene ) เป็นหนึ่งในสารสำคัญในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยบำรุงสายตาทำให้การมองเห็นในตอนกลางคืนดีขึ้น ช่วยลดการเสื่อมสภาพเซลล์ของดวงตา
4. ซีสทีน ( Cystine ) เป็นสารอาหารสำคัญช่วยในการสร้างเอ็นไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ผักโขมช่วยชะลอวัย ช่วยในการขับสารพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันร่างกายจากโลหะหนักที่เป็นอันตราย
5. ทรีโอนีน ( Threonine ) เป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร และการดูดซึมสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย สารในผักโขมช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยเผาผลาญไขมัน
6. ไอโซลิวซีน ( Isoleucine ) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยเร่งการรักษากล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ และช่วยสร้างกล้ามเนื้อและมวลร่างกายที่ไม่ติดมัน
7. ลิวซีน ( Leucine ) เป็นหนึ่งในกรดอะมิโน 20 ชนิดสำคัญต่อสุขภาพที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีโปรตีนความเข้มข้นสูงในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว ไข่ เนื้อหมู ปลา และผลิตภัณฑ์จากนมเป็นโปรตีนที่มีระดับลิวซีนสูง แต่แหล่งโปรตีนจากพืชอาทิผักโขมจะมีความเข้มข้นน้อยกว่านั่นเอง สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของโปรตีน และป้องการสูญเสียกล้ามเนื้อได้
8. โทโคไตรอีนอล ( Tocotrienols ) เป็นส่วนประกอบสำคัญของวิตามินอีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมีคุณสมบัติในการลดไขมัน ต้านมะเร็ง ป้องกันระบบประสาท นอกจากนั้นโทโคไตรอีนอลยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างหลอดเลือดแดงใหม่หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก ช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังที่ร้ายแรงที่สุดบางชนิด
9. วาลีน ( Valine ) เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนที่สร้างโปรตีนที่ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ ดังนั้น จึงต้องได้รับกรดอะมิโนวาลีนในอาหาร ได้แก่ ผักโขม ชีส สัตว์ปีก ปลา ถั่วลิสง กรดอะมิโน Valine ช่วยกระตุ้นการเติบโตของกล้ามเนื้อ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อป้องกันการสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากร่างกายขาดกรดอะมิโนชนิดวาลีนที่มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางจึงมีบทบาทสำคัญในการทำงานของจิต อาจทำให้เกิดโรคเส้นประสาทเสื่อมได้
10. อาร์จินีน ( Arginine ) กรดอะมิโนแอล – อาร์จินีนที่พบในอาหารช่วยให้สามารถผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งมีผลต่อกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย อาร์จินีนช่วยในร่างกายในการสร้างโปรตีนและกระตุ้นการปล่อยอินซูลิน มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย อาร์จินีนจึงเป็นอาหารเสริมยอดนิยมสำหรับนักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก เป็นต้น
11. เมไทโอนีน ( Methionine ) เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้และต้องได้รับจากอาหารเพื่อสร้างโปรตีนและสารประกอบอื่น ๆ ในร่างกาย เมไทโอนีน ในผักโขมมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยปกป้องร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากรังสีไอออไนซ์ ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้า ช่วยลดความเสี่ยงของอาการผมบางหรือศีรษะล้านในช่วงต้น ช่วยรักษาโรคกระดูกพรุน ช่วยล้างสารพิษจากโลหะหนักที่เป็นอันตรายในร่างกาย ป้องกันความเสียหายของตับจากยาลดไข้ และยาแก้ปวดที่ใช้รักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ
12. ฮิสทิดีน ( Histidine ) คือ กรดอะมิโนป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็ก ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดง และป้องกันเนื้อเยื่อที่เสียหายจากการฉายรังสีและโลหะหนัก ช่วยกระตุ้นให้การส่งสัญญาณไปยังสมองได้เร็วยิ่งขึ้น
13. ไทโรซีน ( Tyrosine ) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากฟีนิลอะลานีน พบในอาหารหลายประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม พืชตระกูลถั่ว ข้าวโอ๊ต และผักโขม ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตเม็ดสีเมลานินของร่างกายและสารเคมีในสมอง นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของต่อมหมวกไต ไทรอยด์ ต่อมใต้สมองที่ช่วยในการผลิตและควบคุมฮอร์โมนของมนุษย์
14. ฟีนิลแอลานีน ( Phenylalanine ) ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างโปรตีนต่างๆที่ผลิตในร่างกาย ซึ่งฟีนิลแอลานีนเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทำให้อารมณ์ดีขึ้น มักถูกใช้ในอาหารเสริมสำหรับลดอาการซึมเศร้า อาการปวดหลัง ลดความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บ ช่วยเพิ่มการควบคุมการสั่นของผู้ที่เป็นโรคพาร์คินสัน ช่วยป้องกันผิวจากแสงแดด และกระตุ้นการสร้างผิวใหม่

การขยายพันธุ์ผักโขม

ผักโขมแม้จะเป็นวัชพืชแต่มีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ซึ่งเมล็ดผักขมนั้นมีขนาดเล็กเกิดการแพร่กระจายได้ง่ายจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การไถเตรียมดิน การเก็บเกี่ยวผลผลิตอาจมีการปะปนไปกับเมล็ดพันธุ์พืช นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งของแพร่ระบาดของผักโขมในไร่ นาข้าว สวน เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้ผักโขม

ผักโขม ( Amaranth ) เป็นพืชสมุนไพรยาแผนโบราณที่มีสารออกซาเลต ( Oxalate ) ค่อนข้างสูง ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดในกระแสเลือด มักพบในผักและผลไม้บางชนิด เช่น ผักโขม ปวยเล้ง ช็อคโกแลต ชาเขียว งาดำ งาขาว อาจส่งผลเสียต่อร่างกายโดยเฉพาะอาจทำให้ระดับแคลเซียมในปัสสาวะเพิ่มขึ้นแล้วนำไปสู่การเกิดนิ่วในไตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม